ไผ่กิมซุ่ง เป็นชื่อทางการค้าของไผ่ในสกุลไผ่ป่าชนิดหนึ่ง คือสกุล Bambusa มีชื่อวิทยาศาสตรว่า Bambusa beecheyama ไผ่ตัวนี้มีชื่อทางการค้าอีกหลายชื่อคือ ไผ่ตงไต้หวัน ไผ่จีนเขียวเขาสมิง ไผ่ตงลืมแล้ง ไผ่ตงอินโด ไผ่ทองสยาม ไผ่หวานต่างๆ เป็นต้น ไผ่กิมซุ่งไม่มีท่านใดทราบโดยมีหลักฐานว่าเข้ามาในประเทศไทยตั้งแต่เมื่อ ไหร่ ไผ่ตัวนี้มีอายุกี่ปีแล้ว และไผ่กิมซุ่งจะอยู่ไปอีกกี่ปีจึงจะออกดอก จากประสบการณ์ ผมได้พบต้นที่เก่าแก่มากๆ เกษตรกรปลูกโดยไม่สนใจ ไม่เคยสางกอเลย กอใหญ่อัดแน่นมาก มีชาวบ้านมาเอาหน่อไปกินทั้งหมู่บ้าน แต่ก็ไม่ได้สนใจที่จะทำเป็นการค้า จากการสอบถามชาวบ้าน ชาวบ้านบอกว่าได้ปลูกมา 25 ปีกว่าแล้ว หน่อก็ยังออกดกเป็นปรกติอยู่ ผมดูแล้วดกมาก นับว่าไผ่ตัวนี้น่าสนใจทีเดียว ผมนำมาปลูกในสวนได้ 5 ปีแล้ว และเพื่อนๆกลุ่มเดียวกันก็นำไปปลูกพร้อมกัน ทำนอกฤดูในแนวเดียวกัน พบว่าไผ่กิมซุ่งสามารถทำให้ออกหน่อทะวายได้ตลอดทั้งปีถ้ามีการให้น้ำและปุ๋ย อย่างเพียงพอ และสามรถทำให้ออกหน่อได้ตั้งแต่เดือนธันวาคมเป็นต้นไปซึ่งเป็นช่วงที่ไม่มี ฝน และหน่อไม้ตามท้องตลาดมีน้อย หน่อไม้จะมีราคาดีที่สุด การปลูกไผ่กิมซุ่งสามารถแนะนำได้ดังนี้
การเตรียมดิน
พื้นที่ปลูก เกษตรกรควรเลือกพื้นที่ ที่เป็นดินทราย หรือดินร่วนปนทราย หากเป็นดินเหนียวหรือดินลูกรังก็ปลูกได้ แต่จะต้องปรับปรุงดินรอบๆกอไผ่ด้วยอินทรีย์วัตถุมากหน่อย รากไผ่กิมซุ่งแข็งแรงและหาอาหารเก่ง สามารถปลูกได้ทุกสภาพดิน หากเป็นพื้นที่ดอนหรือที่ที่น้ำไม่ท่วมขัง ก็สามารถปลูกได้ทุกเวลา หรือถ้าปลูกในฤดูฝนก็จะยิ่งดี ควรจะปลูกตั่งแต่เดือนพฤษภาคม แต่ถ้าพื้นที่ของเกษตรกรเป็นพื้นที่นาหรือที่ต่ำน้ำท่วมขังควรจะเลือกปลูก ในฤดูแล้งคือควรจะเริ่มปลูกในเดือนตุลาคมถึงพฤศจิกายน เพราะพื้นที่ต่ำถ้าปลูกในช่วงฤดูฝนในขณะที่ฝนตกชุก กล้าไผ่ที่ปลูกใหม่ยังไม่มีรากมากนัก ยังไม่แข็งแรง หากมีน้ำขังหลุมปลูกมาก ต้นไผ่ที่ยังเล็กจะเหลือง รากเน่าไม่ค่อยโตและอาจตายไปในที่สุด ถ้าเกษตรกรเลือกปลูกไผ่ช่วงเดือนตุลาคม เมื่อเข้าฤดูแล้งก็ให้น้ำให้ปุ๋ยดูแลอย่างต่อเนื่อง เกษตรกรมีเวลาบำรุงประมาณ 6 เดือนพอฤดูฝนมาต้นไผ่ก็แข็งแรงพอที่จะต่อสู้กับสภาพดินที่ชื้นแฉะเมื่อมีฝน ตกบ่อยๆ หากไผ่แข็งแรงแล้วจะไม่พบสภาพใบเหลืองเหมือนกับการปลูกด้วยกล้าเล็กในฤดูฝน การเตรียมพื้นที่โดยทั่วไปควรจะไถพื้นที่ตั้งแต่ช่วงฤดูแล้งเพื่อเปิดหน้า ดินและตากดินไว้ พอฝนมาก็ให้ไถดะอีกรอบพร้อมทั้งไถแปร จากนั้นคาดดินให้เรียบ จึงพร้อมที่จะปลูกไผ่ได้ต่อไป
วีธีการปลูกไผ่กิมซุ่ง
ไผ่กิมซุ่งจะใช้ระยะปลูก ระยะระหว่างแถว 4 เมตร ระยะระหว่างต้น 4 เมตร จะใช้ต้นพันธุ์ อยู่ที่ 100 ต้นต่อไร่ จะเก็บหน่อไม้อยู่นานได้ 5 ปีถึง 7 ปี กว่ากอจะชนกัน แต่หากเกษตรกรใช้ระยะปลูกคือระยะระหว่างแถว 6 เมตร ระยะระหว่างต้น 4 เมตร จะใช้ต้นพันธุ์ 66 ต้น จะเก็บหน่อได้นานขึ้น ประมาณ 7 ปี ถึง 10 ปีกว่ากอจะชนกัน หลุมปลูกไผ่กิมซุ่ง จะขุดหลุมที่ระยะ 30*30*30 เซนติเมตรถ้าพื้นที่เป็นดินร่วนถึงร่วนปนทราย (แต่ถ้าเป็นดินลูกรังปนหินควรจะขุดให้กว้างกว่านี้เป็น 50*50*50 และหาดินดำ แกลบ ขี้เถ้าแกลบหรือปุ๋ยคอกเก่า คลุกหลุมก่อนปลูก ) ถ้าหากเกษตรกรจะรองก้นหลุมก็ควรจะใช้ ขี้เถ้าแกลบไม่ควรจะใช้ปุ๋ยคอกเพราะถ้าปลูกในฤดูฝนหากฝนตกหนักจะทำให้รากไผ่ ที่กำลังออกมาใหม่ๆ เน่าได้ทำให้ต้นไผ่กิมซุ่งเหลือง ชะงักการเจริญเติบโต กว่าจะโตก็นานขึ้น เวลาปลูกที่ดีคือเดือน พฤษภาคม เมื่อได้กล้าไผ่กิมซุ่งมาก็ทำการปลูก ควรจะปลูกให้ดินที่ปากถุงเสมอดินเดิมที่ปลูก ไม่ควรจะปลูกต่ำกว่าดินเดิมที่เตรียมไว้ เพราะถ้าฝนตกหนักจะทำให้รากไผ่ที่งอกมาใหม่ๆเน่าได้จากน้ำฝนที่ขังนานๆ
ถ้าหากพื้นที่ของเกษตรกรเป็นพื้นที่ต่ำ ไม่ควรจะปลูกในฤดูฝน ในฤดูฝน ฝนจะตกหนัก ทำให้น้ำขังหลุมบ่อย จะทำให้ไผ่กิมซุ่งเหลืองและจะไม่โต แม้ว่าไม่ตายแต่ก็ไม่โต ไผ่กิมซุ่งแม้ว่าน้ำท่วมจะไม่ตายแต่ก็ต้องกอใหญ่มากกว่า 1 ปีไปแล้ว แต่ถ้าปลูกใหม่ๆยังไม่ทนต่อน้ำท่วมขังบ่อยๆ พื้นที่ต่ำควรจะปลูกในเดือนตุลาคม ในฤดูแล้งก็ต้องให้น้ำ แต่พอย่างเข้าฤดูฝนไผ่กิมซุ่งก็ตั้งตัวได้และทนสภาพน้ำขังเมื่อฝนตกหนักได้ พื้นที่ต่ำควรจะขึ้นแปลงทำร่องระบายน้ำด้วยครับ
