วันอังคารที่ 21 มกราคม พ.ศ. 2557

มะละกอ (8) เทคนิคการปลูกมะละกอเงินล้าน

เทคนิคการปลูกมะละกอเงินล้าน

การปลูกมะละกอ เงินล้าน
อาจารย์ เล็ก โปรพลัส
มะละกอ เป็นพืชเศรษฐกิจอีกชนิดหนึ่งที่ทุกคนไม่ควรมองข้ามเพราะมะละกอเป็นไม้ผลที่ คนไทยนิยมบริโภคทั้งผลดิบและผลสุก ทั่วทั้งประเทศไม่มีภาคไหนไม่บริโภคมะละกอ มะละกอใช้ประโยชน์ทางด้านอุตสาหกรรมได้หลายอย่าง เช่น เนื้อมะละกอดิบ สามารถนำไปประกอบอาหาร อย่างเช่นส้มตำที่กินกันทุกครัวเรือน มะละกอแช่อิ่ม ดองเค็ม ผลมะละกอสุกทานเป็นผลไม้ และแปรรูปเป็นน้ำผลไม้ ซอส ผลไม้กระป๋อง แยม ลูกกวาด เปลือกมะละกอใช้เป็นอาหารสัตว์ สีผสมอาหาร ยางมะละกอใช้ในอุตสาหกรรมผลิตเบียร์ ผลิตน้ำปลา อาหารกระป๋อง อุตสาหกรรมเคมีและเครื่องสำอางเป็นต้น

ปัจจุบันความนิยมของมะละกอมีสูงมากในบ้านเรา มีการปลูกเป็นพืชเศรษฐกิจตามความต้องการของตลาดเป็นจำนวนมาก แต่ก็ต้องยอมแพ้ไปไม่ถึงดวงดาวเพราะมะละกอมีโรคที่ยังไม่สามารถรักษาให้หาย ขาดได้คือ โรคจุดวงแหวน ซึ่งถ้าสวนไหนโรคนี้เข้าแล้วมักจะเสียหายทั้งแปลง ทำให้ผู้ปลูกค่อนข้างเข็ดขยาดกับการปลูกมะละกอ ซึ่งสมัยก่อนจะมีการปลูกมะละกอกันแทบทุกบ้าน แต่เดี๋ยวนี้ไม่ค่อยมีคนกล้าปลูกเพราะกลัวโรคนี้กันทั้งนั้น จึงมีการนำเข้าสายพันธุ์จากต่างประเทศเข้ามาปลูกทดแทนซึ่งส่วนใหญ่จะเป็น มะละกอทานสุกเป็นส่วนใหญ่ซึ่งมีหลากหลายสายพันธุ์เช่น

1. มะละกอพันธุ์ฮอลแลนด์ ลักษณะทั่วไปของมะละกอฮอลแลนด์ลำต้นใหญ่ กลางใบมีกระโดงใบ 1 ใบ ดอกออกเป็นช่อ ติดผลดก อายุเก็บเกี่ยว 8 เดือน น้ำหนักประมาณ 2-3กิโลกรัมต่อผล เนื้อสีแดงอมส้ม ไม่เละ เนื้อหนา 2.5-3.0 เซนติเมตร ความหวาน 12-14 องศาบริกซ์ ผลผลิตต่อต้น 60-80 กิโลกรัม ผิวเรียบ เก็บผลผลิตเมื่อลูกเริ่มเป็นแต้มสีส้ม ผลผลิตราว 5-8 ตันต่อไร่ ราคาตลาดรับซื้อกิโลกรัมละ 10-18 บาทต่อกิโลกรัม? ความต้องการของตลาดสูง แต่ปัจจุบันมีผู้หันมาปลูกพันธุ์นี้กันเยอะมาก ทำให้ราคาตลาดค่อนข้างผันผวน

2. มะละกอพันธุ์เรดเลดี้ (red lady) เป็นมะละกอลูกผสมพันธุ์ใหม่ที่เปิดตัวสายพันธุ์มากว่า 3 ปีแล้ว? มะละกอสายพันธุ์นี้มีจุดเด่นคือ ให้ผลผลิตและติดผลเร็ว ลำต้นสูง 80 เซนติเมตรก็สามารถติดดอกออกผลได้เร็ว โดยในแต่ละต้นมีจำนวนผลดกเฉลี่ย 30 ผลต่อต้น ลักษณะผลสั้นจนถึงยาวรี น้ำหนักเฉลี่ย 1,500 ? 2000 กรัม ผลที่เกิดจากต้นตัวเมียจะมีลักษณะกลม-สั้น เนื้อสีส้มแดง เนื้อหนาสีส้มแดง กรอบ กลิ่นหอม ความหวาน 13 บริกซ์ เหมาะสำหรับรับประทานสุกหรือดิบ ทนทานต่อการขนส่งได้ดี เป็นพันธุ์ที่ให้ผลผลิตเร็ว ต้านทานโรคใบจุดวงแหวนที่เกิดจากไวรัสได้เป็นอย่างดี? ราคาตลาดรับซื้อกิโลกรัมละ 10-18 บาทต่อกิโลกรัม ความต้องการของตลาดเป็นที่นิยมอีกสายพันธุ์หนึ่ง แต่ราคากล้าค่อนข้างแพงและหายากทำให้มีผ็คนให้ความสำคัญน้อยกว่าพันธุ์ ฮอลแลนด์

