วันจันทร์ที่ 20 มกราคม พ.ศ. 2557

มะละกอ (7) เทคนิคช่วยเพิ่มผลผลิตมะละกอ

มะละกอ


 
การปลูกมะละกอต้นเอน…อีกหนึ่งเทคนิคช่วยเพิ่มผลผลิต
ส้มตำ เป็นอาหารที่คนไทยนิยมทานกันมากในทุกๆโอกาส ซึ่งวัตถุดิบหลักที่ใช้ทำส้มตำ คือ “มะละกอ” ด้วยเหตุนี้ ผลไม้ที่มีรูปร่างเรียวยาวชนิดนี้จึงจัดเป็นพืช เศรษฐกิจที่สำคัญมาก และสามารถทำรายได้ให้แก่ผู้ปลูกตลอดทั้งปี แต่การจะให้ มะละกอออกผลเยอะๆ นอกจากปัจจัยเรื่องความอุดมสมบูรณ์ของดินแล้ว ยังขึ้นอยู่ กับทิศทางของต้นมะละกอด้วยว่า หันยอดเข้าหาแสงแดดด้วยหรือเปล่า แต่ในเมื่อ เราไม่อาจควบคุมการเคลื่อนที่ของดวงอาทิตย์ได้ ก็เพียงหันต้นมะละกอเข้าหา แสงซะ โดยใช้เทคนิคที่ชื่อว่า “การปลูกมะละกอต้นเอน”
 
++ วัสดุ-อุปกรณ์ ++
1. เมล็ดพันธุ์มะละกอแขกดำ
2. จอบและเสียม
3. เชือก

++ วิธีการทำมะละกอต้นเอน ++
1. คัดพันธุ์มะละกอแขกดำ เพศกะเทย โดยนำเมล็ดส่วนกลางของผลมาปลูก
2. ขุดหลุมปลูกโดยให้ระยะห่างระหว่างต้นอยู่ที่ 1.8 เมตร ขณะที่ระยะห่างระหว่างแถวคือ 2.3 เมตร
3. เมื่อต้นมะละกอสูง 1 ศอก นำเชือกฟางมาคล้องในส่วนต้นกับไม้หลัก โดยมีลักษณะเอน 45 องศา
4. ทิ้งไว้ประมาณ 10-15 วันเปลี่ยนมาคล้องที่ส่วนยอด ทำในลักษณะนี้ประมาณ 4 ครั้ง เมื่อมะละกอออกผล ส่วนต้นก็จะติดพื้นกลายเป็นมะละกอต้นเอน

**ไม่มีจนแน่ๆ หากว่ารู้วิธีบังคับให้ต้นมะละกอหันยอดเข้าหาแสง หากอิตาลีมีหอเอนเมืองปิซ่า เมืองไทยเราก็มีมะละกอต้นเอน

** เคล็ดลับจากกูรู ** เหตุผลที่ต้องเลือกมะละกอสายพันธุ์กระเทย เพราะผลที่ได้จะเป็นทรงกระบอก ซึ่งเป็นรูปร่างที่ตลาดต้องการและมีราคาดี

แหล่งอ้างอิงข้อมูล
นายสมโชค สำราญ
บ้านโคกอิฐ – โคกใน หมู่ที่ 2 ตำบลพร่อง อำเภอตากใบ จังหวัดนราธิวาส
โทรศัพท์ 089-5972788

++ รู้ไว้ใช่ว่า ++
มะละกอเป็นไม้ผลล้มลุกขนาดกลาง ความสูงระหว่าง 5 – 20 ฟุต เป็นพืชปลูกง่ายโตเร็ว ให้ผลเร็ว ให้ผลได้ตลอดทั้งปี โดยทั่วไปมะละกอเป็นพืชที่ไม่ค่อยมีแมลงรบกวน และปลูกได้ดีในดินทั่วไป แต่ต้องเป็นดินที่มีการระบายน้ำดี น้ำไม่ขังแฉะและมีอินทรีย์วัตถุมากพอสมควร เริ่มออกดอกเมื่ออายุ 130 – 150 วันหลังจากปลูกด้วยเมล็ดและสามารถให้ผลผลิต 3 – 4 ปี ถ้าไม่มีปัญหาโรคแมลงทำลาย สามารถเก็บเกี่ยวผลดิบได้เมื่ออายุ 3 – 4 เดือน และเก็บเกี่ยวผลสุกได้เมื่ออายุ 5 – 6 เดือนหลังดอกบาน