การดูแลไผ่กิมซุ่งเมื่อปลูกไปแล้วว่าจะทำอย่างไรให้ไผ่กิมซุ่งโตต่อเนื่อง ไม่หยุดชะงักเพื่อให้โตพอที่จะมีลำใหญ่ที่จะใช้เป็นลำแม่ มีอย่างน้อย 2-3 ลำเป็นลำที่มีขนาด ไม่ต่ำกว่า 1.5-2 นิ้วขึ้นไปภายในเวลาไม่เกิน 8 เดือน เพื่อจะเก็บหน่อไปกิน ขาย หรือแจกได้ ตรงนี้ไม่ใช่เรื่องง่ายนัก เกษตรกรจะต้องมีเวลาอยู่กับต้นไผ่ ถ้าคิดว่าไผ่เหมือนไม้ป่าทั่วไป ไงๆก็ต้องโตดีแน่ๆ ไม่ต้องสนใจมากนัก นานๆมาดูสักครั้ง อย่างนี้พอแปดเดือนตามที่ผู้ขายพันธุ์ว่าไว้ก็ยังไม่ได้ต้นใหญ่ ก็หาว่าผู้ขายพันธุ์โกหก แต่หากเกษตรกรคิดว่าปลูกไผ่เหมือนปลูกผัก ต้องดูแล กำจัดหญ้า ให้น้ำ ให้ปุ๋ยตามี่ไผ่กิมซุ่งต้องการ ดูบ่อยๆเห็นปัญหา เห็นการเปลี่ยนแปลง ถ้าคิดอย่างนี้ไม่เกิน 8 เดือนได้ลำใหญ่พร้อมที่จะเก็บหน่อกิน ขาย แจกได้แน่นอน
การให้ปุ๋ยกับไผ่กิมซุ่ง
หลังจากปลูกไผ่กิมซุ่งไปแล้ว ให้น้ำเพียงอย่างเดียวไปสักระยะหนึ่ง (ถ้าฝนตกก็ไม่ต้องให้) รอเวลาผ่านไปประมาณ 40 วันสังเกตุต้นไผ่กิมซุ่งดู ถ้ามียอดอ่อนแตกใหม่ หมายความว่ารากของไผ่กิมซุ่งเริ่มออกหาอาหารแล้ว ก็สมควรให้ปุ๋ยได้แล้ว ไผ่กิมซุ่งถ้ายังสร้างใบได้ไม่มากพอก็จะยังไม่ยอมแตกหน่อใหม่ เกษตรกรควรจะให้ปุ๋ยอย่างต่อเนื่องและพอเพียง ไผ่กิมซุ่งถึงจะมีใบเขียวเข้มและพร้อมที่จะสร้างหน่อแรก การให้ปุ๋ยเมื่อปลูกไผ่กิมซุ่งในระยะแรกๆ ต้นไผ่ยังเล็กอยู่ต้องระวังเรื่องปุ๋ยต้องไม่มากจนเกินไปเพราะความเข้มข้น ของปุ๋ยจะทำให้รากไผ่ที่แตกออกมาใหม่ๆและมีน้อยอยู่เน่าและแห้งไปได้
- ปุ๋ยครั้งแรกเมื่อปลูกไผ่ผ่านไปประมาณ 40 วัน ถ้าใช้มูลวัวแห้ง 3 กระป๋องนมมะลิโรยรอบๆกอไผ่ พอเดือนที่ 3 หลังปลูกใช้มูลวัวแห้งเพิ่มขึ้นได้ เป็น 10 กระป๋องนมมะลิ โรยรอบๆกอไผ่ พอเข้าเดือนที่ 6 หลังปลูกก็ให้เพิ่มเป็น 1 ถังน้ำขนาด 10 ลิตรที่ใช้ทั่วๆไปโรยรอบๆกอไผ่ให้กว้างขึ้น ก่อนให้มูลวัวควรกำจัดหญ้าก่อนทุกครั้งเพื่อไม่ให้แย่งปุ๋ยกับไผ่และควรหา ฟางข้าวหรือแกลบหรือหญ้าแห้งกลบเมื่อไผ่ยังเล็กๆอยู่จะทำให้หญ้าขึ้นช้าและ อุณหภูมิของดินไม่เปลี่ยนแปลง ต้นไผ่จะโตเร็วขึ้น
-ปุ๋ยครั้งแรกถ้าให้เป็นมูลไก่ไข่จะให้น้อยกว่ามูลวัวเพราะมูลไก่มีความเข้ม ข้นสูงกว่า จะให้ครั้งแรกเมื่อปลูกไผ่ผ่านไปประมาณ 40 วัน ใช้มูลไก่ไข่ 1 กระป๋องนมมะลิ โรยรอบๆต้นไผ่ห่างจากโคนต้นไผ่ประมาณ 20 เซนติเมตร อย่าใส่ชิดโคนไผ่เด็ดขาดเพราะมูลไก่ไข่มีความเข็มข้นสูงมาก ใส่ห่างให้รากไผ่ออกไปเลือกกินเอง รากไผ่จะรู้วิธีว่าจะเข้าหามูลไก่ยังไงเอง พอเดือนที่ 3 หลังจากปลูก ให้มูลไก่ไข่ 2 กระป๋องนมมะลิ โดยโรยรอบๆกอไผ่ห่างจากโคนไผ่ราวๆ 20 เซนติเมตรเช่นเดิม (แต่กอไผ่เริ่มมีหน่อใหม่การใส่จึงห่างจากจุดเดิม) พอเข้าเดือนที่ 6 หลังจากปลูกให้ใส่มูลไก่ไข่ประมาณ 1 กระป๋องน้ำมันเครื่องขนาด 5 ลิตรตัดเป็นปากฉลามแล้วตัดใส่ 1 ครั้งโรยรอบๆ กอไผ่ห่างจากกอราวๆ 20-30 เซนติเมตร (กอไผ่เริ่มมี หลายลำ) ก่อนที่จะใส่มูลไก่ควรจะกำจัดหญ้ารอบๆกอไผ่ก่อนเพื่อไม่ให้แย่งปุ๋ยกับต้น ไผ่ และเมื่อใส่ปุ๋ยแล้วหาวัสดุคลุมดินเช่นฟางข้าว หญ้าแห้ง หรือแกลบใส่รอบๆโคนไผ่เพื่อไม่ให้หญ้าขึ้นไวและรักษาอุณหภูมิของดินและความ ชื้น
-ส่วนการใช้ปุ๋ยเคมี ถ้าใช้ได้ร่วมกับปุ๋ยมูลวัวแห้งหรือมูลไก่ไข่ก็จะยิ่งทำให้ต้นไผ่โตดีและ เร็ว ในระยะ 40 วันหลังจากปลูกไผ่แล้ว ก็ให้ใช้ปุ๋ย 46-0-0 หรือยูเรียละลายน้ำโดยใช้ปุ๋ยยูเรีย 3 ช้อนโต๊ะ(ห้ามใช้ยูเรียมากกว่านี้เพราะจะทำให้ต้นไผ่เหี่ยวตายได้เพราะต้น ไผ่ยังเล็กและมีรากน้อยอยู่) ต่อน้ำ 10 ลิตร ละลายให้เข้ากับน้ำ แล้วนำไปรดที่โคนไผ่โดยให้ต้นละ 1 แก้วน้ำ
รดทุกๆ 15 วันจนไผ่มีใบเขียวเข้มและเริ่มสร้างหน่อแรก และเมื่อสร้างหน่อที่สอง ก็เริ่มหยุดรดปุ๋ยน้ำได้ ต่อไปเมื่อไผ่มีอายุได้ 4 เดือนหลังจากปลูกเป็นต้นไป (กอไผ่เริ่มมีลำและหน่อไม่ต่ำกว่า 3-4 ลำแล้ว) ก็ให้ใช้ปุ๋ย 46-0-0 ผสมกับปุ๋ย 15-15-15 อย่างละ 1 ส่วน แล้วนำไปใส่บริเวณรอบๆโคนไผ่ โดยใส่ใต้ปุ๋ยคอกที่ใส่ไว้แล้ว โดยแบ่งใส่สัก 4 จุด ห่างจากโคนต้นไผ่ราวๆ 30 เซนติเมตร ใส่จุดละ ครึ่งช้อนโต๊ะ จะใส่ปุ๋ยสูตรนี้เดือนละ 1 ครั้ง เพราะเป็นช่วงที่ไผ่กิมซุ่งสร้างกอ จะมีหน่อแทงออกมาตลอด เกษตรกรจะได้ลำไผ่ใหญ่เร็วภายในไม่เกิน 8 เดือน