3. มะละกอพันธุ์ขอนแก่น 80 เป็นพันธุมะละกอที่ได้รับการพัฒนาและปรับปรุงพันธุ์ให้มีความทนทานต่อโรค จุดวงแหวนซึ่งเป็นการผสมข้ามพันธุ์โดยศูนย์วิจัยและพัฒนาการเกษตรขอนแก่น ซึ่งมีลักษณะเด่น คือ ต้นเตี้ยมีความสูงเฉลี่ย 1.32 เมตร ผลแรกเริ่มสุกภายใน 7 เดือน โดยให้ผลผลิต 6,300 กิโลกรัมต่อไร่ ผลมีขนาดเล็ก น้ำหนักเฉลี่ย 770 กรัม ผิวเป็นมัน เปลือกเรียบ เนื้อแน่น สุกช้า ทนทานต่อการขนส่ง เมื่อผลสุกเนื้อมีสีแดงอมส้ม รสชาติหอมหวาน ความหวานเฉลี่ย 13.12 องศาบริกซ์ทั้งยังมีความทนทานต่อโรคจุดวงแหวนดีด้วย แต่ความต้องการของตลาดภายในประเทศยังมีน้อย แต่ตลาดส่งออกมีการส่งไปขายยังประเทศฮ่องกง ไต้หวันแทนมะละกอฮาวาย อนาคตคาดว่าจะมีศักยภาพที่จะส่งเสริมให้เกษตรกรปลูกเป็นการค้าเพื่อกินสุก ทั้งภายในประเทศและส่งออก

4. มะละกอพันธุ์ปากช่อง 1 พัฒนาสายพันธุ์โดยสถานีวิจัยปากช่อง มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์มีลักษณะประจำพันธุ์คือ ลำต้นสีเขียวปนม่วงเล็กน้อย ใบมี 7 แฉกใหญ่ กว้าง 50-60 เซนติเมตร ยาว 45-50 เซนติเมตร ก้านใบสีเขียวปนม่วงยาว 70-75 เซนติเมตร อายุ 8 เดือน ก็เริ่มเก็บผลได้ มีน้ำหนักผล 350-500 กรัม เนื้อสีส้มหนา 1.8 เซนติเมตร เมื่อสุกเนื้อไม่เละและมีรสหวาน กลิ่นหอม เปอร์เซ็นต์ความหวาน 12-14 องศาบริกซ์ ในระยะเวลา 18 เดือน จะให้ผลผลิตต้นละ 30-40 กิโลกรัม ค่อนข้างทนต่อโรคใบด่าง การตลาดยังไม่ค่อยแพร่หลาย แต่ความต้องการของตลาดต่างประเทศสูง

5. มะละกอพันธุ์แขกดำ เป็นพันธุที่ได้รับความนิยมในอดีต แต่เนื่องจากอ่อนแอต่อโรคจุดวงแหวน ได้ถูกการพัฒนาไปผสมข้ามพันธุ์กับต่างประเทศจนเกิดเป็นพันธุ์แขกดำท่าพระ เป็นมะละกอ GMO ทำให้เกิดปัญหาขึ้นทำให้ผู้บริโภคเกิดความสับสนในข้อมูลทำให้การบริโภค พันธุ์นี้มีน้อยลง เนื้อสุกสีแดงส้มแต่เนื้อเละ มีกลิ่นค่อนข้างรุนแรงทำให้ในปัจจุบันไม่ค่อยมีผู้ปลูกสักเท่าไร

จากสถานการณ์ในปัจจุบันเกษตรกรส่วนใหญ่หันมาปลูกมะละกอทานสุกกันเป็นจำนวน มาก เป็นเหตุให้มะละกอดิบขาดตลาด ซึ่งการบริโภคมะละกอดิบนั้นมีทุกวัน ทุกครัวเรือน เพราะถือว่าเป็นอาหารประจำชาติ จนทุกวันนี้ราคาขายของมะละกอดิบที่ชาวบ้านต้องซื้อกันถึง กิโลกรัมละ 15 บาท ยังหาไม่ค่อยจะ ดังนั้น สถาบันพัฒนาศักยภาพเกษตรกร จึงได้ทำการวิจัยและหาข้อมูลเพื่อหาพืชเศรษฐกิจที่จะทำให้เกษตรกรผู้ปลูก สามารถลืมตาอ้าปากได้จึงส่งเสริมการปลูกมะละกอทานดิบ ซึ่งเป็นที่ต้องการของตลาดในปัจจุบัน ความต้องการของตลาดค่อนข้างสูง จึงอยากจะแนะนำมะละกอทานดิบให้แก่สมาชิกได้พิจารณาดังนี้