การบังคับเพศมะละกอผ่านความเย็น
การ ปลูกมะละกอเพื่อขายผลดิบ เรื่องความหนาของชั้นเนื้อ รสชาติ ขนาดและรูปทรงผล ของมะละกอ จะต้องเป็นที่ต้องการของตลาด ซึ่งความโดดเด่นของสิ่งต่างๆ เหล่า นี้ มักจะพบอยู่ในผลผลิตของมะละกอต้นกะเทย

ดัง นั้นในการเพาะปลูกมะละกอเพื่อจำหน่ายผลสด ชาวสวนจะคิดหาเทคนิคต่างๆ มาใช้ในการแปลงเพศมะละกอ ให้ได้ต้นที่สมบูรณ์เพศหรือต้นกะเทยมากที่สุด โดยลดอัตราการเกิดต้นตัวผู้และต้นตัวเมียลง ซึ่งในสามารถทำได้หลายวิธีในขณะที่มะละกอยังเล็กหรือเริ่มตั้งแต่ยังเป็น เมล็ดพันธุ์ ทั้งนี้ก็เพื่อวัตถุประสงค์ของต้นทุนในการผลิต และการจัดการสวนในส่วนที่จะต้องไปคัดแยกต้นเพศผู้และต้นตัวเมียออกจากแปลง เป็นหลัก
ที่สวนสุขแต่เช้าของคุณทรงธรรม ไทยราช อ.วังน้ำเย็น จ.สระแก้ว ที่ค้นพบวิธีบังคับเพศมะละกอให้มีเปอร์เซ็นต์ต้นสมบูรณ์เพศได้สูงกว่า 90%

ซึ่งคุณทรงธรรมได้ให้ข้อมูลผ่านนิตยสารไม่ลองไม่รู้ เพื่อเกษตรวันนี้ ฉบับเดือนมกราคม พ.ศ.2553 ไว้ดังนี้



เทคนิคการเปลี่ยนเพศมะละกอผ่านความเย็น :
** กล้าพันธุ์ที่ผมเพาะได้ส่วนใหญ่จะมีเปอร์เซ็นต์ต้นสมบูรณ์เพศสูงถึง 90 % **
โดยเริ่มจากการคัดเลือกต้นมะละกอที่ให้ผลดก รูปทรงสวย ต้นแข็งแรงไม่เป็นโรค เจริญเติบโตดี จากแปลงปลูก แล้วนำเมล็ดที่ได้จากต้นดังกล่าวมาลอยน้ำ เพื่อคัดเอาแต่เมล็ดที่จมน้ำ ซึ่งเป็นเมล็ดที่สมบูรณ์ดี แล้วคัดเมล็ดส่วนที่ลอยน้ำทิ้งไป


จากนั้นนำเมล็ดที่จมน้ำไปผึ่งลมให้แห้ง เมื่อเมล็ดแห้งสนิทดีแล้วจึงนำเมล็ดทั้งหมดไปเก็บรักษาไว้ในตู้เย็น เมื่อต้องการใช้เมล็ดไปขยายพันธ์ต่อให้นำเมล็ดเหล่านั้นมาห่อผ้าแล้วแช่ใน น้ำอุ่น นาน 3-4 ชั่วโมง ก่อนนำเมล็ดไปเพาะตามปกติ ก็จะทำให้ได้เปอร์เซ็นต้นสมบูรณ์เพศหรือต้นกระเทยสูง ซึ่งคุณทรงธรรมได้กำชับอีกด้วยว่าวิธีนี้ใช้ได้ผลดีทุกครั้ง หากเทียบกับในอดีตที่ผ่านมา ที่ไม่เคยนำเมล็ดไปแช่ในตู้เย็น ผลปรากฏว่า ต้นมะละกอที่เพาะได้กลายเป็นต้นตัวเมียเยอะมาก ทำให้ต้องตัดทิ้งทั้งหมด

