มะละกอสร้างชาติ “มะละกอพืชยอดนิยม ปลูก บริโภค สร้างรายได้…ทั่วถิ่นแดนไทย” (ตอน 1) ตุลาคม 10, 2011
http://info.matichon.co.th/techno/techno.php?srctag=05074150954&srcday=2011-09-15&search=noวันที่ 15 กันยายน พ.ศ. 2554 ปีที่ 23 ฉบับที่ 511 |
ทะนุพงศ์ กุสุมา ณ อยุธยา
มะละกอสร้างชาติ “มะละกอพืชยอดนิยม ปลูก บริโภค สร้างรายได้…ทั่วถิ่นแดนไทย” (ตอน 1)
เมื่อ วันที่ 27 สิงหาคม 2554 ที่ผ่านมา บริษัทในเครือมติชน ได้จัดสัมมนามะละกอสร้างชาติ
“มะละกอพืชยอดนิยม ปลูก บริโภค สร้างรายได้…ทั่วถิ่นแดนไทย” ขึ้นที่ห้องประชุมใหญ่
หนังสือพิมพ์ข่าวสด ในพิธีเปิด มี คุณวินัย กสิรักษ์ รองอธิบดีกรมส่งเสริมสหกรณ์ เป็นประธานในพิธี
ในงานมีผู้เข้าร่วม เกือบ 300 คน
วิทยากร มีทั้งนักวิชาการเกษตร อาจารย์จากมหาวิทยาลัย เกษตรกร รวมทั้งผู้ประกอบการเอกชน
มูลค่าส้มตำ 7,500 ล้านบาท ต่อปี
คุณสมหมาย ปาริจฉัตต์ รองประธานกรรมการ บริษัท มติชน จำกัด (มหาชน) กล่าวรายงาน บริษัทในเครือมติชน ยินดีต้อนรับทุกๆ ท่านเข้าสู่ งานสัมมนา…มะละกอสร้างชาติ…”มะละกอพืชยอดนิยม ปลูก บริโภค สร้างรายได้…ทั่วถิ่นแดนไทย”
ผู้เข้าร่วมสัมมนาบางท่านที่เคยเข้าร่วมงานสัมมนา ณ ที่นี้ อาจจะเข้าใจว่า ทางมติชน มีหน้าที่ในฐานะที่เป็นองค์กรสื่อสารมวลชนแล้วจะมาจัดสัมมนาเรื่องมะละกอ ทำไม ขอเรียนว่า…ไม่ใช่ครับ
บริษัท มติชน จำกัด (มหาชน) มีหนังสือในเครือ ประกอบด้วย หนังสือพิมพ์มติชนรายวัน ข่าวสด ประชาชาติธุรกิจ มติชนสุดสัปดาห์ ศิลปวัฒนธรรม เส้นทางเศรษฐี และเทคโนโลยีชาวบ้าน นอกจากนี้ ยังมีสถาบันฝึกอบรมอาชีพ มติชน หรือที่รู้จักกันในนาม มติชน อะคาเดมี่ ซึ่งตั้งอยู่ด้านหน้าของตึกใหญ่หนังสือพิมพ์ข่าวสด หนังสือแต่ละเล่ม มีเอกลักษณ์ มีหน้าที่แตกต่างกันไป
อย่างเช่น ผู้สนใจการเมือง ติดตามได้ในมติชนรายวัน ข่าวสด มติชนสุดสัปดาห์ หากเป็นเรื่องที่เกี่ยวข้องกับทางเศรษฐกิจ ต้องประชาชาติธุรกิจ ถ้าเป็นเรื่องประวัติศาสตร์ โบราณคดี ทางเรามีหนังสือศิลปวัฒนธรรม
ส่วนใครที่มองหาอาชีพใหม่ๆ หรือต่อยอดงานเดิม นิตยสารเส้นทางเศรษฐี สามารถเพิ่มพูนความรู้และให้แนวความคิด สามารถนำไปปฏิบัติได้
สถาบันฝึกอบรมอาชีพ มติชน ก่อตั้งมาเมื่อปี 2538 มีผู้ผ่านการอบรมไปแล้วหลายหมื่นคน มีไม่น้อยที่ร่ำรวยเป็นเศรษฐี มีจำนวนมากที่ทำอาชีพการงานมั่นคง
สำหรับ นิตยสารเทคโนโลยีชาวบ้าน ได้นำเสนอเนื้อหาสาระเกี่ยวกับการเกษตรและอาชีพที่เกี่ยวข้อง จะมีอายุครบ 23 ปีบริบูรณ์ ในวันที่ 1 กันยายน 2554 นี้
หน้าที่หลักของทีมงานนิตยสารเทคโนโลยีชาวบ้าน คือการไปค้นหาข้อมูลข่าวสารตามภูมิภาคต่างๆ รวมทั้งจากสถาบันต่างๆ ส่งผ่านไปให้ผู้สนใจ ทั้งนี้ เป็นเพราะมีข้อมูลทางด้านการเกษตรอยู่พอสมควร ทางทีมงานจึงมีกิจกรรมเพิ่มขึ้น
ที่ผ่านมา มีเสวนาเกษตรสัญจร หรือทัวร์เกษตร หลายท่านที่มาร่วมงานสัมมนาครั้งนี้อาจเคยได้สัมผัสบรรยากาศเกษตรสัญจร ตามแบบฉบับของเทคโนโลยีชาวบ้านแล้ว
และที่น่าสนใจเพราะเป็นงานใหญ่ ซึ่งจะจัดขึ้นเป็น ครั้งที่ 3 ในปีนี้ คืองาน “เกษตรมหัศจรรย์ วันเส้นทางเศรษฐี-เทคโนโลยีชาวบ้านฯ” กำหนดการออกมาแล้ว ระหว่าง วันที่ 23-27 พฤศจิกายน 2554 ที่ชั้น 4 MCC HALL ห้างสรรพสินค้าเดอะมอลล์ บางแค เนื้องานของปีนี้ มีเรื่องของข้าวอินทรีย์ ผลิตผลแปลกและมหัศจรรย์ ผลใหญ่ขนาดยักษ์ ที่ขาดไม่ได้ คือการจำหน่ายของดี ราคาไม่แพง
สำหรับงานสัมมนาของนิตยสารเทคโนโลยีชาวบ้าน มีมาอย่างต่อเนื่อง โดยการริเริ่มของ คุณประพันธ์ ผลเสวก บรรณาธิการอำนวยการ
หัวข้อของการสัมมนานั้น ทางทีมงานพยายามนำเรื่องราวที่อยู่ในความสนใจ รวมทั้งสิ่งที่จะเกิดประโยชน์มาบอกเล่า ถกแถลง
วัตถุประสงค์ของงานสัมมนานั้น แรกสุด ทางผู้จัดอยากจะให้ผู้เข้าร่วมได้รับทราบข้อมูลว่า ปัจจุบันนี้ วงการมะละกอก้าวหน้าไปถึงไหน สถานการณ์ทั่วๆ ไปเป็นอย่างไร จะเลือกปลูกพันธุ์อะไรดี
แต่ทางผู้จัดงาน ไม่อยากให้ผู้เข้าร่วมสัมมนาเข้าใจว่า การพบปะแลกเปลี่ยนในลักษณะอย่างนี้ เป็นการชี้ชวนให้มาปลูกมะละกอกันมากๆ เพียงแต่อยากให้นำข้อมูลที่ได้ไปสังเคราะห์และวิเคราะห์ ก่อนตัดสินใจ
ดังนั้น ในเนื้อหาของการพูดคุยจากท่านวิทยากรที่มีความรู้ และประสบการณ์ตรงจะมีเรื่องราวของการปลูก การดูแลรักษา การตลาด รวมทั้งในเอกสารสัมมนาที่ท่านได้รับ โดยหวังว่าคงมีการนำไปปรับใช้ได้ไม่มากก็น้อย ส่วนผู้ที่ยังไม่ได้ตัดสินใจอะไร หากผ่านการสัมมนาแล้ว คงรู้จัก มะละกอ ดีขึ้น
ทีมงานเทคโนโลยีชาวบ้าน ให้ข้อมูลกับทางกระผมมาว่า ผลผลิตมะละกอทั้งปี อยู่ระหว่าง 1.2-2 แสนตัน
ทางนิตยสารเทคโนโลยีชาวบ้าน คิดคำนวณ โดยใช้ตัวเลขกลมๆ หากปีหนึ่ง ผลผลิตมะละกอออกสู่ตลาด 100,000 ตัน ในจำนวนนี้ 60 เปอร์เซ็นต์ คือ 60,000 ตัน หรือ 60,000,000 กิโลกรัม (60 ล้านกิโลกรัม) นำไปทำส้มตำ โดยที่ มะละกอ 1 กิโลกรัม ทำส้มตำได้ 5 จาน คนไทยทั้งประเทศที่มีอยู่ 66 ล้านคน ก็จะบริโภคส้มตำทั้งหมด 300 ล้านจาน หรือเฉลี่ย 4.5 จาน ต่อคน ต่อปี
หากนำจำนวนส้มตำที่คนไทยบริโภค คูณด้วยราคาส้มตำ จานละ 25 บาท ส้มตำทั้งประเทศ จะมีมูลค่า 7,500 ล้านบาท ทั้งนี้ผมขอย้ำว่า เป็นการคำนวณโดยทีมงานเทคโนโลยีชาวบ้าน โดยประเมินขั้นต่ำและคร่าวๆ หากมีหน่วยงานที่ศึกษาเรื่องนี้จริงจัง จะเป็นเรื่องที่ดีมาก
ทางด้านมะละกอสุก ก็เป็นผลไม้ที่มีความสำคัญมาก ทราบว่า บ่ายนี้ ช่วงพักรับประทานของว่าง/กาแฟ จะมีมะละกอ “แขกดำนายปรุง” ให้ผู้เข้าร่วมสัมมนาได้ชิม ทางทีมงานต้องไปแย่งซื้อกับห้างสรรพสินค้า โดยแบ่งมาได้เพียง 80 กิโลกรัม เท่านั้น สำหรับมะละกอนายปรุง ปลูกโดยวิธีห่มผ้า เขาขายจากสวนที่ตำบลศาลายา อำเภอพุทธมณฑล จังหวัดนครปฐม กิโลกรัมละ 35 บาท เมื่อไปถึงคนบริโภค ราคาสูงกว่านี้
ทางทีมงานเทคโนโลยีชาวบ้าน เส้นทางเศรษฐี สถาบันฝึกอบรมอาชีพ มติชน คงมีประเด็นงานสัมมนาที่น่าสนใจ มานำเสนอในโอกาสต่อไป
“ในฐานะตัวแทนของบริษัทในเครือมติชน กระผมขอขอบพระคุณ ผู้สนับสนุนการจัดงาน คือกรมส่งเสริมสหกรณ์ ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.) บริษัท กฤษณา มาร์เก็ตติ้ง จำกัด ห้างหุ้นส่วนจำกัด ยะลาทักษิณาวัฒน์ ขอบพระคุณท่านประธานเปิดงาน วิทยากร และผู้เข้าร่วมสัมมนาทุกท่านในโอกาสนี้ ขอกราบเรียนเชิญท่านรองอธิบดีกรมส่งเสริมสหกรณ์ กล่าวเปิดงาน และบรรยายพิเศษ เรื่อง “มะละกอสร้างชาติได้อย่างไร” ขอบพระคุณครับ” คุณสมหมาย กล่าว
มะละกอ สร้างชาติได้อย่างไร
คุณวินัย กสิรักษ์ รองอธิบดีกรมส่งเสริมสหกรณ์ กล่าวว่า กราบเรียนท่านรองประธานกรรมการ บริษัท มติชน จำกัด (มหาชน) ท่านวิทยากร และท่านผู้เข้าร่วมสัมมนาทุกท่าน ผมเองรู้สึกยินดีที่ได้มาเป็นประธานเปิดงานในครั้งนี้ เนื่องจากกรมส่งเสริมสหกรณ์อาจจะไม่ได้มีส่วนเกี่ยวข้องโดยตรง แต่เป็นหน่วยงานหนึ่งที่อยู่ในกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ มีความรับผิดชอบกับสหกรณ์ทั้งประเทศ ที่มีประมาณ 7,900 กว่าสหกรณ์ มีสมาชิกสหกรณ์ประมาณ 10 กว่าล้านราย หากเทียบว่า ใน 1 ครัวเรือน มีสมาชิก 3 คน ก็จะมีจำนวนทั้งหมด 30 กว่าล้านคน คงปฏิเสธไม่ได้ว่า สถาบันไม่ว่าจะเป็นกลุ่มสหกรณ์หรือสหกรณ์ก็เป็นองค์กรที่เป็นนิติบุคคลและ เป็นองค์กรของเกษตรกร จึงอยากจะเรียนให้ทราบว่า ในจำนวน 4,000 กว่าสหกรณ์ จะอยู่ในภาคการเกษตร ถ้าภาคการเกษตรมี 6.1 ล้านครัวเรือน และคงเทียบในครัวเรือนมีสมาชิก 3 คน ก็จะมีจำนวนสมาชิกถึง 20 ล้านคน ดังนั้น สัดส่วนตรงนี้จึงมีภาคการเกษตรจำนวนมากกว่าสหกรณ์ประเภทอื่น ไม่ว่าจะเป็นสหกรณ์ออมทรัพย์ สหกรณ์บริการหรือสหกรณ์ร้านค้า
แต่อย่างไรก็ตาม ตัวเลขที่นำเรียนให้ทราบนี้ ใน จีดีพี 100 เปอร์เซ็นต์ ของภาคสหกรณ์ที่ออกมาเป็นตัวเงินปิดงบบัญชีแต่ละปีจะมี 14.77 เปอร์เซ็นต์ ของประเทศ อันนี้เป็นตัวเลขที่ปิดบัญชีชัดเจนโดยกรมตรวจบัญชีรับรอง สิ่งหนึ่งที่ผมไม่มีโอกาสคุยกับรัฐบาลว่า ในองค์กร 30 ล้านคน ถ้ารัฐบาลจะนำสหกรณ์เข้ามาเป็นแนวทางที่จะส่งเสริมให้แก่บรรดาเกษตรกร
ในพืชทั้งหมดที่กรมวิชาการเกษตร กรมส่งเสริมการเกษตร และอีกหลายหน่วยงานที่กรมส่งเสริมสหกรณ์ได้มีส่วนช่วยผลักดันส่งออกได้เห็น เป็นรูปธรรมได้ชัดเจน ได้แก่ เรื่องกล้วยหอมทอง ไม่ว่าจะเป็นแห่งแรกที่ท่ายาง จังหวัดเพชรบุรี หากตรวจสอบราคากล้วยหอมทองของประเทศญี่ปุ่นมีการขายเป็นกิโลกรัม ดังนั้น เวลาคนญี่ปุ่นรับประทานจะแบ่งครึ่งลูก หรือแบ่ง 3 ส่วน เพราะมีราคาแพงถึงลูกละประมาณ 100 บาท
คราวนี้มาถึงเรื่อง มะละกอ จะช่วยชาติได้อย่างไร ถ้าดูจากรายงานพบว่า ที่ผ่านมามีจำนวนการปลูกมะละกอลดลง เพราะโรคใบด่าง และกลไกตลาด อันมีผลให้ปริมาณมะละกอน้อยลง แต่หลังจากการเก็บข้อมูลล่าสุด เมื่อปี 2549 พบว่า มีผลผลิตมะละกอในปริมาณ 400,000 ตัน ส่งออก ประมาณ 4,000 ตัน มูลค่าประมาณ 100 ล้านบาท ถ้าเป็นเช่นนี้แล้วมาดูว่าการปลูกมะละกอทำอย่างไรก็ได้ แล้วถ้าถามว่า ส้มตำ ควรใช้มะละกอจากที่ไหน?
จากการที่เคยมีโอกาสรับราชการอยู่ที่จังหวัดสกลนคร ได้ถามคนในพื้นที่ว่า ทำไม ไม่ปลูกมะละกอที่ใช้ทำส้มตำ เขาบอกว่าเคยปลูกแล้ว แต่ความกรอบสู้มะละกอที่อำเภอดำเนินสะดวกไม่ได้ ต่อมาได้เดินทางไปประเทศเบลเยียมไปดูเรื่องผัก ดูระบบสหกรณ์ ส่วนหนึ่งที่พบว่าดีที่สุดคือเรื่องของคุณภาพ ดังนั้น มะละกอ ถ้าจะสู้ในตลาดต่างประเทศต้องเน้นในเรื่องของคุณภาพ จึงย้อนกลับมาถามว่า แล้วที่จะปลูกอย่างไรก็ได้นั้น มันจริงหรือ?
ความจริงเป็นเรื่องยุ่งยาก เพราะเป็นเรื่องของคุณภาพในทุกขั้นตอน ไม่ว่าจะด้านของระยะเวลา เรื่องด้านความชัดเจน ดังนั้นเมื่อมีการรวบรวมแล้วส่งไปขายยังตลาดของสหภาพยุโรป หรือ อียู ไม่ว่าจะเป็นผัก ผลไม้ ทุกชนิด สิ่งหนึ่งที่เน้นมากคือ เรื่องคุณภาพ หรือในคราวที่เดินทางไปประเทศอังกฤษ สั่งส้มตำมารับประทาน มีราคาจานละ 300 กว่าบาท ซึ่งจะเห็นว่าการส่งออกมะละกอจะมีราคาลูกละเป็น 100 บาท ให้ราคาดีอย่างนี้การบุกตลาดต่างประเทศจะช่วยได้มาก แต่ต้องให้ความสำคัญกับการผลิตให้มีคุณภาพ ไม่ควรปลูกกันมากจนเกินไป แล้วจะขาดคุณภาพ จนทำให้เสียหาย อย่างที่บ้านของผมมีเนื้อที่ประมาณ 1 ไร่ ปลูกมะละกอฮอลแลนด์อยู่ประมาณสัก 10 ต้น ก็พบปัญหาเช่นเดียวกับเกษตรกรท่านอื่นคือ โรคเชื้อราใบขาว แล้วยังระบาดไปต้นไม้อื่นที่ปลูกไว้ใกล้กัน ดังนั้น จึงอยากบอกว่ามีเพียงดิน และน้ำเท่านั้นคงไม่ได้ แต่ควรมีการพัฒนาดินและน้ำให้มีความสมบูรณ์ด้วย
อีกประเด็นที่อยากจะกล่าวและถือเป็นเรื่องที่ตัวเองประสบ นั่นคือ เรื่องของแรงงาน ถ้าหากมีแรงงานน้อยแล้วจะปลูกมากก็ต้องมีการจ้าง ซึ่งในประเด็นนี้เห็นว่าไม่คุ้มค่า อย่างที่ผมทำคือ การปลูกข้าว โดยได้ลงมือปลูกด้วยตัวเองบนเนื้อที่ 1 ไร่ แต่จ้างเขาดำ แต่เราเพียงดูแลในเรื่องน้ำ หนอน ดูยาฆ่าแมลง ในช่วงแรกทำได้ 100 กว่าถัง จากนั้นจึงได้เพิ่มขึ้นเป็น 2 ไร่ ผลคือได้ปริมาณลดลง แต่ยังกลับไปเพิ่มขึ้นอีก 5 ไร่ ก็เหลือเพียง 60-70 ถัง เท่านั้น ที่เป็นอย่างนั้นเพราะการดูแลไม่ทั่วถึง
จึงสรุปว่า ถ้าจะต้องดูแลควรทำให้ทั่วถึงจะดีกว่า ผมเชื่อมั่นในเรื่องของภูมิปัญญาชาวบ้าน ขณะเดียวกันทางมติชนก็ให้การสนับสนุนในเรื่องของภูมิปัญญาชาวบ้านเช่นกัน และได้เคยไปสัมภาษณ์ผมเมื่อ 10 กว่าปีที่แล้ว สมัยที่ยังเป็นหัวหน้าศูนย์สาธิตสหกรณ์โครงการหุบกระพง ได้ดูแลโครงการของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว อันนี้บ่งบอกถึงการที่พระองค์ท่านทรงมีความสามารถ และขอเล่ารายละเอียดสักเล็กน้อยว่า พระองค์ท่านได้จัดสรรที่ดินให้คนยากจนอาศัย ซึ่งอาจจะปลูกมะละกอหรือพืชอื่นก็ได้ แต่ขอให้ปลูกพืชหลักคือ หน่อไม้ฝรั่ง ที่ดินบริเวณนั้นแห้งแล้งมาก ต้องมีการปรับปรุงดิน ต้องมีการวางระบบท่อน้ำ ที่กล่าวมานี้เป็นการเชื่อมโยงให้แง่ที่ว่า ถ้ามีการลงทุนมากแล้ว หากนำรายได้มาลบดอกเบี้ยแล้ว จะได้กำไรเพียงเล็กน้อยเท่านั้น เหนื่อยเปล่า!!