1. มะละกอพันธุ์ครั่ง เป็นมะละกอไทยเพื่อทำส้มตำโดยเฉพาะเป็นสายพันธุ์มะละกอที่ศูนย์และพัฒนา อาชีพการเกษตร จังหวัดมหาสารคามสำนักส่งเสริมและพัฒนาการเกษตรเขตที่4 จังหวัดขอนแก่น กรมส่งเสริมการเกษตร ได้พัฒนาสายพันธุ์เพื่อการผลิตเป็นมะละกอดิบใช้ทำสำหรับส้มตำโดยเฉพาะ ด้วยลักษณะเด่นตรงที่เป็นมะละกอที่ให้ผลผลิตสูงหลังจากย้ายต้นกล้าลงปลูกใน แปลงใช้เวลาปลูกเพียง 5-6 เดือน เริ่มเก็บเกี่ยวผลดิบจำหน่ายเป็นมะละกอส้มตำได้ เนิองของมะละกอพันธุ์ครั่งจะมีความกรอบและรสชาติหวาน เมื่อเก็บผลดิบลงมาจากต้นจะคงสภาพในอุณหภูมิปกติโดยไม่เหี่ยว ปัจจุบันมีความต้องการในตลาดสูงแต่จากการสังเกตุลักษณะของการออกดอกและติดผล ของมะละกอสายพันธุ์นี้คือในช่วงเดือนที่ 9? หลังปลูกลงดินผลผลิตจะหมดในรุ่นแรกหรือที่ชาวบ้านเรียกว่าหมดคอแรก ในช่วงระยะเวลาดังกล่าวทำให้ไม่สามารถให้ผลผลิตได้ต่อเนื่อง

2. มะละกอพันธุ์แขกนวลดำเนิน เป็นมะละกอที่ในวงการส้มตำถือว่าเป็นสายพันธุ์ที่ทำส้มตำได้อร่อยที่สุด เนื่องจากมีความกรอบและหวานกว่ามะละกอที่ทำส้มตำทุกพันธุ์ ทำให้ราคาในตลาดสำหรับมะละกอพันธุ์นี้พุ่งไปถึงกิโลกรัมละ 15-18 บาทในปัจจุบัน ราคาที่พ่อค้าเข้าไปซื้อถึงสวน ณ ปัจจุบันให้ราคาถึงกิโลกรัมละ 5 บาทสำหรับมะละกอดิบแล้วถือว่าเป็นราคาที่สูงมาก ซึ่งลักษณะเด่นของมะละกอแขกนวล ดำเนิน นั้นเป็นมะละกอทานดิบหรือมะละกอส้มตำให้ผลผลิตในรุ่นแรกที่อายุ 5 เดือนขึ้นไป ซึ่งผลผลิตที่ได้ในเบื้องต้นประมาณต้นละ 20-30กิโลกรัมต่อต้นต่อเดือนโดยจะเก็บเกี่ยวผลผลิตเดือนละ 2-3 ครั้ง และสามารถให้ผลผลิตต่อเนื่องถ้าการดูแลการจัดการเรื่องธาตุอาหารดีจะไม่ทำ ให้เกิดอาการขาดคอรวงสามารถให้ผลผลิตต่อเนื่องถึง 2 ปี นับว่าเป็นมะละกอที่จัดได้ว่าเป็นที่พืชเศรฐกิจที่น่าสนใจเป็นอย่างมาก คุ้มค่าต่อการลงทุน อีกทั้งตลาดยังมีความต้องการสูง เฉลี่ยต่อต้นแล้วผลผลิตที่ได้เท่ากับต้นละ200-300กิโลกรัมต่อต้นต่อปี ถ้า 1 ไร่ปลูกระยะห่าง 2x2 เมตร 1ไร่ปลูก 400 ต้นจะได้ผลผลิตเฉลี่ย8-10ตันต่อไร่ต่อปี ถ้าราคาตลาดรับซื้อที่กิโลกรัมละ 4 บาท จะได้รายได้โดยประมาณ320,000-400,000 บาทต่อไร่ ซึ่งการเก็บมะละกอพันธุ์นี้ จะเก็บตอนน้ำหนักประมาณ 1.2-1.5 กิโลกรัมซึ่งถือว่าเป็นมะละกอที่ยังอ่อนมากทำให้การเข้าทำลายของโรคจุดวง แหวนน้อยลง จึงถือว่าเป็นมะละกอที่เกษตรกรน่าจะหันมาทดลองปลูกดู ซึ่งการปลูกสามารถทำได้ดังนี้

การปลูกและดูแลรักษามะละกอพันธุ์แขกนวลดำเนิน
การปลูกมะละกอแขกนวล ดำเนิน นิยมปลูกโดยวิธีการเพาะเมล็ดแล้วย้ายกล้าลงแปลงปลูกเมื่อต้นกล้ามีอายุได้ประมาณ 1 เดือน

วิธีการเพาะเมล็ด
- นำเมล็ดมะละกอแช่น้ำอุ่น 60 องศา แล้วแช่ต่อด้วย โปรพลัส No.1 ทิ้งไว้ 1 คืน สังเกตดูเมล็ดจะบวม พอง
- นำเมล็ดมะละกอมาเพาะในถุงดินที่เตรียมไว้โดยใช้ถุงดำขนาด 5x8 นิ้ว ใส่วัสดุปลูกประกอบด้วยดิน 1 ส่วน ปุ๋ยชีวภาพ 1? ส่วน และ แกลบดำ 1 ส่วน คลุกเคล้าให้เข้ากัน? โดยใส่เมล็ดมะละกอที่แช่แล้วถุงละ 3 เมล็ด
- รดน้ำให้ชุ่ม ประมาณ7-10 วันเมล็ดก็จะเริ่มงอก
- ทำการรดน้ำพอชุ่มวันละครั้ง
- เมื่อเมล็ดงอกเป็นต้นกล้าแล้ว ให้พ่น โปรพลัส No.1? หลังจากงอกได้ 7วัน
- ฉีด โปร-ฟอส ทุกๆ 7 วันจนถึงย้ายกล้า