เกษตรกรบางท่านอาจจะใช้ปุ๋ยน้ำหรือปุ๋ยอินทรีย์น้ำที่ทำเองมารดร่วมได้เพื่อ เพิ่มจุลลินทรีย์ในดินใต้กอไผ่ และบางสวนก็อาจจะมีการใช้ปุ๋ยอินทรีย์อัดเม็ดตราต่างๆผสมกับปุ๋ยเคมีที่ใส่ ได้ ซุ่งการให้ปุ๋ยก็เป็นการเพิ่มต้นทุนอย่างหนึ่งอยู่ที่ตัวเกษตรกรเองแต่ขอให้ ใส่แล้วงามไม่ใช่ปุ๋ยปลอม
เมื่อเริ่มเก็บหน่อจำหน่ายจะใส่ปุ๋ยเดือนละครั้งหรือเร็วกว่านี้ขึ้นอยู่กับ ว่าเกษตรกรตัดหน่อออกไปมากน้อยเพียงใด ถ้าตัดหน่อไปมาก ต้นไผ่จะเสียอาหารมาก อาหารที่ให้จะถูกใช้หมดอย่างรวดเร็ว ให้สังเกตุดูว่าถ้าหน่อมีขนาดเล็กลง หลายหน่อเริ่มลีบนั่นก็คือต้องให้ปุ๋ยได้แล้วโดยใช้ปุ๋ยคอกเช่นมูลไก่ร่วม กับปุ๋ยเคมี( 46-0-0 บวกกับ 15-15-15 อัตรา 1 ต่อ 1 ใส่กอละ สองกำมือ) ใส่โดยใช้หว่านให้ทั่วๆทรงพุ่มได้แล้วเพราะใต้โคนไผ่ไม่มีแดดส่องและรากไผ่ มีอยู่กระจายทั่วไป ปุ๋ยที่ใส่จะไม่สูญเสียไปไหน เมื่อใส่ปุ๋ยต้องให้น้ำทันทีเพื่อให้ปุ๋ยละลาย และเมื่อเข้าสู่ฤดูฝนและเกษตรกรไม่เก็บหน่อแล้วก็ลดปุ๋ยลงได้เหลือเพียงใส่ พอประมาณโดยให้ปุ๋ยคอกเพียงอย่างเดียวเพื่อให้ลำแม่สร้างลำแม่ใหม่ได้สมบรู ณ์
การกำจัดวัชพืชกำจัดรอบๆกอก่อนที่จะใส่ปุ๋ย ถ้าเกษตรกรให้ปุ๋ยต่อเนื่องไม่เกิน 3 เดือนหลังจากปลูก ไผ่ของเกษตรกรจะให้หน่อที่ 2 มีขนาดใหญ่ขึ้นกว่าหน่อแรกมาก
การให้น้ำไผ่กิมซุ่ง
หากเกษตรกรปลูกไผ่ในฤดูฝน แทบจะไม่ต้องให้น้ำเลย จะให้ก็ครั้งแรกที่ปลูกให้รดน้ำทันทีให้ชุ่มเพื่อให้ดินจับกันแน่น รากไผ่จะดูดน้ำได้ดินจะต้องจับกันแน่นกับรากเพื่อให้รากไผ่ดูดน้ำแบบระบบดูด ชึม(ออสโมซิส) ถ้าไม่รดน้ำทันที ถ้ามีแดดออกต้นไผ่จะเหี่ยว ฝนจะตกหรือไม่ตกต้องรดน้ำครั้งแรกที่ปลูกไว้ก่อน ตรงนี้สำคัญ เกษตรกรหลายคนไม่เข้าใจ คิดว่าปลูกในฤดฝนดินยังมีความชื้นอยู่ก็ไม่รดน้ำ หากฝนไม่ตกในวันที่ปลูกแบบหนักๆ ไผ่จะตายไปหลายต้นทีเดียว ส่วนเกษตรกรที่เลือกปลูกไผ่ในฤดูแล้งเพราะที่ดินเป็นที่ลุ่มต่ำ ก็ต้องหาวิธีการให้น้ำ ถ้าปลูกใหม่ยังไม่ต้องลงทุนมากก็ใช้น้ำเข้าร่องตักรดไปก่อนได้ หรือถ้าปลูกไม่มากก็ใช้สายยางรดเป็นต้นๆไปก่อนได้ แต่เมื่อไม่ว่าจะปลูกหน้าฝนหรือหน้าแล้งพอปลูกไปได้ 8 เดือนไผ่กิมซุ่งพร้อมจะให้หน่อ ก็จำเป็นต้องลงทุนเรื่องระบบน้ำ เพราะกำลังจะมีรายได้จากการจำหน่ายหน่อ และไผ่กิมซุ่งต้องการน้ำมากในการให้หน่อ
ถ้าพื้นที่ปลูกเป็นที่ต่ำเช่นที่นา เกษตรกรอาจจะใช้การสูบน้ำเข้าขังท่วมพอประมาณโดยให้ทั่วๆทุกแปลงไผ่จากนั้น ก็หยุดให้น้ำ ปล่อยให้แห้งภายใน 1 วัน วิธีนี้เป็นวิธีที่ประหยัดและได้ผลดี เพราะต้นไผ่ได้น้ำเต็มที่จะทำให้หน่อดกมาก และความชื้นอยู่ได้นานหลายวัน พอเห็นว่าดินเริ่มแห้งก็สูบน้ำให้ใหม่ ราวๆประมาณ 10-15 วันก็สูบน้ำได้ แต่ในฤดูฝนไม่ต้องให้น้ำอาศัยน้ำฝนแต่หน่อก็ราคาถูกมากเหลืออยู่ที่กก.ละ 3-6 บาท
ถ้าพื้นที่ปลูกไผ่เป็นที่ลาดเท ที่ดอน พื้นที่ไม่เท่ากัน ก็จำเป็นต้องให้น้ำแบบสปิงเกอร์ โดยใช้สายพีอี ดีที่สุดใช้สายพีอีแบบ 25 มิลลิเมตร พื้นที่ 1 ไร่จะใช้สายพีอี 2 ม้วน ( 400 เมตร) ต่อกับท่อพีวีซี 2 นิ้วซึ่งเป็นท่อเมนต์ใช้ข้อต่อทดและวาวน้ำ และใช้ปั้มน้ำ 2 นิ้วมอเตอร์ 2-3 แรงม้า แถวของไผ่ที่ใช้สายพีอีไม่ควรจะเกิน 50 เมตรเพราะน้ำจะแรงจากต้นสายถึงปลายสาย ต้นไผ่ 1 กอถ้าช่วงที่ให้หน่อแล้วควรจะเจาะรูใต้กอไผ่ราวๆ 2-3 รูน้ำถึงจะพอที่จะทำให้หน่อออกดกและต่อเนื่อง ไผ่กิมซุ่งกินน้ำเก่งมาก ถ้าให้น้ำไม่พอหน่อจะไม่ค่อยออกในช่วงฤดูแล้ง การให้น้ำในช่วงฤดูแล้งคือเดือนพฤศจิกายน ถึงเดือนเมษายน จะให้ทุกๆ 3 วัน ครั้งละ 1-2 ชั่วโมงต่อแถวของไผ่ที่ให้ สังเกตุดูว่าจะให้น้ำนานเท่าไหร่ก็หาเหล็กเส้น 2 หุนแทงลงดินรอบๆกอไผ่ที่น้ำซึงไปถึง ถ้าแทงไม่เข้าก็ให้น้ำต่อไปอีก ถ้าแทงเข้าไป 10 เซนติเมตรก็ยังไม่พอ จะต้องแทงเหล็กให้เข้าดินลึกราวๆ 25 เซนติเมตรถึงจะชุ่ม เกษตรกรหลายคนบอกให้น้ำทุกวัน แต่ไม่เคยเอาเหล็กทดสอบแทงลงดินดู คิดว่าให้ทุกวันแล้วต้นไผ่พอกิน สายพีอีเป็นสายเล็กๆ ถ้าใช้เวลาน้อยน้ำที่ให้ไผ่จะไม่พอให้ไผ่กิน หน่อจะไม่ออก หรือออกน้อยในช่วงฤดูแล้งและเป็นช่วงที่หน่อมีราคาแพงเกษตรกรอยากให้หน่อออก มากๆ แต่น้ำให้ไม่มากพอหน่อก็ออกน้อย แต่พอฤดูฝนมาถึงก็อาศัยน้ำฝนต่อได้เลย แต่หน่อก็จะเริ่มถูกลงเพราะมีหน่อไม้อื่นๆออกมามากเพราะได้น้ำฝนเหมือนกัน
การตัดแต่งกิ่งและการไว้ลำไผ่กิมซุ่ง