ท่านให้ที่ดินแก่ราษฎร จำนวน 7 ไร่ ที่ต้องใช้ระบบน้ำ และจำนวน 18 ไร่ สำหรับใช้น้ำฝน แล้วแต่ราษฎรจะทำ ทั้งนี้ เพราะฝนตกน้อยมากในเขตพื้นที่ชะอำ จังหวัดเพชรบุรี อย่างไรก็ตาม พระองค์ท่านบอกว่าให้จัดดังนี้ ที่ดิน จำนวน 1 ไร่ ใช้สำหรับปลูกบ้านและจะปลูกพืชผักสวนครัวไว้รอบๆ บ้าน ส่วนที่เหลือ จำนวน 6 ไร่ ให้ทำครั้งละ 2 ไร่ ในจำนวน 3 แปลง แปลงที่ 1 อาจจะปลูกหน่อไม้ฝรั่งหรือสับปะรดสุดแล้วแต่ ส่วนอีก 2 แปลง ให้ปลูกพืชคลุมดินเพื่อเป็นการดูแลดิน ที่ผมบอกว่าต้องดูเรื่องดินและน้ำให้ดี เพราะที่หุบกระพงไม่มีน้ำ น้ำจะอยู่บนภูเขา ต้องวางท่อต่อไปยังภูเขา โดยให้ประเทศอิสราเอลมาช่วยดูแลให้คำปรึกษา เมื่อปี 2509 จุดนี้ทำแปลงละ 2 ไร่ ทำตอนเช้าก่อนลูกไปโรงเรียน ซึ่งเป็นหมู่บ้านสหกรณ์ที่จะมาถอนหน่อไม้ฝรั่งไปยื่นให้กับสหกรณ์เพื่อเก็บ เงินเป็นค่าขนมทุกวัน
แต่ปรากฏว่า เกษตรกรทำเต็ม 6 ไร่ เพราะเสียดายที่ดินที่ว่าง เพราะน้ำไม่พอ ดินไม่ดี ปลูกหน่อไม้ฝรั่ง 2-3 ปี ต้องพักดินบ้าง หน่อไม้ฝรั่งจะขึ้นทุกวัน การดูแลบำรุงดินเป็นสิ่งจำเป็น ดังนั้น จึงชี้ให้เห็นว่า ถ้าทำเพียง 2 ไร่ จะดีกว่า 6 ไร่ เพราะถ้ามากไปน้ำไม่พอ เพราะฉะนั้นควรให้ดินได้พัก เหมือนกับคนควรได้พักจากทำงานบ้าง ก็จะทำให้เกิดผลดีต่อการทำเกษตรกรรม หรืออย่างที่ภาคอีสาน ได้บอกกับลูกหลานของเกษตรกรว่า ควรหยุดทำงานที่กรุงเทพฯ แล้วกลับมาถิ่นกำเนิดเพื่อมาทำนา ถึงแม้รายได้อาจจะไม่มาก แต่ควรกลับ เพราะจะเป็นการเยี่ยมเยียนครอบครัว สร้างความอบอุ่นในครอบครัว
ถ้ามองในแง่เศรษฐกิจอาจไม่ใช่ แต่ทำไมไม่นำเงินที่เป็นค่าจ้างซื้อข้าวดีกว่า นำที่ดินบางส่วนไปปลูกไม้ผล ไม้ยืนต้นหลายอย่างที่เป็นพันธุ์ไม้ที่สามารถดูแลได้อย่างง่ายโดยไม่ต้องใช้ น้ำมาก เพราะหากต้องใช้น้ำมากก็ต้องใช้เครื่องสูบน้ำ และก็ต้องใช้น้ำมัน
เพราะฉะนั้นจะเห็นว่า มะละกอ ส่งออกปีละ 100 ล้านบาท แต่การบริโภคภายในประเทศมีประมาณ 400,000 ตัน ต่อปี แต่หากมีการปลูกมะละกอน้อยลง อันเป็นผลมาจากโรคและปัจจัยที่ทำให้ราคาตกต่ำแล้ว คิดว่าคงไม่ใช่ เพราะยอดที่เป็นข้อมูลคือ 7,000 กว่าตัน ที่เป็นมะละกอดิบ โดยที่ยังไม่ได้รวมมะละกอสุก แล้วยังมีการส่งออกเป็นมะละกอกระป๋องอีก จึงแสดงให้เห็นว่ามะละกอได้ช่วยชาติจริง แล้วยังเป็นอาหารอินเตอร์ไปทุกประเทศ โดยเฉพาะส้มตำที่ชาวต่างประเทศให้ความสนใจและนิยมบริโภคแบบสลัด จึงทำให้มะละกอที่ใช้ทำส้มตำสามารถสร้างชื่อเป็นที่รู้จักกันทั่วไป
ผมหวังว่า ท่านทั้งหลายที่มาสัมมนาในครั้งนี้ จะเป็นการมาหาความรู้เพิ่มเติม หรือบางท่านอาจมีความรู้อยู่แล้ว แต่มาเพื่อถ่ายทอด แลกเปลี่ยนความรู้ระหว่างกัน พร้อมกับได้รับเทคนิคพิเศษต่างๆ จากวิทยากรหลายท่านที่มาในครั้งนี้…ขอบคุณมากครับ
สถานการณ์การผลิต
มูลค่าการซื้อขายมะละกอ
และพันธุ์มะละกอที่เหมาะสมในการส่งออก
ดร. สิริกุล วะสี ศูนย์วิจัยพืชผักเขตร้อน มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกำแพงแสน วิทยากรภาคเช้าท่านแรก กล่าวว่า สวัสดีทุกท่าน หลายท่านอาจเคยได้ยินได้ฟังมาบ้างแล้ว สำหรับตัวดิฉันอยู่ในแวดวงมะละกอมานานแล้ว ขอเป็นการนำสิ่งต่างๆ ที่น่าสนใจมาเล่าสู่กันฟัง อย่าเครียด ส่วนตัวเลขที่นำมาให้ดูต้องบอกก่อนว่าเป็นเรื่องที่ปวดหัวมาก ที่เป็นเช่นนั้นเพราะไม่ว่าจะไปหาข้อมูลจากจุดไหน ไม่ตรงกันเลย แต่ที่นำมาแสดงขอเป็นเพียงฐานข้อมูลเพื่อให้รู้ว่ามะละกอของไทยในมุมมองของ ต่างประเทศที่เป็นการส่งออกในปริมาณที่มาก/น้อยแค่ไหน และมะละกอของเรามีมูลค่าเท่าไร เมื่อเทียบกับของที่อื่น แล้วหากสนใจอยากจะปลูกมะละกอก็ต้องดูก่อนว่า มะละกอในประเทศไทยมีความต่างจากที่อื่นมาก เนื่องจากของเราเริ่มใช้ตั้งแต่ผลดิบ เป็นผลสุก แล้วส่งเข้าโรงงานแปรรูปเป็นผลไม้กระป๋องหรืออบแห้ง
พันธุ์มะละกอมีมากมาย
ควรเลือกให้ตรงตามที่ใช้ประโยชน์
ดร. สิริกุล กล่าวว่า ถ้าไปดูที่อื่นเขาใช้มะละกอเฉพาะตอนที่เป็นผลสุกหรือนำไปเข้าโรงงานเลย หรือแม้กระทั่งมะละกอดิบอย่างที่เราใช้ทำส้มตำ แต่ในอเมริกาบอกว่ารับประทานดิบเป็นพิษ แต่หากต้องบริโภค ต้องนำไปต้มก่อน นอกจากนั้น วิธีการรับประทานยังมีความแตกต่างกัน ต้องขอบอกว่าของเรานำมะละกอมาใช้ประโยชน์ได้หลากหลายวิธี นอกจากนั้น พันธุ์มะละกอยังมีมากมาย เพราะฉะนั้นวิธีการจะใช้ประโยชน์ของแต่ละพันธุ์หรือแต่ละเป้าหมายของการใช้ ก็มีความแตกต่างกันออกไป กรณีพันธุ์มะละกอที่เป็นของไทยที่เมื่อก่อนเป็นที่รู้จักดี ได้แก่ พันธุ์แขกนวล แขกดำ โกโก้ และสายน้ำผึ้ง
แต่ปัจจุบัน ถ้าถามว่า สายน้ำผึ้ง เจอกันบ้างไหม คงหายากสักหน่อย ส่วนแขกดำถึงแม้ยังคงมีอยู่ แต่มีความแตกต่างจากในสมัยก่อนมาก สาเหตุเป็นเพราะมีปัจจัยต่างๆ เข้ามาเป็นตัวแปร จนทำให้พันธุ์เดิมมีความเปลี่ยนแปลงไปหมด ดังนั้น ถ้าหากจะปลูกมะละกอเพื่อนำไปบริโภคแบบดิบ ก็ควรจะปลูกให้ถูกพันธุ์ เพราะหากไม่ใช่พันธุ์ที่เหมาะกับการบริโภคแบบดิบก็อาจใช้ไม่ได้ หรือหากจะปลูกพันธุ์ปลักไม้ลายที่นิยมรับประทานสดกัน แต่ถ้าปลูกเพื่อใช้ทำส้มตำก็ขายไม่ได้ ถึงแม้ลูกจะใหญ่และมีเนื้อหนาก็ตาม แต่หากใช้เป็นมะละกอดิบแล้วเนื้อจะเหนียว ไม่อร่อย เพราะจุดนี้ผู้บริโภคสามารถตัดสินใจได้เลยว่าจะเลือกพันธุ์ใด? หรือเพื่อใช้ทำอะไร?
อยากจะบอกว่า สถานการณ์การผลิตมะละกอของไทยในปัจจุบันนี้พบว่า พื้นที่ที่ใช้สำหรับเก็บเกี่ยวของไทยตั้งแต่ ปี 2549 เป็นต้นไป มีประมาณ 50,000-70,000 ไร่ มีผลผลิตที่ได้ประมาณ 1.3-2 แสนกว่าตัน ในแต่ละปี เมื่อไปดูด้านการส่งออกเหลือเพียง 1,000 กว่าตัน ต่อปี ส่วนมูลค่ามี 10 กว่าล้านบาท บางพันธุ์เหมาะใช้ทำส้มตำ และบางพันธุ์เหมาะรับประทานตอนสุก
แต่เมื่อ ปี 2550 ทางกรมศุลกากรระบุว่า ไทยส่งออกมะละกอมีปริมาณ 4,000 ตัน มีมูลค่าเป็น 100 ล้านบาท ซึ่งตรงนั้นน่าจะรวมถึงผลไม้กระป๋องด้วย จึงเป็นการสับสน เพราะข้อมูลแต่ละแห่งไม่เหมือนกัน แต่ขอให้ใช้เป็นเพียงฐานข้อมูลเท่านั้น ส่วนราคาต่อกิโลกรัมน่าจะประมาณ 9-12 บาท ซึ่งตรงนี้จะเห็นว่าการส่งออกมีน้อยมาก แต่มีการบริโภคมากเป็น 100,000 กว่าตัน ภายในประเทศ ดังนั้น เมื่อดูจากข้อมูลแล้ว ก็ตั้งคำถามว่า แล้วการตลาดจะปลูกมะละกอเพื่อส่งออกหรือไว้บริโภคภายในประเทศ หากใช้บริโภคภายในประเทศมีเพียงพอหรือยัง แล้วพันธุ์ที่จะปลูกเพื่อส่งออกและบริโภคภายในประเทศควรใช้
พันธุ์อะไรจึงจะ เหมาะสม
สำหรับการสัมมนาในครั้งนี้ มีความต้องการจะนำเสนอว่า จะใช้พันธุ์อะไร เพื่อใช้รับประทานเป็นผลดิบ เช่น ตำส้มตำ ประกอบอาหาร หรือใช้พันธุ์อะไรที่เหมาะสมสำหรับทำเป็นผลสุก เป็นผลไม้ และพันธุ์อะไรที่เหมาะสำหรับการนำไปแปรรูป เมื่อเราได้พันธุ์เหล่านั้นมาแล้ว ก็ต้องไปดูต่อว่าจะหาพันธุ์แท้จริงของพันธุ์เหล่านั้นมาได้อย่างไรที่จะปลูก แล้วจะได้มีความสมบูรณ์ตรงตามที่ต้องการ คือปลูกแล้วต้องได้หน้าตาอย่างที่อยากได้
อย่าง แขกนวล เป็นพันธุ์ที่ใช้ทำส้มตำอร่อยที่สุด แต่ว่าขณะนี้เห็นว่ามีพันธุ์ครั่งอีกพันธุ์ที่ใช้ทำส้มตำอร่อยกว่า แต่ตอนนี้ถ้าเป็นมะละกอดิบจะใช้แขกนวลอย่างเดียว แต่แขกดำก็ใช้ได้เหมือนกัน แต่ถ้าเป็นแม่ค้าจะใช้แขกนวลเพราะมีเนื้อกรอบ ส่วนแขกดำเนื้อเหนียว ความจริงแขกดำดีมาก ใช้ได้ตั้งแต่ดิบ สุก และแปรรูป สำหรับอีกพันธุ์คือ แก้มแหม่ม ที่อาจเป็นแขกดำตูดจีบของอำเภอวัดเพลง จังหวัดราชบุรี ที่มีเนื้อแน่นแข็ง และเมื่อก่อนใช้เป็นพันธุ์ส่งออกไปต่างประเทศ แล้วยังแบ่งออกเป็นแก้มแหม่มแดงกับแก้มแหม่มเหลือง ซึ่งสำหรับถ้าจะส่งเข้าโรงงานอุตสาหกรรมจะต้องมีแก้มแหม่มแดง 2 ส่วน และแก้มแหม่มเหลือง 1 ส่วน จึงจะส่งเข้าโรงงานได้ นอกจากนั้น แขกนวลและแขกดำยังสามารถนำไปเป็นมะละกอปอกได้อีก จะเห็นได้ว่าการใช้มะละกอในบ้านเรามีความหลากหลายมาก เพราะฉะนั้นถ้าต้องการส่งออกต้องเลือกพันธุ์ จะปลูกเพื่อบริโภคแบบดิบหรือสุกก็จะต้องเลือกพันธุ์ด้วย
ป้อนเข้าโรงงาน ต้องปฏิบัติตามเงื่อนไข
ส่วนอีกเรื่องที่จะบอกคือ เรื่องมาตรฐานของการส่งเข้าโรงงาน เผอิญได้ทำงานวิจัยของระบบการผลิตมะละกอเพื่ออุตสาหกรรมพบว่า ถ้าหากจะผลิตมะละกอเข้าโรงงาน มีการกำหนดเงื่อนไขระบุมาเลยว่า การสุกที่ต้องดูเวลาปอก 2 มีด โดยมีดแรกถ้ายังไม่เจอเนื้อสีแดง ก็ให้ใช้มีดสองต่อ แต่ถ้ายังไม่เจออีกจะต้องทิ้งมะละกอทันที เพราะฉะนั้นต้องมีเนื้อสีแดงสม่ำเสมอและหนาแน่น เปลือกบาง ลักษณะผลยาวรี ตั้งแต่ 800 กรัม ขึ้นไป ไม่มีโรค ถ้าผลเน่าช้ำใช้ไม่ได้ และที่สำคัญมากที่ระบุมาคือ จะต้องไม่ใช่ จีเอ็มโอ ดังนั้น หากจะส่งมะละกอเข้าโรงงานจะต้องพิจารณาหลักเกณฑ์ของโรงงานแต่ละแห่งให้เข้า ใจเสียก่อน
สำหรับมะละกอปลักไม้ลายกับอีกพันธุ์คือ พันธุ์ฮาวาย ก็เหมาะที่จะส่งออก แต่ถ้าศึกษาตลาดส่งออกให้ดีพบว่า ที่สหรัฐอเมริกา ญี่ปุ่น สิงคโปร์ ฮ่องกง จีน ประเทศเหล่านี้นิยมบริโภคมะละกอผลเล็ก มะละกอพันธุ์แขกดำเมื่อก่อนถือว่าเป็นมะละกอที่อยู่ในอันดับ 1, 2, 3 ของมูลค่าการส่งออก และเป็นการแย่งอันดับกับลำไยและทุเรียน แต่ปัจจุบันมะละกอหล่นจากอันดับดังกล่าวไปแล้ว เพียงแต่อยู่ 1 ใน 20 จะได้เฉพาะปริมาณส่งออก หรือถ้าเทียบเป็นมูลค่าแล้ว 1 ใน 20 ก็ยังหล่นอีก แสดงว่ามะละกอมีราคาถูกมากและราคามีน้อย ซึ่งก็ต้องกลับมาคิดว่า ทำไม จึงเป็นเช่นนั้น เกิดอะไรขึ้น อย่างที่บอก ถ้าจะส่งออกตอนนี้ควรเป็นพันธุ์ปลักไม้ลาย เกรด เอ ที่มีน้ำหนัก 1 กิโลกรัม หรือหากมากกว่า 1 กิโลกรัม ก็จะเป็นอีกรุ่น ที่เรียกว่าจัมโบ้ ซึ่งไม่ค่อยนิยมส่งออก เพราะมีขนาดใหญ่เกินไป แต่จะใช้บริโภคภายในประเทศมากกว่า ซึ่งขนาดจัมโบ้นี้ทางโรงงานก็ยอมรับเพราะมีเนื้อหนา สีสม่ำเสมอ แต่บางแห่งอาจไม่รับโดยให้เหตุผลว่าเนื้อเละไป
ข้อสังเกตอีกประการสำหรับผู้ต้องการส่งมะละกอเข้าโรงงานว่าพันธุ์ของเรา จะใช้ได้หรือไม่ ให้หั่นมะละกอทิ้งไว้ 1-2 ชั่วโมง ให้สังเกตดูว่ามีเยื่อหุ้มบางๆ หรือไม่ กรณีที่เป็นพันธุ์ปลักไม้ลายจะไม่มีอะไรมาหุ้มหลังการหั่นเป็นชิ้น จึงทำให้เนื้อเละ เวลานำเข้าสู่กระบวนการทำผลไม้กระป๋องจึงใช้ไม่ได้ แต่หากนำไปทำน้ำมะละกอคงไม่มีปัญหา ส่วนพันธุ์ฮาวายมีขนาดลูกเล็ก น้ำหนักประมาณ 500-800 กรัม จะมีซันไลต์ที่มีเนื้อสีแดง นอกนั้นเป็นสีเหลือง
ดูตลาดส่งออก ว่าต้องการอะไร?