ขั้นตอนการเตรียมดินและปลูกมะละกอพันธุ์แขกนวล ดำเนิน
- ทำการเตรียมพื้นที่ โดยการไถด้วยผาน 3? แล้วฉีดกระตุ้นการแตกของเมล็ดหญ้าด้วยน้ำหมักชีวภาพแล้วหว่านด้วยแกลบขี้ไก่ ประมาณ 400-600กิโลกรัมต่อไร่ และหว่านตามด้วยปูนโดโลไมท์ 100-200 กิโลกรัมต่อไร่? ธาตูโบรอน ในรูปของสารบอแรกซ์ อัตร 2-3 กิโลกรัม ต่อไร่ หว่านวัสดุปรับปรุงดินให้ทั่วแล้วฉีดด้วยน้ำหมักชีวภาพ แล้วไถกลบ ทิ้งไว้ประมาณ5-7 วันจะมีเมล็ดหญ้าแตกขึ้นมา ก็ทำการไถพรวนด้วยผาน 7 อีกครั้งหนึ่ง
- มะละกอพันธุ์นี้ชอบดินร่วนปนทราย ดินเหนียวปนดินร่วน หรือดินร่วนที่มีการระบายน้ำดี มีอินทรียวัตถุมาก ไม่ชอบน้ำขัง และควรมีหน้าดินลึกไม่น้อยกว่า 1 เมตร ช่วงระดับความเป็นกรด-ด่างที่เหมาะสมคือ 5.5-7 มะละกอไม่ทนดินเกลือไม่ทนลม แหล่งปลูกจึงควรหลีกเลี่ยงบริเวณที่มีลมแรง?? มะละกอพันธืนี้จะเจริญเติบโตได้ดี ถ้าได้รับแสงแดดเต็มที่? มะละกอมีก้านใบยาวและกลุ่ใบจะมีมากที่ยอด จึงไม่ควรปลูกมะละกอให้ชิดกันเกินไป จะทำให้ไม่สะดวกในการป้องกันกำจัดศัตรูของมะละกอ
- ระยะปลูกที่เหมาะสมคือ 2.5x2.5 เมตร หรือ 3x3 เมตรแหล่งปลูกมะละกอควรอยู่ใกล้เมืองหรือมีทางคมนาคมสะดวก เนื่องจากผลผลิตที่ได้ค่อนข้างมีปริมาณมากจะทำให้การขนส่งได้สะดวก
- หลังจากไถด้วยผาน 7 แล้วควรฉีดพื้นให้ทั่วด้วยเชื้อราไตรโครเดอร์มา เพื่อป้องกันเชื้อที่อยู่ในดิน

การเตรียมแปลงปลูก
- วัดระยะแปลงปลูกตามความต้องการ ควรปักหลักเล็ก ๆ ห่างจากหลักหลุมปลูก อีก2 หลัก โดยปักให้ห่างข้างละ 50 เซนติเมตร
- ขุดหลุมปลูกเป็นรูปสี่เหลี่ยมให้ขอบหลุมห่างจากหลักกลางประมาณ 25 เซนติเมตร และขุดลึก 50 เซนติเมตร เอาดินขึ้นไว้บนปากหลุมอย่าให้โดนหลักเล็กทั้ง 2 ซึ่งจะเป็นหลักบังคับระยะปลูก
- ใส่ปุ๋ยคอกเก่า ๆ หรือปุ๋ยชีวภาพ ประมาณ 1 พลั่วหรือครึ่งบุ้งกี๋ลงบนดินที่ขุดขึ้นมา ใส่แร่เทคโตมิคหลุมละ1 กำมือ? ใส่ ร๊อคฟอตเฟตลงไปอีก 100 กรัม คลุกเคล้าดินกับปุ๋ยให้เข้ากันดี แล้วใช้จอบกลบดินลงหลุมให้เสมอปากหลุม
- ก่อนปลูก หาไม้ไผ่ยาวประมาณ 1 เมตร ทำเครื่องหมายที่ตำแหน่ง 0.50 เมตรและ 1 ?เมตรเป็นเครื่องหมายต้นปลูก เพื่อให้แถวปลูกตรงกันทุกต้น

วิธีการปลูก
- ให้นำต้นกล้าเรียงกระจายไว้ตามหลุมต่าง ๆ หลุมละหนึ่งถุง หลังจากนั้นกรีดถุงพลาสติกออก เอาต้นกล้าวางให้ตรงตำแหน่งระยะปลูกกลางหลุม กลบดินให้แน่น โดยเฉพาะรอบ ๆ โคนต้นเพื่อให้รากจับดินใหม่ได้เร็ว ต้นจะตรงกันทุกแถวแล้วรดน้ำให้ชุ่ม
- เมื่อย้ายลงหลุมแล้ว 1 วันให้ฉีด pro-1 เบอร์1และเบอร์2 สเปรย์บาง ๆ? หลังจากนั้นให้ฉีดคลุมแมลงด้วย บีเอ็ม โปร เพื่อกำจัดไข่และตัวอ่อนและไส้เดือนฝอยรากปมไว้ก่อน