ไผ่กิงซุ่งช่วงที่เกษตรกรไปซื้อจากร้านหรือสวนที่ขายพันธุ์ ถ้าเป็นไปได้ควรเลือกต้นกล้าไผ่กิมซุ่งที่มีรากเต็มถุงแล้ว สังเกตุคือถ้าจับต้นหิ้วแล้วไม่หลุดและให้ดูใต้ถุงดำว่ารากเดินทะลุถุงดำ หรือยัง และถ้ามีหน่อเล็กๆโผล่ออกมาจากดินยิ่งดีนั่นหมายความว่ากล้าไผ่กิมซุ่งที่ ร้านหรือสวนที่ขาย ได้ใส่ถุงนานไม่ต่ำกว่า 4 เดือนแล้วเกษตรกรจะได้กล้าที่แข็งแรงพร้อมที่จะแตกรากและออกหน่อได้ไวหลัง จากปลูก ระหว่างที่ปลูกต้องดูแล ให้น้ำ ให้ปุ๋ยกำจัดวัชพืช เมื่อให้ปุ๋ยไปได้ไม่นาน หน่อแรกก็จะออกมา เมื่อเกษตรกรให้ปุ๋ยต่อเนื่องโดยไม่ขาด หน่อที่สองก็จะออกมากและมีขนาดใหญ่กว่าหน่อแรกมาก การสร้างกิ่งและใบก็จะมีมากขึ้น ไม่เกิน 3 เดือนหลังจากปลูกก็จะได้หน่อที่ สาม ซึ่งมีขนาดใหญ่พอที่จะทำเป็นต้นแม่ได้ การตัดแต่งกิ่งจะยังไม่ควรทำในช่วง1 ถึง 6 เดือนหลังจากปลูก คอยแต่กำจัดวัชพืชอย่างเดียวเพื่อไม่ให้รกและแย่งอาหารจากไผ่ ที่เราไม่ตัดแต่กิ่งและใบไผ่กิมซุ่งเลยเพราะช่วงที่ไผ่กำลังสร้างกอต้องการ กิ่งและใบที่มีมากพอ ที่จะสร้างหน่ออย่างต่อเนื่อง ถ้าเราเผลอไปตัดใบไผ่ทิ้งจะทำให้การออกหน่อชะงักทันที เมื่อดูแลต่อไประหว่าง 4-6 เดือนหลังจากปลูก หน่อที่ให้ลำแม่ใหญ่จะออกมาได้
3 หน่อโดยทะยอยออก เกษตรกรจะต้องเลือกว่าจะไว้ลำไหนให้เป็นลำแม่สังเกตุดูว่าขนาดเส้นผ่าศูนย์ กลางลำจะต้องไม่ต่ำกว่า 2 นิ้ว พอหน่อเริ่มพุ่งสูงขึ้นโดยปล่อยให้สูงไปเรื่อยๆ พอเกิน 4 เมตรก็จะเริ่มเห็นข้อของลำไผ่ แต่ลำไผ่ยังไม่แตกกิ่งแขนงและใบ ลำยังอ่อนอยู่ให้ตัดยอดของลำทิ้งโดยตัดที่ประมาณ 3-4 เมตร การตัดช่วงที่ลำไผ่ยังไม่มีกิ่งและใบ เนื้อของลำไผ่ยังอ่อนอยู่จะทำให้ตัดง่าย ไม่ต้องออกแรงมาก เมื่อตัดยอดของลำไผ่แล้ว กิ่งและใบแตกเร็วขึ้นและจะไปทำให้หน่อที่โผล่ขึ้นมาเป็นลำแม่โผล่ได้เร็ว ขึ้น อีกไม่นานก็จะมีหน่อโผล่จากดินครบทั้ง 3 ลำพอดีพร้อมที่จะเป็นลำแม่ ให้ทะยอยตัดยอดทิ้งทั้ง 3 ลำ ที่เกษตรกรเลือกไว้เป็นลำแม่ เกษตรกรต้องรอให้ลำแม่ทั้ง 3 ลำมีกิ่งก้าน และใบแก่เป็นสีเขียวเข้มนั่นหมายความว่าลำแม่ที่เลือกไว้ทั้ง 3 ลำต่อกอพร้อมที่จะให้หน่อแล้ว ฉะนั้นถึงเวลาแล้วที่จะตัดลำเล็กๆที่เกิดก่อน พร้อมกับต้นตอที่ซื้อมาในถุงดำออกได้แล้ว โดยตัดให้ชิดดิน (นับเวลาจากปลูกจนตัดแต่งกิ่งได้ก็ไม่ต่ำกว่า 6 เดือน เมื่อตัดต้นเล็กๆทิ้งไปแล้วก็จะเหลือต้นที่เลือกไว้ กอละ 3 ต้น จากนั้นก็ริดกิ่งแขนงข้างออก โดยดูว่าเดินแล้วไม่ชนศรีษะ ไม่แทงหน้าแทงตา การตัดกิ่งแขนงข้างตัดให้พอเข้าไปเก็บหน่อสะดวก การตัดกิ่งแขนงควรตัดให้ชิดกับลำต้นไผ่ ตาจะได้ไม่แตกออกมาใหม่ (แต่ถ้าเกษตรกรต้องการปลูกเพิ่มก็ให้เกษตรกรตอนออกไปปลูกเพิ่มอีกได้โดยไม่ ต้องซื้อไผ่กิมซุ่งอีกเลย) กิ่งแขนงด้านล่างมักจะไม่ถูกแดดเต็มที่ ไม่ได้สังเคราะห์แสงเพื่อสร้างแป้ง จะกินอาหารจากกิ่งด้านบนที่ทำหน้าที่สังเคราะห์แสงจากแดด หากเกษตรกรตัดทิ้งหรือตอนออกไปจะทำให้ต้นไผ่ไม่ต้องเสียอาหารมาเลี้ยง อาหารจะถูกส่งไปสร้างหน่อใหม่เพื่อจะขยายกอ (ไผ่กิมซุ่งเขาจะต้องสร้างกอมากๆมีหลายๆลำ เมื่อเราตัดลำออกให้เหลือกอละ 3 ลำ โดยธรรมชาติของไผ่ก็จะพยายามสร้างหน่อใหม่ขึ้นมาทดแทน) เกษตรกรก็เริ่มตัดหน่อออกจำหน่ายได้เลย การตัดหน่อควรจะตัดให้ถึงส่วนที่เป็นเส้นใย(จะเป็นที่อยู่ของตาหน่อ) ให้เหลือตาที่สำหรับเป็นหน่อได้อีก 2-4 ตา
เหตุผลที่เกษตรกรต้องตัดยอดของไผ่กิมซุ่งคือ
1.ระหว่างที่เก็บหน่ออยู่ พอเดือนมีนาคม เมษายน มีพายุลูกเห็บ หรือพายุฤดูร้อน พบว่าต้นไผ่กิมซุ่งที่ไม่ได้ตัดยอดจะโค่นมากมาย และระบบรากสะเทือนจากแรงลมปะทะ ทำให้การเกิดหน่อหยุดชะงักไป 1-2 เดือนและช่วงนี้เป็นช่วงที่หน่อไม้มีราคาแพง ส่วนต้นไผ่กิมซุ่งที่ตัดยอด เหลือความสูงเพียง 3-4 เมตร จะโค่นน้อยกว่าและถ้าไม่ถูกลมแรงจนเกินไปก็ไม่โค่น ระบบรากไม่สะเทือน การเก็บยังคงเก็บหน่อต่อไปได้ รายได้ไม่ขาดหาย ไผ่กิมซุ่งเป็นไผ่ที่มีกิงแขนงยาวมากและหนัก ทำให้ต้านลม ต่างจากไผ่ซางและไผ่เลี้ยงที่มีกิ่งแขนงสั้นจะลู่ลม
2.ถ้ามีแปลงไผ่กิมซุ่งลองแบ่งเป็นสองส่วน เพื่อเปรียบเทียบ อีกแปลงตัดยอด อีกแปลงไม่ตัดยอด ถ้าดูแลเหมือนกัน ให้น้ำพร้อมกัน ไว้ลำต้น 3-4 ต้นต่อกอเหมือนกัน พบว่าแปลงที่ตัดยอดจะให้หน่อก่อนแปลงที่ไม่ได้ตัดยอด