เทคนิคการทำสาวมะละกอพันธุ์ครั่ง
ต้นไม้ที่ให้ผล ผลิตมาเป็นเวลานานก็เหมือนกับคนที่ต้องมีการบำรุงร่างกาย เพื่อชะลอการ ร่วงโรยของสังขาร ยิ่งเป็นการปลูกมะละกอที่มีอายุการเก็บเกี่ยวผลผลิตไม่ เกิน 2 ปี ยิ่งจำเป็นต้องบำรุงรักษาให้มะละกอรู้สึกว่ามันยังสามารถให้ผล ผลิตได้ดีอยู่ โดยเฉพาะสายพันธุ์ที่ต่ฃ้องการผลิตเพื่อจำหน่ายผลสด อย่าง มะละกอพันธุ์ครั่ง การทำสาวจะเป็นหารช่วยกระตุ้นให้มะละกอออกดอกผล เพิ่มพูน ผลผลิตได้เป็นอย่างดี

เทคนิคการทำสาวมะละกอพันธุ์ครั่ง
หลังจากปลูกมะละกอพันธุ์ครั่งลงแปลงได้ 5-6 เดือน มะละกอจะเริ่มมีผลผลิตให้เก็บเกี่ยว เมื่ออายุได้ประมาณ 9 เดือน ผล ผลิตในรุ่นจะเริ่มหมดลง ในระยะเวลานี้ให้ตัดยอดมะละกอออก ให้เหลือแต่ต้นสูงจากพื้นดินขึ้นมา 50 เซนติเมตร เป็นวิธีการกระตุ้นให้มะละกอพันธุ์ครั่ง ออกผลผลิตอีกครั้งในจำนวนที่มากกว่าเดิมหรือที่เรียกแบบชาวบ้านว่าการทำสาว มะละกอ
เมื่อตัดยอดเสร็จแล้วควรปล่อยให้รอยที่ถูกตัดนั้นแห้งเหี่ยวไปตาม ธรรมชาติ โดยไม่ต้องใช้ถุงคลุมยอดหรือทาปูนแดง เพราะมะละกอจะเหี่ยวแห้งไปจนถึงบริเวณตายอดใหม่ที่จะแตกออกมา บำรุงต้นหลังตัดยอดด้วยปุ๋ยสูตรเสมอ 16-16-16 หรือ สูตรไนโตรเจนสูง เช่น 32-10-10 พร้อมกับการใส่ปุ๋ยคอกเก่าบำรุงต้น พร้อมกับให้น้ำอย่างสม่ำเสมอ จนกระทั่งมียอดใหม่โผล่ขึ้นมา
ให้คัดเอายอดที่แข็งแรงสมบูรณ์ไว้เพียง 1 ยอด การเลี้ยงยอดใหม่ให้แข็งแรงสมบูรณ์ จำต้องหมั่นเด็ดยอดใหม่ที่จะโผล่ตามมาออกให้หมด เมื่อเลี้ยงยอดที่คัดไว้ไปได้ประมาณ 3 เดือน มะละกอก็จะเริ่มให้ผลผลิตอีกครั้งหนึ่ง

** การทำสาวมะละกอให้มีผลผลิตออกสู่ท้องตลาดได้ตามต้องการ เกษตรกรต้องนับถอยหลังไปจากระยะเวลาที่ต้องการให้ผลผลิตออกสู่ตลาดไปประมาณ 4-5 เดือน

