1. เดินตามรอยแนวพระราชดำริว่าด้วยเศรษฐกิจพอเพียงของในหลวง
2. ดำเนินชีวิตตามหลักธรรมคำสอนของพระพุทธองค์
3. โครงการปันน้ำใจ "น้องอิ่มท้อง สมองดี"
พระราชดำริว่าด้วยเศรษฐกิจพอเพียง
“...คนอื่นจะว่าอย่างไรก็ช่างเขา จะว่าเมืองไทยล้าสมัย ว่าเมืองไทยเชย ว่าเมืองไทยไม่มีสิ่งที่สมัยใหม่ แต่เราอยู่พอมีพอกิน และขอให้ทุกคนมีความปรารถนาที่จะให้เมืองไทย พออยู่พอกิน มีความสงบ และทำงานตั้งจิตอธิษฐานตั้งปณิธาน ในทางนี้ที่จะให้เมืองไทยอยู่แบบพออยู่พอกิน ไม่ใช่ว่าจะรุ่งเรืองอย่างยอด แต่ว่ามีความพออยู่พอกิน มีความสงบ เปรียบเทียบกับประเทศอื่นๆ ถ้าเรารักษาความพออยู่พอกินนี้ได้ เราก็จะยอดยิ่งยวดได้...” (๔ ธันวาคม ๒๕๑๗)
“...พอเพียง มีความหมายกว้างขวางยิ่งกว่านี้อีก คือคำว่าพอ ก็พอเพียงนี้ก็พอแค่นั้นเอง คนเราถ้าพอในความต้องการก็มีความโลภน้อย เมื่อมีความโลภน้อยก็เบียดเบียนคนอื่นน้อย ถ้าประเทศใดมีความคิดอันนี้ มีความคิดว่าทำอะไรต้องพอเพียง หมายความว่าพอประมาณ ซื่อตรง ไม่โลภอย่างมาก คนเราก็อยู่เป็นสุข พอเพียงนี้อาจจะมี มีมากอาจจะมีของหรูหราก็ได้ แต่ว่าต้องไม่ไปเบียดเบียนคนอื่น...” (พระราชดำรัส เนื่องในโอกาสวันเฉลิมพระชนมพรรษา ณ ศาลาดุสิดาลัย วันที่ ๔ ธันวาคม ๒๕๔๑)
การดำเนินชีวิตตามแนวพระราชดำริพอเพียง
ที่มา : มูลนิธิชัยพัฒนา
หลักธรรมคำสอนของพระพุทธองค์
หลักธรรมว่าด้วยการทำงาน ท่านพุทธทาส อินทปัญโญ
โครงการปันน้ำใจ "น้องอิ่มท้อง สมองดี"
ผลิตน้ำนมถั่วเหลืองแจกเด็กๆ ที่ฐานะยากจนตามโรงเรียนต่างๆ โดยเริ่มต้นจากโรงเรียนที่ตั้งอยู่ในเขตเพชรบูรณ์
ในไร่ธัญบูรณ์จะมีการแบ่งพื้นที่เพื่อปลูกถั่วเหลือง และถั่วเหลืองที่ได้ซึ่งเป็นผลผลิตจากในไร่ จะถูกนำมาแปรรูปเป็นน้ำนมถั่วเหลืองเพื่อให้เด็กๆ ได้รับประทาน เพื่อบำรุงร่างกายและพัฒนาสมอง
ในไร่ธัญบูรณ์ นอกจากจะมีการแบ่งพื้นที่เพื่อปลูกถั่วเหลืองแล้ว ยังมีพื้นที่ที่ถูกจัดสรรให้มีการปลูกผักสวนครัวปลอดสารพิษ ซึ่งผลผลิตที่ได้จะถูกนำไปบริจาคให้กับโรงเรียนวัดเพื่อเป็นส่วนหนึ่งในปัจจัยการผลิตอาหารกลางวันให้เด็กๆ
2. ดำเนินชีวิตตามหลักธรรมคำสอนของพระพุทธองค์
3. โครงการปันน้ำใจ "น้องอิ่มท้อง สมองดี"
พระราชดำริว่าด้วยเศรษฐกิจพอเพียง
“...คนอื่นจะว่าอย่างไรก็ช่างเขา จะว่าเมืองไทยล้าสมัย ว่าเมืองไทยเชย ว่าเมืองไทยไม่มีสิ่งที่สมัยใหม่ แต่เราอยู่พอมีพอกิน และขอให้ทุกคนมีความปรารถนาที่จะให้เมืองไทย พออยู่พอกิน มีความสงบ และทำงานตั้งจิตอธิษฐานตั้งปณิธาน ในทางนี้ที่จะให้เมืองไทยอยู่แบบพออยู่พอกิน ไม่ใช่ว่าจะรุ่งเรืองอย่างยอด แต่ว่ามีความพออยู่พอกิน มีความสงบ เปรียบเทียบกับประเทศอื่นๆ ถ้าเรารักษาความพออยู่พอกินนี้ได้ เราก็จะยอดยิ่งยวดได้...” (๔ ธันวาคม ๒๕๑๗)