3.ในแต่ละปีต้องสางกอ ตัดไม้แก่ทิ้งไป เหลือแต่ไม้ที่เกิดในปี ตอนตัดไผ่กิมซุ่งที่ไม่ตัดยอด มีความสูงและต้นใหญ่ มีลำต้นกิ่งก้านและใบมาก ทำให้ต้องจัดการมากใช้แรงงานมากกว่าไผ่กิมซุ่งที่ตัดยอด การจัดการและการใช้แรงงานน้อยกว่า
หากเกษตรกรปลูกไผ่กิมซุ่งเดือนพฤษภาคมหรือเดือนมิถุนายน เมื่อถึงเดือนธันวาคมจะต้องมีลำแม่ 3 ลำและตัดแต่งลำต้น ตัดแต่งกิ่งแขนง ให้ปุ๋ยคอกปุ๋ยเคมีพร้อมแล้ว เกษตรกรเมื่อให้น้ำต่อเนื่องตั้งแต่เดือนพฤศจิกายน เดือนมกราคมเกษตรกรสามารถที่จะขายหน่อครั้งแรกได้ราคาสูงสุดของปีนั้นๆ และจะขายได้ต่อเนื่องในเดือนกุมภาพันธ์ มีนาคม เมษายน พฤษภาคม ถ้าฝนมาเร็วราคาหน่อก็จะลงเร็วเพราะมีหน่อของสวนอื่นๆออกมามาก น้ำจึงเป็นเรื่องสำคัญ ถ้ามีน้ำก็จะทำให้หน่อออกได้ในช่วงที่หน่อของสวนอื่นๆยังไม่ออกเพราะไม่มี น้ำ และหน่อป่าก็ยังไม่ออก ยิ่งปีไหนฝนมาช้ามากๆ หรือที่เรียกว่าภัยแล้ง เกษตรกรที่มีน้ำก็จะได้ราคาหน่อที่แพงนานหลายเดือน ระหว่างเก็บหน่อการตัดแต่งกิ่งจะไม่ทำเลย ถ้าไปยุ่งกับกิ่งหรือใบ แม้แต่การตอนกิ่งจำหน่ายก็ทำไม่ได้ (แปลงทำพันธุ์ต้องเป็นแปลงที่ไม่คิดจะเก็บหน่อ) หน่อจะสะดุดทันที ถ้าเลือกหน่อขายก็ต้องไม่เลือกทำพันธุ์ หากมีลมพายุมากระทบถ้าแรงจนกอไผ่โค่นล้มไปหลายต้นหน่อก็จะสะดุดไม่ออก และที่ออกมาแล้วก็จะฝ่อไปทั้งหมด ผมจึงให้ตัดยอดของไผ่ทิ้งไปตั้งแต่ยังไม่มีใบ(ไผ่กิมซุ่งจะปรับตัวและสร้าง ใบขึ้นมาโดยอาศัยอาหารจากต้นเดิมที่เรายังไม่ได้ตัดทิ้ง เพราะถ้ามาตัดตอนเก็บหน่อจะตัดไม่ได้หน่อจะไม่ออก (ช่วงเก็บหน่อต้องใช้ใบในการสร้างอาหารไปเลี้ยงหน่อ) ในช่วงที่หน่อมีราคาแพงมักจะมีพายุฤดูร้อนมาหลายๆละลอก สวนไหนที่ไม่ตัดยอดความเสียหายจะมากกว่าสวนที่ตัดยอด(ถ้ากอไผ่กอไหนโค่นแล้ว กอนั้นจะไม่ได้เก็บหน่อช่วงนอกฤดูอีกเลยกว่าจะฟื้นตัวก็เข้าสู่ฤดูฝน แล้ว)ซึ่งเป็นโอกาสที่จะมีรายได้ที่ดีในช่วงฤดูแล้งของการทำหน่อนอกฤดู
เมื่อท่านขายหน่อไม้ไปนานๆ ท่านจะได้รับคำพูดจากผู้ซื้อว่ามีหน่อไม้หวานที่ไปผัดได้โดยผัดสดๆหรือ เปล่า และระหว่างที่ขายหน่อกิมซุ่งเกษตรกรจะต้องไม่พูดว่าหน่อหวาน เพราะผู้ซื้อจะนึกว่าหน่อไม้ที่ขายไม่ขม พอไปทำอาหารแบบผัดสดๆ ก็จะขมแล้วจะกลับมาบ่น มีเกษตรกรหลายสวนที่พบปัญหานี้จึงเริ่มถามหาหน่อไม้ที่หวานขณะดิบๆที่หน่อ ใหญ่เหมือนกิมซุ่งเพื่อจะขายเข้าร้านอาหารได้
กอของชาวบ้านที่ไม่สนใจเก็บแต่หน่อกินอย่างเดียวไม่เคยให้อาหารก็ยังดกออก แล้วออกอีกแต่ออกแต่ฤดูฝนนอกฤดูคือเดือนธันวาคมไม่เคยออกหน่อให้เห็น หน่อ กิมซุ่งออกที่ใต้รอยตัดได้ตลอดไม่มีหน่อสุด
แม้แต่ชาวบ้านเอาไฟสุ่มกอปางตายก็ยังโผล่หน่อจากใต้ดินออกมาโดยที่กอแม่ไม่มีใบ ความทนของกิมซุ่ง
ผมเขียนเรื่องการปลูกกิมซุ่งทำอย่างไรให้สามารถตัดหน่อได้ภายในไม่เกิน 8 เดือนหลังจากปลูกและตัดได้ต่อเนื่องในช่วงนอกฤดู ส่วนการทำให้ไผ่กิมซุ่งออกนอกฤดูในปีถัดไปให้อ่านจากหัวข้อการทำไผ่กิมซุ่ง ให้ออกนอกฤดู หากข้อมูลที่เขียนขึ้นมาด้วยความตั้งใจที่จะให้ไผ่กิมซุ่งเป็นพืชตัวหนึ่ง ในสวนของท่าน ที่จะให้ท่านได้มีรายได้คุ้มจากการทำหน่อไผ่นอกฤดู หากท่านเห็นว่าไม่เป็นประโยชน์ต่อท่านๆ ท่านก็ไม่ต้องนำไปปฏิบัติ หากมีประโยชน์ต่อท่านผู้อ่านผมก็มีความยินดี และจะได้แนะนำการปลูกไผ่บงหวานจากประสบการณ์ให้มีรายได้จากการขายหน่อที่ อยู่ได้ต่อไป
หากสงสัยสามารถสอบถามหรือศึกษาดูงานได้ที่ สวนไผ่หวานเพชรน้ำผึ้ง 91 ม.4 ต.แม่จั๊วะ อ.เด่นชัย จ.แพร่ โทร. 083-2663096 โดยนายวรรณบดี รักษา
เทคนิคการขยายพันธุ์ไผ่กิมซุ่ง
เจ้าของผลงาน นายสุภาพ ปรางจโรจน์
116/2 หมู่ 8 ตำบลหนองหญ้า อำเภอเมือง จังหวัดกาญจนบุรี โทร 083 – 3095816
ความเป็นมาของนวัตกรรม
ไผ่กิมซุ่ง เป็นไผ่ที่นำเข้ามาจากประเทศจีน มีข้อดีหลายประการ เหมาะสำหรับ
ปลูกเพื่อเป็นอาชีพ และเสริมรายได้ ปัจจุบัน เกษตรกรมีความต้องการพันธุ์ไผ่กิมซุ่งเป็นจำนวน
มาก ทำให้อาชีพการขยายพันธุ์ไผ่กิมซุ่งเป็นอาชีพที่น่าสนใจ
การขยายพันธุ์ไผ่กิมซุ่งที่นิยม มี 2 วิธี คือ การตอนกิ่ง และการปักชำกิ่ง
(กิ่งไม่มีแขนง) แต่การตอนกิ่งมีขั้นตอนยุ่งยากและมีค่าใช้จ่ายมาก ส่วนวิธีการปักชำกิ่ง
(กิ่งไม่มีแขนง) มีเปอร์เซ็นต์การตายของกิ่งพันธุ์สูง ทำให้ต้องคิดค้นวิธีการขยายพันธุ์