มะละกอพันธุ์ "ขอนแก่น 80"
มะละกอ ”ขอนแก่น 80” ให้ผลเร็ว ต้านทานจุดวงแหวน
ปัญหา การระบาดของ โรคจุดวงแหวน ในแหล่งปลูกมะละกอที่เกิดขึ้นอย่างต่อเนื่อง ได้ สร้างความเสียหายและทำให้เกษตรกรเดือดร้อนค่อนข้างมาก นอกจากจะทำให้ผลผลิต ลดลงแล้ว มะละกอยังมีคุณภาพไม่ดี ส่งผลให้ไม่เป็นที่ต้องการของตลาดด้วย กรม วิชาการเกษตรจึงได้เร่งศึกษาวิจัยพัฒนาและ ปรับปรุงพันธุ์มะละกอให้มีความทน ทานต่อโรคจุดวงแหวนควบคู่ไปกับการพัฒนามะละกอผลเล็กเพื่อรองรับตลาดใน อนาคต กระทั่งได้มะละกอพันธุ์ใหม่ ชื่อ “ขอนแก่น 80” ซึ่งเป็นอีกทางเลือก หนึ่งของเกษตรกรที่จะใช้มะละกอพันธุ์นี้ผลิตเพื่อป้อนให้กับผู้บริโภคทั้ง ภายในและต่างประเทศ โดยเฉพาะ ตลาดมะละกอผลสุก น่าจะไปได้ค่อนข้างดี….

นาง วิไล ปราสาทศรี ผู้อำนวยการศูนย์วิจัยและพัฒนาการเกษตรขอนแก่น กรมวิชาการเกษตร กล่าวว่า มะละกอพันธุ์ขอนแก่น 80 เกิดจากการผสมข้ามพันธุ์ระหว่างมะละกอพันธุ์ Florida Tolerant ของมหาวิทยาลัยฟลอริดากับพันธุ์แขกดำที่คนไทยนิยมบริโภค โดยศูนย์วิจัยและพัฒนาการเกษตรขอนแก่นได้ดำเนินการคัดเลือกลูกผสมที่มีจำนวน มาก ด้วยการคัดเลือกต้นที่มีอาการโรคจุดวงแหวนน้อยที่สุดนำไปปลูกในแปลงทดลอง จากนั้นได้เก็บเมล็ดพันธุ์สำหรับการ ปลูกและคัดเลือกซ้ำถึง 5 รอบตั้งแต่ปี พ.ศ. 2530-2537

ช่วงปี พ.ศ. 2537-2540 ได้ทำการทดสอบพันธุ์ที่คัดเลือกได้ คือ พันธุ์ท่าพระ 1 ท่าพระ 2 และท่าพระ 3 ในหลายพื้นที่ทั้งแปลงทดลองของศูนย์วิจัย สถานีทดลอง และแปลงเกษตรกรในจังหวัดต่าง ๆ อาทิ จังหวัดขอนแก่น ศรีสะเกษ หนองคาย อุดรธานี หนองบัวลำภู เพชรบุรี และชุมพร ซึ่งคัดเลือกได้มะละกอที่มีผลขนาดเล็ก คือ พันธุ์ท่าพระ 3 แต่ยังมีความแปรปรวนของลักษณะผลและขนาดผล ปี พ.ศ. 2541-2547 จึงได้จัดทำโครงการคัดพันธุ์มะละกอท่าพระ 3 เพื่อพัฒนาให้ได้มะละกอผลเล็ก น้ำหนักไม่เกิน 1,000 กรัม ซึ่งสามารถคัดเลือกได้สายพันธุ์ TPL1 และ TPL2

จากการปลูกทดสอบมะละกอสายพันธุ์ TPL1 และ TPL2 ร่วมกับพันธุ์แขกดำศรีสะเกษและ Florida Tolerant พบว่าสายพันธุ์ TPL2 มีคุณภาพใกล้เคียงกับพันธุ์แขกดำศรีสะเกษซึ่งเป็นพันธุ์การค้าในปัจจุบัน ถือเป็นมะละกอพันธุ์ไทยที่มีศักยภาพเหมาะที่จะปลูกเป็นการค้าสำหรับกินสุก ที่มีผลขนาดเล็ก ซึ่งตลาดส่งออกให้การยอมรับ กรมวิชาการเกษตรจึงได้ตั้งชื่อมะละกอสายพันธุ์ TPL2 ว่า “ขอนแก่น 80” เป็นพันธุ์พืชแนะนำของกรมวิชาการเกษตร