การให้ปุ๋ย
- หลังจากปลูกมะละกอได้ประมาณ 1 เดือน แล้วเพื่อให้มะละกอเจริญเติบโตอย่างต่อเนื่องควรให้ปุ๋ยเคมี สูตร 46-0-0 อัตรา 5 กิโลกรัมผสมกับปุ๋ยสูตร 15-15-15 อัตรา 5 กิโลกรัม คลุกด้วยแร่เทคโตมิค 1 กิโลกรัม แล้วหว่านรอบต้น ต้นละ? 50 กรัมต่อต้น? ทุกๆ 15 วันต่อหนึ่งครั้ง
- ในช่วงเดือนแรก จำเป็นที่จะต้องฉีด บี เอ็ม โปร? เพื่อกำจัด เพลี้ยไฟ ไรแดง เพลี้ยอ่อน แมลงหวี่ขาวซึ่งเป็นพาหะนำพาโรคจุดวงแหวนไว้ทุก ๆ 7-15 วัน? สลับด้วยเมจิค-โปรกับมิราเคิล-โปร ทุก ๆ 15 วัน
- ในเดือนที่ 2 ให้เปลี่ยนสูตรปุ๋ย เป็นสูตร 46-0-0 อัตรา 3 กิโลกรัม ผสมกับปุ๋ยสูตร15-15-15 อัตรา 7 กิโลกรัมคลุกด้วยแร่เทคโตมิค 1 กิโลกรัม หว่านรอบต้น ต้นละ 50 กรัมต่อต้น
- ทางใบให้ฉีดโปร-ฟอส อัตรา 1 ช้อนแกงต่อน้ำ 20 ลิตรทุก ๆ 7 วัน? เดือนที่? 2 ฉีด โปรพลัส No.1 อีก หนึ่งครั้ง สังเกตดูการเจริญเติบโต?
- ในเดือนที่ 3? จะเริ่มติดดอก ให้ใส่ปุ๋ยสูตร 13-13-21 อัตรา 18 กิโลกรัม ผสมกับ 0-0-60 อัตรา 2 กิโลกรัม คลุกด้วยแร่เทคโตมิค 2 กิโลกรัม? หว่านให้ทั่ว ๆ
- ทางใบ ให้ฉีดทำดอกด้วยปุ๋ย สูตร 0-52-34 อัตรา 60 กรัมต่อน้ำ 20 ลิตรผสมด้วยเมจิค-โปร อัตรา 20 ซี ซีต่อน้ำ 20ลิตร ฉีดทุก 7-15 วัน จะทำให้มีดอกอย่างต่อเนื่อง ตลอดให้ฉีดสูตรนี้ทุกเดือนจะทำให้มะละกอมีดอกตลอดไม่ขาดคอรวง และฉีดโปร-1 เดือนละครั้งในทุกเดือน ผลมะละกอจะขยายอย่างต่อเนื่อง
- ในเดือนที่ 4 จะเริ่มติดผลเล็ก ช่วงนี้อย่าให้ขาดน้ำ และใส่ปุ๋ยสูตร 13-13-21? อัตรา 20 กิโลกรัมคลุกด้วยแร่โปร-ฟอส อัตรา 2 กิโลกรัม หว่านต้นละ 200 กรัมต่อต้น ทุก ๆ 15 วันไปตลอด โดยสังเกตถึงสีของใบเป็นหลัก ถ้ารู้สึกว่าใบเหลือง ให้ผสม ปุ๋ย 46-0-0? อัตรา 50 กรัมต่อน้ำ 20 ลิตร ผสมด้วย เมจิค-โปรอัตรา 20 ซีซีต่อน้ำ 20 ลิตร
- ทางใบให้ฉีด บี เอ็ม โปร เพื่อป้องกันแมลงและแมลงหวี่ขาว ฉีดสลับกับเบส ชอยส์-โปรเพื่อป้องกันโรคเกี่ยวกับเชื้อราต่าง ๆ ไว้ เพราะช่วงนี้เมื่อติดลูกจะเริ่มมีเชื้อราเริ่มเข้าทำลาย

การกำจัดวัชพืช
- ในระยะที่ปลูกมะละกอใหม่ ๆ เกษตรกรสามารถปลูกพืชแซมร่วมกับมะละกอในช่องว่างระหว่างแถว ระหว่างต้น เมื่อมีวัชพืชขึ้น การดายหญ้าพืชแซมควรดายหญ้ามะละกอไปด้วย แต่การดายหญ้าด้วยจอบควรระวังคมจอบสับต้นหรือรากมะละกอ จะทำให้ต้นมะละกอชะงักการเจริญเติบโต หรือทำให้เกิดโรครากเน่าได้ ทางที่ดีควรใช้เศษหญ้าแห้งหรือฟางข้าวคลุมโคนให้หนา ๆ จะทำให้ไม่มีเมล็ดหญ้างอกใหม่ การปลูกมะละกอนั้นไม่ควรใช่ยากำจัดวัชพืชโดยเด็ดขาด เพราะมะละกอนั้นอ่อนไหวต่อยากำจัดวัชพืชมาก
- การกำจัดวัชพืชนั้น สามารถใช้ปุ๋ย ยูเรีย ปริมาณ 4 กิโลกรัมผสมน้ำ 20 ลิตรฉีดวัชพืชในเวลากลางวัน แต่ต้องใส่หัวครอบไม่ให้ฟุ้งกระจายไปโดนใบมะละกอโดยเด็ดขาดจะทำให้ใบไหม้ได้ เมื่อฉีดไปแล้วให้หว่านแร่เทคโตมิคตามลงไปเพื่อจับปุ๋ยกลับมาให้มะละกอได้ กินใหม่ ไม่เสียเปล่า

