วันพุธที่ 22 มกราคม พ.ศ. 2557

ไผ่ (11) การปลูกและการดูแลรักษาไผ่บงหวาน

การปลูกและการดูแลรักษา


การทำน้ำยาเร่งรากไผ่
การ ทำน้ำยาสูตรเร่งราก สูตรนี้ถูกเปิดเผยโดยลุงดำ ผู้ดูแลสวนไผ่บุญคุ้ม ได้ ทดลองทำมานานพอสมควร โดยการอ่านจากตำราหลายเล่มมารวมๆกัน จนสามารถทดลองทำ และทดลองใช้จนได้ผลดีกับการตอนกิ่งไม้ผล ไม้ไผ่ และใช้เร่งรากก่อนเพาะลงถุง ได้เป็นอย่างดี มีวิธีการทำสูตรน้ำยาเร่งรากโดยการใช้วัสดุจากธรรมชาติ ดัง นี้

วัสดุอุปกรณ์
-มะละกอสุกทั้งเปลือก 2 กิโลกรัม
-กล้วยสุกทั้งเปลือก 2 กิโลกรัม
-ฟักทองสุกทั้งเปลือก 2 กิโลกรัม
-อีเอ็ม ½ ลิตร
-น้ำเปล่า 10 ลิตร
วิธีทำ
-สับหั่น มะละกอสุก กล้วยสุก ฟักทองสุก ทั้งเปลือก รวมกัน
-ผสมน้ำและอีเอ็ม ตามปริมาณให้เข้ากันในถังหมัก
-จากนั้นเทวัสดุที่สับหั่นรวมกันดังกล่าว ลงในถังหมัก ปิดฝาทิ้งไว้ประมาณ 1 สัปดาห์ จะเกิดวุ้น ฝ้าสีขาวๆเป็นก้อนๆคลุมทับหน้าน้ำหมัก
-ตักเอาวุ้นฝ้าสีขาวๆมาใช้เป็นน้ำยาเร่งราก
-ส่วนกากและน้ำที่เหลือนำไปเป็นปุ๋ยผสมกับปุ๋ยดินเพาะในถุงดำหรือผสมกับแกลบดำก็ได้
วิธีการนำไปใช้
-หลังจากได้วุ้นสีขาวๆ ให้ตักวุ้นเร่งราก ที่เรียกว่า น้ำยาเร่งรากสูตรทำเอง ใช้ 1 ขัน ผสมน้ำ 60 ลิตร ไว้สำหรับแช่ต้นกิ่งพันธุ์ไผ่ 1 คืน (กิ่งไผ่ที่ผ่านขยายพันธุ์ไผ่ด้วยวิธีเร่งราก )ก่อนนำไปเพาะในถุงเพาะชำ
-วุ้นสูตรน้ำยาเร่งราก สามารถใช้มาทาบริเวณข้อกิ่งพันธุ์ไผ่ก่อนการตอนกิ่งพันธุ์ช่วยเร่งการเจริญเติบโตของราก
-วุ้นสูตรน้ำยาเร่งราก สามารถใช้มาทาบริเวณกิ่งตอน พันธุ์ไม้ผลหลังจากขูดเนื้อเยื่อ ใช้ทารอบๆ ก่อนการตอนกิ่งพันธุ์ช่วยเร่งการเจริญเติบโตของราก ย่นระยะเวลาการตอนกิ่งให้สั้นลง

”ปลูกไผ่บงหวาน 3 ไร่” สร้างรายได้งามที่นครสวรรค์
คุณ ฐณะณัฐ  ระมั่งทอง  เจ้าของสวนสรภพ เลขที่ 82/1 ม.9 ต.พระนอน อ. เมือง จ.นครสวรรค์ โทรศัพท์ 08-7322-9446 ปลูกไผ่บงหวานพื้นที่ กว่า 3 ไร่ ได้ให้ข้อแนะนำและข้อสรุปจากประสบการณ์เกี่ยวกับไผ่บงหวานว่า เป็นไผ่อีกชนิดหนึ่งที่น่าสนใจและสร้างรายได้ดี
++ การพิจารณาเลือกปลูกไผ่บงหวาน ++
คุณฐณะณัฐโดนพิษเศษฐกิจปีพ.ศ.2540 ต้องออกจากงานประจำในกรุงเทพมหานคร หลังจากนั้นได้มองหาอาชีพหลายอย่าง ตั้งแต่ไปขายกล้วยปิ้งที่ต้องขายบนรถแต่ในกรุงเทพมหานครและหาพื้นที่จออดยาก มาก ไม่นานก็ต้องเลิกไป จากนั้นก็ไปขับแท็กซี่และไปขายเตาประหยัดพลังงานสุดท้ายก็กลับมาที่บ้าน จ. นครสวรรค์ได้ปรึกษากับพ่อได้ข้อมูลว่าในหมู่บ้านมีคนทำสวนไผ่เลี้ยงอยู่ มีโอกาสได้ไปดูสวนดังกล่าวจึงเกิดความสนใจคิดจะปลูกไผ่ขึ้นมาก็เริ่มมาหา ข้อมูลว่าไผ่พันธุ์ที่มีความน่าสนใจบ้างและคุณฐณะณัฐได้ยกตัวอย่าง “ไผ่เลี้ยง” เป็นไผ่ที่ค่อนข้างให้หน่อดก มีน้ำหนักดี ขายลำไผ่ได้ดีเพราะลำไผ่ตรงแต่หน่อสดมีรสชาติขมหากจะบริโภคก็จะต้องต้มอีก หลายน้ำจึงจะทานได้ เหมาะกับตลาดทางด้านภาคอีสานมากกว่าที่พฤติกรรมการบริโภค คนอีสานจะทานรสชาติหน่อไม้ที่มีรสขมมากกว่าภาคอื่น หรือ “ไผ่ตง” ทานดิบก็ไม่ขม ก็ต้องต้มอีกหลายน้ำเช่นกัน
“ไผ่บงหวาน”มีความพิเศษตรงสามารถทานหน่อดิบได้ทันที หน่อดิบจะรสชาติหวาน ไม่มีรสชาติขม มีความกรอบอร่อย สามารถทานเป็นผักสดกับน้ำพริกหรือประกอบอาหารก็ไม่ต้องต้มน้ำทิ้งก่อนสามารถ หั่นสับผัด หรือ แกงได้ทันที อย่างเมนูแนะนำคือ ส้มตำไผ่บงหวาน อร่อยมาก หน่อไผ่บงหวานมันสามารถใช้แทน “คอมะพร้าวอ่อน”ได้ดีทีเดียว เป็นจุดเด่นที่ลูกค้ามาซื้อหน่อไผ่บงหวานไปทาน จะต้องกลับมาซื้ออีกทุกราย แล้วก็จะถามถึงพันธุ์ต้นไผ่บงหวาน เพื่อเอาไปปลูกที่บ้านอีก ดังนั้นนอกจากขายหน่อแล้วก็ยังมีรายได้จากการขายพันธุ์ไผ่อีกทางหนึ่ง