มะละกอ พันธุ์ขอนแก่น 80 นี้ มีลักษณะเด่น คือ ต้นเตี้ย มีความสูงเฉลี่ย 1.32 เมตร ผลแรกเริ่มสุกภายใน 7 เดือน (เร็วกว่า มะละกอพันธุ์อื่น ๆ ที่ให้ผลผลิตที่อายุ 9-10 เดือน) โดยให้ผลผลิต 6,036.8 กิโลกรัมต่อไร่ ผลมีขนาดเล็ก น้ำหนักเฉลี่ย 770 กรัม ผิวเป็นมัน เปลือกหนา เนื้อแน่น สุกช้า ทนทานต่อการขนส่ง เมื่อผลสุกเนื้อมีสีแดงอมส้ม รสชาติหอมหวาน ความหวานเฉลี่ย 13.12 องศาบริกซ์ ทั้งยังมีความทนทานต่อโรคจุดวงแหวนดีด้วย อนาคตคาดว่า จะมีศักยภาพที่จะส่งเสริมให้เกษตรกรปลูกเป็นการค้าเพื่อกินสุกทั้งภายในและ ส่งออกไปยังต่างประเทศได้

ผอ.ศูนย์วิจัยและพัฒนาการเกษตรขอนแก่นกล่าวอีกว่า ขณะนี้ศูนย์วิจัยฯได้เร่งผลิตเมล็ดพันธุ์มะละกอขอนแก่น 80 เพื่อรองรับ ความต้องการของเกษตรกรผู้ปลูกมะละกอจาก 30-40 จังหวัด ที่ได้สั่งจองเมล็ดพันธุ์เพิ่มมาก ขึ้น เบื้องต้นมีแผนผลิตเมล็ดพันธุ์จำนวน 50 กิโลกรัม ซึ่งสามารถที่จะผลิตต้นกล้าและนำไปปลูกเพื่อการค้าได้ไม่น้อยกว่า 2,500 ไร่ ขณะเดียวกันยังได้เร่งเพาะต้นกล้าจำหน่ายให้กับ เกษตรกรด้วย ราคาถุงละ 5 บาท (ถุงละ 3 ต้น)
อย่างไรก็ตาม ปัจจุบันศูนย์วิจัยฯได้ขยายพื้นที่ผลิตเมล็ดพันธุ์มะละกอขอนแก่น 80 จากเดิมที่มีประมาณ 2-3 ไร่ เพิ่มเป็น 10 ไร่ ซึ่งคาดว่าจะเก็บเกี่ยวเมล็ดพันธุ์ลอตแรกได้ใน ช่วงเดือนตุลาคม-พฤศจิกายน 2552 นี้ อัตรา ไร่ 3-5 กิโลกรัม (เมล็ดพันธุ์ 1 กิโลกรัม สามารถเพาะเป็นต้นกล้าและนำไปปลูกเป็นการค้าได้ถึง 50 ไร่)

“เกษตรกรมีความต้องการเมล็ดพันธุ์มะละกอขอนแก่น 80 สูงมาก เนื่องจากมีราคาถูก กิโลกรัมละ 4,000 บาท หากสั่งนำเข้าจากต่างประเทศจะมีราคาแพงถึง 50,000-60,000 บาท/กิโลกรัม ดังนั้น ศูนย์ ฃวิจัยฯจึงต้องเร่งผลิตเมล็ดพันธุ์-เพื่อรองรับความต้องการของเกษตรกร อนาคตคาดว่ามะละกอพันธุ์นี้จะต้องตีตลาดส่งออกได้ดีอีกพันธุ์หนึ่ง โดยเฉพาะตลาดจีนและฮ่องกง” นางวิไล กล่าว
อย่างไรก็ตาม หากเกษตรกรต้องการเมล็ดพันธุ์ มะละกอขอนแก่น 80 ควรจองล่วงหน้าประมาณ 1 เดือน (จำกัดปริมาณการจองสูงสุดไม่เกินคนละ 500 กรัม) เพื่อกระจายเมล็ดพันธุ์อย่างทั่วถึง กรณีต้องการต้นกล้าควรสั่งซื้อล่วงหน้า 2 เดือน สามารถสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ ศูนย์วิจัยและพัฒนาการเกษตรขอนแก่น ต.ท่าพระ อ.เมือง จ.ขอนแก่น โทร. 0-4326-1504 ทุกวันในเวลาราชการ.