แล้วจึงเลือกพันธุ์ที่เหมาะสม
คราวนี้ลองมาพิจารณาดูว่า ทำไม มะละกอของประเทศเราจึงส่งออกน้อย เพราะคนปลูกยังคงเล่นพันธุ์แขกดำ แขกนวล โกโก้ ที่ใช้บริโภคภายในประเทศอยู่ แต่ที่มาเลเซียมีการปลูกมะละกอน้อยกว่า หรือแม้แต่ปริมาณการผลิตก็ยังน้อยกว่า อย่างข้อมูลปี 2551 ปริมาณที่มาเลเซียผลิตได้ 50,000 ตัน แต่ประเทศไทยมีปริมาณที่ผลิตได้ 200,000 กว่าตัน แต่ปริมาณ 50,000 ตัน ของเขาส่งออกได้ 20,000 กว่าตัน ซึ่งเป็นการติดอันดับ 4 ของโลก แต่ของไทยอยู่อันดับที่ 15 แล้วคิดดูว่ามูลค่าการส่งออกของเขา 200 กว่าล้านบาท แต่ของเราเพียง 16 ล้านบาท แล้วเพราะอะไรจึงเป็นเช่นนั้น
สิ่งที่อยากจะแนะนำคือ เรื่องของพันธุ์ที่สำคัญมาก ถ้าเลือกพันธุ์ที่ถูกต้องและเหมาะสมกับตลาดที่ต้องการส่งออกไปก็จะส่งออกได้ มาก ของมาเลเซียมีตลาดใหญ่คือที่สิงคโปร์ ซึ่งหากเราต้องการส่งออกก็น่าจะดี เพราะอยู่ใกล้กัน แล้วมะละกอที่มาเลเซียมีการพัฒนาพันธุ์ออกมา จะมีขนาดเล็ก คล้ายฮาวายกับปลักไม้ลาย สรุปคือ ถ้าหากต้องการส่งออกไปต่างประเทศควรเลือกพันธุ์ให้เหมาะสมกับตลาด
ระวัง…พันธุ์เดิมอาจหายไป
เพราะปลูกสลับพันธุ์ในแปลงเดียวกัน
สำหรับบางท่านอาจมีพันธุ์แท้อย่าง สายน้ำผึ้ง ที่มีลักษณะผลยาว ถ้าเป็นแขกดำจะเป็นทรงกระบอก ถ้าโกโก้จะโตช่วงปลายผล ซึ่งที่กล่าวมาเป็นลักษณะประจำพันธุ์แท้ของมะละกอแต่ละชนิด
แต่ปัจจุบันมีการเปลี่ยนแปลงเกิดขึ้น อย่างแขกดำเมื่อก่อนเนื้อแน่น แต่เดี๋ยวนี้ไม่ใช่แล้ว เมื่อคราวที่ได้มีโอกาสออกไปสำรวจด้วยงบฯ ของ สกว. ที่ให้หาพันธุ์มะละกอ พบว่า แขกดำที่ได้มาและชาวบ้านบอกว่าเป็นพันธุ์แท้ แต่เมื่อนำไปปลูกรูปร่างจะเปลี่ยนไป หรือโกโก้ก็เปลี่ยนไปเช่นกัน แม้กระทั่งปลักไม้ลายยังเปลี่ยน สาเหตุเพราะเกษตรกรมีการปลูกแขกดำและแซมด้วยปลักไม้ลาย ซึ่งปัจจุบันมีหลายสวนทำอย่างนี้ เหตุผลที่เคยถามเกษตรกรว่า ทำไม จึงปลูกมะละกอสลับพันธุ์แบบนี้ ก็ได้รับคำตอบว่า เพื่อนแนะนำให้ปลูกหลายพันธุ์ เพื่อป้องกันความเสี่ยง อย่างหลุมไหนที่ปลูกแขกดำแล้วไม่ขึ้น ก็ให้ปลูกปลักไม้ลายแทน
หากเป็นเช่นนี้พันธุ์เดิมที่ดีอยู่แล้วก็จะหายไป เพราะมะละกอมีการผสมข้ามได้ พอเป็นอย่างนี้เก็บเมล็ดออกไป พันธุ์ก็เปลี่ยนไปแล้ว หรืออย่างที่มีข่าวว่ามีพันธุ์แขกแลนด์ ก็คือ แขกดำกับฮอลแลนด์ แต่แขกแลนด์ที่ออกมาก็ไม่เหมือนกันอีก เพราะถ้าเก็บจากต้นแขกดำหน้าตาก็เป็นแบบหนึ่ง แต่ถ้าเก็บจากต้นฮอลแลนด์หน้าตาก็จะเป็นอีกแบบหนึ่ง
แต่ถ้าถามว่า อย่างนี้ถือว่าเป็นการพัฒนาพันธุ์ได้ไหม? จริงๆ ก็ถือว่าได้เหมือนกัน แต่ว่าต้องการวัตถุประสงค์อะไร ต้องการนำไปใช้ในตลาดไหน ต้องให้ชัดเจนก่อน ซึ่งการปลูกข้ามไปข้ามมาจะส่งผลให้พันธุ์เสียหายได้ และเป็นเรื่องที่น่าเสียดายมาก แต่อย่างไรก็ตาม สวนมะละกอในขณะนี้มีปัญหาเรื่องโรคใบด่างวงแหวนระบาด ทำให้เกษตรกรนิยมปลูกพืชอย่างอื่นร่วมด้วยเพื่อป้องกันความเสี่ยง แต่จะปลูกมะละกออย่างเดียวหรือปลูกอย่างอื่นด้วยก็ตาม ขอให้ปลูกมะละกอเพียงพันธุ์เดียวเท่านั้น อย่าซ้อนพันธุ์อื่น ทั้งนี้ เพื่อเกษตรกรจะได้เก็บเมล็ดพันธุ์นั้นไว้ด้วย
ควรเลือกแหล่งผลิตเมล็ดพันธุ์ที่เชื่อถือได้
เพื่อจะได้ผลที่สมบูรณ์
เมื่อคุณได้พันธุ์มาตามวัตถุประสงค์ที่ศึกษาว่า ต้องการตลาดแบบไหน และต้องใช้พันธุ์อะไรแล้ว ต่อมาจะหาเมล็ดพันธุ์มาจากไหน กรณีที่ต้องไปซื้อรับประกันได้หรือไม่ว่าจะตรงกับพันธุ์นั้นจริง แหล่งที่ซื้อเมล็ดพันธุ์มีความน่าเชื่อถือได้มากน้อยแค่ไหน ทั้งนี้ พันธุ์มะละกอที่ดีควรมีลักษณะผลยาว ดกเต็มคอ แต่สิ่งที่พบคือ ในช่วงเดือนกรกฎาคม-สิงหาคม หรือที่เรียกกันว่ามะละกอเข้าพรรษา จะไม่มีเมล็ด รูปร่างผลจะเป็นร่อง และนี่จึงเป็นปัญหา เพราะไม่สามารถเก็บเมล็ดได้ในช่วงดังกล่าว อีกปัญหาคือ การงอกในผล ซึ่งจะเจอในเดือนมีนาคม-เมษายน เป็นช่วงฤดูร้อน ก็จะทำให้สูญเสียเมล็ดไปอีกเช่นกัน ทั้งหมดนี้คือปัญหาที่กำลังทำงานวิจัยอยู่
ปัญหาของเมล็ดพันธุ์เป็นเรื่องที่น่าเป็นห่วงอยู่ เพราะหากนำเมล็ดพันธุ์จากต้นที่ไม่สมบูรณ์ไปปลูก ก็จะถูกถ่ายทอดไปเรื่อยๆ ไม่หาย แล้วก็จะไม่ได้ผลที่มีความสมบูรณ์ตามที่ต้องการ เพราะฉะนั้นหากพบว่ามีผลที่ไม่สมบูรณ์อย่าเก็บเมล็ดไว้ แต่ปัญหาที่เกิดขึ้นคือระบบผลิตเมล็ดพันธุ์มะละกอของประเทศเรายังไม่มีหน่วย งานใดทำเป็นลักษณะการผลิตเมล็ดพันธุ์อย่างเดียว จึงอยากเสนอว่าควรมีการทำเป็นระบบการผลิตเมล็ดพันธุ์อย่างเดียว ขายเฉพาะเมล็ดพันธุ์อย่างเดียว ไม่ต้องขายเนื้อ จะได้คัดลูกที่ยาว สวย ไว้เท่านั้น
มาเลเซีย เจอแมลงวันผลไม้และโรคจากแบคทีเรีย
สบโอกาสของเรา เข้าทำตลาดหรือเปล่า?
กรณีของประเทศมาเลเซียที่ประสบความสำเร็จในการปลูกมะละกอ ซึ่งมีการปลูกไม่มาก แต่ส่งออกมาก และได้เงินมาก นั่นเป็นเพราะเขาปลูกไว้หลายรุ่น และที่สำคัญคือการมีแหล่งน้ำที่พอเพียง เพราะถ้ามะละกอขาดน้ำ ลูกจะแคระแกร็น สีไม่สวย รูปร่างเล็ก เพราะฉะนั้นน้ำควรจะดี
แต่อย่างไรก็ตาม ทางมาเลเซียก็พบปัญหาเช่นกันคือ พบแมลงวันผลไม้ และโรคเน่าที่เกิดจากแบคทีเรีย ซึ่งหากมาคิดว่าเป็นวิกฤติของเขาและกำลังเป็นโอกาสของเราหรือเปล่า เพราะถ้ามองดูตลาดที่สิงคโปร์แล้ว ขนาดของผลสำหรับพันธุ์ฮาวายกับปลักไม้ลายก็น่าจะเหมาะสมที่จะเข้าไปตีตลาดใน สิงคโปร์
หันมาดูเรื่องระบบการส่งออก ซึ่งทางมาเลเซียจะบรรจุลงกล่องที่มีขนาดเหมาะกับลูกมะละกอ พร้อมกับมีโค้ดและรหัสควบคุมไว้อย่างรัดกุม ถ้าเป็นมะละกอที่ส่งมาจากแปลงปลูก เมื่อมาถึงจะต้องมีการจุ่มน้ำยาป้องกันเชื้อรา แล้วจึงนำมาแพ็ก ซึ่งการแพ็กก็มีความแตกต่างกันอีก ขึ้นอยู่กับลักษณะของตลาดที่จะส่ง เช่น มะละกอสุกหลายแต้มใช้กระดาษหนังสือพิมพ์ห่อได้ ใส่กล่องได้ แต่บางตลาดอาจต้องใช้กระดาษสีขาว ก็จะเป็นอีกเกรด เพราะฉะนั้นจะเห็นว่าระบบของเขาจะมีวิธีการหลายขั้นตอน โดยมีการศึกษาตลาดล่วงหน้าก่อนจึงจะรู้ว่าต้องทำอย่างไรให้เหมาะสมและถูก ต้อง
ย้ำ…สำรวจตลาดส่งออกก่อน
ค่อยเลือกพันธุ์ที่เหมาะสม
กลับมาเรื่องของเมล็ดพันธุ์อีกครั้ง ตอนนี้มีหลายบริษัทที่ได้ผลิตเมล็ดพันธุ์ออกมาแล้ว คงต้องไปเลือกและพิจารณาดู แต่คงต้องย้ำว่าการพิจารณาเลือกเมล็ดพันธุ์สำหรับใช้ปลูกควรตรวจดูตลาดที่จะ นำไปขายก่อนว่าต้องการแบบใด ถ้าเป็นพันธุ์แขกนวลตอนนี้ที่ศูนย์วิจัยพัฒนาพืชผักเขตร้อน มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ กำแพงแสน ได้มีการผลิตเมล็ดพันธุ์แขกนวล ซึ่งพันธุ์ที่จำหน่ายได้ผ่านกระบวนการคัดเลือกจากต้นพันธุ์แท้จริงๆ มีลักษณะผลยาว มีการเก็บเมล็ด ราคาที่จำหน่าย กิโลกรัมละ 20,000 บาท ส่วนเนื้อมีการนำไปทำปุ๋ยและเลี้ยงสัตว์
ส่วนพันธุ์ที่จะส่งไปจำหน่ายต่างประเทศ อาทิ ปลักไม้ลาย ฮาวาย แขกดำ ซึ่งทั้ง 3 พันธุ์ นี้มีคุณสมบัติเหมาะแก่การส่งไปขายยังต่างประเทศ กรณีแขกนวลพอสุกเนื้อจะเละ ยังมีข้อสังเกตว่ามะละกอเวลาดิบ เนื้อแข็ง กรอบ เมื่อสุกเนื้อจะเละ ไม่อร่อย แต่อีกแบบเวลาดิบเนื้อจะเหนียว เมื่อสุกแล้วเนื้อจะหวานไม่เละ ซึ่งแบบนี้เหมาะกับการรับประทานเมื่อสุก เช่น ปลักไม้ลาย หรือแขกดำ ซึ่งถ้านำมาทำเป็นส้มตำจะไม่นิยม เพราะเนื้อเหนียว ไม่อร่อย อาจเป็นความโชคดีของทั้งมะละกอและผู้บริโภคที่สามารถแยกแยะได้ว่าพันธุ์ใด เหมาะกับการทำอะไร
เรื่องต่อมาเป็นขนาด ถ้าหากคิดว่าลูกที่มีขนาดใหญ่เกินไปจะเป็นปัญหาต่อการรับประทาน แล้วจะทำอย่างไร ให้มะละกอมีขนาดเล็ก แต่คงไม่ใช่การไปลดปุ๋ยแน่
วิธีทำก็พอมี แต่ต้องใช้เวลาพอสมควร อย่างที่ประเทศมาเลเซีย กว่าจะทำได้ต้องใช้เวลาถึง 15 ปี ส่วนของเราถ้าหากจะลองทำดูน่าจะต้องพิจารณาเลือกพันธุ์ก่อน อาจใช้พันธุ์แขกดำกับฮาวายมาผสมข้าม โดยอาจใช้ฮาวายเป็นแม่พันธุ์เพราะมีเมล็ดมาก และใช้เกสรตัวผู้ของแขกดำ แล้วก็คัดเลือกพันธุ์ แต่ต้องใช้เวลาเพราะมีวิธีการและขั้นตอนพอสมควร
อย่าลืม! ความหวานต้องได้มาตรฐาน
คู่ไปกับรูปทรงและสีสัน
อีกประเด็นของการส่งออกมะละกอ ต้องให้ความสำคัญในเรื่องความหวานด้วย การส่งมะละกอไปต่างประเทศ มีการกำหนดความหวานไว้ที่ไม่ต่ำกว่า 14 แต่บางพันธุ์ของเรามีเพียง 12 ดังนั้น ต้องพยายามคัดพันธุ์โดยเน้นที่ความหวานควบคู่ไปด้วย นอกจากนั้น สีเนื้อแบบใดที่ตลาดให้ความสนใจ อาจเป็นแดงเข้ม หรือสีเหลือง
การปลูกมะละกอนั้น สิ่งที่จะต้องพิจารณาสำหรับผู้ปลูกคือ จะสามารถดูแลให้ดีและสมบูรณ์ได้ในพื้นที่ขนาดเท่าไร ซึ่งคิดว่าขนาดที่เหมาะน่าจะประมาณ 5 ไร่ ขึ้นไป แต่หากเกษตรกรต้องการปลูกเพื่อป้อนเข้าโรงงาน ควรปลูกแล้วเก็บผลผลิตได้อย่างน้อย 3 ตัน ต่อครั้ง
มะละกอสร้างชาติ “มะละกอพืชยอดนิยม ปลูก บริโภค สร้างรายได้…ทั่วถิ่นแดนไทย” (ตอนที่ 2) ตุลาคม 10, 2011
http://info.matichon.co.th/techno/techno.php?srctag=05086011054&srcday=2011-10-01&search=noวันที่ 01 ตุลาคม พ.ศ. 2554 ปีที่ 23 ฉบับที่ 512 |
ทะนุพงศ์ กุสุมา ณ อยุธยา
มะละกอสร้างชาติ “มะละกอพืชยอดนิยม ปลูก บริโภค สร้างรายได้…ทั่วถิ่นแดนไทย” (ตอนที่ 2)
ตามคำมั่นสัญญาที่ให้ไว้กับผู้อ่านนิตยสารเทคโนโลยีชาวบ้านทุก ท่าน ว่าให้ติดตามอ่านเนื้อหาของงาน สัมมานามะละกอสร้างชาติต่อในปักษ์นี้ ซึ่งเราได้เรียบเรียงเนื้อหาและเก็บภาพบรรยากาศภายในงานนำมาเสนอให้กับผู้ ที่รออ่านได้บริโภคกันต่อเป็นตอนที่ 2 ครับ
งานปรับปรุงมะละกอพันธุ์เรดแคริเบี้ยน
และประสบการณ์การปลูกมะละกอส้มตำพันธุ์ครั่ง
คุณทวีศักดิ์ ชัยเรืองยศ ก่อนอื่นขอออกตัวก่อนว่า ตัวเองเป็นสื่อมวลชนอิสระ ส่วนเรื่องมะละกอนั้นได้มีการเข้าไปสัมผัสและคลุกคลีมานาน มีการเข้าพื้นที่สัมภาษณ์ แล้วนำมาเขียนหลายครั้งมากมาย พอได้ไปเห็นทั้งในและต่างประเทศมาแล้ว ก็คิดว่าจะหาซื้อที่ดินเพื่อใช้สำหรับใช้รวบรวมพันธุ์มะละกอที่ได้มาจากต่าง ประเทศ เช่น เรดแคริเบี้ยน ที่ได้พันธุ์มาจากประเทศแถบอเมริกากลาง จากนั้นก็ได้หาวิธีศึกษาว่าจะมีการเก็บพันธุ์อย่างไร เพื่อจะได้พันธุ์แท้ ซึ่งก็ใช้เวลาร่วม 10 ปี จนถึงวันนี้และงานนี้ถือเป็นครั้งแรกสำหรับการเปิดตัวพันธุ์เรดแคริเบี้ยน
ก่อนอื่นขอย้อนกลับไปถึงเหตุผลที่สนใจมะละกอที่เริ่มจากโรคไวรัสจุดวง แหวน และอีกกรณีคือเรื่องมะละกอ จีเอ็มโอ ที่ผมต้องบอกก่อนว่าไม่มี เพราะฉะนั้นเวลาไปบรรยายที่ไหน พอเห็นเรดแคริเบี้ยนก็จะเกิดความสงสัยว่าเป็น จีเอ็มโอ หรือไม่ หรือที่ไปนำเมล็ดแตงโมมาจากไต้หวัน มาปลูกได้ลูกละ 15-16 กิโลกรัม เหมือนกับที่ทางไต้หวันปลูก ก็มีคนสงสัยอีกว่า จีเอ็มโอ หรือไม่
ดังนั้น การปลูกมะละกอในประเทศไทย ถ้าจะปลูกกันก็ต้องเริ่มต้นด้วยการตั้งโจทย์ก่อนว่า ปัญหาที่เกิดขึ้นวันนี้คือโรคไวรัสจุดวงแหวน สำหรับมะละกอพันธุ์แรกที่ผมศึกษาพร้อมได้ไปดูงานมาคือ แขกดำศรีสะเกษ
แล้วพันธุ์นี้มีที่มาอย่างไร?