การออกดอกติดผล
- มะละกอเป็นพืชที่มีดอก 3 ชนิดอยู่คนละต้น คือ
- ต้นตัวผู้ จะมีดอกตัวผู้ล้วนเป็นจำนวนมากอยู่บนก้านช่อยาวที่แตกแขนง ถ้าพบควรตัดทิ้งไปเพราะไม่ให้ผลผลิต หรือให้ผลได้ก็ไม่สามารถจำหน่ายได้คุ้มค่าเท่าต้นตัวเมีย
- ต้นตัวเมีย จะมีแต่ดอกเพศเมียเท่านั้น ดอกจะออกมาจากส่วนมุมด้านใบติดลำต้น เป็นดอกเดี่ยวหรือดอกช่อ รังไข่มีรูปร่างป้อม ให้ผลค่อนข้างกลม ช่องว่างในผลมีมากจึงไม่ค่อยนิยมเช่นกัน
- ต้นสมบูรณ์เพศ หรือต้นกระเทย จะมีช่อดอกติดกันเป็นกลุ่ม ต้นสมบูรณ์เพศจะมีดอกสมบูรณ์เพศและดอกตัวผู้อยู่ในช่อดอกเดียวกัน และดอกสมบูรณ์เพศจะมี 3 ชนิดตามตำแหน่งของเกสรตัวผู้ ดอกสมบูรณ์เพศชนิดธรรมดาทำให้ผลมีรูปร่างทรงกระบอกสวย เป็นที่นิยมของตลาด ผลที่เกิดจากดอกสมบูรณ์เพศที่ดอกตัวผู้ติดอยู่กับรังไข่ทำให้ผลบิดเบี้ยวและ ดอกสมบูรณ์เพศที่ทำให้ผลเป็นพลูลึก ผลจากดอกสมบูรณ์เพศสองชนิดหลังนี้ไม่เป็นที่ต้องการของตลาด ดังนั้นเกษตรกรผู้ปลูก ต้องหมั่นคอยตรวจดูและปลิดออกตั้งแต่ผลยังเล็ก ๆ นอกจากนั้นแม้ว่ามีดอกสมบูรณ์เพศชนิดธรรมดา แต่ถ้าช่อดอกแตกแขนงและติดผลดก ผลจะเบียดกันมาก ทำให้ผลเล็กได้ จึงขอแนะนำให้เด็ดผลที่อยู่ที่แขนงบข้างออก ให้เอาไว้แต่ผลที่ปลาย ช่อดอกจึงจะได้ผลใหญ่สม่ำเสมอกันทั้งต้น ถ้าทำทั้งสวนจะทำให้มีขนาดผลเกินมาตรฐาน จะสามารถขายง่ายและป้องกันการโค่นล้มได้อีกด้วย
- ดังนั้นเมื่อมะละกอที่ปลูกเมื่อมีดอกแล้วจึงจำเป็นต้องคัดให้เหลือต้นที่มีดอกสมบูรณ์เพศเท่านั้น

แมลงของมะละกอ
- ไรแดง มีลักษณะคล้ายแมงมุม มี 6 ขา ตัวเล็กมาก จะมีใยคล้าย ๆ แมงมุมอยู่บริเวณยอด หรือเข้าทำลายโดยดูดน้ำเลี้ยงจากส่วนต่าง ๆ ของมะละกอ เช่น ใบ ผล ดอก หรือส่วนอ่อน ๆ ของพืช มักจะระบาดในช่วงที่มีอากาศร้อน และแห้ง ถ้าพบระบาดมากสามารถใช้สารเคมีประเภท ไดฟอน? โพพาไกด์? พอสซ์? ไดโนทีฟูเรน โดยใช้ตามคำแนะนำที่ติดอยู่บนฉลากยา หรือป้องกันด้วยการฉีด บี เอ็ม โปร ป้องกันกำจัดไข่และตัวอ่อนไว้ก่อน ก็จะไม่พบการระบาด
- เพลี้ยไฟ เป็นศัตรูที่สำคัญของมะละกออีกชนิดหนึ่ง โดยมีลักษณะการทำลายโดยการดูดกินน้ำเลี้ยงจากส่วนต่าง ๆ ของพืชเป็นพาหะของเชื้อไวรัส มักระบาดช่วงฤดูร้อน การป้องกันทำได้โดยการฉีดบี เอ็ม โปร สลับกับการฉีดสารเคมีกำจัดซึ่งต้องเปลี่ยนสารอยู่เสมอ ไม่ควรฉีดชนิดใดชนิดหนึ่ง ยาที่ใช้ได้ผลคือ ไดเมทโธเอท คาร์โบซัลแฟน โปรวาโด ?อิมิดาคลอพริด แอสเซนด์
- เพลี้ยอ่อน เป็นแมลงศัตรูที่สำคัญอีกชนิดหนึ่ง โดยมีลักษณะการทำลายโดยการดูดกินน้ำเลี้ยงจากส่วนอ่อนของต้นมะละกอ เช่น ใบอ่อน ยอดอ่อน ดอกหรือส่วนอ่อนของลำต้น ที่สำคัญเพลี้ยอ่อนยังเป็นพาหะก่อให้เกิดโรคใบด่าง ซึ่งเป็นโรคร้ายแรงของมะละกอด้วย การป้องกันควรฉีด คลอไพริฟอสผสมกับปิโตเลียม ออยย์ หรือฉีด บี เอ็ม โปร ป้องกันไว้ตลอด
- แมลงหวี่ขาว เป็นพาหะสำคัญอีกตัวหนึ่ง มักจะดูดน้ำเลี้ยงและปากเป็นพาหะให้เกิดโรคไวรัสวงแหวนได้ มักจะพบเวลาช่วงเช้าหรือเย็นเมื่อเดินแล้วพบการบินของแมลงปีกขาว ๆ เล้ก ๆ แสดงว่าพบการระบาดแล้ว เมื่อพบการระบาดควรพ่นกำจัดด้วย พอสซ์? สตาร์เกิล? หรือพ่นสลับด้วย บี เอ็ม โปร ให้ฉีดให้ทั่วทั้งบริเวณหญ้าด้วย
- เพลี้ยแป้ง มักจะพบระบาดในช่วงฤดูแล้ง เกาะดูดน้ำเลี้ยงใต้ใบ ใบจะหงิก หด จะเข้าเกาะกินบริเวณตาทำให้ลำต้นบิดเบี้ยว ถ้ากินผล ผลจะบิดเบี้ยว? ถ้าระบาดมากทำให้ต้นมะละกอตายได้ การกำจัด ใช้เคมี แอสเซนด์ผสมด้วยไวท์ออยย์ หรือ คลอไพริฟอสผสมด้วยไวท์ออยย์ หรือฉีดสลับกับ บี เอ็ม โปร