มะละกอพันธุ์ "ฮอลแลนด์"
การปลูกและการดูแลรักษามะละกอพันธุ์ฮอลแลนด์
มะละกอ เป็นผลไม้ยืนต้น ที่คนไทยนิยมรับประทานกันอย่างแพร่หลาย ทั้งมะละกอดิบเมนู ที่นิยมกันมากก็คือ ส้มตำ ส่วนมะละกอสุก ก็สามารถนำไปรับประทานสดเพื่อ สุขภาพ หรือแปรรูปในลักษณะต่างๆ ที่เป็นการสร้างมูลค่าเพิ่ม  ในส่วนของการ ปลูกมะละกอนั้นสามารถทำได้แต่ต้องใช้ความอดทนและการเรียนรู้ตลอด อย่าง เช่น คุณสมศักดิ์  ม่วงพานิช เกษตรกรผู้ปลูกมะละกอพันธุ์ฮอลแลนด์และพันธุ์ แขกดำ ที่สามารถสร้างรายได้ให้กับตนเองและครอบครัวเป็นอย่างดี ซึ่งมีราย ละเอียดการปลูกและการดูแล ดังนี้

การปลูกมะละกอฮอลแลนด์ : นิยมปลูกโดยวิธีการเพาะเมล็ดแล้วย้ายกล้าลงแปลงปลูก เมื่อต้นกล้ามีอายุได้ประมาณ 1 เดือน

วิธีการเพาะเมล็ด :
1. นำเมล็ดมะละกอแช่น้ำ 3 คืน โดยเปลี่ยนน้ำที่แช่บ่อยๆ อย่างน้อยวันละ 3 ครั้ง
2. นำเมล็ดมะละกอมาเพาะในถุงดินที่เตรียมไว้โดยให้ใส่ 3-4 เมล็ด/ถุง
3. รดน้ำให้ชุ่ม ประมาณ 9-10 วัน เมล็ดก็จะงอก
4. ทำการรดน้ำพอชุ่มวันละ 1 ครั้ง

ขั้นตอนการเตรียมดินและปลูกมะละกอ :
1. ทำการเตรียมพื้นที่ โดยการไถ ทำการตากดินไว้ประมาณ 5 วัน
2. ขุดหลุมลึกประมาณ 30ซม.ระยะห่างระหว่างต้นประมาณ 2.5X 2.5 เมตร 1 ไร่ จะปลูกได้ ราว 250 ต้น และรองก้นหลุมด้วยปุ๋ยคอกหรือปุ๋ยอินทรีย์
3. นำต้นมะละกอปลูกในหลุม กลบดินให้แน่น

การดูแลรักษา :
1. รดน้ำพอชุ่ม
2. ใส่ปุ๋ยสูตรผสม12-15-20 โดยระยะการให้ปุ๋ยคือ 1 เดือน/ครั้ง
3. หลังจากที่ลงปลูกมะละกอไปได้ประมาณ 3 เดือน มะละกอทั้ง 3 ต้นที่อยู่ในหลุมเดียวกันจะเริ่มออกดอก ให้ทำการตัดต้นที่เป็นตัวผู้และตัวเมียทิ้ง เหลือไว้แต่ “ต้นกะเทย” เนื่องจากต้นกะเทยจะให้ผลที่ดก และลูกมะละกอที่ออกมาจะยาวสวย เนื้อหนากว่าต้นที่เป็นตัวเมียและตัวผู้ โดยการสังเกตต้นกะเทยนั้นก็ให้ทำการแหวกกลีบดอกดู ถ้าต้นไหนที่มีทั้งเกสรตัวเมียและตัวผู้อยู่ในดอกเดียวกัน
4. หลังจากต้นมะละกออายุได้ 8 เดือนไปแล้ว ก็จะสามารถเก็บผลขายได้ทุกสัปดาห์ ไปจน 3 ปี ต้นมะละกอจึงจะหมดอายุ ไม่สามารถให้ผลผลิตได้ ต้องตัดทิ้ง ปลูกใหม่