ความจริงแขกดำนั้นทางศูนย์วิจัยพืชสวนศรีสะเกษ ได้ไปคัดพันธุ์มาจากดำเนินสะดวก จังหวัดราชบุรี ต่อมานำไปคัดเลือกพันธุ์จนนิ่งแต่ไม่ได้ผสมพันธุ์ และเพื่อเป็นการให้เกียรติกับทางศูนย์วิจัยพืชสวนศรีสะเกษที่เป็นผู้คัด เลือกพันธุ์ จึงให้ชื่อว่า แขกดำศรีสะเกษ และเป็นพันธุ์ที่มีการบริโภคกันทั่วไปในตอนนี้ซึ่งผ่านการคัดเลือกพันธุ์มา แล้ว หลังจากนั้นก็เริ่มมีการกระจายพันธุ์ออกไป ซึ่งแขกดำศรีสะเกษก็ไม่แตกต่างจากแขกนวลหรือสายน้ำผึ้ง
การแก้ปัญหาโรคไวรัสจุดวงแหวนแบบยั่งยืนนั้นอาจมี 2 แนวทาง คือ แนวทางแรก ต้องปลูกมะละกอ จีเอ็มโอ เท่านั้น ซึ่งแนวทางนี้คงไม่เอาแน่ เพราะมีการต่อต้านและทางรัฐบาลก็ยังไม่มีการดำเนินการใดๆ ดังนั้น จึงตัดแนวทางแรกออกไปได้เลย พอมาถึงแนวทางที่สอง ก็มีคำถามว่าจะหามะละกอแบบใดที่จะทนทานต่อโรค และมารู้ภายหลังว่ามะละกอที่มีเนื้อสีเหลือง จะทนทานต่อไวรัสดีกว่าเนื้อสีส้ม จึงเป็นที่มาของมะละกอท่าพระ 1, 2 และ 3 ซึ่งพันธุ์ท่าพระเกิดมาจากขอนแก่น และไปเกี่ยวข้องกับ จีเอ็มโอ อีก แต่ความจริงไม่ใช่พันธุ์ จีเอ็มโอ แต่ใช้หลักการคัดเลือกพันธุ์แล้วต้องการให้มีสีเหลือง เพื่อให้มีการต้านทานโรคโดยมิได้มีการตัดแต่งพันธุกรรมเลย
แต่หลังจากนั้นเริ่มกลับมาคิดว่าจะปลูกมะละกอไม่ให้เป็นไวรัสได้อย่างไร จึงมี 3 หน่วยงาน ที่เข้ามาเกี่ยวข้องและพยายามศึกษา โดยทางศูนย์วิจัยพืชสวนศรีสะเกษ ได้บอกว่า ถ้าหากต้องการจะปลูกมะละกอแขกดำ ควรจะปฏิบัติดังนี้ ข้อแรก จะต้องปลูกเอาแค่ 2 คอ เท่านั้น หมายถึงให้เก็บเพียง 2 รุ่น เท่านั้น เพราะเวลาไวรัสลงรุ่นที่ 3 ก็จะเก็บไม่ได้แล้ว นอกจากนั้น ควรปลูกมะละกอแบบพืชหมุนเวียน ดังนั้น เกษตรกรที่มีพื้นที่มากควรมีการวางแผนการปลูก ข้อสอง สามารถปลูกพืชอื่นแซมกับการปลูกมะละกอได้ ที่จริงแล้วอาจารย์วิชัย จากมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ได้ศึกษามาแล้วว่ามะละกอไม่ใช่พืชอาหารของเพลี้ย อ่อน และเพลี้ยอ่อนเป็นตัวที่ถ่ายเชื้อไวรัส คนที่ปลูกตระกูลแตงจึงเป็นต้นเหตุ โดยเฉพาะในช่วงหน้าหนาวจะระบาดเร็วมาก จึงเป็นข้อคิดที่พึงระวังว่าอย่าปลูกพืชตระกูลแตงในแปลงมะละกอ ส่วนอีกท่านคือ อาจารย์รวี ได้บอกว่า ควรแยกให้ออกว่าไวรัสจุดวงแหวนกับสารไกลโฟเสต ที่อาจารย์รวีหมายถึงไม่ควรฉีดสารไกลโฟเสตในแปลงมะละกอ เพราะเมื่อละอองของสารดังกล่าวไปถูกใบมะละกอ ก็จะเกิดอาการเหมือนกับจุดวงแหวน ซึ่งแยกกันไม่ออก โดยเฉพาะอย่างยิ่งถ้าผสมทูโฟดีด้วย กรณีนี้อาจเกิดกับการปลูกมะละกอที่ติดกับแปลงนาข้าว
สำหรับงานหลักที่ผมทำอยู่คือ การรวบรวมพันธุ์มะละกอ อย่างพันธุ์เรดแคริเบี้ยน ซึ่งคัดพันธุ์มาเป็นเวลา 7-8 ปีแล้ว แล้วขอตอกย้ำสิ่งที่ท่านอาจารย์สิริกุลบอกไปแล้วคือในแปลงที่ผมปลูกเรดแคริ เบี้ยน จะไม่มีการปลูกพันธุ์อื่นเลย นอกจากนั้นแล้ว ต้นตัวเมียจะตัดทิ้งหมดเลย ดังนั้น จึงเห็นว่าบริเวณหน้างานที่จัดแสดงจะไม่มีพันธุ์ครั่งเลย เพราะตั้งใจว่าจะปลูกในคราวต่อไป มะละกอเรดแคริเบี้ยนเป็นมะละกอที่ถูกนำมาจากทางอเมริกากลาง ครั้งแรกนำไปปลูกในแปลงร่วมกับแขกดำศรีสะเกษ ปรากฏว่าแขกดำศรีสะเกษเจอไวรัส แต่เรดแคริเบี้ยนไม่เป็น จากนั้นจึงได้ติดตามผลมาเรื่อยๆ
เรดแคริเบี้ยน ให้ลูกดก
เนื้อหนา คล้ายแขกดำ
การให้ลูกของเรดแคริเบี้ยนเคยไว้ถึงคอที่ 3-4 แต่ปรากฏว่าไม่ไหว จะโค่น เพราะสูงมาก เลยทำสาวดูเมื่อตอนที่มีอายุ 3 ปี และอีกอย่างเรดแคริเบี้ยนหากได้น้ำดีและพอเหมาะ ลูกผลจะมีขนาดใหญ่มาก และต้องคอยบอกคนที่ปลูกว่า ให้ระวังฝนตกหนักและต่อเนื่อง ดินจะอุ้มน้ำไว้มากเกินไป ต้นจะโค่น
สำหรับพันธุ์เรดแคริเบี้ยนนี้ได้ลองจัดแยกเป็นกลุ่ม A B C แล้วทดลองแยกแต่ละกลุ่ม ปรากฏว่ามีความใกล้เคียงกันในเรื่องขนาดของผล แต่มีสิ่งที่เหมือนกันคือความหนาของเนื้อ ส่วนความดกหมดปัญหาไปเลย เพราะให้ลูกดกมาก เนื้อหนามาก ดูคล้ายแขกดำ แต่หากย้อนกลับไปที่อาจารย์สิริกุล บอกว่า ในสายพันธุ์นี้ทำส้มตำได้หรือไม่ ก็บอกว่าได้ แต่เนื้อจะเหนียว ซึ่งก็สามารถเก็บดิบได้ แต่ถ้าสุกดูจะเหมาะส่งโรงงานมากกว่าเพราะมีเนื้อที่ละเอียด หนา สีสวย ก็เป็นเหตุผลหนึ่งที่ใช้เป็นทางเลือกในอนาคต
ส่วนที่บอกว่า ทำไม ทางมาเลเซียจึงส่งออกมะละกอได้ปริมาณมาก เหตุผลประการสำคัญเพราะทุกครั้งที่มีการจัดงานแสดงผลไม้ระหว่างประเทศ ทางมาเลเซียได้นำมะละกอมาแสดงแบบเป็นพระเอกที่โดดเด่น จนทำให้พ่อค้าหลายประเทศ หลายแห่งให้ความสนใจไม่น้อย หรืออย่างที่ไต้หวันปลูกมะละกอกางมุ้งกันทั้งนั้น ผมสงสัยจึงไปถามว่า ทำไม ต้องลงทุนขนาดนี้ เขาตอบว่าไม่ได้ลงทุนอะไร มีหน้าที่ปลูกมะละกอให้ต้นเตี้ย และรัฐมีหน้าที่ลงทุนให้ อย่างไรก็ตาม เป็นที่ทราบดีสำหรับคนที่เคยเดินทางไปชมแปลงเกษตรที่ไต้หวันว่าทางเดินเข้า แปลงทุกแห่ง ทำด้วยซีเมนต์คอนกรีตทั้งหมดโดยรัฐทำให้เช่นกัน แม้แต่สหกรณ์ของเขามีความเข้มแข็งมาก
พันธุ์ “ครั่ง” มีจุดเด่นที่เนื้อกรอบ
เหมาะกับการทำส้มตำ
คราวนี้มาดูมะละกอพันธุ์ครั่ง ซึ่งความจริงแล้วตัวผมไม่ได้เป็นผู้พัฒนาพันธุ์ แต่ทางศูนย์วิจัยพันธุ์พืชมหาสารคาม ของกรมส่งเสริมการเกษตร ที่เป็นศูนย์พัฒนาอาชีพเป็นหน่วยงานที่ดูแล ส่วนตัวผมได้มาเก็บข้อมูลจากเกษตรกรกับทางศูนย์ แล้วนำมาเขียนเผยแพร่ในนิตยสารเทคโนโลยีชาวบ้าน
ก่อนอื่นต้องทำความเข้าใจก่อนว่ามะละกอพันธุ์นี้ต้องใช้วิธีการคัดเลือก พันธุ์เช่นกัน สำหรับพันธุ์ครั่งคงเป็นพันธุ์ดั้งเดิมของพื้นที่อยู่แล้ว มีลักษณะคือให้ผลดกมาก แต่ต้องตั้งโจทย์ ข้อแรก ก่อนว่ามะละกอพันธุ์นี้ถูกพัฒนาเพื่อนำมาใช้ทำส้มตำโดยเฉพาะ ซึ่งมีจุดเด่นคือเนื้อกรอบมาก ที่กล้ายืนยันได้เพราะทดลองชิมมาทุกพันธุ์แล้ว รวมไปถึงแขกนวลที่ว่าทำส้มตำอร่อยด้วย ข้อสอง อันนี้ดีสำหรับคนขาย เพราะเมื่อซื้อมะละกอแขกนวลและครั่งไปพร้อมกัน ถ้าต้องทิ้งไว้นาน แขกนวลจะเหี่ยวเร็วกว่าครั่ง แต่มีข้อเสียคือรูปร่างลักษณะของพันธุ์ครั่งจะเป็นร่องดูไม่สวย แล้วยังพบว่าตอนนี้มีคนแจ้งว่าปลูกครั่งแล้วขายไม่ได้ เพราะตลาดโดยทั่วไปยังไม่เปิด สำหรับเรื่องโรคไวรัส จะเป็นเฉพาะบางพื้นที่ แต่จากประสบการณ์ที่ปลูกมาคิดว่าเป็นพันธุ์ที่ทรหดเหมือนกัน อย่างไรก็ตาม จะขอสรุปในเรื่องไวรัสว่าถ้ามีทางเลือกใน 3 ข้อแรก ที่กล่าวมา คือ
1. ให้ปลูกแบบพืชหมุนเวียน
2. ให้ระวังพืชอิงอาศัยอย่างเพลี้ยอ่อนกับแตง และ
3. ระวังยาฆ่าหญ้า
สำหรับที่งาน “เกษตรมหัศจรรย์ วันเส้นทางเศรษฐี-เทคโนโลยีชาวบ้านฯ” กำหนดการออกมาแล้ว ระหว่าง วันที่ 23-27 พฤศจิกายน 2554 ที่ห้างสรรพสินค้า เดอะมอลล์ บางแค จะนำพืช ผัก ผลไม้ยักษ์ เช่น ฟักยักษ์ แตงโมยักษ์ มาแสดงในงานด้วย
ส่วนประเด็นที่ถามเกี่ยวกับการทำสาวมะละกอนั้น เรื่องนี้เหมือนหญ้าปากคอก ซึ่งแท้จริงแล้วไม่มีอะไรยุ่งยากซับซ้อนเลย ถ้าพูดกันง่ายๆ การทำสาวคือการใช้เลื่อยตัดต้นมะละกอที่ดูแล้วว่ามีความสมบูรณ์และแข็งแรง ที่สุดทิ้ง โดยตัดให้สูงจากพื้นดินขึ้นมาสัก 1 เมตร 10 เซนติเมตร และมีคำแนะนำอยู่อย่างเดียวสำหรับการทำสาวคือให้ตัดทิ้งเลยโดยไม่ต้องใช้ พลาสติกคลุม จากนั้นจะมีการแตกใหม่ พร้อมมีการสร้างเนื้อขึ้นมาหุ้มเอง พอแตกออกมาเป็นยอดๆ เราก็เลือกยอดหลักไว้ เกษตรกรบางคนกลัวน้ำ จึงใช้พลาสติกคลุมไว้ อย่าใช้พลาสติกคลุม เดี๋ยวจะเน่า ให้เลือกตัดต้นที่แข็งแรงและสมบูรณ์ อย่างเรดแคริเบี้ยนที่ต้องตัดเพราะต้นสูงมาก กลัวจะโค่นจึงต้องตัดที่ช่วงคอ 3-4
การพัฒนามะละกอพันธุ์ครั่ง คงเป็นภาระของหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง แต่สิ่งที่จะฝากคือพันธุ์นี้มีข้อดีอย่างหนึ่ง ถ้าเป็นตัวเมียจะมีลักษณะยาวไม่กลมแบบแขกดำ ยาวประมาณ 30 เซนติเมตร และคงต้องคิดกันต่อไปว่าในอนาคตจะทำอย่างไรให้พันธุ์นี้เดินหน้า สำหรับความกังวลเรื่องรสชาติคงหมดไป เพียงแต่ว่าจะสร้างให้ตลาดยอมรับได้อย่างไร และจะขยายตลาดให้กว้างออกไปกว่าที่เป็นอยู่ในขณะนี้ได้อย่างไร…ขอบคุณมาก ครับ
“แนวทางการสร้างภูมิต้านทานโรค
ใบด่างวงแหวนในมะละกอ”
คุณเกียรติศักดิ์ จรรยาประเสริฐ กรรมการผู้จัดการ บริษัท กฤษณา มาร์เก็ตติ้ง จำกัด สวัสดีครับ ท่านผู้เข้าร่วมสัมมนา การบรรยายในครั้งนี้ผมมาในฐานะในวิชาการของ บริษัท กฤษณา มาร์เก็ตติ้ง จำกัด และเนื้อหาที่จะบรรยายนี้เชื่อได้เลยว่าทุกท่านที่สนใจในเรื่องมะละกอหรือ กำลังเกี่ยวข้องกับมะละกอจะมีความหวัง พร้อมกับมีทางเลือก แล้วจะเห็นแนวทางที่จะจัดการกับโรคร้ายตัวนี้ของมะละกอได้อย่างไร ทั้งยังรวมไปถึงด้านการป้องกันและรักษาควบคู่ไปด้วย แนวทางอย่างนี้จะใช้ความรู้ ความเข้าใจอย่างถูกต้อง ตลอดจนเทคนิคทางการแพทย์และนำมาประยุกต์ใช้กับทางการเกษตร ซึ่งหลังจากท่านฟังแล้วจะเริ่มเข้าใจถึงแนวทางที่ชัดเจนได้เอง แล้วยังถูกต้อง ยั่งยืน มีประสิทธิภาพ อันทำให้เกิดประสิทธิผลตามมาด้วย
ในครั้งนี้จะบรรยายแบบฉบับย่อที่ครบสูตรทุกเรื่องทั้งทางด้านทฤษฎีและแนว ปฏิบัติที่นำไปใช้อย่างไรให้ผลอย่างแท้จริงทันที ก่อนอื่นมาทำความรู้จักกับโรคไวรัสวงแหวนมะละกอก่อน และคิดว่าทุกท่านที่มาในครั้งนี้คงคุ้นเคยกับโรคนี้ดีอยู่แล้ว เริ่มจากอาการของโรคที่มีลักษณะใบงอหงิก เหลือง มีจุดคล้ายวงแหวน พบได้ในทุกส่วนของมะละกอ และยังเป็นได้ทุกส่วนของมะละกอตั้งแต่ใบ ลำต้น และผล ทำให้สร้างปัญหาต่อผู้ปลูกมะละกอมาก สาเหตุที่ทำให้เกิดโรคนี้และร้ายแรงมากเพราะเกิดจากเชื้อไวรัสที่ชื่อ PAPAYA RING SPOT VIRUS หรือ PRV ซึ่งไวรัสตัวนี้รูปร่างเป็นแท่ง เล็กมาก และมี 2 สายพันธุ์ สายพันธุ์แรกเป็นชนิด P ย่อมาจาก PAPAYA ที่ทำให้เกิดโรคในมะละกอ นอกจากนั้น ยังทำให้เกิดโรคในพืชตระกูลแตง อย่างที่คุณทวีศักดิ์บอกไปว่า การปลูกแตงใกล้กับมะละกอเป็นสาเหตุของไวรัสวงแหวนในมะละกอ จึงควรจะหลีกเลี่ยงพืชตระกูลแตงอย่าให้เข้าไปใกล้มะละกอ อีกสายพันธุ์เป็นชนิด W ย่อมาจากคำว่า WATER MELON เป็นสายพันธุ์ที่ทำให้เกิดโรคในตระกูลแตงเท่านั้น แต่ไม่เกิดในมะละกอ เพราะมะละกอไม่ใช่พืชอาศัย
การแพร่ระบาดด้วยเพลี้ย เพราะเพลี้ยหลายชนิดสามารถนำโรคจากพืชที่เป็นไปสู่พืชที่ยังไม่เป็น โดยมีหลักการคือ ไวรัสตัวนี้จะถูกเพลี้ยดูดเข้าไปในทางเดินอาหารของเพลี้ย ซึ่งจะมีชีวิตอยู่ในตัวเพลี้ยในช่วงสั้นๆ จะขยายพันธุ์ไม่ได้ แต่ไปสะสมอยู่ในต่อมน้ำลาย ก่อนที่เพลี้ยตัวนี้จะไปเกาะที่พืชอื่นแล้วจัดการถ่ายเชื้อไปที่พืชที่เกาะ ใหม่จนทำให้เกิดโรค ซึ่งสามารถติดต่อได้ในเวลาเพียงไม่กี่วินาที
แนวทางการป้องกันโรคไวรัสจุดวงแหวนที่พอจะสรุปได้มี 3 แนวทาง คือ ข้อ 1. เป็นวิธีทางเกษตรกรรมที่พอฟังแล้วจะเกิดความเข้าใจได้ทันที แต่ในทางปฏิบัติกลับมีความยากมาก เพราะการปลูกมะละกอแห่งหนึ่งจะย้ายไป-มา หรือจะไม่ให้ใครมารบกวนเป็นเรื่องยากมาก เพราะฉะนั้นวิธีนี้ฟังเข้าใจง่าย แต่ปฏิบัติยาก แล้วเป็นวิธีที่ทางเกษตรกรได้มีการแนะนำอยู่แล้ว เช่น ไม่ปลูกพืชทับที่เดิม ปลูกพืชหมุนเวียน ไม่ควรปลูกพืชใกล้กับพืชที่มีการระบาดของโรค หรือเวลาเจอต้นที่เป็นโรคจะต้องรีบกำจัดทิ้งทันที ข้อ 2. เป็นแนวทางชีวพันธุกรรม ซึ่งแบ่งย่อยออกเป็น 2 วิธีอีก คือวิธีแรกการคัดเลือกสายพันธุ์เป็นวิธีที่ดีมาก ต้องใช้ความรู้ ความเข้าใจสูง อีกวิธีคือการทำมะละกอ จีเอ็มโอ ที่มีความเห็นว่าเป็นวิธีที่ดีในทางวิชาการ ซึ่งสามารถป้องกันกับปัญหาได้หลายประการ แต่กระนั้นก็ตาม ยังคงมีปัญหาทางด้านสังคมที่ยังตกลงกันไม่ได้ แต่อย่างไรก็ตาม ยังมีปัญหาและอุปสรรคใน 2 แนวทางดังกล่าว อย่างการคัดเลือกสายพันธุ์ทางธรรมชาติ จะพบว่าต้องใช้เป็นเวลานานนับสิบปี กว่าจะได้พันธุ์ที่ต้องการ และเมื่อได้แล้วกลับไม่เป็นที่ต้องการของตลาดอีก หรือความต้านทานโรคอาจมีเพียงระดับหนึ่งเท่านั้น ข้อ 3. เป็นแนวทางสุดท้ายคือด้านเคมีที่ทุกคนคงทราบดีว่าเมื่อพบปัญหาต้องไปที่ร้าน ขายยา สำหรับแนวทางนี้ก็พบปัญหาเช่นกัน เพราะการปราบศัตรูพืช เช่น เพลี้ย เมื่อปราบได้เดี๋ยวก็กลับมาอีก เพราะมีวงจรชีวิตสั้น
การทำวัคซีนพืช
เพื่อป้องกันโรค ได้ผลและยั่งยืน
ดังนั้น ภาพรวมทั้งหมดที่กล่าวมาสำหรับชาวสวนมะละกอที่มีทางออกจะมีเพียงแค่นี้เท่า นั้น แต่ในความเป็นจริงคงไม่ใช่ ครั้งนี้ผมขอเสนออีกแนวทางหนึ่งเพื่อเป็นทางเลือกที่ดี ถูกต้อง และรับรองได้ผลจริง วิธีที่ว่าคือการทำวัคซีนพืช โดยเทคนิคการสร้างภูมิต้านทานด้วยวิธีการเลียนแบบธรรมชาติ แล้วทำอย่างไร? ก่อนอื่นเราต้องรู้ว่าพืชมีระบบการป้องกันตัวเอง มิเช่นนั้นคงไม่สามารถอยู่บนโลกที่เกิดการเปลี่ยนแปลงตลอดเวลาได้อย่างยาวนาน
ถึงวันนี้ได้ค้นพบกระบวนการหรือวิธีป้องกันตัวเองของพืชมากมาย แต่มีวิธีหนึ่งที่พืชสามารถป้องกันตัวเองได้อย่างมีประสิทธิภาพได้อย่างดี ซึ่งเรียกว่าเป็นวิธี SAR ซึ่งเป็นกระบวนการป้องกันตัวเองของโลก
หากจำลองภาพของมะละกอขณะที่ถูกไวรัสเข้าทำลาย หมายถึง เป็นช่วงที่เพลี้ยเจาะดูดแล้วปล่อยไวรัสเข้าไปในต้น สิ่งแรกที่มะละกอจะตอบสนองคือการตอบสนองแบบตื่นตัว เหมือนคนที่ถูกมีดบาดแล้วจะเกิดอาการสะดุ้ง จากนั้นพืชจะป้องกันตัวเองด้วยการหลั่งสารเพื่อป้องกันเฉพาะหน้าก่อน เช่น อาจสร้างน้ำยางออกมาเพื่อเป็นการสมานแผล นอกจากพืชจะสร้างระบบป้องกันตัวเองในแบบเฉพาะที่แล้ว ยังมีการสังเคราะห์สารที่เป็นสัญญาณอีกตัวขึ้นมาขณะที่พืชถูกกระตุ้นแล้วส่ง สารดังกล่าวไปทั่วต้น ตั้งแต่ปลายยอดไปจนถึงปลายราก เป็นการเตือนเซลล์ทุกเซลล์ที่อยู่ในต้นเพื่อให้รู้ว่ากำลังมีการบุกรุก จากนั้นจะเป็นกระบวนการเพื่อจะได้สังเคราะห์โปรตีนที่เรียกว่า PR โปรตีนออกมาเพื่อต้านทานโรค
เมื่อรู้ทฤษฎีที่มาและข้อมูลแล้ว ต่อไปเป็นการปฏิบัติที่จะต้องทำวัคซีนพืช แนวทางนี้จะได้ผลและยั่งยืน วัคซีนพืชทำให้พืชมีภูมิต้านทานเชื้อโรคก่อนที่จะเป็นโรค แต่ต้องทำให้พืชมีภูมิต้านทานก่อนที่เชื้อโรคจะเข้ามา
วัคซีนพืชสร้างภูมิต้านทาน
ก่อนเชื้อโรคจะเข้าพืช
ก่อนอื่นมารู้จักกับอีมูนพลัสว่าคืออะไร อีมูนพลัส จะเป็นกรดซาลิซิลิกในรูปวัคซีนพืชที่รวมแคลเซียมและโบรอน ซึ่งกรดซาลิซิลิกมีความสำคัญมาก เพราะตัวนี้เป็นการเลียนแบบธรรมชาติ โดยที่ธรรมชาติกำหนดว่าต้องมีการสังเคราะห์ออกมาเมื่อมีเชื้อโรคเข้าทำลาย พืช แต่เราใช้กรดซาลิซิลิกในรูปอีมูนพลัสพร้อมให้มีการกระตุ้นทันที เพราะฉะนั้นถ้าเราสามารถนำกรดซาลิซิลิกในรูปที่ถูกต้อง และนำมาใช้ในปริมาณที่เหมาะสมด้วยเทคนิคที่ถูกต้อง พืชก็จะสังเคราะห์ PR โปรตีนออกมา ซึ่งจะมีฤทธิ์ในการต้านไวรัสด้วย มันเป็นการส่งสัญญาณให้รู้ก่อนที่จะมีไวรัสเข้า และกรดซาลิซิลิกไม่มีอันตรายต่อพืช เพราะในความจริงในธรรมชาติของพืชจะสร้างกรดนี้ขึ้นมาอยู่แล้ว
แล้วจะนำมาใช้กับมะละกอได้อย่างไร? ในประเด็นนี้มีการแยกไว้ 2 กรณี
