วันพุธที่ 22 มกราคม พ.ศ. 2557

ไผ่ (8) ไผ่หวานศูนย์สาธิตการเกษตรแบบพอเพียง จ.ร้อยเอ็ด

ไผ่หวานศูนย์สาธิตการเกษตรแบบพอเพียง จ.ร้อยเอ็ด

 
  •  ผืนดินที่มีอย่างจำกัด 2 ไร่เศษนิดหน่อย ริมคลองส่งน้ำชลประทานหนองหญ้าม้า ถนนสายร้อยเอ็ด อาจสามารถ  เป็นบ้านน้อยในป่าไผ่  น่าอยู่แบบพอเพียง
  • คุณสมควร  สาลี อายุ 49 ปี เกิดวันที่ 29 มกราคม 2503  บ้านเลขที่ 97 ม.10 บ้านเปลือยน้อย ต.หนองไผ่ อ.ธวัชบุรี จ.ร้อยเอ็ด ภรรยาคือคุณวราภรณ์ ลูกสาวน่ารัก 2 คน กำลังศึกษาระดับ ม.1 ม.2 ให้การต้อนรับผู้คนอย่างไม่ขาดสาย  ตั้งใจตั้งเป็นศูนย์สาธิตการเกษตรแบบพอเพียง ให้ชุมชนด้วยในอนาคต  นำคณะสื่อมวลชนเดินเยี่ยมชมสวนไผ่ที่กำลังให้หน่อจำนวนมาก ทำให้ทุกคนที่เดินทางเข้าป่าไผตื่นเต้น กับผลผลิตทางการเกษตร ที่ยังไม่เก็บเกี่ยว  พร้อมเล่าให้ฟังว่า ตนเองชอบค้นคว้า อ่านหนังสือ เกี่ยวกับช่องทางอาชีพ การหาอาชีพเสริมที่มั่นคงเป็นเรื่องสำคัญในสภาพปัจจุบัน อ่านวารสารการเกษตร เกิดแนวความคิดเพราะเรื่องไผ่เลี้ยงพันธุ์สีทอง  เดินทางไปที่เมืองเลย ซื้อต้นพันธุ์มาต้นละ 40 บาท  350 ต้น 
 