ไผ่กิมซุ่งแบบใหม่ คือ การปักชำกิ่งรูปตัววาย (y) เพื่อลดต้นทุนการผลิตและประหยัดเวลา
การออกแบบนวัตกรรม
การปักชำกิ่งเป็นรูปตัววาย (y) มีกิ่งแขนงเป็นกิ่งพี่เลี้ยง ทำให้กิ่งพันธุ์มีการแตก
รากดี แตกหน่อเร็ว เปอร์เซ็นต์การตายน้อย ขณะเดียวกันเลือกใช้ขี้เถ้าเป็นวัสดุปลูก ช่วยให้การระบายน้ำดี ไม่ทำให้กิ่งพันธุ์เน่าเสียหาย แม้ว่าจะให้น้ำตลอด 12 ชั่วโมงต่อวัน
วัสดุ อุปกรณ์
1) มีด
2) ถุงดำ ขนาด 4.5 X 11 นิ้ว ขึ้นไป
3) ขี้เถ้า
วิธีการ
1) เลือกต้นไผ่ที่มีสีเขียวเข้ม อายุตั้งแต่ 1 ปีขึ้นไป
2) ตันทอนลำให้เป็นท่อน โดยตัดกิ่งไผ่บริเวณข้อ ให้มีกิ่งแขนงติดอยู่
(มีตาติดอยู่ 2 ตา)
3) ตัดให้เป็นรูปตัววาย (y) แล้วแช่น้ำยาเร่งราก 1 คืน
4) นำมาชำในถุงดำบรรจุขี้เถ้า ตั้งเรียงไว้กลางแจ้ง
5) ให้น้ำด้วยระบบสปริงเกลอร์ วันละ 12 ชั่วโมง (ตั้งแต่ 6 โมงเช้า ถึง
6 โมงเย็น)
6) ประมาณ 20 วัน นำกิ่งพันธุ์มาไว้ด้านนอก รดน้ำเช้าเย็น และให้ปุ๋ยสูตร 46–0–0
เดือนละ 2 ครั้ง
7) ประมาณ 1 เดือน ลงปลูกในแปลง / จำหน่ายกิ่งพันธุ์ได้ หากทิ้งไว้นานกว่า
1 เดือน ไผ่จะเริ่มแทงหน่อในถุงเพาะชำ
ประโยชน์ที่ได้รับ
1) มีขั้นตอนการปฏิบัติงานน้อยกว่าการตอนกิ่ง และประหยัดค่าใช้จ่าย ค่าแรงงานในการตอน
2) การเจริญเติบโตของกิ่งพันธุ์มีการตั้งตัวได้เร็ว และมีรากเยอะ แตกหน่อเร็ว
3) กิ่งที่ปักชำสามารถให้หน่อได้เร็ว ใช้เวลาน้อยกว่าการขยายพันธุ์โดยการตอนกิ่ง
เงื่อนไขหรือข้อจำกัดในการนำนวัตกรรมไปปรับใช้ประโยชน์
การปักชำพันธุ์ไผ่กิมซุ่งแบบใหม่ มีข้อจำกัดในเรื่องการขนส่งกิ่งพันธุ์ เนื่องจาก
กิ่งพันธุ์เป็นรูปตัววาย (y) มีกิ่งแขนง ทำให้การขนส่งได้จำนวนน้อย
ไผ่ตงลืมแล้ง” หน่อทั้งปีไม่มีขน [26 ก.ย. 50 - 17:45]
ไผ่ตง เป็น อาหารอย่างหนึ่งที่ได้รับความนิยมรับประทานมาแต่โบราณ โดยใช้หน่ออ่อน หรือที่เรียกกันทั่วไปว่า หน่อไม้ไผ่ตง ซึ่งมีรสหวาน นำไปแกงกับเนื้อไก่ ปลา หรือเนื้อวัว นำไปต้มจืดกระดูกหมู (เมนูนี้นิยมกันมาก) แกงเปรอะ ต้มเป็นผักเคียงใช้จิ้มกับน้ำพริกกะปิ น้ำพริกน้ำปู๋ น้ำพริกแก๋ หรือปรุงอย่างอื่นอีกมากมาย รับประทานอร่อยมาก แต่ไผ่ตงที่พบเห็นและนิยมรับประทานกันเป็นประจำนั้น ส่วนใหญ่แล้ว เปลือกหุ้มหน่ออ่อน หรือ หุ้มหน่อไม้ไผ่ตง จะมีขนสีน้ำตาลแดงปกคลุมทั่วทั้งเปลือก ทำให้เวลาจะแกะเปลือกเพื่อเอาเนื้อในไปใช้ ประโยชน์เกิดอาการรำคาญ ผู้ซื้อรับประทานจึงต้องให้ผู้ขายแกะเปลือกให้
แต่ สำหรับ“ไผ่ตงลืมแล้ง” มีลักษณะพิเศษคือ เปลือกหุ้มหน่ออ่อน จะเกลี้ยงไม่มีขนปกคลุมเลย เวลาแกะเอาเนื้อในจึงสะดวกสบายมาก เป็นไผ่ตงที่มีหน่อตลอดปี น้ำท่วมต้นก็ไม่ตายทนแล้งอีกต่างหาก จะแล้งขนาดไหนยังแทงหน่ออ่อนให้เก็บรับประทาน หรือเก็บขายได้ ตลอดปี จึงถูกตั้งชื่อว่า “ไผ่ตงลืมแล้ง” (ปกติฤดูแล้งไผ่ตงจะไม่มีหน่อ)
นอกจากนั้น “ไผ่ตงลืมแล้ง” ยังเป็นหน่อไม้ที่มี กรดยูริก ที่เป็นสาเหตุทำให้เกิดโรคเกาต์น้อยมาก จึงสามารถรับประทานได้อย่างเต็มที่ และที่สำคัญเนื้อไม้ หรือลำไผ่ของ “ไผ่ตงลืมแล้ง” ยังเป็นไผ่ที่มอดไม่กินอีกด้วย เวลานำไปสร้างบ้านไม้ไผ่ หรือทำเฟอร์นิเจอร์ จึงมีความทนทานได้นานกว่าไม้ไผ่ชนิดใดๆ
ไผ่ตงลืมแล้ง เป็นพันธุ์นำเข้าจากประเทศอินโดนีเซียนานกว่า 5 ปีแล้ว อยู่ในวงศ์ GRAMINEAE เป็นไม้ยืนต้นตระกูลหญ้า ต้นสูงได้กว่า 20 เมตร ลำต้นตรง เป็นข้อหรือปล้อง ขนาดของลำต้นใหญ่ เนื้อไม้หนา ยอดอ่อน หรือ หน่ออ่อนมีเปลือกหุ้มสีเขียว ไม่มีขนตามที่กล่าวข้างต้น โผล่เหนือดินเรียกว่า หน่อไม้ ไผ่ตง เนื้อในรสชาติหวานกรอบอร่อยมาก ขนาดของหน่อโตเต็มที่มีน้ำหนักเฉลี่ยไม่น้อยกว่า 5-7 กิโลกรัมต่อหัว มีหน่อตลอดปี ขยายพันธุ์ด้วยหน่อ มีต้นหรือหน่อขาย ที่ตลาดนัดไม้ดอกไม้ประดับ สวนจตุจักร ทุกวันพุธ-พฤหัสฯ แผง “คุณก็อต-คุณหลง” ตรงกันข้ามกับโครงการ 15 ราคาสอบถามกันเอง
การปลูก “ไผ่ตงลืมแล้ง” มีลักษณะทน ต่อทุกสภาพอากาศ ทนแล้งได้ดี น้ำท่วมไม่ตาย ปลูกได้ในดินทั่วไป และมีหน่อให้เก็บรับประทาน หรือเก็บขายตลอดปี จึงเหมาะที่จะปลูกเป็นพืชครัวและพืชเศรษฐกิจเป็นอย่างยิ่ง
สรรพคุณ ทางสมุนไพรของไผ่ตงทุกชนิด คือ ใบแห้ง ต้มน้ำดื่มขณะอุ่นเป็นยาขับปัสสาวะ ขับและฟอกโลหิตระดูเสียในสตรี แก้มดลูกอักเสบ แก้ร้อนในกระหายน้ำ ราก ขับปัสสาวะ และ แก้ไตพิการดีมากครับ.