++ ข้อควรพิจารณาก่อนตัดสินใจเลือกปลูกไผ่บงหวาน ++
1.) พื้นที่ไม่ควรจะเป็นพื้นที่น้ำท่วมขัง โดยธรรมชาติแล้วไผ่เป็นพืชที่ชอบน้ำ ชอบความชุ่มชื้น เช่นเดียวกันหากฤดูแล้งต้นไผ่ได้น้ำดีและปุ๋ยดีไผ่บงหวานก็จะให้หน่อดก เหมือนกับช่วงฤดูฝนตามธรรมชาตินั่นเอง แต่หากพื้นที่ใดมีน้ำท่วมขังแฉะหรือเป็นพื้นที่ลุ่มต่ำ ก็มักจะปลูกไผ่บงหวานไม่ได้ผลดีเท่าที่ควร ส่วนสภาพดินนั้น แม้จะเป็นดินเลว เช่น ดินเหนียว,ดินลูกรัง, ดินดาน ฯลฯ สามารถปลูกไผ่บงหวานได้ เพียงแต่ในการปลูกไผ่บงหวานครั้งแรกควรจะต้องมีการช่วยปรับปรุงโครงสร้างดิน ให้ดีเป็นพิเศษ เช่น มีการคลุกเคล้ารองก้นหลุมด้วยปุ๋ยคอกเก่าผสมกับพวกเศษวัสดุทางเกษตรเหลือใช้ เช่น เปลือกถั่ว, แกลบดิน, ฟางข้าวสับ,ปุ๋ยหมัก,กากอ้อย และ ซังข้าวโพดเป็นต้น โดยการขุดหลุมปลูกไผ่บงหวาน หากสภาพดินไม่ดีให้ขุดหลุมมีขนาดใหญ่ขึ้น ขนาดกว้าง, ยาว และลึก 50 เซนติเมตร เพื่อให้ต้นไผ่เจริญเติบโตแทงหน่อเป็นลำต้นได้ดีในช่วง 1 ปีแรก เมื่อพ้น 1 ปีแรกไปแล้วต้นไผ่ก็จะค่อนข้างมีความแข็งแรงเจริญเติบโตสู้กับสภาพดินไม่ดี ได้แล้ว แต่ในทุกๆปีจำเป็นต้องมีการใส่อินทรียวัตถุให้กับกอไผ่อย่างสม่ำเสมอแต่พอ นานไป ใบไผ่ที่ร่วงโรยในสวนจะทับถม ช่วยปรับโครงสร้างให้ดีอีกทาหนึ่งและรักษาความชุ่มชื้นได้อีกทาง
2.)แหล่งน้ำจะต้องดี ไผ่ทุกสายพันธุ์เป็นพืชที่ชอบความชุ่มชื้น ชอบน้ำพอสมควร แล้วการทำให้ต้นไผ่มีหน่อได้ในช่วงฤดูแล้ง ซึ่งเป็นช่วงที่หน่อไม้จากธรรมชาติในตลาดมีน้อยราคาหน่อไม้จะสูงขึ้นนั้นก็ จำเป็นที่จะต้องมีการให้น้ำกับต้นไผ่อย่างสม่ำเสมอทั้งสวนไผ่จะต้องให้ความ สำคัญกับเรื่องน้ำเป็นอันดับแรก ส่วนระบบของการให้น้ำก็เลือกใช้ได้ตามกำลังทรัพย์ เช่น วางระบบหัวน้ำสปริงเกอร์ซึ่งสร้างความสะดวกต่อการให้น้ำและค่อนข้างมี ประสิทธิภาพดี สามารถให้น้ำกับต้นไผ่ได้บ่อยครั้งและเวลาไม่นาน เช่น วันละ 3 เวลา จะเป็นการสร้างบรรยากาศให้ต้นไผ่มีความชุ่มชื้นเหมาะแก่การเจริญและออกหน่อ ได้ดีหรือจะเป็นการปล่อยน้ำเข้าตามร่อง การให้น้ำเข้าร่องต้องให้น้ำสูงท่วมกอไผ่จึงจะใช้ได้ หากจะเลือกวิธีการปล่อยน้ำเข้าร่องจะต้องเตรียมพื้นที่ให้มีความลาดเอียง ตั้งแต่แรกด้วย หรือจะใช้สายยางเดินรดก็ได้
3.) ระยะปลูกต้องเหมาะสม จากประสบการณ์ที่ผ่านมา คุณฐณะณัฐ เล่าว่า ในตอนเริ่มต้นของตนเองมองข้ามช่วงระยะปลูกที่เหมาะสมของไผ่บงหวานไปมองเพียง ว่าจะปลูกจำนวนต้นต่อไร่ให้มากที่สุด โดยเลือกปลูกระยะ 2X2 เมตร ซึ่ง 1 ไร่ จะปลูกได้ถึง 400 ต้น ถือว่าเป็นระยะปลูกที่เยอะเกินไป การจัดการสวนเป็นไปด้วยความลำบาก เช่น การเดินเข้าไปทำงานยังต้องก้มตัวเดินใน 2 ปีแรก ไม่สามารถเอารถวิ่งเข้าไปได้หากมีการใส่ปุ๋ยคอกหรือปุ๋ยเคมี เดินเข้าไปเก็บหน่อก็ลำบากเช่นกัน แล้วการเจริญเติบโตของของต้นไผ่เองจะการเจริญขยายกอออกไปนอกกอทุกๆปี หากปลูกระยะ 2X2 เมตร เพียง 3-4 ปี กอไผ่ก็จะชนกันแน่นแล้ว
** สรุปได้ว่าระยะปลูกไผ่บงหวานที่เหมาะสมที่สุด ควรจะมีระยะห่างอย่างน้อยที่สุด 2.5 X 2.5เมตร ในกรณีปลูกแถวคู่ ระยะปลูก 2.5 X 2.5เมตร ก็อาจจะเว้นทางเดิน 4เมตร ก็สามารถเอารถไถเล็กหรือรถไถเดินทางเข้าปฏิบัติงานได้ง่ายก็จะยิ่งเบาแรง ทั้งนี้ระยะปลูกแบบใดนั้น ผู้ปลูกก็ต้องพิจารณาตามปัจจัยของแต่ละท่าน
การปลูกและการดูแลรักษาไผ่บงหวานของสวน สรภพ :
++ การปลูก ++ หากสภาพดินดีจะขุดหลุมที่มีขนาดกว้าง, ยาว และ ลึก 30 เซนติเมตร เป็นอย่างน้อย แต่ในบางพื้นที่สภาพดินไม่ดี เป็นดินเหนียว, ดินลูกรัง, ดินดาน ฯลฯ ก็ควรจะขุดหลุมปลูกให้กว้างขึ้น เพื่อจะได้ใส่ปุ๋ยคอกหรือวัสดุเช่นพวกเปลือกถั่ว,แกลบดิบ ฯลฯ ปรับปรุงโครงสร้างดินให้ดีขึ้น คลุกเคล้าวัสดุต่างๆ กับดินส่วนหนึ่งในหลุม จากนั้นนำต้นพันธุ์ไผ่บงหวานที่ชำในถุงดำแข็งแรงดีแล้ว ฉีกถุงดำออกวางต้นพันธุ์ลงกลางหลุมปลูกแล้วกลบด้วยดินส่วนที่เหลือให้ดินพูน สูงต้นไผ่เล็กน้อย เมื่อดินได้น้ำไม่นานดินก็จะยุบตัวมาเสมอกับระดับดินเดิม แต่การกลบหลุมปลูกอย่าอัดดินให้แน่นจนเกินไปนัก ซึ่งส่งผลต่อการแทงหน่อหรือลำต้นใหม่ได้ยากขึ้น หากเป็นพื้นที่มีลมแรงก็ควรใช้ไม้ปักเป็นหลักผูกยึดต้นไผ่ป้องกันลมโยก หลังจากปลูกเสร็จจำเป็นต้องรดน้ำตามทันที เพื่อให้เม็ดติดกระชับราก ต้นพันธุ์ไผ่บงหวานนั้น ก่อนจะปลูกนั้นควรมีการเอาต้นพันธุ์ไผ่บงหวานออกแดดให้มีการปรับสภาพเสีย ก่อนอย่างน้อย 1 เดือน เพราะก่อนหน้านี้ต้นไผ่เองจะถูกเลี้ยงใต้ร่มแสลนมาโดยตลอด
++ ฤดูกาลปลูก ++ ถ้ามีแหล่งน้ำดีก็สามารถปลูกได้ตลอดทั้งปี แต่จากประสบการณ์ของคุณฐณะณัฐพบว่า ปลุกไผ่บงหวานในช่วงเดือนมีนาคม – เดือนเมษายน ก่อนเข้าฤดูฝนต้นไผ่จะมีการเจริญเติบโตเร็วกว่า การที่ปลูกไผ่บงหวานในฤดูฝน เหตุผลคือ หากปลูกไผ่บงหวานก่อนเข้าฤดูฝนต้นไผ่จะตั้งตัวและออกรากก่อนเข้าฤดูฝน เมื่อฝนมาไผ่ก็จะทำให้ไผ่เจริญเติบโตเร็วมาก แต่หากปลูกในช่วงฤดูฝนเลย ต้นไผ่ก็ต้องการปรับสภาพในช่วงแรก บางครั้งฝนตกมากมีน้ำขังแฉะก็ทำให้ต้นไผ่ชะงักการเจริญเติบโตบ้าง รากเน่าบ้างหากเทียบกับการเจริญเติบโตแล้วสู้วิธีการปลูกในช่วงฤดูฝนไม่ได้ โดยวิธีการดังกล่าวก็สังเกตมาจากการปลูกอ้อยที่มักจะปลูกล่วงหน้า 1-2 เดือนก่อนเข้าฤดูฝนนั้นเอง
++ การดูแลรักษาต้นไผ่บงหวาน ++ ช่วง 1 ปีแรกก็จะมีเรื่อง ”ตัดหญ้า” ให้สวนไผ่สะอาด โปร่งอยู่อย่างสม่ำเสมอ แต่เมื่อไผ่มี่อายุ 2 ปีขึ้นไป ต้นไผ่มีใบปกคลุมสร้างร่มทั้งสวน แสงแดดส่องไม่ถึงหญ้าก็จะไม่ขึ้นก็จะลดภาระการตัดหญ้าลงไปทันที และต้องหมั่นระวังไฟป่าหรือมีแนวกันไฟรอบสวนไผ่ก็จะเป็นการดี เรื่องการสางกอไผ่ ไผ่จะมีการแตกหน่อเจริญเป็นลำไผ่ แต่ก็จะมีกิ่งแขนง หน่อเล็กๆที่แตกตามตาของส่วนต่างๆมากมาย ก็ควรจะต้องใช้มีดหรือกรรไกรตัดแต่งกิ่งเหล่านั้นออกให้หมด ให้กอไผ่มีแต่ลำไผ่หลักเทท่านั้น ต้องหมั่นสางกอให้โล่งสะอาดอยู่เป็นประจำ