  • คุณสมควร บอกว่า ใช้แรงงานในครอบครัว ขุดหลุมขนาด 30X30 เซนติเมตร  ระยะที่ใช้ปลูก 2.50x2.50 เมตร ลงมือปลูกเดือนกันยายน  เป็นช่วงที่เหมาะสมที่สุดคือปลายฝน ไผ่เลี้ยงหน่อพันธุ์สีทอง การดูแลรักษาเป็นเรื่องที่ง่ายที่สุดเพราะ “ไผ่” คือพืชตระกูลหญ้านั่นหมายถึงวัชพืช เจริญเติบโตเร็ว  วัชพืชจะรุนแรงช่วงแรกๆเพราะเป็นช่วงปลายฝน ความชื้นในดินยังสูง  ดายหญ้าคลุมโคนไผ่ แต่งหลุมคลุมโคนด้วยปุ๋ยคอก ปุ๋ยชีวภาพ ก้อนเห็ดเก่าจากโรงเห็ด ส่วนใหญ่เขาจะให้ฟรีหรือขายในราคาถูก ผสมปุ๋ยคอก กากน้ำตาล รำ ราดด้วยเชื้อจุลินทรีย์ หมักไว้ 5-7 วัน นำไปใช้หลุมละ 1 ถุงหัวอาหาร ได้ทั้งความอุดมสมบูรณ์ ดินร่วนซุยหน่อไผ่ออกมาจำนวนมาก ไผ่สูงขึ้น รากไผ่แผ่กระจายออก วัชพืชหายไป ใช้เวลา 6 เดือน เห็นผลผลิต เริ่มเก็บหน่อไผ่ออกมาขาย ส่วนใหญ่ยังไม่ถึงตลาด ประชาชนจากหมู่บ้านมาซื้อ ทุกวัน 3-4 หน่อต่อกิโลกรัม ราคา 40 บาท หน้าแล้ง หน้าฝนราคาถูกลงเพราะอาหารธรรมชาติออกมามาก  เรียกว่าไม่เพียงพอต่อความต้องการของผู้บริโภค
  • การดูแลรักษา เป็นงานง่ายๆทำงานในร่มเงา การเก็บผลผลิต สับหน่อไผ่ให้การดูแลกอไผ่ไปด้วย คลุมโคน ใส่ปุ๋ยหากมองสภาพไม่สวยงาม หรือขาดปุ๋ย เรียกว่าอยู่ด้วยกันกับกอไผ่ทุกวัน “ไผ่เลี้ยงหน่อพันธุ์สีทอง” จะไว้ต้นแม่  4-5 ต้น ไว้ประมาณ 3-4  ปี  ตัดแต่ง ไว้ต้นใหม่  ตั้งแต่ปลูกมายังไม่พบโรคและแมลง  การให้น้ำตนเองให้แบบสปริงเกอร์  4 หัวใหญ่ แล้วทำร่องขนาดเล็กให้ถึงหรือผ่านกอไผ่  ความชื้นเข้าถึง  ตอนนี้เพิ่มเป็น 8 หัวเล็ก  มีคลองส่งน้ำจากชลประทานหนองหญ้าม้า ตลอดทั้งปี  
  • คุณสมควร เล่าให้ฟังอีกว่า พื้นที่ดิน 2 ไร่เศษ สร้างบ้าน 1 หลัง บ่อน้ำ คอกวัน 6 ตัว ได้มูลสัตว์เป็นปุ๋ยคอก และเป็นธนาคารคือเงินเก็บราย ปี ๆละ 1-2 ตัว ปลูกพืชผักสวนครัวพริก มะเขือ หอม  ชะอม  เป็นพืชผักที่ปลอดภัยจากสารพิษ ไม่ต้องซื้อรับประทานสบายใจ  ครอบครัวขนาดเล็ก พ่อ แม่ ลูก 2 คน ไม่ขัดสน วันนี้กอไผ่เลี้ยงหน่อ พันธุ์สีทอง ให้ผลผลิตเฉลี่ยกอละ 80 บาท ต่อเดือน
  • หากหยอดกระปุกออมสินไม่ใช้จ่าย 30,000 บาท/เดือน  การเก็บหน่อไผ่ขาย ลูกสาวมาจากโรงเรียนช่วยคุณแม่เก็บ ตนเองช่วยด้านแรงงาน ให้ปุ๋ย ให้น้ำ มีความสุขนะครับ  ที่สำคัญคือ เกษตรกรข้างเคียง และมาจากต่างอำเภอ มาสอบถาม บางคนผ่านทางแวะสอบถาม ตนเองพูดเรื่องเดิมเป็นร้อยครั้ง พันครั้ง ไม่เบื่อครับ ภาคภูมิใจที่มีเพื่อนเกษตรกรมาปรึกษา  นายสมควรกล่าว
  • ทางด้านนางสาวประดับ  เกื้อสกุล นักวิชาการส่งเสริมการเกษตร ระดับชำนายการ สำนักงานเกษตรอำเภอธวัชบุรี กล่าวว่า เป็นเกษตรกรแบบอย่าง ตามแนวพระราชดำริปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ พอประมาณ มีเหตุผล มีภูมิคุ้มกัน นำหลักวิชากร และมีคุณธรรม โดยนางท่อนจันทร์  วงศ์พรม เกษตรอำเภอธวัชบุรี ให้การสนับสนุนด้านข้อมูลวิชาการ และตั้งเป็นศูนย์สาธิตการเกษตรพอเพียง
  • นายสมประสงค์  พาหุรักษ์ นายอำเภอธวัชบุรี กล่าวว่า อำเภอธวัชบุรีดำเนินงานพัฒนาอาชีพ “แบบชุมชนพอเพียง”  ท่านผู้ว่า ชิดพงษ์  ฤทธิประศาสน์ ผู้ว่าราชการจังหวัดร้อยเอ็ด ให้ความสำคัญกับเรื่องนี้อย่างมาก ประกอบกับเป็นศูนย์สาธิตการเรียนรู้ ที่เดินทางไปมาสะดวก ติดถนนสายหลัก จากจังหวัดร้อยเอ็ด คือ ถนนรณชัยชายยุทธ ผ่านบ้านหนองหญ้าม้า ถึงกิโลเมตรที่ 5-6 เลยห้วยหนองหญ้าม้า ข้ามสะพานประมาณ 700 เมตร  อยู่ด้านซ้ายมือ ติดกับคลองส่งน้ำ หาง่ายมีป้ายริมทางบอกว่า “สวนไผ่หวานคุณเพชร”หรือจะโทรศัพท์สอบถามก่อน โทร.089-4179666 หรือ 083-1406472  ยินดีต้องรับครับ
  • “คุณสมควร  สาลี  กล่าวในตอนท้ายว่า งายง่ายๆได้เงินดีคือ การปลูกไผ่เลี้ยงหน่อ พันสีทอง”


วัชรินทร์  เขจรวงศ์ รายงาน
E-mail:singkhon101@gmail.com
Tr.086-8502416/085-7567108

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น