โรคของมะละกอที่น่ากลัวมีดังนี้
- โรคใบด่างจุดวงแหวน เกิดจากเชื้อ Papaya ringspot virus เชื้อเข้าทำลายได้ทุกระยะการเจริญเติบโตของมะละกอ เข้าต้น จะทำให้ต้นแคระแกร็น ใบด่างเหลือง บิดเบี้ยวเสียรูป ใบจะหงิกงอเรียวเล็กเหมือนหางเรือใบ จะเหลือแต่เส้นใบดูเหมือนเส้นด้าย และต้นกล้าอาจตายได้หรือไม่เจริญเติบโตในต้นที่โตแล้วใบบิดเบี้ยว หงิกงอ ยอดและใบมีสีเหลืองกว่าต้นที่ไม่เป็นโรค และจะสังเกตเห็นลักษณะจุดหรือทางยาวสีตามก้านใบ ลำต้น การติดผลจะไม่ดีหรือไม่ติดเลย? ถ้าเข้าผลมะละกออาจบิดเบี้ยว มีจุดลักษณะเป็นวงแหวน ทั่วทั้งผล แผลมีลักษณะคล้ายสะเก็ด โรคนี้สามารถแพร่ระบาดไปได้โดยมีเพลี้ยอ่อนหลายชนิดเป็นพาหะ โดยเพลี้ยอ่อนจะดูดน้ำเลี้ยงจากต้นที่เป็นโรคเชื้อไวรัสจะติดอยู่กับส่วนปาก แมลง ๆย้ายไปดูดน้ำเลี้ยงจากต้นที่ไม่เป็นโรค ก็จะถ่ายเชื้อไวรัส การถ่ายทอดโรคนี้ใช้เวลาสั้นมาก ภายหลังจากมะละกอได้รับเชื้อไวรัสแล้วประมาณ 15-30 วินาที ก็จะแสดงอาการของโรค การป้องกันและกำจัด ต้องใช้เชื้อราไตรโครเดอร์มาฉีดที่แปลงปลูกก่อนที่จะปลูกมะละกอ และฉีดป้องกันด้วยเบส ชอยส์-โปร อยู่เพื่อป้องกันการเข้าทำลายของไวรัส และต้องคอยหมั่นตรวจดูอย่าให้พบเพลี้ยอ่อน ถ้าพบระบาดต้องรีบกำจัด? ถ้าเป็นมากต้องถอนทิ้งและเผาทำลาย? ถ้าเริ่มแสดงอาการบางต้นให้พ่นสารเคมีประเภทโพลคลอราช+พิโคลนาโซน+สารโปร-พลัส No.1 จึงจะฟื้นตัวได้