 
++ การใส่ปุ๋ย ++ ในช่วงเดือนมีนาคม – เดือนเมษายนจะเน้นใส่ปุ๋ยคอกให้กับไผ่บงหวานเป็นหลัก ใช้อัตรา 10 -20 กิโลกรัมต่อกอ โรยใส่เป็นวงกลมรอบกอไผ่และทุกๆ 2-3 เดือนก็จะมีการใส่ปุ๋ยเคมีช่วยบำรุงอีกด้วยสูตร 16-16-16 แต่หากจะต้องการเร่งการออกหน่อ นอกจากการใส่ปุ๋ยปกติแล้ว จะมีการใส่ปุ๋ยยูเรีย (46-0-0) หรือสูตรใกล้เคียง ในอัตรา 0.5-1 กิโลกรัม โดยหว่านให้รอบๆกอไผ่ ในการใส่ปุ๋ยเคมีให้กับไผ่บงหวาน พึงต้องระวังอย่าให้ปุ๋ยเคมีโดยหน่อ เพราะจะทำให้หน่อเน่าได้หรือหากจะต้องการเพิ่มรสชาติหน่อไม้หวานขึ้นก็อาจ ใช้ปุ๋ยเคมีสูตร 13-13-21 สลับกับปุ๋ยยูเรีย (46-0-0) ก็ได้

++ การไว้ลำของไผ่บงหวาน ++ ไผ่บงหวานเมื่อปลูกใน 1 ปีแรก จะมีลำไผ่ราว 4 – 8 ลำ ซึ่งในระยะนี้จะไม่มีการเก็บหน่อมากนัก เนื่องจากจะต้องเลี้ยงปล่อยให้เป็นลำแม่ต่อไป การดูแลในช่วงนี้จะทำการตัดแต่งกิ่งแขนงเล็กๆ ทั้งจากโคนต้นหรือตามตาลำไผ่ออก เมื่อไผ่บงหวานอายุพ้น 1 ปีไปแล้วก็จะเริ่มเก็บหน่อออกจำหน่ายได้บ้าง ในการตัดหน่อควรจะตัดจากกลางกอก่อนแล้วค่อยขยายออกมารอบนอกกอ ซึ่งหน่อด้านนอกๆ ควรจะต้องเลือกเก็บรักษาไว้บางส่วนเพื่อใช้เป็นลำแม่ การพิจาณาเลือกไว้ลำไผ่นั้น ให้เลือกลำไผ่ที่อวบใหญ่และมีทิศทางการเจริญขยายออกนอกกอเป็นวงกลม ก็จะส่งผลให้กอใหญ่ขึ้น มีหน่อมากขึ้นในปีถัดไปและทำงานได้สะดวกเมื่อจะเข้าไปตัดหน่อ หรือดูแลรักษา