ไผ่กิมซุง
ข้อดีของไผ่กิมซุง คือ
- ปลูกง่าย โตไว หน่อดก สวนไผ่ของเราใช้เวลาปลูกมา 7 เดือนก็สามารถให้หน่อได้แล้วครับ การดูแลรักษาก็ไม่ได้ยุ่งยากให้น้ำบ้าง ไม่ให้บ้างก็ยังเจริญเติบโตได้ดี และยังทนทานต่อสภาพดิน ฟ้า อากาศในบ้านเราทุกพื้นที่ น้ำท่วมขังเป็นเดือนไผ่ยังไม่ตาย
- ลำต้นจะไม่มีขน ไม่มีหนาม เปลือกบาง ให้หน่อดก เนื้อหนา น้ำหนักดี แต่ละหน่อจะมีน้ำหนักเฉลี่ยอยู่ที่ 1.7-3.0 กิโล
ปีที่ 1 ให้ผลผลิต 500 กิโลกรัม / ไร่
ปีที่ 2 ให้ผลผลิต 5,000 กิโลกรัม / ไร่
ปีที่ 3 ให้ผลผลิต 6,000 กิโลกรัม / ไร่ และจะให้หน่อตลอดทั้งปี เมื่อนำมาประกอบอาหารรสชาติจะหวานกรอบอร่อยและไม่มีเสี้ยน
วิธีปลูก
- ในพื้นที่ 1ไร่ จะปลูกไผ่ได้ 100 กอ ระยะการปลูก 4X4 เมตร ส่วนขนาดหลุมปลูกกว้าง 30 ซม.ลึก 30 ซม.โดยใช้ปุ๋ยหมักหรือปุ๋ยคอกรองก้นหลุมก่อนลงกิ่งพันธุ์ จากนั้นก็ให้ใส่ปุ๋ยเคมีสูตร 22-7-12 เดือนละครั้งจากนั้นประมาณ 7 เดือนไผ่ก็จะเริ่มให้ผลผลิตแล้ว
การขยายพันธุ์
- เริ่มการเลือกต้นไผ่ ที่มีสีเขียวเข้ม มีอายุตั้งแต่ 6 เดือนขึ้นไป และไผ่แต่ละหน่อจะสามารถตอนได้ประมาณ 7-8 กิ่งพันธุ์ โดยแต่ละกอจะมีไผ่ใช้สำหรับการตอนกิ่งอยู่ที่ไม่เกิน 4-5 ต้น เพราะถ้ามากกว่านั้นจะให่กิ่งพันธุ์ที่ไม่มีคุณภาพพอ
- การตอนเราจะตอนจากลำหลักเท่านั้น แต่ละกอก็จะมีอยู่ประมาณ 4-5 ลำ ระยะเวลาในการตอนจะอยู่ที่ ประมาณ 20 วันจึงตัดได้ แต่ให้สังเกตที่รากในถุงชำด้วยว่าสีของรากจะต้องมีสีน้ำตาล จึงจะตัดได้ ถ้ายังสีขาวแสดงว่ายังไม่พร้อมที่จะตัด
เทคนิคขยายพันธุ์ไผ่กิมซุง |
ไผ่กิมซุงนะ ไผ่ชนิดนี้ เป็นอีกสายพันธุ์หนึ่ง ที่เกษตรกรในหลายพื้นที่นิยมปลูก เพราะมีข้อดีก็คือโตเร็ว ให้หน่อดก ลำไผ่มีขนาดใหญ่ ใช้ประโยชน์ได้หลากหลาย แต่การขยายพันธุ์ที่ผ่านมา เกษตรกรหลายราย ใช้วิธีตัดกิ่งแขนงไปปักชำซึ่งวิธีนี้จะออกรากได้ช้า
ตามทันเกษตร วันนี้ มีเทคนิคของคุณองอาจศรีพาลา เกษตรกรที่อำเภอเมือง จังหวัดขอนแก่น เค้ามีวิธีขยายพันธุ์ไผ่กิมซุง ให้ออกรากได้เร็ว มาแนะนำ
การขยายพันธุ์ไผ่กิมซุงของคุณองอาจ ใช้วิธีการตอนกิ่ง เริ่มจากเลี้ยงหน่อที่เกิดขึ้นมาใหม่ ให้มีความสูงประมาณ 4-5 เมตร แล้วจึงตัดยอดให้เหลือความสูงไม่เกิน 3 เมตร หลังจากตัดยอดแล้วจะมีกิ่งแขนงแตกออกมา ซึ่งเกษตรกรจะเลือกตอนกิ่งแขนงที่มีอายุ 1-2 เดือน ก่อนที่จะตอนกิ่ง ให้ตัดปลายกิ่งแขนงให้มีความยาวตามต้องการ ริดใบ และกิ่งเล็กๆ ทิ้งให้หมด ใช้เลื่อยคม ๆ เลื่อยใต้กิ่งที่จะตอน ลึกประมาณ 1 ใน 3 เพื่อตัดทางเดินน้ำและอาหาร แล้วใช้ถุงพลาสติกที่ใส่ขุยมะพร้าว ชุบน้ำจนชุ่ม มาหุ้มกิ่งตอนไว้ ผูกเชือกให้แน่น หลังจากนี้ประมาณ 1 เดือน กิ่งไผ่ที่ตอนไว้ก็จะออกรากจนเกือบเต็มถุง
หลังจากนั้น เกษตรกรก็จะตัดกิ่งตอนที่ออกรากจนเต็มถุง ไปปักชำในถุงดำ ที่ใช้ดินร่วนผสมปุ๋ยคอกเป็นวัสดุปลูก ดูแลรดน้ำให้ชุ่มทุกวันประมาณ 15 วัน ถึง1เดือน ก็สามารถนำไปปลูกได้
คุณองอาจบอกว่า จากการทดลองขยายพันธุ์ด้วยวิธีนี้ พบว่ากิ่งตอนมีเปอร์เซ็นต์การออกรากสูงมากกว่า 80 เปอร์เซ็นต์ เมื่อนำไปปลูก ต้นจะตั้งตัวได้เร็วกว่ากิ่งที่ขยายพันธุ์ด้วยวิธีการปักชำ เพราะระบบรากจะสมบูรณ์กว่าไร่ไผ่ตงหวาน เป็นลักษณะไร่เพื่อการพัฒนาการเรียนรู้และสนับสนุนให้ชาวบ้านที่กำลังสนใจ หันมาปลูกไผ่เพราะไผ่เป็นพืชที่ทนต่อสภาพแวดล้อม และให้ผลตอบแทนดีกว่าและที่สำคัญเป็นการคืนความสมดุลให้กับธรรมชาติ และในปัจจุบันไผ่ก็เป็นที่นิยมปลูกกันแทบทุกพื้นที่บ้างก็ปลูกเพื่อการ บริโภคบ้างก็ปลูกเชิงธุรกิจ
ผลผลิตจากไผ่ที่สำคัญคือหน่อไม้ ซึ่งเป็นอาหารสำคัญของคนไทย นิยมทานกันมากในเกือบทุกภาคของประเทศไทย โดยเฉพาะภาคเหนือและอีสาน นอกจากนี้ไม้ไผ่ยังมีคุณสมบัติพิเศษทั้งด้านความแข็งแรงและยืดหยุ่นที่เหนือ กว่าวัสดุสังเคราะห์หลายชนิด ดังนั้นจึงยังได้รับความนิยมในการทำเครื่องมือเครื่องใช้หลายประเภท นั่งร้านก่อสร้างและบันได เป็นต้น