- โรคแอนแทรคโนส เกิดจากเชื้อรา Colletotrichum gioeosporeioides ลักษณะอาการของโรค ใบ จะเป็นจุดขอบแผลสีน้ำตาล เนื้อเยื่อส่วนกลางจะมีสีซีดจาง และมักจะขาดเป็นรูทะลุในเวลาต่อมา มักพบจุดดำเล็ก ๆ กระจายทั่วบริเวณแผล ซึ่งคือส่วนขยายพันธุ์ของเชื้อรา ผล เห็นได้ชัดเมื่อเกิดกับผลสุก จะเกิดลักษณะแผลกลมฉ่ำน้ำ และยุบลงในแผล ตรงกลางจุดจะมีสปอร์ของเชื้อสีส้มหรือสีชมพูเป็นวงชั้นๆ บริเวณแผลและแผลจะลุกลามขยายตัวไปทั่ว ทำให้ผลมะละกอเน่าเสียในเวลารวดเร็ว โดยเฉพาะในสภาพอากาศอบอ้าว? การป้องกัน ควรฉีดสารเคมีตระกูล ดาโคนิล หรือแอนทราโคล หรือโปรคลอราช+คาร์เบนดาซิมถ้าป้องกันใช้เบส ชอยส์-โปร ฉีดตั้งแต่เริ่มติดผลจะทำให้ไม่เกิดอาการของโรคได้
ดังนั้นการปลูกมะละกอจะว่ายากก็ยากจะว่าง่าย ก็ง่าย ทั้งนี้อยู่ที่การดูแลเอาใจใส่ในรายละเอียดในทุกขั้นตอนของการปลูก การป้องกันเป็นเรื่องที่สำคัญที่สุด การทำให้พืชแข็งแรงตั้งแต่ต้น การให้ปัจจัยการเจริญเติบโตอย่างถูกวิธี การเก็บเกี่ยวอย่างถูกวิธี การเตรียมแปลงและกำจัดพาหะอยู่สม่ำเสมอ ก็จะทำให้ผลผลิตออกมาได้คุมค่าต่อการลงทุน หวังว่าเกษตรกรคงได้รับประโยชน์จากแนวทางการปลูกนี้ไม่มากก็น้อย

ด้วยความปรารถนาดี
อาจารย์เล็ก โปรพลัส

การใช้ใบมะละกอกำจัดเพลี้ยแป้ง

ใช้ใบมะละกอช่วยกำจัดเพลี้ยแป้ง
เพลี้ยแป้ง กลายเป็นแมลงศัตรูพืชที่สำคัญหลายชนิด ทั้งพืชผัก พืชไร่ ไม้ผล เมื่อเข้าทำลายแล้วย่อมเกิดความเสียหายต่อผลผลิตอย่างแน่นอน และยากที่จะกำจัดให้กมดไปได้ด้วยการฉีดพ่นสารเคมีในครั้งเดียว เนื่องจากมีไขเคลือบตัวไว้หนา และยังมีมดเป็นพาหะที่สำคัญ จึงพบว่าเมื่อกำจัดไปได้ไม่นาน มเพลี้ยแป้งก็จะกลับมาทำลายพืชผลให้ได้รับความเสียหายอยู่ร่ำไป ซึ่งปัญหานี้สำหรับคุณบุญล้อม เฉิดไธสงค์ เกษตกร บ้านห้วยค้อ ต.หนองแวงนาเป้า อ.พล จ.ขอนแก่น ได้มีการคิดค้นสูตรสมุนไพรที่มีส่วนผสมของใบมะละกเป็นหลัก และมีอยู่ทั่วไปในท้องถิ่นมาใช้กำจัดเพลี้ยแป้ง ซึ่งได้ผลเป็นที่น่าพอใจ จึงอยากเผยแพร่สูตรดังกล่าวไว้ ณ ที่นี้


ส่วนผสม และวัสดุอุปกรณ์

1.ใบมะละกอสด 5 ก.ก.

2.ยาฉุน 2 ขีด
3.น้ำหมัก EM สูตรสมุนไพร 1 ช้อนโต๊ะ
4.น้ำเปล่า 5 ลิตร
5.ถุงมือแพทย์

วิธีการทำ

นำเอาใบมะละกอสด มาขยี้คั้นเอาแต่น้ำ ผสมยาฉุนขยี้และกรองเอาแต่น้ำ ผสมน้ำหมัก EM สูตรสมุนไพร 1 ช้อนโต๊ะ คนให้เข้ากัน

วิธีการนำไปใช้

นำเอาน้ำสกัดหยอดน้ำมันพืชลงไป 1 ช้อนชา นำไปฉีดพ่นทางใบ โดยไม่ต้องผสมน้ำอีก บริเวณเกิดการระบาดของเพลี้ยที่เกิดจากพืชทุกชนิด อาทิ พริก ถั่วฝักยาว มะเขือ แตงกวา เป็นต้น สรรพคุณสามารถกำจัดเพลี้ยแป้ง เพลี้ยดำ แมลงหวี่ แมลงวันทอง ได้

ประโยชน์

1.ลดการใช้สารเคมี ลดต้นทุนเกษตรกร
2.ผลผลิตทางการเกษตรปลดสารพิษ

ที่มา : ศูนย์ทางด่วนข้อมูลการเกษตร *1677
สถานีวิทยุร่วมด้วยช่วยกัน จ.ขอนแก่น

10 ความคิดเห็น:

  1. เป็นประโยชน์มากเลยครับ

    ตอบลบ
  2. ข้อมูลชัดเจนครบถ้วนสมบูรณ์

    ตอบลบ
  3. ขอบคุณครับ สำหรับวิธีการปลูกมะละกอ มีประโยชน์มากครับสำหรับมือใหม่

    ตอบลบ
  4. กำลังมองหาอยู่พอดีเลยครับ

    ตอบลบ
  5. เยี่ยมครับ ข้อมูลละเอียดขอบคุณสำหรับความรู้ที่ได้รับ

    ตอบลบ
  6. เยี่ยมค่ะ กำลังจะปลูกมะละกอแขกนวลสัก 10 ไร่ค่ะ..

    ตอบลบ
  7. ยาหาซื้อได้ทั่วไปไหมคะ

    ตอบลบ
  8. ขอบคุณมากครับ ได้ความรู้ใหม่ๆปลอดสารพิษ ดีมากๆครับ

    ตอบลบ