** ในการตัดแต่งกอไผ่บงหวานหรือการสางกอหรือการล้างกอไผ่นั้น ควรจะต้องทำปีละ 1 ครั้งคุณฐณะณัฐจะเริ่มตัดแต่งกอไผ่บงหวาน ช่วงปลายฤดูฝนหรือเดือนพฤศจิกายน – ธันวาคม ธรรมชาติของไผ่เมื่อจะเข้าสู่ฤดูหนาวนั้นต้นไผ่ตะมีการชะงักการเจริญเติบโต ชั่วขณะให้เลือกตัดแต่งกิ่งแขนงด้วยกรรไกรตัดแต่งกิ่ง ส่วนกิ่งที่แตกตามตาของลำไผ่ให้ใช้มีดพร้าวับบริเวณดังกล่าว การสับนั้นควรสับให้ตาติดเปลือกไผ่ไปเลย หากตาดังกล่าวไม่ขาดมันจะแทงหน่อหรือกิ่งแขนงเล็กๆ มากตลอดทั้งปี แต่ถ้าหากสับตาจนขาดก็จะไม่มีแขนงขึ้นมาอีกเลยส่วนลำไผ่แม่เดิมให้ใช้แสลง หรือเสียมที่มีความคมแทงลำไผ่เดิมออกไป ซึ่งโดยเฉลี่ยแล้วให้ไว้ลำแม่ใหม่ประมาณ 8-12 ลำต่อกอ ให้แต่ละลำมีความห่างกันพอประมาณสัก 20 – 30 เซนติเมตรโดยประมาณ โดยลำแม่ใหม่จะสามารถให้หน่อได้มากอ หน่อใหม่จะมีขนาดใหญ่สมบูรณ์กว่าเดิม

*** ต้นไผ่บงหวานจะเริ่มให้ผลผลิตได้ดีเมื่ออายุเช้าสู่ปีที่ 2 โดยราคาจำหน่ายหน่อจะอยู่ที่กิโลกรัมละ 30 – 50 บาทตลอดทั้งปี เน้นการจำหน่ายตลาดชุมชนเป็นหลัก ตลาดมีความต้องการไผ่บงหวานเป็นอย่างมาก ติดใจในรสชาติทุกคน อย่างที่สวนสรภพจะเก็บหน่อทกๆวัน โดยผลผลิต 1 ไร่ จะเก็บหน่อไผ่บงหวานได้เฉลี่ยวันละ 15 – 20 กิโลกรัม โดย 3 ไร่ ก็จะมีหน่อไม้เก็บราว 45 – 60 กิโลกรัมต่อวัน หากจำหน่ายกิโลกรัมละ 50 บาท ก็จะได้เงินราว 2,250 – 3,000 บาทต่อวัน แต่ผลตอบแทนจะมากหรือน้อยนั้นมักจะขึ้นอยู่กับการดูแลของเราว่าเอาใจใส่ไผ่ ของเรามากน้อยเพียงใด

การปลูกไผ่บงหวาน(สวนเพชรน้ำผึ้ง) การ ปลูกไผ่เพื่อขายหน่อจัดเป็นรูปแบบเกษตรกรรมอินทรีย์และปลอดสารพิษ  เนื่อง จากมีการใช้สารเคมีน้อยมากหรือไม่ใช้เลย  นอกจากนั้นการปลูกไผ่ยังช่วยลดโลก ร้อนได้ดี กว่าต้นไม้หลายชนิด  อย่างกรณีของคุณวรรณบดีและคุณลำ พึง  รักษา เจ้าของสวนไผ่บงหวานเพชรน้ำผึ้ง  บ้านเลขที่ 91 หมู่ 4 ต.แม่ จั๊ว อ.เด่นชัย จ.แพร่ 54110 โทร. 087-838-7334 และ 083-266-3096เริ่มต้น จากการปลูกถั่วฝักยาว และมีความจำเป็นที่จะต้องใช้ไม้ไผ่ทำค้างจะต้องซื้อ ไม้ไผ่เป็นประจำทุกปี  จึงคิดจะปลูกไผ่เพื่อนำไม้ไผ่มาทำค้างและคิดหาพันธุ์ มาปลูกและเป็นพันธุ์ที่ขายหน่อได้ด้วย

เริ่ม ต้นคุณลำพึงจึงได้ต้นพันธุ์ไผ่บงหวานที่ จ. เชียงใหม่มาปลูกเมื่อมีหน่อปรากฏว่าหน่อไม้ไผ่บงหวานขายได้ราคาดี จึงคิดจะขยายพื้นที่ปลูกเพิ่มเติม และได้ข้อมูลจากพี่สาวว่าแหล่งพันธุ์ของไผ่บงหวานพันธ์ดีอยู่ที่ จ.เลย พบว่าต้นไผ่บงหวานกำลังออกดอกและตายขุยพอดีจึงได้นำเอาเมล็ดไผ่มาปลูก เวลาผ่านไปประมาณ 3 ปี พบว่าต้นไผ่บงหวานที่ได้จากการเพาะเมล็ดนั้น ได้หน่อไม้ที่มีความแตกต่างจากพันธุ์ไผ่บงหวานที่ซื้อมาจาก จ. เชียงใหม่ คือ ขนาดของหน่อใหญ่ หน่อมีสีเขียวอ่อน ในขณะที่หน่อไม้บงหวานจาก จ. เชียงใหม่และที่อื่นๆมีขนาดของหน่อเล็กกว่าและหน่อมีสีเขียวเข้ม นำมาบริโภคดิบได้เหมือนผักสดไม่ขมติดลิ้นและไม่ต้องต้มน้ำทิ้ง
++ คุณสมบัติเด่นของหน่อไม้ไผ่บงหวาน ++
หลังจากที่คุณลำพึงผลิตหน่อไม้ไผ่บงหวานออกจำหน่าย ผลปรากฏว่า ไม่เพียงพอต่อความต้องการของตลาด ด้วย ลักษณะเด่นอยู่ที่หน่อไผ่มีรสชาติไม่ขมสามารรถกินเป็นหน่อไม้ดิบเหมือนผักสด และไม่ขมติดลิ้นเหมือนหน่อไม้ไผ่พันธุ์อื่นๆ นำไปประกอบอาหารได้หลากหลาย อาทิ ต้มจิ้มน้ำพริก ผัดน้ำมันหอย ชุบแป้งทอดและต้มจืดกระดูกหมูเป็นต้น คุณ ลำพึงยังได้บอกถึงเทคนิคในการบริโภคไผ่บงหวานให้ได้รสชาติอร่อยจะต้องต้มน้ำ ให้เดือดแล้วค่อยใส่ไผ่บงหวานลงไปในน้ำเดือดนาน 5-7 นาทีเท่านั้น นำมารับประทานได้เลยโดยไม่ต้องต้มน้ำทิ้ง
**ลักษณะพันธุ์ไผ่บงหวานของสวนไผ่บงหวานเพชรน้ำผึ้ง จากที่กล่าวมาแล้วในข้างต้นว่าพันธุ์ไผ่บงหวานที่คุณลำพึงขยายพื้นที่ปลูก และผลิตหน่อขาย ในปัจจุบันได้จากการเพาะเมล็ดจากต้นไผ่บงหวาน จ. เลย ที่เริ่มเพาะมาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2549 สรุปลักษณะประจำพันธุ์เป็นไผ่ขนาดกลาง ลำต้นเมื่อเจริญเติบโตเต็มที่มีความสูงเฉลี่ย 7- 12 เมตร หน่อที่เก็บจากต้นที่เจริญเติบโตเต็มที่จะมีน้ำหนัก 4-5 หน่อต่อกิโลกรัม