กรณีแรก คือการใช้อีมูนพลัสเพื่อป้องกันโรคไวรัสวงแหวน ซึ่งเป็นกรณีที่อยากจะแนะนำมาก แต่เกษตรกรชาวสวนไม่นิยมใช้กันและมักปล่อยให้เป็นโรคก่อนจึงรักษา ดังนั้น อยากให้ใช้วิธีนี้เพราะเป็นการป้องกันก่อนที่จะเกิดและเป็นวิธีของการใช้ วัคซีนพืช โดยมีอัตราหรือสัดส่วนการใช้ 20 ซีซี ต่อน้ำ 20 ลิตร ที่เป็นอัตรามาตรฐานของชาวสวน โดยมีเทคนิคการใช้คือให้ฉีดพ่นทางใบให้ชุ่มทุก 10-15 วัน ให้เริ่มฉีดตั้งแต่เป็นต้นกล้าเล็กๆ ก่อน และนั่นเป็นการให้วัคซีนในช่วงเด็ก เหตุผลที่ต้องฉีดตลอดเพราะ PR โปรตีนที่พืชสร้างขึ้นมีอายุการใช้งานและมีการหมดอายุลง เพราะฉะนั้นจึงเป็นการฉีดกระตุ้นอยู่อย่างสม่ำเสมอเพื่อให้เซลล์พืชมีการ สร้างออกมาอยู่ตลอดเวลาไม่ขาดช่วง
กรณีที่สอง คือถ้าเป็นโรคแล้วจะหาทางแก้ไขได้อย่างไร ความจริงไม่ค่อยอยากแนะนำวิธีนี้สักเท่าไร เพราะเป็นการแก้ไขที่ปลายเหตุและค่อนข้างยาก โอกาสเกิดความล้มเหลวสูง แต่อาจพอมีหวังด้วยการให้อีมูนพลัสในอัตรามาตรฐานข้างต้น แต่จะมีความแตกต่างในเรื่องการให้เพราะพืชติดโรคแล้ว จึงต้องย่นเวลาการให้โดยให้มีความถี่มากขึ้น คือให้ 3-5 วัน ต่อครั้ง เป็นเวลา 3 ครั้ง ในระยะเริ่มต้น หลังจากนั้น จะเริ่มทิ้งระยะเป็นเวลา 7-10 วัน ต่อครั้ง แล้วพืชจะค่อยเริ่มฟื้นตัว ซึ่งเกษตรกรจะเห็นความเปลี่ยนแปลงคือ จะมียอดอ่อนแตกออกมาใหม่และจะไม่มีไวรัสมารบกวนอีก ซึ่งเป็นยอดใหม่ที่มีความสมบูรณ์ตามปกติ แต่อย่างไรก็ตาม ขอย้ำอีกครั้งว่าไม่ค่อยอยากแนะนำ เพราะพืชเคยผ่านการติดโรคมาแล้ว กว่าจะฟื้นตัวต้องใช้เวลาในการปรับสภาพภายในของพืชเองเพื่อให้ดีขึ้น แต่การปล่อยให้พืชที่เคยติดโรคกลับมามีความสมบูรณ์อีกครั้งต้องอาศัยตัวช่วย เพราะลำพังให้พืชสร้างระบบภายในเองคงใช้เวลานานมาก ถึงกระนั้นการที่จะให้ได้ผลต้องมีการเสริม PR โปรตีนให้มากขึ้น และยังเสริมการกำจัดโรคแทรกซ้อนชนิดใหม่ที่จะแฝงตัวเข้าไปในพืช เพราะการเสริมโปรตีนเข้าไปจะทำให้มะละกอฟื้นตัวเร็วขึ้นและมีประสิทธิภาพมากขึ้น
อีกตัวที่จะทำให้มะละกอที่เป็นโรคแล้วได้ฟื้นตัวดีขึ้นคือการใช้เคลียร์ ที่จะช่วยลดปริมาณเชื้อโรคที่อยู่ภายนอกและกำลังจะเข้าไปทำลายพืชที่ถือว่า เป็นการแทรกซ้อน เคลียร์ คือสารที่จะช่วยเสริมประสิทธิภาพ ช่วยเสริมการกำจัดเชื้อโรคได้อย่างดี
อยากบอกถึงบทสรุปและประโยชน์ของแนวทางการรักษาป้องกันด้วยวิธีการสร้าง ภูมิต้านทาน ซึ่งเป็นวิธีที่ได้ผล ถูกต้อง และยั่งยืน เพราะจะใช้เมื่อต้องการทำวัคซีนให้กับพืชเพื่อป้องกันโรคก่อนที่จะเกิดหรือ ก่อนเชื้อโรคจะเข้าทำลาย
ที่บอกว่ายั่งยืนเพราะอะไร หากย้อนกลับไปสมัยก่อน มนุษย์ได้มีการฉีดวัคซีนเพื่อป้องกันโรค และทำมาจนถึงปัจจุบัน ทั้งนี้เพื่อให้มนุษย์มีชีวิตอยู่ได้อย่างยาวนาน ต่อมาทฤษฎีการฉีดวัคซีนเพื่อป้องกันโรคถูกนำมาใช้ในสัตว์เพราะมีเหตุผลที่ ต้องการให้สัตว์มีอายุที่ยั่งยืน แต่การฉีดวัคซีนไม่ได้หมายถึงจะไม่ตาย เพียงแต่ทำให้เกิดโรคน้อยลง
ผมมีความเชื่อว่าวิธีนี้จะถูกนำมาใช้กับพืชเศรษฐกิจของเรา และยังเชื่ออีกว่าในอนาคตอีกไม่นานจะเป็นวิธีที่ยั่งยืนในพืชเศรษฐกิจโดย เฉพาะพืชที่หายารักษายาก เช่น มะละกอ จะช่วยลดการระบาด ลดความรุนแรงของโรค พร้อมกับยังช่วยฟื้นฟูพืชที่เป็นโรคให้กลับมาเจริญเติบโตได้ใหม่อีก ที่สำคัญยังสามารถช่วยลดการใช้สารเคมีที่อันตรายไปได้อย่างมาก ทั้งยังมีความปลอดภัยต่อสิ่งแวดล้อม พืช และสัตว์ ซึ่งเป็นสิ่งที่ บริษัท กฤษณา มาร์เก็ตติ้ง จำกัด ได้ริเริ่มมา 10 ปีที่แล้ว
ได้รับความสนใจที่จะนำไปใช้
เป็นทางเลือกในการแก้ไขโรค
มากน้อยแค่ไหน
วิธีนี้ก็เป็นที่ยอมรับและแพร่หลายในวงการมะละกอในระดับหนึ่ง โดยเฉพาะในรายใหญ่ สุดท้ายอยากจะย้ำว่าอยากให้ใช้ในแบบของการป้องกันมากกว่า เพราะค่าใช้จ่ายจะถูกกว่า การที่รอให้เป็นโรคแล้วไปรักษา เพราะการฉีดในช่วง 10-15 วัน ต่อครั้ง จะมีความประหยัดกว่าการที่มะละกอกำลังจะให้ผลผลิตและเกิดเป็นโรค จนทำให้ผลผลิตที่กำลังจะสร้างรายได้กลับเสียหายไป
ดังนั้น ใครที่กำลังทำพืชเศรษฐกิจอะไรก็ตาม ควรนำไปใช้เหมือนอย่างในวงการสัตว์ที่เป็นสัตว์เศรษฐกิจก็ถูกนำไปใช้เหมือน กัน เพราะคุ้มค่ากว่ามาก…ขอบคุณมากครับ
ช่วงถาม-ตอบ
ถาม ผมมีข้อตกลงกับผู้เพาะปลูกยางพาราในภาคอีสานเป็นจำนวนแสนไร่ อยากถามว่า มีใครสนใจจะไปเพาะเมล็ดมะละกอในสวนยางพาราดังกล่าวบ้างหรือไม่?
ตอบ อาจารย์สิริกุล
ขอให้ข้อมูลเชิงคำแนะนำสำหรับใครที่ต้องการปลูกมะละกอในสวนยาง เพราะการให้ปุ๋ยกับต้นยางแล้วมะละกอจะได้ประโยชน์จากตรงนี้ด้วย เป็นการช่วยลดต้นทุน ขณะที่ต้นยางมีขนาดเล็ก จึงควรปลูกมะละกอไปก่อน คือเป็นการปลูกพืชแซมในสวนยาง อย่างที่ดำเนินสะดวกมีการปลูกมะละกอร่วมกับต้นฝรั่ง เพราะมะละกอเมื่อใช้เวลา 2-3 ปี ก็หมดคอแรกแล้ว ในเวลานั้นต้นไม้หลักที่ปลูกไว้จะโตได้ขนาดที่ต้องการพอดี
ถาม ขณะนี้ทางภาคอีสานมีการส่งเสริมให้ปลูกปาล์มน้ำมัน แต่หากปาล์มต้นโตมาก จนทำให้เกิดร่มเงาและมีความชื้นมาก ข้อมูลเหล่านี้ควรจะปลูกมะละกอหรือไม่
ตอบ อาจารย์สิริกุล
ต้นมะละกอในช่วงที่เริ่มปลูก ถ้าได้รับแสงแดดเต็มที่พร้อมกับการให้ปุ๋ยและน้ำอย่างดี จะมีต้นที่สมบูรณ์แข็งแรงมาก แต่หากปลูกในบริเวณที่เป็นร่มเงาหรือปลูกแซมและแข่งขันกับพืชอื่น จะทำให้ต้นผอม และเสี่ยงต่อการโค่นล้มเมื่อมีลูก เพราะฉะนั้นครั้งแรกที่ปลูกควรจะได้รับแสงแดดเต็มที่ และที่น่าสนใจคือ ที่มาเลเซีย มีการปลูกปาล์มน้ำมันก่อนแล้วหันมาปลูกมะละกอต่อ ปรากฏว่ามะละกอเป็นโรครากเน่า จึงควรระวังเรื่องนี้ให้มาก
ถาม ตลาดรวมมะละกอของโลกมีมูลค่าเท่าไร และอันดับที่ 1 ของผู้ส่งออกมะละกอในต่างประเทศคือใคร แล้วทำไมคนต่างชาติจึงไม่นิยมรับประทานมะละกอดิบ และตลาดในประเทศจะอิ่มตัวหรือเปล่าถ้าหากมีการส่งเสริมให้ปลูกกันมาก
ตอบ อาจารย์สิริกุล
จากข้อมูลอ้างอิงในเอกสารพบว่า ใบมะละกอมียางสีขาว มีคุณสมบัติช่วยย่อยโปรตีน และที่ต่างประเทศไม่รับประทานดิบเพราะกลัวเป็นหมัน แต่ในประเทศเราบริโภคแบบดิบมาเป็นเวลานานแล้วยังไม่เห็นเป็นไปตามนั้นเลย และขอเสริมอีกว่า เมล็ดมะละกอที่ประเทศอินเดียใช้แทนพริกไทย แต่อย่างไรก็ตาม ในเมล็ดมะละกอมีสารชนิดหนึ่งที่ทำให้แท้งลูกได้เหมือนกัน
แล้วที่เป็นห่วงว่าถ้ามีการส่งเสริมแล้วจะล้นตลาดหรือไม่ เห็นว่าในบางฤดูกาลจะล้นตลาดจริง แต่ถ้าแนะนำควรทำตารางเปรียบเทียบช่วงภายในปีว่าช่วงเดือนไหนมีมะละกอน้อย เช่น เดือนกรกฎาคม-กันยายน จึงทำให้มีราคาสูง ดังนั้น หาวิธีทำอย่างไรให้มะละกอออกผลผลิตในช่วงดังกล่าว
ถาม คุณประเสริฐ อนุพันธุ์ อดีตรองอธิบดีกรมวิชาการเกษตร และปัจจุบันเป็นที่ปรึกษากรมวิชาการเกษตรและกรมส่งเสริมการเกษตร
ที่ตั้งใจมาวันนี้ก็อยากจะมีส่วนร่วมเกี่ยวกับมะละกอ พร้อมกับอยากทราบความก้าวหน้าของมะละกอ และวงการมะละกอว่าเป็นอย่างไร?
หลังจากที่เกษียณราชการมา 6 ปี สงสัยว่า ทำไม ปัจจุบันมะละกอจึงเหลือน้อยลงทุกที ก่อนอื่นอยากขอเสริมเกี่ยวกับเรื่องตัวเลขทางด้านมะละกอเพิ่มเติมจากผู้ที่ ถามเมื่อสักครู่ว่า ข้อมูลเกี่ยวกับพื้นที่ปลูกมะละกอทั่วโลก ในปี 2547 มีพื้นที่ 2 ล้านไร่ มีผลผลิต 6.69 ล้านตัน ประเทศที่ปลูกมากที่สุดคือ ไนจีเรีย บราซิล เม็กซิโก ประเทศที่ส่งออกมากที่สุดคือ บราซิล เม็กซิโก ส่วนมาเลเซีย อยู่อันดับ 4 สิ่งที่เป็นห่วงคือ เมื่อปี 2534 ไทยมีพื้นที่ปลูก 1.8 แสนไร่ มีผลผลิต 4 แสนตัน คิดเฉลี่ย 2.5 ตัน ต่อไร่ และตัวเลขเมื่อปี 2549 มีอยู่ 1.3 หมื่นไร่ แต่ผลผลิตเหลือเพียง 8.5 หมื่นตัน จะเห็นว่าผลผลิตต่ำมาก พื้นที่ก็ลดลง เป็นที่น่าห่วงว่าทำอย่างไรจะทำให้กลับมาเหมือนเดิม
จะเห็นว่ามีการรับประทานภายในประเทศ 80-90 เปอร์เซ็นต์ มันน้อยมาก สาเหตุเพราะมีผลผลิตต่ำ ส่วนใหญ่จะเป็นแขกนวล และแขกดำ ผมเองเป็นผู้พัฒนาพันธุ์แขกดำที่ศรีสะเกษ และมาเกี่ยวข้องกับพันธุ์ท่าพระ 1, 2 และ 3 สิ่งที่ผมมองคือทำอย่างไรไม่ให้มีการทดสอบพันธุ์ จีเอ็มโอ ในไร่นา และผมมองว่าพันธุ์ที่ทนทานที่เคยทำในปี 2540 คือพันธุ์ท่าพระ 2 มีความทนทาน 25 เปอร์เซ็นต์ ดังนั้น หาก จีเอ็มโอ ใช้ไม่ได้จะหาพันธุ์ที่ทนทานกว่าท่าพระได้อย่างไร และเป็นโจทย์ข้อใหญ่ที่เป็นการบ้านสำหรับผู้ที่อยู่ในวงการมะละกอ ควรมีความทนทานสัก 50-60 เปอร์เซ็นต์ ดังนั้น จึงขอความร่วมมือและรบกวนในฐานะเป็นที่ปรึกษาอยู่ในขณะนี้ด้วยการขอสาย พันธุ์ที่เป็นสายพันธุ์ของไทยที่ยีนมีความต้านทานแล้วมาผสมข้ามพันธุ์ที่ เป็นพันธุ์การค้าอยู่ และคงจะได้สายพันธุ์ใหม่ที่มีอนาคตที่เป็นพันธุ์ที่ตลาดต้องการ มีความทนทานต่อไวรัสจุดวงแหวน พร้อมกับให้ผลผลิตเพิ่มขึ้นเป็น 2-5 ตัน อย่างในอดีตที่เคยทำได้
สำหรับท่านมางานสัมมนาในครั้งนี้ ถ้าหากท่านมีพันธุ์ใหม่ๆ หรือสายต้นเด่นขึ้นมา อาจจะมีส่วนช่วยในการนำพันธุ์เหล่านั้นที่เป็นพันธุ์ช้างเผือกแบบแปลกๆ มาผสมเพื่อจะได้สายพันธุ์ใหม่ของประเทศไทยขึ้นมา
ประเด็นต่อมาคือเรื่องของเมล็ดพันธุ์ตอนที่ทำพันธุ์แขกดำศรีสะเกษ ต้องการที่จะได้พันธุ์ให้ตรงตามพันธุ์ มีความบริสุทธิ์ของสายพันธุ์มากขึ้น เมื่อได้พันธุ์แขกดำศรีสะเกษจะมีคุณสมบัติกินสด แปรรูป และส่งออกได้ และสิ่งที่อาจารย์สิริกุลพูดคือการขาดแคลนเมล็ดพันธุ์ ไม่ว่าจะเป็นข้าว มะละกอ หรือพืชอื่นๆ ซึ่งก็ยังไม่มีแหล่งผลิตเมล็ดพันธุ์ที่ดีที่ตรงตามพันธุ์ รัฐเองเคยมีอยู่ช่วงหนึ่งที่เคยสนับสนุนด้านการผลิตเมล็ดพันธุ์ต่างๆ ของศูนย์วิจัยหลายแห่งของกรมวิชาการเกษตร แต่ขณะนี้กรมส่งเสริมสหกรณ์มีงบประมาณของกรมที่จะไปสนับสนุนในสหกรณ์นิคม กรมส่งเสริมการเกษตรก็มีกลุ่มการเกษตรผู้ปลูกพืชชนิดอื่น
ความเห็นของผมคือ น่าจะมีการสร้างกลุ่มผู้ผลิตมะละกอภายใต้กลุ่มของกรมส่งเสริมการเกษตรที่มี กฎหมายวิสาหกิจชุมชนช่วยให้ทำเป็นกลุ่มขึ้นมา แล้วมีสิทธิ์ที่จะให้คำแนะนำ มีสิทธิ์ในการกู้ยืมจาก ธ.ก.ส. มาเพื่อผลิตเมล็ดพันธุ์
ประเด็นถัดมาคือทำอย่างไรให้มีการจดทะเบียนผู้ปลูก ให้มีการรวมกลุ่มเพื่อเป็นธุรกิจที่ครบวงจร มีการบริหารจัดการในกลุ่มอย่างดี ก็จะมีอุตสาหกรรมมะละกอที่มีความเจริญก้าวหน้าต่อไป
ถาม ปลูกมะละกอ แต่ปรากฏว่าไม่มีเมล็ดจะทำอย่างไร เพราะต้องการขยายพันธุ์
ตอบ คุณทวีศักดิ์
แนะนำให้ทำสาว หรืออีกวิธีคือการตอนกิ่ง ซึ่งรายละเอียดและวิธีสามารถหาอ่านได้
ถาม มีผลผลิต แต่ไม่มีตลาดส่งออก บางช่วงราคาสูง และบางช่วงราคาต่ำมาก ควรทำอย่างไร
ตอบ อาจารย์สิริกุล
เป็นเรื่องปกติของวงจรการให้ผลผลิต ที่มีบางช่วงจะออกพร้อมกันราคาก็ตก หากบางช่วงมีน้อยหายาก ราคาจะแพง แต่หากคิดเชิงบวกว่าในช่วงที่ราคาดีก็ได้มากหน่อย แต่พอราคาตกก็ได้น้อยลงมา ถือเป็นการเฉลี่ยราคา
ถาม หลังจากการเก็บผลผลิตแล้ว พบว่ามีการเน่าที่ขั้ว อยากทราบว่าเป็นเพราะอะไร จะมีวิธีแก้ไขอย่างไร
ตอบ อาจารย์สิริกุล
อันนี้น่าจะเป็นปัญหาที่เกิดขึ้นไม่นาน อย่างปีที่แล้วมีเกษตรกรหลายรายนำมะละกอมาให้ดู พบว่า จะสุกที่ขั้วก่อน ซึ่งโดยปกติมะละกอเวลาสุกจะเริ่มที่ด้านล่างตรงแก้มก่อน และถ้าพบในลักษณะเช่นนี้จะมีรสหวาน อร่อย แต่ในทางตรงกันข้ามถ้าสุกตรงขั้วก่อน แสดงว่าเป็นมะละกอที่ไม่ดี
ถ้าถามว่าเกิดจากอะไร ก็ต้องดูในรายละเอียดว่ามีวิธี ตลอดถึงขั้นตอนการปลูกอย่างไร เพราะเท่าที่ดูขณะนี้ต้นมะละกอมีขนาดใบหดสั้นลง หรืออาจจะมีในเรื่องของแสงแดดที่มีมากจนทำให้สุกเร็วกว่าเวลาอันควร หรือให้สังเกตตรงขั้วที่เป็นร่องเพราะหากมีการใช้สารเคมี ก็อาจไปสะสมอยู่ตรงร่อง จนทำให้เนื้อเยื่อบริเวณนั้นมีความอ่อนแอ หรืออาจเกิดจากโรคผลเน่าจากแบคทีเรียที่เริ่มมีการระบาดเข้ามามาก
ตอบ คุณเกียรติศักดิ์
ผมเสนอแนวคิดว่าน่าจะเกิดจากโครงสร้างการผลิตมะละกอ อาจมีการใช้ยาจนทำให้พืชอ่อนแอ และทำให้การติดโรคง่ายขึ้น หนทางที่จะช่วยคือการใช้วัคซีนในพืช และการใช้อย่างถูกหลักจะทำให้พืชต้านทาน แม้กระทั่งหลังเก็บเกี่ยวแล้ว เพราะ PR โปรตีนมีสะสมอยู่ทุกแห่ง ถึงจะตัดออกไปแล้ว เซลล์ยังคงทำงานอยู่ สามารถสร้างโปรตีนออกมาต้านทานได้ และช่วงปลูกควรมีการดูแลให้เป็นอย่างดี อีกกรณีคือการเก็บเกี่ยวที่ไม่ถูกต้อง โอกาสที่จะติดเชื้อจึงมีได้ง่าย เช่น การใช้มีดตัด สุขลักษณะต่างๆ ภายในสวน ซึ่งควรมีการเอาใจใส่ จะทำให้ปัญหาลดลงได้มาก
ถาม ปลูกมะละกออยู่ที่มวกเหล็ก สระบุรี ปลูกมา 3-4 ปีแล้ว อยากถามว่า มะละกอผิวไม่เรียบเกิดจากอะไร และที่ผลมีร่องเกิดจากอะไร เพราะแม่ค้าจะไม่รับ
ตอบ อาจารย์สิริกุล
ที่บอกว่าผิวไม่เรียบมีลักษณะคล้ายขี้กลากก็ ไม่แน่ใจว่าเกิดจากอะไร แต่หากให้สันนิษฐานน่าจะเกิดจากเพลี้ยไฟที่ลงไปจนทำให้ผิวเสีย แต่อย่างไรก็ตาม การวิเคราะห์หาสาเหตุจะไม่สามารถชี้ชัดว่าเกิดจากอะไร จะต้องดูกลับไปถึงการดูแลใส่ปุ๋ยอีกหลายอย่างว่าทำอย่างไร
คุณโชคยิ่ง (เพิ่มเติมเรื่องขั้วมะละกอ)
สำหรับขั้วมะละกอเน่ามีข้อสังเกตว่าจะเกิดในช่วงฤดูฝนที่มีอากาศร้อนและ ชื้นตลอดเวลา โดยเฉพาะตรงขั้วมะละกอที่มีลักษณะเป็นแอ่งทำให้น้ำขัง อีกประเด็นที่อาจารย์สิริกุลกล่าวคือ น่าจะเกิดจากการใช้สารเคมีทำให้บริเวณนั้นมีความอ่อนแอ หรืออีกประการคือ เมื่อเก็บเกี่ยวมาแล้วเกษตรกรมักรีบห่อกระดาษทันที ซึ่งหากบริเวณนั้นยังมีความชื้นอยู่ และมีความร้อนจากการห่อกระดาษด้วย ก็อาจเป็นปัจจัยเอื้อที่ทำให้เกิดการเน่าได้ อย่าว่าแต่ของเกษตรกรท่านอื่นเลย ของผมเองยังมีปัญหาเช่นกัน และแนวทางการป้องกันควรใช้วิธีการบริหารจัดการหลังการเก็บเกี่ยวให้ดี ไม่ควรให้บริเวณดังกล่าวสกปรก หรือควรทำความสะอาดก่อน จึงจะทำขั้นตอนต่อไป (ติดตามอ่านตอนต่อไป)
บรรยายภาพ
1. บรรยากาศในห้องสัมมนา
2. คุณทวีศักดิ์ ชัยเรืองยศ
3. มะละกอแขกดำ “เรดแคริเบี้ยน”
4. มะละกอพันธุ์ครั่ง
5. ผู้ร่วมสนับสนุน
6. ถาม-ตอบ ปัญหา
7. หลากหลายสายพันธุ์ เลือกชม
8. มะละกอแขกดำศรีสะเกษ
มะละกอสร้างชาติ “มะละกอพืชยอดนิยม ปลูก บริโภค สร้างรายได้…ทั่วถิ่นแดนไทย” (ตอนจบ) ธันวาคม 31, 2011
http://info.matichon.co.th/techno/techno.php?srctag=05068151054&srcday=2011-10-15&search=noวันที่ 15 ตุลาคม พ.ศ. 2554 ปีที่ 24 ฉบับที่ 513 |
ทะนุพงศ์ กุสุมา ณ อยุธยา
มะละกอสร้างชาติ “มะละกอพืชยอดนิยม ปลูก บริโภค สร้างรายได้…ทั่วถิ่นแดนไทย” (ตอนจบ)
“ทิศทางการตลาด มะละกอไทย” และการปลูกมะละกอฮอลแลนด์ แซมสวนยางพารา พื้นที่ 200 ไร่
อาจารย์วิรัช พละเดช ก่อนอื่นต้องขอขอบพระคุณท่านวิทยากร และสวัสดีเพื่อนเกษตรกรทุกท่าน ผมเองเป็นครูมาตลอดชีวิตและเป็นครูบ้านนอก หลังสุดมาลาออกที่โรงเรียนโยธินบูรณะ แล้วไปทำธุรกิจร้านอาหารอยู่ที่ประเทศออสเตรเลีย จำนวน 10 ร้าน
เมื่อ 7 ปีที่แล้ว ตัดสินใจกลับเมืองไทย เพราะมีโรคประจำตัว จำเป็นต้องรักษา ส่วนตัวเป็นคนที่ชอบด้านเกษตรมาตั้งแต่วัยเด็ก แต่ไม่เคยรวยจากทางด้านนี้เลย เจ๊งตลอด! เหตุผลที่พูดคำนี้เพราะเคยให้คำนิยามว่าการทำเกษตรกรรมไม่เคยให้ความร่ำรวย แก่เกษตรกรเลย ทำเท่าไรก็เจ๊ง มันแตกต่างเพียงว่าใครมีทุนเท่าไร ก็ใช้เวลาเท่านั้น แต่สรุปแล้วเจ๊ง!!