ไผ่หวานเป็นไผ่ขนาดเล็กถึงขนาดกลาง ลักษณะกอเป็นหุ้มแน่น ลำอ่อนมีสีเขียวใบไม้ ลำแก่จะมีสีเขียวแก่ ลำต้นมักมีลักษณะคดงอ มีการแตกกิ่งจำนวน 2-5 กิ่งตลอดลำ ลำต้นมีเส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 3-5 ซม. สูงประมาณ 5-8 เมตร บริเวณเหนือข้อเล็กน้อยจะเห็นเป็นแถบวงแหวนสีขาวรอบลำชัดเจน และมีรากอากาศอยู่รอบ ๆ ข้อ ลักษณะที่สังเกตง่ายที่สุด คือ ครีบกาบทั้งสองข้างของกาบหุ้มลำจะมีขนาดไม่เท่ากัน และมีรูปทรงต่างกัน ซึ่งปกติครีบกาบของไผ่ชนิดอื่นจะมีขนาดเท่ากันหรือเหมือนกัน
พันธุ์ไผ่ ไผ่หวาน ไผ่ตง ไผ่ตงหวาน ไผ่ตงลืมแล้ง ไผ่กิมซุ่ง
เป็นพันธุ์ ปลูกง่าย โตไว หน่อใหญ่ ไม่มีหนาม ซึ่งสามารถปลูกได้ตลอดทั้งปี
ให้ผลผลิตเร็ว ระหว่าง 6-8 เดือน
ส่วนหน่อนั้น มีน้ำหนักประมาณ 1-3 กิโลกรัม
ไผ่เป็นพืชที่กำลังเป็นที่นิยม ในวงการเกษตร
ท่านที่สนใจแวะเข้ามาชมที่ไร่ หรือติดต่อที่ อ.เสาวคนธ์
คุณสมพร 081 358 2778
คุณ อ้อ 086 724 6839
มี สาขาที่ เชียงใหม่ กรุงเทพฯ และเพชรบูรณ์
ไผ่ตงลืมแล้ง เป็นอาหารอย่างหนึ่งที่ได้รับความนิยม รับประทานมาแต่โบราณ โดยใช้หน่ออ่อน หรือที่เรียกกันทั่วไปว่า หน่อไม้ไผ่ตง ซึ่งมีรสหวาน นำไปแกงกับเนื้อไก่ ปลา หรือเนื้อวัว นำไปต้มจืดกระดูกหมู (เมนูนี้นิยมกันมาก) แกงเปรอะ ต้มเป็นผักเคียงใช้จิ้มกับน้ำพริกกะปิ น้ำพริกน้ำปู๋ น้ำพริกแก๋ หรือปรุงอย่างอื่นอีกมากมาย รับประทานอร่อยมาก แต่ไผ่ตงที่พบเห็นและนิยมรับประทานกันเป็นประจำนั้น ส่วนใหญ่แล้ว เปลือกหุ้มหน่ออ่อน หรือ หุ้มหน่อไม้ไผ่ตง จะมีขนสีน้ำตาลแดงปกคลุมทั่วทั้งเปลือก ทำให้เวลาจะแกะเปลือกเพื่อเอาเนื้อในไปใช้ ประโยชน์เกิดอาการรำคาญ ผู้ซื้อรับประทานจึงต้องให้ผู้ขายแกะเปลือกให้ แต่ สำหรับ “ไผ่ตงลืมแล้ง” มีลักษณะพิเศษคือ เปลือกหุ้มหน่ออ่อน จะเกลี้ยงไม่มีขนปกคลุมเลย เวลาแกะเอาเนื้อในจึงสะดวกสบายมาก เป็นไผ่ตงที่มีหน่อตลอดปี น้ำท่วมต้นก็ไม่ตายทนแล้งอีกต่างหาก จะแล้งขนาดไหนยังแทงหน่ออ่อนให้เก็บรับประทาน หรือเก็บขายได้ ตลอดปี จึงถูกตั้งชื่อว่า “ไผ่ตงลืมแล้ง” (ปกติฤดูแล้งไผ่ตงจะไม่มีหน่อ) นอก จากนั้น “ไผ่ตงลืมแล้ง” ยังเป็นหน่อไม้ที่มี กรดยูริก ที่เป็นสาเหตุทำให้เกิดโรคเกาต์น้อยมาก จึงสามารถรับประทานได้อย่างเต็มที่ และที่สำคัญเนื้อไม้ หรือลำไผ่ของ “ไผ่ตงลืมแล้ง” ยังเป็นไผ่ที่มอดไม่กินอีกด้วย เวลานำไปสร้างบ้านไม้ไผ่ หรือทำเฟอร์นิเจอร์ จึงมีความทนทานได้นานกว่าไม้ไผ่ชนิดใดๆ ไผ่ตงลืมแล้ง เป็นพันธุ์นำเข้าจากประเทศอินโดนีเซียนานกว่า 5 ปีแล้ว อยู่ในวงศ์ GRAMINEAE เป็นไม้ยืนต้นตระกูลหญ้า ต้นสูงได้กว่า 20 เมตร ลำต้นตรง เป็นข้อหรือปล้อง ขนาดของลำต้นใหญ่ เนื้อไม้หนา ยอดอ่อน หรือ หน่ออ่อนมีเปลือกหุ้มสีเขียว ไม่มีขนตามที่กล่าวข้างต้น โผล่เหนือดินเรียกว่า หน่อไม้ ไผ่ตง เนื้อในรสชาติหวานกรอบอร่อยมาก ขนาดของหน่อโตเต็มที่มีน้ำหนักเฉลี่ยไม่น้อยกว่า 5-7 กิโลกรัมต่อหัว มีหน่อตลอดปี ขยายพันธุ์ด้วยหน่อ การปลูก “ไผ่ตงลืมแล้ง” มีลักษณะทนต่อทุกสภาพอากาศ ทนแล้งได้ดี น้ำท่วมไม่ตาย ปลูกได้ในดินทั่วไป และมีหน่อให้เก็บรับประทาน หรือเก็บขายตลอดปี จึงเหมาะที่จะปลูกเป็นพืชครัวและพืชเศรษฐกิจเป็นอย่างยิ่ง สรรพคุณ ทางสมุนไพรของไผ่ตงทุกชนิด คือ ใบแห้ง ต้มน้ำดื่มขณะอุ่นเป็นยาขับปัสสาวะ ขับและฟอกโลหิตระดูเสียในสตรี แก้มดลูกอักเสบ แก้ร้อนในกระหายน้ำ ราก ขับปัสสาวะ และ แก้ไตพิการดีมากครับ.
หลังเลิกราจากอาชีพรับเหมาก่อสร้างด้วยปัญหาวิกฤติเศรษฐกิจเมื่อกว่า 10 ปีที่แล้ว ทำให้เขาจำต้องเปลี่ยนวิถีชีวิตมาทำทางด้านเกษตรกรรมอย่างจริงจัง โดยครั้งแรกหันมาปลูกต้นลีลาวดีจำหน่ายจนประสบความสำเร็จอย่างมาก เนื่องจากเป็นไม้ประดับที่ได้รับความนิยมของตลาดเป็นอย่างสูง แต่เมื่อมีคนหันมาเพาะพันธุ์ลีลาวดีออกจำหน่ายกันมากขึ้น ทำให้ส่วนแบ่งตลาดถูกแย่งไป รวมทั้งตลาดเริ่มตัน จึงเริ่มมองหาช่องทางใหม่เพื่อสร้างรายได้ให้แก่ครอบครัว
ที่มา ศูนย์การเรียนรู้เกษตรผสมผสานตามแนวพระราชดำริ(ไร่พอเพียงตามรอยพ่อ)
ที่ศูนย์ ฯ มีพันธุ์กบ,พันธุ์ปลาหมอสายพันธุ์ชุมพร1,พันธุ์ไก่ไข่
,ไก่สามและสี่สายเลือด,ไผ่กิมซุ่ง,ไผ่บงหวาน,เมล็ดและต้นดอกขจร,เมล็ดและต้น
ดอกชมจันทร์ จำหน่ายสนใจติดต่อ คุณ สุรพินโญ พลาพล โทร 0812972399
Permalink : http://www.oknation.net/blog/surapinyo
Permalink : http://www.oknation.net/blog/surapinyo
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น