++ การขยายพันธุ์ไผ่บงหวาน สวนเพชรน้ำผึ้ง ++ วิธีการขยายพันธุ์ไผ่ของสวนไผ่บงหวานเพชรน้ำผึ้ง เป็นที่สังเกตว่าคุณลำพึงจะมีการขยายพันธุ์ไผ่บงหวาน 2 วิธี คือ
1. ขยายพันธุ์แบบใช้เหง้า จะได้ต้นไผ่ที่เจริญเติบโตและให้ผลเร็ว คือ นำไปปลูกจะใช้เวลาเพียง 6 เดือน จะเริ่มขุดหน่อขายได้ในพื้นที่ปลูกที่มีแหล่งน้ำอุดมสมบูรณ์ เหง้าที่แยกมาเพาะลงถุงชำจะใช้เวลานานประมาณ 1 เดือน รากจะขยายเต็มถุง ขายต้นละ 30 บาท แต่ถ้าเลี้ยงจนกอใหญ่ขึ้นราคาขายจะสูงขึ้นเป็นกอละ 99 บาท เมื่อนำไปปลูกใช้เวลาเพียง 6 เดือน สามารถขุดหน่อขายได้
2. การขยายพันธุ์โดยใช้เมล็ด เป็นอีกแบบหนึ่งซึ่งนักขยายพันธุ์ไผ่ไม่นิยมปฏิบัติกัน เนื่องจากใช้เวลานานมากกว่าจะได้หน่อ คือ การเพาะเมล็ด ที่มองดูคล้ายกับเม็ดข้าวสาร โดยจะเริ่มจากเก็บเมล็ดไผ่บงที่แก่จัด(สังเกตได้ว่าเมล็ดๆ ไผ่ที่แก่จัดจะร่วงลงสู่พื้น) นำไปหว่านเพาะในกระบะที่ใช้ดินร่วนปนทรายผสมปุ๋ยคอกและขี้เถ้าแกลบคลุกให้ วัสดุร่วนซุย รดน้ำให้ชุ่ม 7-10 วัน เมล็ดก็จะเริ่มงอก จากนั้นราว 1 เดือน ให้ย้ายลงปูกในถุงดำเพื่ออนุบาล จนต้นกล้าไผ่แข็งแรงหากบางท่านกลัวจะเสียเวลาย้ายกล้าก็สามารถเพาะกล้าในถุง ดำได้เลย ซึ่งหลังจากเพาะเมล็ดและนำไปปลูกลงแปลงจะต้องใช้เวลาอย่างน้อย 3 ปี ถึงจะขุดหน่อขายได้ ** แต่ก็มีข้อดีตรงที่ต้นไผ่มีอายุที่ยืนยาวและมีโอกาสออกดอกและตายขุยได้ ยากกว่าการปลูกด้วยเหง้า
 
++ การปลูกและดูแลรักษาไผ่บงหวาน ++
สำหรับเกษตรกรที่จะเริ่มต้นปลูกไผ่บงเป็นอาชีพ เสริมคุณลำพึงแนะนำให้เริ่มต้นปลูกไผ่บงหวานในพื้นที่ 1 งาน ประมาณ 50 ต้น 1 กอหลังจากแยกเหง้ารากแย่งได้ราว 3-4 ต้นปลูกไปได้ 6 เดือนใช้งอบขุดแซะได้ง่าย รากไม่ใหญ่มากนัก เป็นรากฝอยแผ่กระจายแค่ผิวดิน
พื้นที่ 1 ไร่ปลูกไผ่บงหวานได้ 400 กอ คุณวรรณบดีแนะนำว่าการปลูกไผ่บงหวานนั้น ให้ใช้ระยะปลูกระหว่างต้น 2 เมตร ระหว่างแถว 4 เมตร พื้นที่ 1 ไร่ปลูกได้ 200 ต้น ที่ให้เว้นระยะระหว่างแถวให้กว้างเพื่อให้เกษตรกรเข้าไปทำงานได้สะดวก เช่นนำขี้เถ้าแกลบเข้าไปใส่ได้ง่าย สำหรับการปลูกก็ไม่ยุ่งยากขุดหลุมปลูกขนาด 50 x 50 x 50 เซนติเมตร รองก้นหลุมด้วยปุ๋ยคอกเก่าหลังปลูกเสร็จรดน้ำให้ชุ่ม คุณวรรณบดียังบอกถึงเคล็ดลับในการปลูกไผ่บงหวานให้ได้ผลผลิตดี ดังนี้ ถ้าปลูกในช่วงฤดูฝนแนะนำให้ปลูกเสมอกับดินเดิมหรือขุดหลุมเป็นแอ่งกระทะ

++ การดูแลรักษา ++
หลังจากปลูกไผ่บงหวานเสร็จจะต้องหมั่นตัดหญ้า ที่สวนไผ่บงหวานเพชรน้ำผึ้งจะมีการให้ปุ๋ยและให้น้ำเฉลี่ยเดือนละ 1 ครั้ง ปุ๋ยคอกจะใช้ได้ทั้งขี้วัวเก่าหรือขี้ไก่หรือแม้แต่เศษวัสดุเหลือใช้ทางการ เกษตรใช้ได้หมด เช่น ซังข้าวโพด, กากอ้อย, เปลือกถั่วต่างๆ,กากยาสูบ,ขี้เถ้าแกลบ สิ่งที่มาความจำเป็นที่จะต้องปฏิบัติเป็นประจำทุกเดือนคือ จะต้องมีการสางลำไผ่ขนาดเล็กที่แตกมาจากตาหน่อเก่าหรือแตกมาจากตาบนลำไผ่ เดิมออกโดยใช้มีดพร้าสับออกเลยเพื่อให้ข้างล่างโล่งให้ใบไผ่อยู่ส่วนบนเท่า นั้น เกษตรที่ปลูกไผ่บงหวานใหม่ๆจะมีหน่อเกิดขึ้นข้างในประมาณ 5-6 หน่อ ให้ขุดหน่อข้างในไปบริโภคหรือจำหน่ายได้ ส่วนหน่อที่ออกมานอกกอสามารถเก็บขายได้ พอเมื่อเข้าฝนก็ต้องปล่อยให้หน่อออกกอโตให้มันขึ้นเป็นลำไผ่