เริ่มต้นด้วยการปลูกยาง
และแซมด้วยฟักทองตรงกลาง แต่ไม่รอด
พอมาระยะหลังกลับมาคิดใหม่ว่าตัวเราอายุมากแล้ว ควรเปลี่ยนวิธีคิดใหม่ จะทำแบบลุยคงไม่ดีแน่ จึงหันมาทำเกษตรเชิงธุรกิจ คือทำอย่างไรก็ได้ให้มีรายได้จากเกษตร เพื่อสามารถที่จะเลี้ยงตัวเราได้ ทำให้เป็นแบบอย่างว่าเกษตรกรสมัยใหม่สามารถมีเงินมากกว่านักอุตสาหกรรม หรือมีมากกว่าการไปเป็นลูกจ้าง
เริ่มต้นด้วยการปลูกยางพารา ที่มีขนาด 3 คูณ 5 และ 3 คูณ 6 แต่ระหว่างตรงกลางได้ทำเป็นระบบน้ำหยดไว้ และคิดว่าควรจะมีผลผลิตอย่างอื่นมาร่วมใช้ด้วย แต่ยังคิดไม่ออก จึงตั้งเป็นโจทย์ไว้ แล้วจึงเริ่มเดินเสาะหาคำตอบจากในตลาดหลายแห่ง และคิดว่าพืชตัวไหนที่จะปลูกเพื่อสร้างรายได้ และต้องให้เข้ากับต้นยางพาราที่ปลูกไว้ก่อนด้วย มีคนแนะนำให้ปลูกฟักทอง ก็ลองดู ผลสรุปเจ๊ง…อีก
ยังไม่ถอย ปลูกมะละกอต่ออีก
จากนั้นได้เปลี่ยนใหม่ตามคำแนะนำอีกเช่นกัน คราวนี้ลองปลูกมะละกอ ผมเองไม่มีข้อมูลเกี่ยวกับมะละกอแต่อย่างใด เพราะรับประทานมะละกอไม่เป็น เขาบอกว่า แขกดำ แขกนวล ปลูกดี แต่ผมไม่สน แต่อยากปลูกพันธุ์ที่ให้รายได้ดีที่สุด และมีคนบอกว่าต้องใช้พันธุ์ปลักไม้ลาย หรือพันธุ์ฮอลแลนด์ แต่พันธุ์ดังกล่าวมีราคาเมล็ดแพ งกิโลกรัมละเป็นหมื่น ผมก็ไม่สนเช่นเดิม แถมยังตัดสินใจไปซื้อทันที 3 กิโลกรัม คิดว่าคราวนี้รวยแบบไม่ต้องแบ่งให้ใครแน่ พอซื้อมาจัดการหยอดเมล็ดพันธุ์ทันทีทั้งหมด ปรากฏว่าเพาะไม่เป็น ดันไปทำช่วงหน้าหนาว แล้วคนขายก็ไม่บอกว่าต้องเพาะอย่างไร แล้วเป็นอย่างไรทราบไหมครับ? ทั้ง 3 กิโลกรัม ตัดสินใจไม่ขึ้นทั้งหมดเลย ครั้นพอไปซื้ออีกครั้ง คนขายถึงบอกว่า ให้ต้มน้ำก่อน ลองใช้นิ้วจุ่มน้ำดูว่าพออุ่น แล้วนำขึ้นมาห่อผ้าขาวไว้สัก 1-2 คืน
ก็เพิ่งมาบอกตอนเจ๊งไปแล้วหลายหมื่น!! ไม่เป็นไร เริ่มต้นใหม่ได้ แล้วคนขายเมล็ดบอกต่ออีกว่า เดี๋ยวจะส่งคนไปช่วยในเรื่องการจัดระบบการปลูก แต่ไปช่วยเพียงวันที่นำเมล็ดไปส่งแค่วันเดียว แล้วหายไปเลย…ก็นึกโกรธอยู่มาก แต่บอกกับลูกน้องว่าเราต้องช่วยกันทำให้สำเร็จให้ได้
ต่อจากนั้นลูกน้องบอกว่า ต้องขุดหลุมให้ลึก 50 เซนติเมตร กว้าง 50 เซนติเมตร ก็ท่านลองนึกดูว่า ถ้าขุดหลุมขนาดที่ว่าต้องปลูกกันนับหมื่นต้น แล้วต้องขุดกันแย่แน่ ผมก็ไม่เชื่อ แต่ลองปลูกบนดินแล้วใช้วิธีหยอดเมล็ด ก็ขึ้นนะ แล้วจากนั้นก็ให้น้ำ ให้ปุ๋ย ปลูกลงไปจำนวนแสนกว่าต้น ไม่คิดว่าจะออกลูก มีคนไปเยี่ยมบอกว่าให้โค่นทิ้ง ไม่มีทางออกลูก เราก็ไม่สน ดูแลบำรุงดิน น้ำ ปุ๋ย ให้ครบอย่างดี หากไม่รู้ หรือสงสัยอะไรก็ถามคนที่มีความชำนาญและมีประสบการณ์ ตอนนั้นขยันมาก เดินดูตลอด บริเวณที่ปลูกเป็นเชิงเขา และที่ราบระหว่างเชิงเขา ครั้นพอน้ำมา ปรากฏว่าต้นที่ปลูกบนพื้นราบเหี่ยวหมด แต่ต้นที่ปลูกแนวเชิงเขารอดและเจริญเติบโตดี พอปลูกสัก 5 เดือน ก็จัดการใส่ปุ๋ยเร่งดอก เมื่อดอกออกดีใจทั้งๆ ที่ไม่รู้ว่าอันไหนเป็นตัวผู้ ตัวเมีย หรือกะเทย เขาบอกว่า 1 หลุม ให้ปลูก 3 ต้น ต่อมาขึ้นทั้ง 3 ต้น เป็นกะเทย 2 ต้น ตัดสินใจเก็บไว้ทั้งคู่ แต่ปรากฏว่าการเก็บไว้ 2 ต้น จะสู้เหลือเพียงต้นเดียวไม่ได้ เพราะต้นเดียวจะงามกว่า ให้ลูกมากกว่า ซึ่งกว่าจะรู้ต้นก็โตมีลูกแล้ว และที่น่าปวดหัวมากเพราะมีโรคที่ร้ายแรงเกิดขึ้นกับมะละกอพอๆ กับโรคมะเร็งคือ โรคไวรัสวงแหวน ก็ไม่เชื่อที่มีคนมาเตือน เพราะคิดว่าต้องสามารถรักษาให้หายได้ ปรากฏว่าไปเจอเข้ากับตัวเอง ก็รีบฉีดพ่นยาอย่างเต็มที่ แต่ไม่ทันการณ์ คิดอย่างเดียวว่าคราวนี้คงเจ๊งอีกแน่…
ได้ลองโทรศัพท์ไปปรึกษาที่ บริษัท กฤษณา มาร์เก็ตติ้ง จำกัด และได้รับคำแนะนำให้ฉีดพ่นในช่วงที่เป็นโรคในเวลา 3, 5 และ 7 วัน ตามลำดับ ต่อครั้ง
ไม่น่าเชื่อ!! มะละกอกลับฟื้นขึ้นมาได้อีก อันนี้ไม่ใช่มาโฆษณาให้ แต่เจอด้วยตัวเอง
เมื่อมะละกอออกลูกใช้เวลา 8 เดือน แต่ผมว่าควรจะใช้เวลาสัก 1 ปี กำลังมีความสมบูรณ์ ตอนปลูกใหม่ๆ เวลาออกลูก พอมีบางลูกไม่สวย มีตำหนิ เราก็จะเก็บไว้ ซึ่งเป็นวิธีคิดที่ผิด เพราะจะเป็นผลเสียมากกว่า ดังนั้น เมื่อพบว่าบางลูกมีตำหนิ ต้องเก็บทิ้งทันที ในไร่ใช้คนงาน จำนวน 60 คน ในการเก็บมะละกอ เก็บได้วันละ 10-15 ตัน ต่อวัน พอเวลาฝนตกเดินลำบากมาก ทำให้ช้าและอันตราย เพราะเราขาดการวางแผนที่ดีไว้ก่อน และไม่คิดว่าจะให้ผลผลิตมากเท่านี้
คนที่ไม่เคยทำมะละกอเลย ข้อแรก ควรหาคนที่จริงใจในการอธิบายความ ข้อสอง ต้องมีความพร้อม และตลาดไม่ต้องห่วง ผมคิดในใจว่าตอนแรกที่ปลูกมะละกอ ถ้ามะละกอออกจากสวนราคาสัก 10 บาท คงสบายแน่ เพราะออกต้นละเป็นร้อยลูก ที่เป็นอย่างนั้นเพราะลูกน้องใส่ปุ๋ยที่ซื้อมา 3-4 ตัน ใส่หมดเกลี้ยงเลย แต่ทั้งนี้อยากได้เงินมากขึ้นอีกเล็กน้อย เลยคิดว่าจะขายสัก 12 บาท เพราะที่ตลาดขายกัน 15 บาท แล้วพอดีมีพ่อค้าคนกลางมารับซื้อเหมาทั้งสวนให้ราคา 13.50 บาท เหตุที่เป็นเช่นนั้นเพราะมะละกอเราสวย ผิวดี มีความหวานระดับ 16
สามารถกำหนดราคาเอง เพื่อสู้กับคู่แข่ง
เพราะที่สวนปลูกแบบ ทูอินวัน ช่วยลดค่าใช้จ่าย
เมื่อตกลงเป็นที่เรียบร้อยก็จัดการขนไปที่ตลาด ปรากฏว่าคนรับซื้อบอกจะรับซื้อที่ราคา 12.50 บาท และพอนำไปขายครั้งที่สองก็ให้ราคาเพียง 11.50 บาท เมื่อเป็นเช่นนี้เห็นว่าเป็นการถูกกดราคาเรื่อย จึงหาเช่าแผงเสียเลยดีกว่า แล้วขายดีซะด้วย เพราะเป็นมะละกอของเรา การกำหนดราคาก็ไม่ต้องสูงมาก คิดว่าพอสู้ได้เท่านั้น การที่สินค้าของเราดี มีคุณภาพ ในราคาไม่แพงทำให้ลูกค้าสนใจ การลงทุนกับมะละกอครั้งนี้ผมขอบอกว่าทำอย่างเต็มที่เลย ทำด้วยใจ และที่ทำให้สามารถตั้งราคาต่ำเพื่อสู้กับคู่แข่งได้เพราะสวนของเรามีลักษณะ ทูอินวัน คือปลูกทั้งมะละกอ และยางพารา เวลาให้ปุ๋ยก็ให้ครั้งเดียว แต่ได้ผลสองอย่าง
ขณะนี้ส่งให้ห้างท็อปส์ สัปดาห์ละ 12 ตัน และยังส่งไปที่ตลาดนครปฐมด้วย เพราะฉะนั้นจึงอยากเน้นกับทุกท่านที่มาในงานนี้ว่า ถ้าจะทำมะละกอต้องทำอย่างตั้งใจเต็มที่ เพื่อให้มีคุณภาพ หวาน ผิวสวย โดยลูกที่มีตำหนิจะตัดทิ้งหมด ต้องเดินดูเอง และควรทำตามกำลังแรงที่ทำได้ ที่เหมาะสมกับเรา เช่น คนหนึ่งควรปลูกสัก 5-10 ไร่ ก็มีรายได้เหลือเฝือแล้ว ถ้าคุณมีมะละกอคุณภาพ พ่อค้าจะเข้าไปหาคุณที่สวน และวิธีคิดของพ่อค้าคือว่า เขาจะดูแลเราเพียงชั่วครู่เฉพาะในช่วงที่ติดต่อ ซื้อ-ขาย กันเท่านั้น เพราะพ่อค้าต่างรู้ดีว่า มะละกอจะปลูกซ้ำที่เดิมไม่ได้ ดังนั้น คนปลูกจะย้ายแหล่งปลูกไปตลอด
เลือกพันธุ์แท้ และดี มีคุณภาพ
ส่งห้าง ไร้ปัญหา ได้ราคาสูง
มาถึงพันธุ์มะละกอกันบ้าง มีคนโทรศัพท์มาถามว่า ซื้อเมล็ดมาจากไหน ก็บอกไปว่าอยู่ใกล้ห้างท็อปส์สาขาไหน ก็ให้ไปซื้อมะละกอในห้างท็อปส์ แล้วเก็บเมล็ดไปปลูก ไม่ต้องไปหาซื้อของแพง เพราะฉะนั้นการเลือกพันธุ์มะละกอต้องเลือกพันธุ์แท้ จะใช้เวลาปลูก 8-12 เดือน ก็จะประสบความสำเร็จภายใต้การที่ต้องดูแลอย่างจริงจังนะ มีอีกประการคือไม่แนะนำให้ปลูกเชิงเดี่ยว เดี๋ยวนี้ทางจันทบุรีมีการปลูกเพียงคอเดียว พอสิ้นปีตัดทิ้งทันที ไม่ต้องดูแลรักษามาก ส่วนราคามะละกอฮอลแลนด์เวลานี้ เดี๋ยวนี้เกรดเอ ถ้าส่งห้างจะรับซื้อกิโลกรัมละ 24 บาท แต่ถ้าเป็นชนิดอื่นกิโลกรัมละ 17-18 บาท ก็ถือว่าใช้ได้ ขณะนี้ผมปลูกเพียง 30-40 ไร่ และต้องสารภาพว่าสภาพภูมิอากาศที่เปลี่ยนแปลงขณะนี้มีผลให้คุณภาพมะละกอไม่ สู้ดีนัก จึงจำเป็นต้องขยับที่ปลูก เพราะฝนมากเป็นอันตรายต่อมะละกอ เพราะถ้าน้ำท่วมเสร็จแน่
การมีอาชีพเป็นเกษตรกรเวลามีอะไรดีที่ไหนผมไปทุกแห่ง ขับรถไปเอง ไม่มีอาย ถามทุกอย่าง ดังนั้น คนที่จะทำต้องจริงใจ และจริงจัง บางคนตั้งใจว่าตอนเกษียณจะมาทำ ขอบอกว่าอย่าคิดอย่างนั้น เพราะไม่ใช่เรื่องง่ายอย่างที่คิด หากต้องการทำจริงต้องมีการวางแผน ต้องศึกษาหาความรู้อย่างดี ที่สำคัญควรมีผู้ช่วยที่มีความรู้ ความชำนาญ หลายคนหน่อย
อย่าคิดแต่ผลประโยชน์ตัวเงินอย่างเดียว
ควรมีความพร้อม พัฒนาให้มีคุณภาพ
เมื่อก่อนจะปลูกมะละกอ บางคนเอ่ยปากบอกว่าปลูกยาก มาอธิบายอะไรก็ไม่รู้ ไม่เข้าใจ ทำเรื่องง่ายให้เป็นเรื่องยาก แต่เดี๋ยวนี้คิดจะปลูกไม่ยากเลย ไปขอเมล็ดที่โรงงานคุณนิคม เขาให้ฟรี แล้วยังได้พันธุ์แท้อีกด้วย แล้วไปจ้างเพาะ เดี๋ยวนี้มีการรับจ้างเพาะด้วย จึงขอบอกอีกครั้งว่าใครที่ต้องการประกอบอาชีพอะไรก็ตาม ขอให้เริ่มต้นด้วยความตั้งใจ อย่าคิดแต่เอาจากผลประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับอย่างเดียว ควรมีการเตรียมความพร้อม ถามตัวเองก่อนว่ามีความรู้ ความเข้าใจในเรื่องที่จะทำไหม? ถ้ายังไม่มีหรือมีน้อยควรหาแหล่งความรู้จากที่น่าเชื่อถือ จากนั้นให้ดูว่ามีตลาดรองรับหรือยัง ถ้ายังหาไม่ได้ก็ลองดูตลาดใหญ่ๆ อย่างที่ ตลาดไท หรือตลาดสี่มุมเมือง
ยังอยู่ที่เรื่องคุณภาพมะละกอนะ มีบางคนกังวลว่าจะไม่ได้ขนาดที่นำส่งโรงงานหรือส่งไปขายห้างหรือส่งต่าง ประเทศ ก็ไม่ต้องกังวล เพราะมีพ่อค้าหาบเร่จะมารับซื้อที่สวน เอาไปปอกขายเพราะมะละกอของเรามีคุณภาพ รสหวาน บางครั้งถึงกับแย่งซื้อ เพราะเขามาซื้อเพื่อไปปอกขายตามตลาดนัดบ้าง รถเข็นบ้าง แต่อย่าลืมว่าของคุณต้องมีคุณภาพและรสชาติหวาน อีกทั้งยังไม่ต้องกังวลกับขนาด เพราะฉะนั้นคุณภาพจึงเป็นเรื่องสำคัญที่สุด โดยเฉพาะอย่างยิ่งตลาดที่มีการแข่งขันกันมาก แต่ละแห่งมีตัวแทนจำหน่ายอยู่มากมายกว่าจะเข้าถึงเพื่อนำของไปเสนอขายไม่ใช่ เรื่องง่าย แต่ถ้าเรานำเสนอความเป็นคุณภาพจะหมดปัญหาทันที