“...พอเพียง มีความหมายกว้างขวางยิ่งกว่านี้อีก คือคำว่าพอ ก็พอเพียงนี้ก็พอแค่นั้นเอง คนเราถ้าพอในความต้องการก็มีความโลภน้อย เมื่อมีความโลภน้อยก็เบียดเบียนคนอื่นน้อย ถ้าประเทศใดมีความคิดอันนี้ มีความคิดว่าทำอะไรต้องพอเพียง หมายความว่าพอประมาณ ซื่อตรง ไม่โลภอย่างมาก คนเราก็อยู่เป็นสุข พอเพียงนี้อาจจะมี มีมากอาจจะมีของหรูหราก็ได้ แต่ว่าต้องไม่ไปเบียดเบียนคนอื่น...” (พระราชดำรัส เนื่องในโอกาสวันเฉลิมพระชนมพรรษา ณ ศาลาดุสิดาลัย วันที่ ๔ ธันวาคม ๒๕๔๑)
การดำเนินชีวิตตามแนวพระราชดำริพอเพียง
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ
ทรงเข้าใจถึงสภาพสังคมไทย ดังนั้น เมื่อได้พระราชทานแนวพระราชดำริ
หรือพระบรมราโชวาทในด้านต่างๆ จะทรงคำนึงถึงวิถีชีวิต
สภาพสังคมของประชาชนด้วย เพื่อไม่ให้เกิดความขัดแย้งทางความคิด
ที่อาจนำไปสู่ความขัดแย้งในทางปฏิบัติได้
แนวพระราชดำริในการดำเนินชีวิตแบบพอเพียง
๑. ยึดความประหยัด ตัดทอนค่าใช้จ่ายในทุกด้าน ลดละความฟุ่มเฟือยในการใช้ชีวิต
๒. ยึดถือการประกอบอาชีพด้วยความถูกต้อง ซื่อสัตย์สุจริต
๓. ละเลิกการแก่งแย่งผลประโยชน์และแข่งขันกันในทางการค้าแบบต่อสู้กันอย่างรุนแรง
๔. ไม่หยุดนิ่งที่จะหาทางให้ชีวิตหลุดพ้นจากความทุกข์ยาก
ด้วยการขวนขวายใฝ่หาความรู้ให้มีรายได้เพิ่มพูนขึ้น
จนถึงขั้นพอเพียงเป็นเป้าหมายสำคัญ
๕. ปฏิบัติตนในแนวทางที่ดี ลดละสิ่งชั่ว ประพฤติตนตามหลักศาสนา
หลักธรรมคำสอนของพระพุทธองค์
หลักธรรมว่าด้วยการทำงาน ท่านพุทธทาส อินทปัญโญ
มีชีวิตอยู่ โดยไม่ต้องรู้สึกว่า
เราดี-เด่น-ดัง อะไรเลย
เพียงแต่รู้สึกว่า
เป็นผู้มีประโยชน์ที่สุดคนหนึ่ง
นั่นแหละถูกต้องและเป็นสุขแท้
เราดี-เด่น-ดัง อะไรเลย
เพียงแต่รู้สึกว่า
เป็นผู้มีประโยชน์ที่สุดคนหนึ่ง
นั่นแหละถูกต้องและเป็นสุขแท้
ชีวิตที่เหลืออยู่ ขอยึดหลักธรรมคำสอนของพระพุทธองค์ และหลักการดำเนินชีวิตแบบพอเพียงของในหลวง
1. ดูแลพ่อแม่ให้อยู่สุขกายสบายใจ สบายกายโดยการมีปัจจัย 4 ที่อยู่อาศัย อาหาร เครื่องนุ่งห่ม และยารักษาโรค อยู่บนพื้นฐานของความไม่ฟุ้งเฟ้อ ไม่ฟุ่มเฟือย มีพออยู่พอกิน ไม่เดือดร้อน
2. ขอทำงานที่เอื้อประโยชน์ต่อคนหมู่มาก ทั้งการเป็นเกษตรกรก็ดี หรือการเป็นอาจารย์ก็ดี ทุกหน้าที่ขอทำด้วยความบริสุทธิ์ใจที่อยากจะทำตัวเองให้เป็นประโยชน์ สิ่งใดที่เป็นปัจจัยภายนอก ไม่ว่าจะทรัพย์สินเงินทอง ยศฐาบรรดาศักดิ์และตำแหน่งใดๆ ก็ตาม สิ่งเหล่านี้ล้วนแล้วแต่เป็นสิ่งที่มนุษย์สมมติขึ้นมาและให้ค่ากับมัน อย่าถือหรือยึดติดให้เป็นห่วงและเป็นกับดักให้ตัวเองติดอยู่ในวังวนของกิเลสเลย
ผลิตน้ำนมถั่วเหลืองแจกเด็กๆ ที่ฐานะยากจนตามโรงเรียนต่างๆ โดยเริ่มต้นจากโรงเรียนที่ตั้งอยู่ในเขตเพชรบูรณ์
ในไร่ธัญบูรณ์จะมีการแบ่งพื้นที่เพื่อปลูกถั่วเหลือง และถั่วเหลืองที่ได้ซึ่งเป็นผลผลิตจากในไร่ จะถูกนำมาแปรรูปเป็นน้ำนมถั่วเหลืองเพื่อให้เด็กๆ ได้รับประทาน เพื่อบำรุงร่างกายและพัฒนาสมอง
ในไร่ธัญบูรณ์ นอกจากจะมีการแบ่งพื้นที่เพื่อปลูกถั่วเหลืองแล้ว ยังมีพื้นที่ที่ถูกจัดสรรให้มีการปลูกผักสวนครัวปลอดสารพิษ ซึ่งผลผลิตที่ได้จะถูกนำไปบริจาคให้กับโรงเรียนวัดเพื่อเป็นส่วนหนึ่งในปัจจัยการผลิตอาหารกลางวันให้เด็กๆ
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น