**การตัดสินใจเลือกพันธุ์ไผ่ปลูก ** ยังมี คำแนะนำเพิ่มเติมจากคุณลำพึงในการตัดสินใจปลูกไผ่เพื่อผลิตหน่อขาย ถ้าเป็นไปได้ไม่cนะนำให้ปลูกพันธุ์ที่ยังมีในธรรมชาติอย่างเช่น ไผ่ซาง ซึ่งยังพบมากในทางเหนือที่มีความอุดมสมบูรณ์ จะต้องปลูกหน่อไม้ที่มีรสชาติไม่เหมือนกับหน่อไม้ที่หาได้ง่ายจากธรรมชาติ อย่างกรณีของไผ่เลี้ยงก็เช่นกันเป็นที่ทราบกันดีว่าหน่อไผ่เลี้ยงเป็นที่ นิยมและรู้จักบริโภคกันดีในพื้นที่ภาคอีสาน แต่เมื่อนำมาปลูกทางภาคเหนือขายไม่ดีเท่าไผ่บงหวานหรือไผ่หม่าจู(ขมเพียง เล็กน้อย) เป็นต้น ดังนั้นในการคัดเลือกพันธุ์ไผ่ที่จะปลูกจะต้องมองเรื่องการตลาดด้วยว่าตลาด แต่ละพื้นที่มีความต้องการหน่อไม้ประเภทใด
 
++ ตลาดของไผ่บงหวาน ++
หน่อไผ่บงหวานมีน้ำหนักเฉลี่ย 1-10 หน่อต่อกิโลกรัม คุณลำพึงบอกว่าโดย ทั่วไปแล้วตลาดมีความต้องการหน่อไม้ไผ่บงหวานที่มีขนาดนำหนักของหน่อ 6-8 หน่อต่อกิโลกรัม เนื่องจากเมื่อซื้อเป็นของฝากแล้วจะดูน่าซื้อคือขนาดไม่เล็กเกินไปคุณลำพึง ยังบอกว่าหน่อไม้ไผ่บงหวานมีคุณภาพและรสชาติดีที่สุดเมื่อนำมาบริโภคสดๆ และเร็วที่สุด ถ้าปล่อยทิ้งไว้หลายวันความหวานจะลดลงเช่นเดียวกับข้าวโพดหวาน ดังนั้นการเก็บหน่อไม้ของคุณลำพึงจะมีการขุดขายวันต่อวัน ถึงแม้จะเก็บไว้ในตู้เย็นความหวานก็จะลดลง แต่ถ้าจะเก็บไว้บริโภคนานวันควรจะต้มให้สุกแล้วนำมาแช่แข็งจะดีกว่า
** ปัจจุบันในการส่งขายหน่อไผ่บงหวานของสวนเพชรน้ำผึ้ง จะเก็บในช่วงเวลาเช้า พอช่วงสายๆจะมีพ่อค้ามารับซื้อและตีรถเข้ากรุงเทพมหานครให้ทันเย็น จะขายต่อทันที จะทำให้ยังคงสภาพความหวานไว้ได้ ในขณะที่ถ้าเป็นพันธุ์ที่หน่อมีรสชาติขม ปล่อยทิ้งไว้ข้ามวันจะยิ่งขมขึ้นและเนื้อของหน่อจะแข็ง

การปลูกไผ่สามฤดู กำนัน เสนอ นราพล กำนันตำบลบ้านบัว อำเภอเกษตรสมบูรณ์ จังหวัดชัยภูมิ ผู้ทำการ เกษตรแบบผสมผสาน เชี่ยวชาญในการปลูกไผ่สามฤดู ปลูกครั้งเดียวเก็บผลผลิตได้ ทั้งปี ในพื้นที่ 1 ไร่ ปลูกไผ่ได้กว่า 517 ต้น ลักษณะของไผ่ สามฤดูนั้น ลำ ต้นเล็กเรียว ใบน้อยไม่มีขน ลำต้นตันไม่กลวง หากปลูกนานถึงปีสามารถตัดลำต้น ขายได้ มีประโยชน์หลายอย่าง สามารถนำไปทำเป็นด้ามไม้ใช้สอย เช่นไม้ กวาด  แนวรั้วก็ได้  ซึ่งกำนันเสนอ ได้แนะนำวิธีการปลูกไผ่สามฤดู  ดังนี้
ขั้นตอนแรก
1. เตรียมดิน บำรุงดินให้มีสารอาหารที่ดีด้วยการใส่ปุ๋ยคอก ขี้วัว แกลบเหลือง เศษหญ้าฟาง หมักทิ้งไว้เพื่อช่วยทำให้ดินมีความชุ่มชื่น และเกิดอาหารแก่ดิน
2. ขุดหลุม ขนาด 2 X 2 รองก้นหลุมด้วยปุ๋ยขี้วัว แล้วนำท่อนไผ่ที่เตรียมไว้มาปลูก หรือจะเป็นต้นที่ตัดตอนมา ที่มีความสมบูรณ์เต็มที่
การใส่ปุ๋ย ไผ่สามฤดูปลูกง่าย จะใส่ปุ๋ยช่วงตอนปลูก กับตอนใกล้จะเก็บผลผลิต โดยใช้ปุ๋ยคอกขี้วัว
การให้น้ำ ไผ่สามฤดู จะรดน้ำ 2 วันรดน้ำ 1 ครั้ง ระยะเวลา 6 เดือนสามารถเก็บผลผลิตได้ ซึ่งรุ่นแรกที่ให้ผลผลิต (หน่อไม้) อาจจะไม่มากนัก แต่หลังจากนั้นสามารถเก็บผลผลิตได้ตลอดทั้งปี ราคาอยู่ที่กิโลกรัมละ 25-30 บาท
เคล็ดลับทำให้ไผ่สามฤดูออกหน่อมาก คือ ตัดแต่งลำต้น 1 กอ จะตัดลำต้นให้เหลือเพียง 3-4ลำ เพื่อไม่ให้แย่งอาหารกัน 1 กอ จะออกหน่อมากถึง 10-12 หน่อ เลยทีเดียว
ข้อดีของไผ่สามฤดู คือ ลำต้นตัน ไม่กลวง จึงไม่มีปัญหา หนอน แมลง หนู มาเจาะ แทะกินได้แต่มีปัญหาแมลงวันทองมากัดกินหน่อไผ่ และแก้ด้วยภูมิปัญญาชาวบ้านด้วยการทำกับดักแมลงวันทองจากขวดพลาสติก Recycle โดยนำใบกะเพรามาใส่ไว้ในขวด พลาสติก Recycle แล้วนำไปแขวนที่ต้นไผ่ เพื่อล่อแมลงวันทอง หรือนำเอาหัวเชื้อกลิ่นแมลงวันทองชุบสำลี แล้วใส่เข้าไปในขวดเพื่อล่อให้เข้าไปติดกับ