อีกอย่างที่อยากจะบอก ถ้าพวกเราสามารถรวมกันเป็นชมรมได้ ผมจะเป็นคนกลาง แล้วท่านนำของมาขาย ผมมีตลาดหลายแห่งทั้งในและต่างประเทศ ดังนั้น พวกเราเป็นเกษตรกรร่วมอาชีพกัน มีอะไรก็จะต้องช่วยกัน คุยกัน แลกเปลี่ยนกัน ที่สำคัญในอนาคตตลาดอาเซียนที่มีกำลังการผลิตมาก กำลังเริ่มมีบทบาทเข้ามาในบ้านเรา หากพวกเราไม่รวมกลุ่มผนึกกำลังทั้งกายและใจช่วยเหลือซึ่งกันและกัน แล้วเราจะสู้เขาได้หรือ? ซึ่งการทำตลาดเป็นเรื่องยาก และยากขึ้นเรื่อยๆ ขอให้มีความซื่อสัตย์ รักคุณภาพของผู้บริโภคเหมือนกับรักตัวเรา แล้วท่านจะเดินอยู่บนถนนสายนี้ได้อย่างมีศักดิ์ศรี และหวังว่าสิ่งที่กล่าวมาทั้งหมดถือเป็นประสบการณ์ที่นำมาเล่าสู่กันฟัง…ขอบ คุณมากครับ
เกษตรกรผู้ผลิต และจำหน่ายมะละกอครบวงจร
คุณโชคยิ่ง พิทักษากร สวัสดีครับท่านวิทยากรและท่านผู้เข้าร่วมสัมมนา สำหรับเนื้อหาของท่านอาจารย์วิรัชกับผมมีทั้งที่ใกล้เคียงกันและไม่เหมือน กัน อย่างการเลือกใช้พันธุ์ฮอลแลนด์เพราะให้เงินดี แต่ผมเลี้ยงพันธุ์ฮาวาย เนื่องจากเป็นคนชอบรับประทานผลไม้มาก และมะละกอเป็นผลไม้โปรดที่รับประทานเป็นประจำ ซึ่งมีความสงสัยว่ามะละกอที่ซื้อมารับประทานส่วนใหญ่ลูกจะมีขนาดใหญ่ จึงเหมือนถูกบังคับให้รับประทานให้หมด ถึงแม้จะรับประทานไม่หมดในคราวเดียวและเก็บส่วนที่เหลือไว้ในภายหลัง แต่ความสดอร่อยก็จะหมดไป
มะละกอผลเล็ก
เหมาะกับสภาพสังคมในปัจจุบัน
มีอยู่สิ่งหนึ่งที่ผมคิดว่ายิ่งนานวัน ดูเหมือนแต่ละครอบครัวจะมีขนาดเล็กลง มีลักษณะเป็นครอบครัวเดี่ยว ดังนั้น วิถีชีวิตความเป็นอยู่ก็จะมีความแตกต่างสอดคล้องกับสังคม ก็เลยคิดว่าถ้าผลไม้โดยเฉพาะมะละกอหากมีขนาดเล็กลงบ้าง ก็อาจจะสร้างความสะดวกให้กับผู้บริโภค
เผอิญโชคดีที่ได้เมล็ดพันธุ์จากท่านอาจารย์ ดร. อุทัย ที่ยังเหลืออยู่ที่เป็นเมล็ดพันธุ์ที่ท่านนำมาจากฮาวาย และนำมาทดลองปลูกที่ทองผาภูมิ แล้วลองทำตลาดดูปรากฏว่าไม่ประสบความสำเร็จ นั่นคือเรื่องราวเมื่อ 20 ปีก่อน
เมื่อผมได้เมล็ดพันธุ์มะละกอฮาวายก็นำมาทดลองปลูก เพื่อใช้บริโภคภายในครอบครัว ปลูกบนที่ดินท้องนา สักประมาณปี 2532 เป็นการปลูกด้วยความที่ไม่ได้ตั้งใจ พอมะละกอออกผลชาวบ้านเห็นต่างหัวเราะเพราะมีขนาดเล็กสักประมาณ 2-3 ขีด แถมยังเย้ยว่า คนกรุงเทพฯ ปลูกมะละกอได้ลูกขนาดเท่านี้เอง? ซึ่งในครั้งนั้นมะละกอฮาวายยังไม่มีใครรู้จัก ทั้งในด้านชื่อพันธุ์ และการตลาด
ให้กลุ่มเกษตรกรปลูก ได้ผลผลิตดี มีปริมาณมาก
เร่งหาตลาดระบายออก โดดเข้าห้าง
ต่อมาเมื่อมีการตั้งเป็นกลุ่มเกษตรกรก็ได้นำเมล็ดพันธุ์มะละกอฮาวายไปให้ สมาชิกกลุ่มทดลองปลูก ซึ่งก็ประสบความสำเร็จและทำให้สมาชิกกลุ่มที่เคยคิดว่ามะละกอขนาดเล็กก็ สามารถทำเงินให้เขาได้เป็นอย่างดี แล้วชาวบ้านละแวกนั้นก็หันมาปลูกกันมาก ทั้งยังนำไปทำเป็นส้มตำด้วย ซึ่งบอกว่ามีรสชาติหวาน กรอบ และนั่นคือจุดเริ่มต้น
หลังจากที่ชาวบ้านเกษตรกรนำไปปลูกกัน ทำให้ปริมาณผลผลิตมีจำนวนมาก แล้วคราวนี้จะทำอย่างไร? เพราะจำนวนมีมากเกินกว่าจะนำมาบริโภค ยิ่งช่วงนั้นยังไม่มีใครรู้จักมะละกอฮาวายกัน แต่สิ่งที่ต้องทำคือการระบายมะละกอออก หากมาพิจารณาดูรูปลักษณะของผลมะละกอฮาวายแล้วพอได้ ความหวานใช้ได้ จึงคิดหาตลาดเพื่อจำหน่าย และในโอกาสนั้นได้รับความกรุณาจากผู้บริหารของห้างโรบินสัน ที่ทำหน้าที่เกี่ยวกับผักและผลไม้ เห็นว่าดีเป็นพันธุ์ที่น่าสนใจ จึงกรุณารับไว้จำหน่ายในห้างเมื่อ 15 ปีที่แล้ว และนั่นเป็นจุดเริ่มต้นในการทำธุรกิจปลูกและส่งมะละกอ ต่อมาเริ่มมีคนรู้จักมากยิ่งขึ้น กระแสตอบรับดี ปริมาณการส่งเริ่มดีดตัว
การบินไทยสนใจ สั่งเข้าทันที
แต่ช่วงที่เกิดการเปลี่ยนแปลงครั้งสำคัญคือ ตอนที่ บริษัท การบินไทย จำกัด (มหาชน) ติดต่อมาตามเบอร์โทรศัพท์จากห่อเพื่อให้ไปนำเสนอสินค้า พร้อมกับตกลงรับสินค้าที่จะให้ส่งมะละกอทันที โดยตอนแรกทางการบินไทยกำหนดให้ส่ง วันละ 4 กิโลกรัม ฟังดูแล้วน้อยนะ แต่ไม่เป็นไร เรายินดีส่งให้ เพราะเป็นความภาคภูมิใจที่ได้มีโอกาสทำเช่นนั้น จนปัจจุบันนี้มีการส่งมะละกอพันธุ์ฮาวายและพันธุ์อื่นให้กับทางการบินไทยใน ปริมาณวันละ 3 ตัน เป็นเวลา 1 ปี โดยไม่มีวันหยุดเลย ทั้งนี้เป็นความพยายามในการทำงานอย่างเต็มที่ มีความอดทน เอาใจใส่ของทีมงานสวนสระแก้วทุกคน โดยเราไม่ได้ปลูกเองทั้งหมด หากแต่เป็นการแบ่งปันและร่วมกันทำงานกับเพื่อนสมาชิกทั่วทุกภาคของประเทศใน การบริหารจัดการจำนวนผลผลิตมะละกอ เพื่อจัดส่งให้กับลูกค้าทันตามความต้องการอย่างมีคุณภาพ
ส่วนทางด้านอื่นก็มีการทำตลาดทั้งในและต่างประเทศ ซึ่งนอกจากพันธุ์ฮาวายแล้วยังมีพันธุ์อื่นอีก 2-3 พันธุ์ อีกทั้งยังรวมกับสินค้าชนิดอื่นอีกด้วย ซึ่งเกิดจากความไว้วางใจของลูกค้าที่มีให้กับเรามาโดยตลอด และสิ่งที่ตรงกับทางอาจารย์วิรัชกล่าวไว้คือ สินค้าต้องมีคุณภาพ เพราะคุณภาพนี่แหละที่ทำให้ลูกค้าติดใจเราอยู่จนเป็นเวลากว่า 20 ปี เพราะฉะนั้นไม่ว่าท่านจะปลูกมานานหรือเพิ่งเริ่มปลูก แต่สิ่งที่ทำให้เราขายหรือดึงดูดลูกค้าให้กลับมาหาเราได้คือเรื่องของคุณภาพ
เน้นเรื่องคุณภาพ
สร้างความเชื่อมั่นให้ลูกค้า
หากย้อนกลับไปในช่วงการเริ่มต้นของสวนสระแก้ว จากมะละกอสายพันธุ์ที่ไม่มีใครรู้จักหรือตลาดยังทำยาก ก็สามารถใช้ปัจจัยหลายอย่างที่จะสร้างความเชื่อมั่นให้ความรู้กับลูกค้าจน เป็นที่ยอมรับทั้งตลาดในประเทศและต่างประเทศ ซึ่งลูกค้าก็มีหลายกลุ่ม ทั้งลูกค้ารายย่อยที่หาซื้อตามห้างและอีกประเภทเป็นกลุ่มลูกค้าประเภทสายการ บิน นอกจากนั้นแล้วในตลาดต่างประเทศก็มีกลุ่มลูกค้าที่เราส่งเข้าไปในห้าง แล้วยังมีส่งไปตามตัวแทนจำหน่าย เพราะฉะนั้นลูกค้าของเราก็จะมีทุกระดับ ซึ่งทั้งหมดเป็นการสะท้อนให้เห็นถึงพัฒนาการของการเจริญเติบโตที่มีอย่างต่อ เนื่องตลอด
ถ้าผู้ผลิตจับตลาดขายเอง
ลดความเสี่ยงเรื่องราคา
คราวนี้หากมามองด้านห่วงโซ่ของธุรกิจมะละกอ ก็จะเริ่มต้นจากเกษตรกรที่ทำหน้าที่เป็นผู้ปลูก ดูแล และเก็บเกี่ยว นำต่อไปที่ผู้รวบรวมซึ่งอาจจะเป็นคนในแต่ละพื้นที่ หรือคนอื่นที่มารับซื้อและถือเป็นกลไกตัวหนึ่งที่ส่งต่อไปยังตลาดขายส่งอีก หลายแห่ง จากนั้นเป็นหน้าที่ของผู้ที่จะกระจายสินค้าไปยังจุดต่างๆ ดังนั้น จะเห็นว่ากว่าจะมาถึงผู้บริโภค มีขั้นตอนที่เกี่ยวข้องกับส่วนต่างๆ มากมายถึง 6 จุด ด้วยกัน
จากวงจรดังกล่าว หากผู้ผลิตบางรายมีความสามารถที่จะบริหารจัดการได้ด้วยตัวเอง ทำให้สินค้าหรือผลผลิตจะไม่มีการตกค้าง จากความไม่แน่นอนของผู้รับซื้อที่อาจไม่มาหรือมาไม่ตรงตามเวลา ทั้งนี้หากผู้ผลิตทำได้ก็จะตัดวงจรที่กล่าวมาข้างต้นให้สั้นลง เป็นการลดทอนบางช่วงออกด้วยการที่เราทำเสียเอง ก็อาจเป็นจากผู้ผลิตหรือตัวเกษตรกรส่งถึงมือผู้บริโภคโดยตรง หรืออย่างที่กระทรวงพาณิชย์กับกระทรวงเกษตรฯ เคยคิดว่า ทำอย่างไรให้เกษตรกรสามารถนำสินค้าไปขายตรงกับผู้บริโภค อย่างกรณีที่ผมได้ทำมาแล้วจะต้องเผชิญและฟันฝ่ากับปัญหานานาประการ รวมถึงต้องใช้ความอดทน ความรอบคอบร่วมกันไปด้วย ซึ่งก็อยากจะนำมาเล่าถ่ายทอดเป็นข้อมูลให้ท่านที่มาฟังเพื่ออาจจะนำไปใช้ได้
ก็เป็นแนวคิดที่ว่า ทำอย่างไร ที่จะเพิ่มขนาดหรือปริมาณให้มากขึ้น ก่อนอื่นจะมีคำถามเกิดขึ้นว่า จะปลูกก่อนหรือจะหาตลาดก่อน? มันเป็นมุมมองที่ในสมัยก่อนว่าใครมีความสามารถทำอะไรเช่นผมถนัดปลูกมะละกอ เพราะบรรพบุรุษทำมาก่อน พอถึงรุ่นเราก็ต้องทำต่อๆ ไป โดยไม่ได้คิดอะไร แต่พอวันหนึ่งปลูกแล้วมีปริมาณมากเกินไป แล้วก็ต้องคิดต่อว่าจะขายให้กับใคร ขณะเดียวกันหากคุณอยู่ในฐานะคนขาย แต่ไม่มีของขาย ก็จะเกิดปัญหาเช่นเดียวกัน คือไม่สามารถให้คำสัญญาได้ เพราะฉะนั้นถ้าเรามองการผลิตหรือการตลาดแต่เพียงด้านเดียวก็จะเกิดปัญหาขึ้น ทั้งสองฝ่าย ดังนั้น ปัญหาอาจเกิดขึ้นถ้ามองที่ผู้ผลิตหรือการตลาดคนละที ไม่ว่าจะเป็นฝ่ายใดฝ่ายหนึ่ง ไม่ว่าจะมีผู้แพ้หรือมีผู้ชนะของแต่ละฤดูกาลผลิต เพราะว่าเรามีของมากก็ล้นตลาด แต่พอของขาดราคาก็แพง และก็เป็นวงจรที่เกิดขึ้นกับเกษตรกรอยู่ตลอดเวลา
แต่ถ้าหากมองไปพร้อมกันในฐานะผู้ผลิตและผู้ขาย มองไปพร้อมกันว่าโอกาสในอนาคตจะเป็นอย่างไร ความสามารถของคุณเป็นอย่างไร ก็สามารถมองเห็นโอกาสในอนาคตของทั้งสองฝ่ายได้อย่างชัดเจน ดังนั้น ผู้ขายก็จะวางแผนได้ว่าจะมีสินค้าออกมาในช่วงเวลาใด ผู้ปลูกก็สามารถคาดการณ์ได้ว่าสินค้าที่พร้อมจะส่งมอบจะมีราคาที่เท่าไร จะขาดทุนหรือกำไรเท่าไร เป็นการสร้างความมั่นใจให้กับทั้งสองฝ่าย สร้างความกล้าในการที่จะลงทุน ทุ่มเทสิ่งเหล่านี้ จึงเป็นที่มาของรูปแบบ Contact Farming เป็นการทำสัญญากันล่วงหน้าของทั้งสองฝ่ายว่า ผู้ปลูกก็จะได้มีความสามารถในการขายราคาที่ได้ตกลงกันไว้ หรือผู้ซื้อก็มีความแน่ใจว่ามีสินค้าที่มีคุณภาพ ลักษณะแบบนี้เป็นรูปแบบที่สวนสระแก้วได้ทำไว้ เป็นเวลา 5 ปีแล้ว เพราะลำพังแล้วไม่สามารถผลิตได้พอ จึงต้องหาพันธมิตรที่ร่วมกันผลิตที่จะมารองรับกับตลาดที่เกิดขึ้น และหากได้มีการพูดคุยตกลงกันชัดเจนแบบนี้ จะเป็นชัยชนะของทั้งสองฝ่ายอย่างแน่นอน ก็เลยเป็นที่มาของกลุ่มเกษตรกรสวนสระแก้ว
กลุ่มเกษตรกร ของ สวนสระแก้ว เป็นอย่างไร?
จะมีบทบาทด้านการผลิตหลักคือ มะละกอ 2-3 พันธุ์ จะเป็นพันธุ์ฮาวายเป็นหลัก มี แขกดำ มีเรดเลดี้ การทำธุรกิจนี้จะต้องมีสัจจะ มีความชัดเจนในวิชาชีพ ซึ่งแต่ละคนมีความโดดเด่นหรือความถนัดในแต่ละส่วน เหตุผลที่ต้องมีพันธมิตรอยู่ทั่วภูมิภาคของประเทศ เพราะผลผลิตที่ใช้อยู่จะต้องมีทุกวันในช่วงเวลา 365 วัน และต้องเป็นผลผลิตที่มีคุณภาพ ทั้งนี้ เพราะตำแหน่งสินค้าของสวนสระแก้วจัดอยู่ในกลุ่ม Premium Grade เพราะฉะนั้นตัวผมจะลงไปสัมผัสในตลาดขายส่งน้อยมาก จึงเป็นการค้าขายกันในกลุ่มสมาชิกโดยตรงมากกว่า
กลุ่มเกษตรกร ทำอะไรบ้าง?
มีการสร้างความมั่นคงทางการตลาดให้กับบรรดาเกษตรกร ทั้งนี้ ในเบื้องต้นจะลงไปสำรวจและหาข้อมูลก่อนว่า เขาจะสามารถหาปริมาณให้กับเราได้หรือไม่ หากทำได้จริงก็จะมีการเจรจาความพร้อมของแต่ละกลุ่มว่ามีความพร้อมที่จะผลิต ในปริมาณเท่าไร ราคาเท่าไร โดยเป็นการตกลงกันล่วงหน้าก่อนลงมือผลิตในแต่ละช่วงฤดูกาล
หากขาดการดูแลในช่วงเก็บเกี่ยว
ผลผลิตจะเสียหายเมื่อถึงมือผู้บริโภค
ประเทศไทยมีผลไม้ที่มีคุณภาพที่ดี มีเกษตรกรที่มีความสามารถ มีพันธุ์ที่ดีในการปลูก แต่สุดท้ายที่เกิดความเสียหายคือในช่วงของการเก็บเกี่ยว เพราะขาดการดูแลอย่างดีและทั่วถึง จนเมื่อถึงมือผู้บริโภคจึงเกิดความเสียหายจนต้องทิ้ง และบางส่วนก็ขายแบบราคาไม่คุ้มทุน ผลผลิตที่ดีมีคุณภาพจะถึงผู้บริโภคที่จะมีสัดส่วนที่น้อยมาก
ดังนั้น สิ่งที่ทำให้ลูกค้ามีความไว้วางใจเรามากคือเรื่องของคุณภาพที่หนีไปไหนไม่ ได้เลย เฉกเช่นตัวเรา ถ้าเป็นคนซื้อก็จะต้องเลือกของที่ดีมีคุณภาพ ฉะนั้น เป็นสิ่งที่ต้องปลูกฝังให้เกษตรกรรู้ซึ้งถึงเรื่องคุณภาพในทุกห่วงโซ่ ทุกขั้นตอน ไม่เว้นแม้แต่ในขั้นตอนของการเพาะเมล็ดที่ยังต้องเพาะกันในมุ้ง การเตรียมแปลง การเตรียมระบบน้ำ ครั้นพอมาถึงช่วงการเก็บผลผลิตก็จะต้องใช้ความทะนุถนอม ต้องล้างทุกลูกเพื่อป้องกันการติดเชื้อ รวมไปจนถึงขั้นตอนการทำหีบห่อ การขนส่ง ทั้งหมดนี้จึงเป็นที่ยอมรับจากต่างประเทศมาก
การสร้างคุณค่าในตัวสินค้า
มุ่งกระตุ้นความสนใจของตลาด
จากเรื่องของคุณภาพ สิ่งต่อไปที่ให้ความสำคัญไม่แพ้กันคือ การสร้างคุณค่าในตัวสินค้า จะต้องสร้างคุณค่าในตัวผลิตภัณฑ์ และผลผลิตทุกชิ้น เพื่อที่จะให้มีการดำรงอยู่ในตลาดอย่างตลอดเวลา หรือสามารถทำให้เพิ่มจำนวนตลาดได้อีก ตัวอย่างเช่น หากเดินเข้าไปในตลาดบนแผงขายมะละกอ จำนวน 5 แผง ดูเหมือนว่าทุกแผงจะเหมือนกัน แต่หากพบว่ามีแผงหนึ่งที่มีสติ๊กเกอร์ติดไว้ที่ผลไม้ ถามว่าถ้าคุณเป็นคนซื้อจะเลือกแบบธรรมดาหรือแบบที่มีสติ๊กเกอร์ติดอยู่
ดังนั้น การสร้างความน่าเชื่อถือจึงเป็นการสร้างคุณค่า หรืออย่างในประเทศญี่ปุ่น นำมะละกอฮาวายมาขูดเนื้อออกให้หมดเหลือผิวบางประมาณ 1 เซนติเมตร แล้วนำไปแช่แข็งนำไอศกรีมมาใส่แล้วตัดแบ่งครึ่งขาย วิธีดังกล่าวจึงเป็นการเสริมคุณค่าอีกแบบหนึ่ง หรือแม้แต่การออกแบบตกแต่งเพื่อสร้างความดึงดูดให้กับลูกค้าก็ทำอย่างเต็ม ที่…ขอบคุณมากครับ
เจ้าของธุรกิจปอกมะละกอป้อนโรงงาน
คุณนิคม บัวทอง สวัสดีครับท่านวิทยากรทุกท่าน และผู้เข้าร่วมงานในครั้งนี้ สาเหตุที่ผมได้มาทำธุรกิจปอกมะละกอ ก็สืบเนื่องจากเมื่อครั้งที่ยังอยู่กับคุณพ่อ ซึ่งในช่วงนั้นท่านได้ทำมะละกอที่ใช้ทำน้ำซอสในปลากระป๋องและเป็นการส่ง มะละกอเป็นลูกเข้าโรงงาน ต่อมาเลิกใช้มะละกอทำซอสและมีการเปลี่ยนมาใช้มะเขือเทศแทน ตัวเองและคุณพ่อก็ขาดตลาดในจุดนี้ไป และมีความพยายามเสาะหาตลาดในแหล่งอื่น ได้ลองเปลี่ยนไปขายมะละกอที่ตลาดสี่มุมเมืองก็ไม่ประสบความสำเร็จ จนกระทั่งราคามะละกอในช่วงเวลาดังกล่าวเหลือเพียง กิโลกรัมละ 25 สตางค์ เท่านั้น
มะละกออบแห้ง ปลุกธุรกิจ
ปอกมะละกอป้อนโรงงาน
ขณะเดียวกันมีนักธุรกิจที่เห็นว่าตลาดมะละกอน่าจะนำไปทำเป็นแบบอบแห้งได้ ก็เลยมีการเปิดรับซื้อขึ้นมาอีกครั้ง โดยในช่วงแรกเป็นการรับเป็นลูก แต่มาประสบปัญหา เวลารับมะละกอเข้าไปแล้วเกิดการขาดแคลนแรงงาน และปัญหาอีกประเด็นคือวัสดุเหลือใช้ เช่น เมล็ด ไส้มะละกอ และเปลือก ที่จะต้องมีการบริหารจัดการออกไปเพราะมีปริมาณมาก
ดังนั้น จึงขอให้ทางผมรับเรื่องการปอกให้เสร็จเลย จึงเป็นจุดเริ่มต้นตั้งแต่นั้นมา โดยในช่วงแรกผมต้องทำทุกอย่างด้วยตัวเอง ใช้รถที่มีขนาดเล็กทำงาน การนำมะละกอมาปอกเพื่อป้อนเข้าสู่โรงงานจะต้องใช้มะละกอที่มีขนาดใหญ่เท่า นั้น เหตุผลเพื่อให้เกิดความสะดวกต่อการทำงาน ทำให้พนักงานมีความรวดเร็วในการทำงานและคล่องตัวอย่างมาก หากเป็นพันธุ์ที่มีขนาดเล็กจะเกิดความล่าช้าในการปอก สำหรับพันธุ์ที่ใช้ มี แขกดำ แขกนวล กรณีพันธุ์ฮอลแลนด์ก็มีใช้บ้าง แต่ต้องคัดขนาดใหญ่ที่มีน้ำหนัก 1.5-2 กิโลกรัม หรือยิ่งใหญ่ ยิ่งดี ใช้วันละ 60-70 ตัน
ควรส่งเข้าในช่วงฤดูมะละกอ
เพื่อจะได้ราคาสูง
สำหรับช่วงเวลาที่เริ่มปอกมะละกอจะเริ่มประมาณเดือนตุลาคมเป็นต้นไปจน หลังปีใหม่ก็ค่อยลดลง ถ้าในช่วงที่โรงงานไม่ได้มีการปอกมะละกอ ราคาจะถูก ก็อยากจะบอกว่าในช่วงที่ต้องการใช้มะละกอหากเกษตรกรประสงค์ที่จะส่งเข้าโรง งานขอให้พิจารณาคัดเลือกขนาดให้ได้ตามมาตรฐานที่กำหนดด้วย
ไม่เน้นผิวสวย แต่ขอให้เนื้อแดง
ส่วนที่มีความกังวลว่า ถ้าผลิตออกมามากแล้วจะหาตลาดไม่ได้ ก็ขอให้ดูในเรื่องคุณภาพเป็นสำคัญ ถ้ามีคุณภาพดีตามที่กำหนดราคาก็จะดี อีกประเด็นคือ มะละกอที่จะส่งป้อนเข้าโรงงานจะไม่เน้นว่าผิวต้องสวย แต่ขอให้เนื้อแดง แต่อย่าแดงมาก เนื่องจากอาจช้ำระหว่างการขนส่ง ซึ่งเป็นผลเสียต่อการส่งโรงงานแปรรูป อาจจะดูจากแต้มที่ควรมีแต้มน้อย
ดังนั้น หากใครสนใจอยากจะขอรายละเอียดพูดคุยกันก่อนว่าอย่างไร ขอให้ติดต่อกระผมได้ที่หมายเลข (081) 666-6731, (081) 919-6905 ขอให้เริ่มติดต่อในช่วงฤดูกาลของมะละกอประมาณเดือนตุลาคมเป็นต้นไป…ขอบคุณ มากครับ
เจ้าของกิจการส้มตำไฮโซ
พูดถึง “โอกาสธุรกิจส้มตำ”
อาจารย์วรรณพัชร โกษะโยธิน ก่อนอื่นต้องบอกก่อนว่า ถ้าไม่มีท่านวิทยากรทั้ง 3 ที่มากด้วยความรู้และประสบการณ์ ไม่มีท่านผู้เข้าร่วมสัมมนาในครั้งนี้คงไม่มีโอกาสที่ส้มตำไทยเกิด และขอแนะนำตัวเองก่อนว่า ปัจจุบันดิฉันเป็นวิทยากรพิเศษ สอนอยู่ที่ศูนย์อาชีพและธุรกิจ มติชน และศูนย์ดังกล่าวกำลังเปลี่ยนเป็นมติชนอคาเดมี เริ่มสอนตั้งแต่ ปี 2547 จนถึงปัจจุบัน มีลูกศิษย์ รวม 84 รุ่น
คำว่า “ไฮโซ” ตรงนี้ไม่ได้หมายถึงจะต้องมีแต่เพียงคนมีฐานะร่ำรวยเท่านั้น แต่ความหมายที่ต้องการสื่อคือ ต้องการกำหนดคุณสมบัติของมะละกอดิบแต่ละพันธุ์ที่ใช้ในการตำส้มตำ
เลิกเป็นมนุษย์เงินเดือน
แล้วผันตัวเองสู่ธุรกิจส้มตำ
เดิมทีดิฉันก็เป็นมนุษย์เงินเดือนมาก่อน พอมาถึงจุดหนึ่งก็บอกกับตัวเองว่าอายุมากแล้ว ควรจะมีงานทำ และมีอาชีพที่เป็นของตัวเอง ซึ่งในเวลานั้นเป็นช่วงวิกฤติเศรษฐกิจพอดี จึงทำให้ต้องวางมือจากการเป็นมนุษย์เงินเดือน
หลังจากนั้น จึงมาทบทวนและค้นหาตัวเองว่าจะทำอะไร เราถนัดอะไร ซึ่งเวลาที่คิดอะไรไม่ออกและเกิดอาการเซ็งๆ มักจะนัดเพื่อนๆ ไปพบปะพูดคุยกันที่ร้านส้มตำเป็นประจำ เพราะส่วนตัวเป็นผู้ที่ชอบรับประทานส้มตำมาก ดังนั้น เวลามีงานเลี้ยงอะไรก็จะตำส้มตำไปช่วยงานนั้น ทำให้กลับมาคิดว่าส้มตำก็เป็นอาหารที่เราชื่นชอบ แล้วเราก็พอมีความสามารถ ที่สำคัญคนที่ได้มีโอกาสรับประทานส้มตำจากฝีมือเราต่างยอมรับในรสชาติ แล้วทำไมไม่ลองทำเป็นอาชีพ?
ชูแบรนด์ “ส้มตำไฮโซ”
เน้นสร้างความแตกต่าง แต่ไม่แตกแยก
เมื่อคิดได้เช่นนั้น จึงคิดต่อไปอีกว่า หากจะทำส้มตำเป็นอาชีพแล้วต้องหาความแตกต่างจากส้มตำที่ขายกันทั่วไป ได้ลองหาวิธีเพื่อสร้างความแตกต่างและความน่าสนใจ และมาลงตัวในการกำหนดชื่อว่า “ส้มตำไฮโซ” แล้วยังเพิ่มความแตกต่างอีก ด้วยการแยกน้ำและเส้นมะละกอออกจากกันเหมือนเช่นก๋วยเตี๋ยว สำหรับการทำครั้งแรกเริ่มต้นด้วยส้มตำไทยก่อน พอตำเสร็จนำไปแจกให้กับเพื่อนและคนรู้จักเพื่อเป็นการทำโฆษณาก่อน ระหว่างนั้นยังไม่มีใครรู้ว่าดิฉันเป็นคนลงมือตำเอง
ในที่สุดมีการตอบรับกลับมาด้วยออเดอร์ครั้งแรก จำนวน 10 ถุง นั่นเป็นความภาคภูมิใจมากที่ทำแล้วมีผู้สนใจ จากนั้นได้พัฒนาวิธีด้วยการคัดเลือกวัตถุดิบหลักคือมะละกอ ว่าควรจะเป็นชนิดใด พันธุ์ใด ที่มีความเหมาะสมบ้าง ซึ่งโดยพื้นความรู้ด้านพันธุ์มะละกอของดิฉันไม่มีเลย เวลาไปซื้อแม่ค้าบอกว่าพันธุ์นั้น พันธุ์นี้ ก็เชื่อไปหมด ไม่รู้ว่าแท้หรือเทียม
จะต้องเนื้อแน่น ลูกหนัก และสด
แต่เมื่อเวลาผ่านไปสักพักหนึ่งประสบการณ์จะสอนให้เรารู้ว่าพันธุ์ใดมี คุณสมบัติอย่างไร จริงอยู่อย่างที่ท่านวิทยากรบอกว่า พันธุ์บางพันธุ์เหมาะสำหรับใช้ดิบ บางพันธุ์เหมาะสำหรับใช้ตอนสุก และจะให้ความสำคัญกับรสชาติ แต่สำหรับการใช้มะละกอของดิฉันในการทำส้มตำจะเน้นที่มีเนื้อแน่นเป็นหลัก ให้ลูกหนัก และสด และจะบอกคนเรียนเสมอว่า ให้ใช้มะละกอที่อยู่ในท้องถิ่นของแต่ละคน เพราะเดี๋ยวนี้ทั่วทุกภูมิภาคของประเทศสามารถปลูกมะละกอพันธุ์ที่ดีตามที่ ท่านวิทยากรได้บอกมาทั่วทุกจังหวัดแล้ว
อย่างกรณีพันธุ์ฮอลแลนด์ ก็มีประสบการณ์ในการนำมาใช้ โดยได้ไปเปิดร้านอาหารให้กับคนเรียนที่ศูนย์อาชีพและธุรกิจ มติชน ซึ่งได้ไปเปิดร้านอาหารที่ประเทศฟินแลนด์ ครั้นพอไปถึงจะต้องใช้มะละกอ ปรากฏว่าลูกที่มีสีเขียวหาไม่ได้เลย แล้วจะทำอย่างไร?
ก่อนอื่นใช้หลักที่ตั้งไว้ก่อนคือ ให้เนื้อแน่น ลูกหนัก แต่อย่างไรก็ตาม ถึงแม้ว่าจะพบปัญหาในเรื่องความใหม่ สด หรือความกรอบไม่ได้ ดิฉันก็มีวิธีที่จะทำให้มะละกอไม่ว่าจะเป็นพันธุ์ใดสามารถทำให้กรอบได้ และทำให้เป็นรสชาติที่ได้มาตรฐานอย่างที่ไปสอน ซึ่งเป็นการเน้นในการทำให้มะละกอมีความกรอบ รวมไปถึงการทำน้ำส้มตำที่เป็นสูตรเฉพาะสำเร็จรูปที่ 1 สูตรทำได้ 70 ครก ใครจะทำก็อร่อย แต่อาจจะไม่ถูกลิ้นกับบางคนเท่านั้น
มุ่งสอนเชิงค้าขาย และต้นทุน
เรียน 1 วัน ไปประกอบอาชีพได้ทันที
ในการทำธุรกิจนี้ก่อให้เกิดกำไรมากพอสมควร ถ้าเรามีความตั้งใจจริง ต้นทุนมะละกอก็ไม่สูง ทั้งนี้หากท่านเกษตรกรที่มีสวนมะละกออยู่แล้ว และอยากมีรายได้เสริม ในคราวหน้าทางมติชนจะเปิดสอนวิชาทำส้มตำไฮโซจากสถาบันมติชนอคาเดมี ที่เป็นการลงทุนแค่เพียง 1 วัน คุณก็สามารถนำไปประกอบอาชีพได้จริง และไม่ว่าจะเป็นวิชาใด หลักสูตรใด ท่านวิทยากรที่มาสอนจะนำประสบการณ์จริงมาถ่ายทอดให้ความรู้แก่ท่านอย่างหมด เปลือก
การเรียนการสอนของดิฉันมีคนเรียนรุ่นละ 35-40 คน เป็นการสอนในหลักสูตรเชิงค้าขาย เชิงต้นทุน อย่างเช่น ส้มตำที่ใส่ไข่เค็มจะใช้เงินทุนในการทำเพียงจานละไม่กี่บาท แต่หากส้มตำไทยใส่ไข่เค็มจานนี้ถูกนำไปขายแถวย่านธุรกิจ เช่น สีลม พร้อมกับทำหีบห่อใส่กล่องให้ดูดีสักหน่อย ราคาขายจะขยับขึ้นไปจากทุนที่ใช้เพียงเล็กน้อย กลับเพิ่มได้อีก 5-6 เท่า อันนี้ถือว่าน่าสนใจมาก ซึ่งเกษตรกรชาวสวนมะละกอที่หากปีใดมีผลผลิตมากเกินไปจนทำให้ราคาขายลดลง ก็อยากจะแนะนำให้ใช้วัตถุดิบที่เรามีอยู่แล้วไปสร้างมูลค่าให้เกิดเป็นราย ได้ขึ้นมาอีก ดังนั้นหากใครสนใจขอให้ติดตามอ่านในหนังสือในเครือมติชนว่าหลักสูตรส้มตำไฮ โซจะมีโปรแกรมสอนในช่วงเวลาใด ซึ่งเวลาสอนจริงจะใส่หลักสูตรให้มากกว่า 10 รายการ
แจก ซีดี เคล็ดลับการทำมะละกอกรอบ
กรณีของเส้นมะละกอ ถ้าหากเป็นภาคอีสานเขาใช้วิธีสับ แต่ที่สอนใช้วิธีขูด การทำให้เส้นมะละกอกรอบจะมีวิธีบอก หรือหากใครสนใจอยากได้ซีดีการแนะนำทำเส้นมะละกอให้กรอบ ลองโทรศัพท์มาหาได้ที่เบอร์ (081) 921-8499 อาจารย์วงเดือน เพราะยินดีจะเผยแพร่ ยินดีจะให้คำแนะนำการค้าขายที่อาจจะเริ่มต้นที่ราคาจานละ 25-30 บาท ก่อนแล้วค่อยพัฒนาไปเรื่อยๆ พร้อมกับการกำหนดราคาที่สูงขึ้นในอนาคต
การสับกับการขูดมะละกอมีความต่างกัน เนื่องจากการสับจะได้เนื้อมะละกอน้อยกว่าการขูด และเส้นเวลานำไปแช่น้ำสารส้มหรือน้ำแข็งเพื่อให้กรอบจะต้องกำหนดเวลาในการ แช่ด้วย ดังนั้นใครต้องการจะรู้เพิ่มเติมให้โทรศัพท์ไปขอซีดีตามหมายเลขดังกล่าว นอกจากนั้นขอเสริมอีกว่า ในเทศกาลกินเจ ก็สามารถดัดแปลงและประยุกต์สูตรการตำส้มตำไฮโซให้เหมาะกับช่วงเทศกาลที่ สำคัญได้ โดยยังคงไว้ซึ่งคุณค่าและความอร่อยเหมือนเดิม
อย่าลืม!!
มะละกอกรอบและน้ำอร่อย คือหัวใจของ “ส้มตำไฮโซ”
สูตรการทำส้มตำไฮโซ ส่วนสำคัญมากคือมะละกอ เพราะเป็นตัวที่ทำให้รสชาติมีความอร่อย ดังนั้น เส้นต้องกรอบ และอีกส่วนเป็นน้ำที่ใส่ส้มตำ น้ำดังกล่าวจะไม่ใส่มะขามเปียก และขณะนี้กำลังทำเรื่องขอ อย. ซึ่งมีแผนว่าจะทำน้ำส้มตำสู่ตลาดโลกเช่นกัน มุ่งหวังจะทำตลาดในร้านค้าและห้างสรรพสินค้า ที่จะก่อให้เกิดความสะดวกต่อผู้บริโภคที่ต้องการรับประทานส้มตำแล้วไม่ ต้องออกไปตลาด เพียงคุณมีผัก ผลไม้ไว้ในตู้เย็น แล้วซื้อน้ำใส่ส้มตำที่ทำสำเร็จรูปมาปรุงกับวัตถุดิบที่มีอยู่แล้ว เท่านี้คุณก็สามารถรับประทานส้มตำตามที่ต้องการได้ทันที ที่สำคัญน้ำใส่ส้มตำนี้ไม่ได้ใส่สารกันบูด และสามารถเก็บไว้ในตู้เย็นได้นานถึง 90 วัน
ท่านเชื่อหรือไม่ ดิฉันใช้เวลาคิดสูตรการทำน้ำใส่ส้มตำนี้เป็นเวลาถึง 5 ปี กว่าจะลงตัว เพราะต้องเลือกน้ำปลา น้ำตาล มะนาว เพื่อให้ลงตัวในความพอดี แต่ท่านใช้เวลาเพียง 5 นาที ก็สามารถทำได้อย่างดี แล้วยังเป็นวิชาที่น่าเรียนรู้ และยังเป็นอาชีพที่สร้างความมั่นคงอีกด้วย
เดิมทีการทำสูตรนี้คิดว่าจะไม่เผยแพร่ จะรู้กันเฉพาะในกลุ่มพี่น้องเท่านั้น แต่พอได้มาสอนที่ศูนย์อาชีพและธุรกิจ มติชน ทำให้เกิดความคิดที่จุดประกายว่าเมื่อเราได้มอบสิ่งที่ดีให้กับคนอื่นแล้ว และเมื่อเขาประสบความสำเร็จแล้วโทรศัพท์มาบอกด้วยความยินดีและปลาบปลื้ม เพียงเสียงแห่งความปลาบปลื้มจากคนเรียนก็ทำให้เรารู้สึกมีความสุข สุดท้ายขอขอบพระคุณท่านวิทยากรทุกท่านที่ให้ความรู้ว่ามะละกอแต่ละชนิดมี เอกลักษณ์เฉพาะอย่างไร ถึงแม้ว่าตัวดิฉันอาจจะไม่ได้ก้าวไกลไปถึงตรงนั้น แต่ก็มีความสุขที่ผู้เข้าอบรม และท่านวิทยากรกำลังจะก้าวไปพร้อมกันนับจากนี้…ขอบคุณมากค่ะ
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น