สูตรน้ำหมักชีวภาพ ช่วยบำรุงให้หน่อโตเร็ว ต้นแข็งแรง
วัตถุดิบ
1.หอยเชอร์รี่ 5 กิโลกรัม
2.ขี้ปลา 5 กิโลกรัม
3.กากน้ำตาล 2 กิโลกรัม
4.อีเอ็ม 1 กระป๋องนม
นำมาหมักทิ้งไว้ 2 เดือน สามารถนำมาใช้ได้
อัตราการใช้
น้ำหมัก 2 ช้อนแกง ต่อน้ำ 20 ลิตร นำมาฉีดรดจะช่วยบำรุงให้หน่อโตเร็ว ต้นแข็งแรง

การปลูกไผ่เลี้ยง…ของคนเลี้ยงไผ่ ภารกิจ ของผู้นำชุมชนร่วมด้วยช่วยกันสำนึกรักบ้านเกิด จ.เชียงราย วันนี้ได้เดินทาง ไปยังไร่ของคุณไพรัตน์ คำเงิน อยู่บ้านเลขที่ 107 ม.7 ต.ศรีค้ำ อ.แม่ จัน จ.เชียงราย เกษตรกรผู้ปลูกไผ่เลี้ยง คุณไพรัตน์ได้ปลูกไผ่เลี้ยงมาได้ ประมาณ 2 ปีแล้ว ภายในพื้นที่ 7 ไร่ ซึ่งคุณไพรัตน์ กล่าวว่าประสบความ สำเร็จเป็นอย่างดี
พันธุ์ไผ่เลี้ยงที่นำมาปลูกเป็นพันธุ์ที่ได้มาจากจังหวัดฉะเชิงเทรา ปลูก ง่าย ดูแลรักษาง่าย โตไว ผลผลิตสูง ถ้าได้รับการดูแลรักษาเป็นอย่างดีสามารถ เก็บผลผลิตได้ตลอดทั้งปี แต่ในช่วงนี้ ส่วนใหญ่แล้วตนจะเก็บผลผลิต ทุกๆ 6 เดือนเพราะพึ่งเริ่มปลูกได้แค่ 2 ปี ต้องการให้ต้นไผ่เลี้ยงโตเต็ม ที่ก่อน จึงสามารถสร้างรายได้ให้แก่ตนเป็นอย่างดี มีการจำหน่ายทั้งหน่อสด ที่ตัดจากต้น และจำหน่ายหน่อไม้แปรรูปเป็นหน่อไม้โป่ง นอกจากนั้นยังเพาะ กล้าพันธุ์ไผ่เลี้ยงออกจำหน่ายอีกด้วย

ขณะ นี้ไผ่เลี้ยงได้เริ่มเป็นที่นิยมของผู้บริโภคมากขึ้น เพราะเป็นไผ่ที่มีรสชาติอร่อย ไม่ขมจัด ปัจจุบันในจังหวัดเชียงรายยังไม่มีผู้ปลูกแพร่หลายมากนัก แต่ผลผลิตก็เป็นที่ต้องการของตลาดมากขึ้น เป็นไผ่ที่มีลักษณะพิเศษคือไม่มีหนามหรือขนระคายเคืองเหมือนไผ่ชนิดอื่นๆ ลักษณะคล้ายไผ่สร่างไพร ที่พิเศษกว่านั้น คือ ไผ่เลี้ยงสามารถให้ผลผลิตหน่อไผ่ได้ตลอดทั้งปี สร้างรายได้ให้แก่เกษตรกรทุกวัน ผู้บริโภคส่วนใหญ่นิยมนำมาปรุงอาหาร ดอง หรืออัดปิ๊บ
พันธุ์ไผ่เลี้ยง : มี 2 ชนิด คือ
1.ไผ่เลี้ยงพันธุ์หนัก เป็นพันธุ์ที่ให้ผลผลิตหน่อได้ตามปกติ คือในช่วงฤดูฝน ตั้งแต่เดือนมิถุนายน – สิงหาคม ในช่วงฤดูอื่นก็จะไม่ให้ผลผลิต หรืออาจจะมีบ้างแต่ก็น้อยมาก ถ้าจะนำหน่อไผ่เลี้ยงพันธุ์หนักไปผลิตเป็นหน่อไผ่นอกฤดูหรือต้นฤดูฝนก่อนที่ ผลผลิตหน่อตามฤดูกาลจะออกมา เพื่อที่จะได้จำหน่ายในราคาที่สูงกว่าไผ่ที่ออกตามฤดูกาลนั้น ต้องมีการบำรุงรักษาเป็นอย่างดี และค่อนข้างยาก ต้นทุนสูง ผลผลิตที่ได้ก็น้อยมากไม่คุ้มกับทุน
2.ไผ่เลี้ยงพันธุ์เบา เป็นไผ่เลี้ยงพันธุ์ที่ให้ผลผลิตหน่อไผ่ตั้งแต่ในช่วงฤดูฝนเช่นกัน แต่ไผ่เลี้ยงชนิดนี้สามารถผลิตเป็นหน่อไผ่นอกฤดูกาลได้ดีมาก เพราะมีลักษณะเด่น คือ ปลูกเลี้ยงง่าย บำรุงรักษาง่าย ถ้าได้น้ำ ได้ปุ๋ยดี จะให้ผลผลิตหน่อทันที ไม่ต้องรอถึงช่วงฤดูฝน ผลผลิตที่ได้จะเพิ่มมากขึ้นตามความเอาใส่ใจในการบำรุงรักษา จึงสามารถเก็บผลผลิตได้ตลอดทั้งปี ฉะนั้น จึงขอแนะนำให้ผู้ที่สนใจจะปลูกไผ่เลี้ยงขายหน่อไผ่ ควรปลูกพันธุ์เบาจะเหมาะมาก
ผลผลิต(หน่อไผ่)จะได้มากหรือน้อยนั้นขึ้นอยู่กับการเตรียมดินและการเลือก พื้นที่ปลูก ซึ่งถือว่ามีความสำคัญเป็นอย่างยิ่ง ก่อนปลูกจำต้องมีการคัดเลือกพื้นที่ให้ดีก่อน สภาพพื้นที่ที่เหมาะสำหรับการปลูกไผ่เลี้ยงนั้น ควรมีลักษณะเป็นดินร่วนปนทราย ถ้าเป็นดินเหนียว หรือดินโคกลูกรัง จะทำให้การเจริญเติบโตไม่ดี การให้ผลผลิตหน่อไผ่น้อย และคุณภาพต่ำ ดังนั้นจึงต้องมีการเตรียมดินก่อนปลูก ด้วยการไถ่กลบหน้าดินทิ้งไว้ประมาณ 2 สัปดาห์ เพื่อกำจัดวัชพืช หลังจากนั้นให้ไถ่อีกครั้งเพื่อปรับสภาพดินให้ร่วนซุยเหมาะแก่การปลูก ระยะห่างในการปลูกที่เหมาะสมคือ ระยะ 4 x 4 เมตร ใน 1 ไร่จะปลูกได้ประมาณ 66 ต้น แต่ทั้งนี้ก็ขึ้นอยู่กับเกษตรกรด้วยว่าจะเว้นระยะห่างเท่าไหร่จึงจะเหมาะสม เพราะต้องขึ้นอยู่กับเครื่องมือที่ใช้จัดการกับแปลงปลูก และการดูแลรักษาของเกษตรกรเองด้วย ซึ่งของคุณไพรัตน์เองนั้นได้มีการเว้นระยะห่างประมาณ 3×3 เมตร ถือว่าสะดวก และเหมาะสมกับการจัดการกับแปลงปลูกของตนด้วย
การดูแลรักษาไผ่เลี้ยง ทำได้ไม่ยาก เพียงแต่ต้องคอยกำจัดวัชพืชอย่างสม่ำเสมอ อย่าปล่อยให้หญ้าขึ้นรกคลุมแปลงปลูก ในช่วงหน้าแล้งถ้าไม่มีฝนตกควรรดน้ำสัปดาห์ละ 2 ครั้ง เมื่อปลูกไผ่ได้ประมาณ 7 เดือนแล้ว ควรตัดแต่งกิ่งและลำต้นที่เล็กออก แล้วพรวนดินให้ทั่วรอบกอ ใส่ปุ๋ยคอกหรือปุ๋ยหมัก กอละประมาณ 5 – 10 กิโลกรัม แล้วนำหญ้าที่ถอนออกมาคลุมโคนต้นไว้ หรืออาจเป็นใบไม้แห้ง,ฟางข้าวก็ได้ เพื่อเก็บรักษาความชื้นในดินไว้ ควรให้น้ำตลอดช่วงฤดูแล้ง เพื่อเร่งการเจริญเติบโต
เมื่อไผ่มีอายุได้ 8 เดือน ขึ้นไปก็จะสามารถให้หน่อได้และเพิ่มจำนวนต้นในแต่ละกอ เพื่อจะได้ปริมาณจำนวนต้นไว้ผลิตหน่อในฤดูต่อไป เมื่อปลูกไผ่เลี้ยงได้ประมาณ 2 ปี ต้องมีการตัดต้นที่แก่และชิดกันออก ให้แต่ละกอเหลือจำนวนต้นอยู่ประมาณไม่เกิน 12 ต้น ควรตัดแต่งกิ่งทุกปีปีละ 1 ครั้ง ในช่วงเดือนธันวาคม-มกราคม หลังจากตัดแต่งกิ่งเสร็จให้ใส่ปุ๋ยคอกหรือปุ๋ยหมัก กอละประมาณ 15-20 กิโลกรัม แล้วรดน้ำทันทีเพื่อเร่งให้ได้ผลผลิตในช่วงต้นฤดู ซึ่งจำหน่ายได้ราคาสูง
ลักษณะของหน่อไผ่ที่เหมาะสมต่อการเก็บผลผลิต ต้องรอให้หน่อไผ่พ้นขึ้นมาจากดินประมาณ 4-6 วัน จะมีขนาดประมาณ 40-50 เซนติเมตร จึงจะสามารถตัดได้ มีขนาดพอดีไม่แก่เกินไป ซึ่งคุณไพรัตน์จะจำหน่ายในราคากิโลกรัมละ 8 บาท อาจราคาสูงกว่านี้ในต้นฤดูกาลหรือนอกฤดูกาล นอกจากหน่อไผ่สดที่คุณไพรัตน์จำหน่ายแล้ว หน่อไผ่เลี้ยงยังสามารถแปรรูปเป็นหน่อไม้โป่งขายทั้งในฤดูและนอกฤดูได้อีก ด้วย ซึ่งวิธีการผลิตก็ทำได้ไม่ยาก คือ ต้องนำหน่อไม้มาแซ่น้ำไว้ประมาณ 2 คืน หลังจากนั้นนำออกมาต้มให้สุก ช่วงที่ต้มใส่เกลือปรุงรสเล็กน้อย แล้วนำบรรจุถุงออกจำหน่ายในราคา 3 ขีด 8 บาท มีรสชาติอร่อย และยังสามารถเก็บไว้รับประทานได้นาน ถ้าใส่ตู้เย็นเก็บไว้ได้ถึง 10 วัน
นอก จากนั้นคุณไพรัตน์ยังได้มีการเพาะพันธุ์ไผ่เลี้ยงไว้จำหน่ายอีกด้วย ซึ่งจำหน่ายในราคาต้นละ 40 -50 บาท มีการเพาะพันธุ์โดยการนำเอาเหง้าของลำต้นไผ่ที่มีอายุประมาณ 1 ปี มาชำลงถุงชำ รดน้ำสม่ำเสมอ ชำไว้ประมาณ 2 เดือนก็สามารถนำออกปลูกหรือนำไปจำหน่ายได้

ไผ่ เลี้ยง เป็นพืชเศรษฐกิจอีกชนิดหนึ่งที่น่าสนใจเป็นอย่างมาก สามารถสร้างรายได้ให้แก่เกษตรกรได้ตลอดทั้งปี ดูแลรักษาง่าย วิธีการปลูกก็ง่ายไม่ยุ่งยาก ไม่ต้องกังวลเกี่ยวกับโรคระบาดต่างๆ ที่จะเกิดขึ้นกับต้นไผ่เพราะยังไม่ปรากฏชัดเจน อาจมีปัญหาเรื่องหนอนหรือตัวด้วงบ้างที่มาเจาะกินต้นไผ่ แต่ก็ไม่ใช่ปัญหาใหญ่ สามารถกำจัดและดูแลรักษาให้ดีได้ จึงเป็นพืชที่สามารถปลูกร่วมกับการทำการเกษตรกรรมชนิดอื่นๆ ได้ดีมาก สร้างรายได้เสริมให้กับเกษตรกรได้เป็นอย่างดี


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น