เกร็ดเพิ่มเติม :
- มะละกอฮอลแลนด์จะให้ผลผลิต เฉลี่ยไม่น้อยกว่า 100 กก. ต่อ ต้น ตลอดอายุการเพาะปลูก
- ราคาผลผลิตที่ขายได้จะอยู่ที่ 8-16 บาท ต่อ กิโลกรัม
- ราคาเมล็ดพันธุ์ กิโลกรัมละประมาณ 1,000 บาท เมล็ดพันธุ์ 1 กิโลกรัม สามารถนำมาขยายพันธุ์ปลูกได้ประมาณ 50 ไร่
- หลังย้ายปลูก 9 เดือนก็สามารถเก็บผลสุกมะละกอจำหน่ายได้ โดยสังเกตดูที่ผลหากมีแต้มปรากฏอยู่บนผล 2-3 แต้มก็สามารถเก็บเกี่ยวผลผลิตได้
- สภาพอากาศร้อนจะมีอิทธิพลต่อการเปลี่ยนดอกกระเทยให้กลายเป็นดอกตัวเมีย และถ้ามีอากาศร้อนมาก ๆ จะทำให้มะละกอไม่ติดดอกได้ จึงควรให้มีความชื้นอย่างเพียงพอในช่วงที่มีอากาศร้อนจัด
- มะละกอจะมีราคาแพงขึ้นในช่วงเดือนสิงหาคม-กันยายน


ลักษณะประจำพันธุ์ของมะละกอฮอลแลนด์ :
มะละกอฮอลแลนด์ ลำต้นใหญ่สีเขียว ใบมี 11 แฉกใหญ่ กลางใบมีกระโดงใบ 1 ใบ ก้านใบมีสีเขียวตั้งขึ้น ดอกออก เป็นช่อ ติดผลดก รูปทรงกระบอกคล้ายลูกฟักอ่อน อายุ เก็บเกี่ยว 8 เดือน น้ำหนักผลประมาณ 800-2,000 กรัม ต่อผล เนื้อสีแดงอมส้ม ไม่เละ เนื้อหนา 2.5-3.0 เซนติเมตร ความหวานวัดได้ 11-13 องศาบริกซ์ ผลผลิตต่อต้น 60-80 กิโลกรัม จุดเด่นที่มองออกง่ายมากว่าผลมะละกอฮอลแลนด์เป็นอย่างไรนั้น ที่ปลายผลจะป้านคล้ายผลฟักอ่อน [ที่มา : www.kasetporpeang.com/holland_papaya.htm]
ลักษณะเด่นของมะละกอฮอลลแลนด์ คือ ไม่มีกลิ่นยาง เนื้อหนา รสหวาน เปลือกหนา ทนทานต่อโรค ทนทานต่อการขนส่งให้ผลดก เนื้อแน่นแข็ง น้ำหนักดี รสชาติหวาน ทนทานต่อโรค มีตลาดรองรับ มะละกอพันธุ์นี้มีอายุเก็บเกี่ยว 8 เดือน น้ำหนักผลอยู่ที่ประมาณ 0.8-1.2 กก.ต่อผล เนื้อมีสีแดงอมส้ม ไม่เละ เนื้อหนา 2.5-3.0 เซนติเมตร ผลผลิตต่อต้น 60-80 กิโลกรัม มะละกอพันธุ์ฮอลแลนด์นี้สามารถปลูกได้เกือบทุกสภาพพื้นที่ ยกเว้นพื้นที่น้ำขัง ดินที่เหมาะสมควรเป็นดินเหนียวปนทราย

สภาพแวดล้อมที่เหมาะสมต่อการเพาะปลูกมะละกอฮอลแลนด์ :

สามารถปลูกได้ทุกสภาพพื้นที่ ยกเว้นพื้นที่น้ำขัง ดินที่ เหมาะสมมีความเป็นกรดเป็นด่าง 5.5-5.0 ระยะปลูก 2.5×3 เมตร ไร่หนึ่งปลูกได้ 224 ต้น หากปลูกแล้ว ให้น้ำสม่ำเสมอ มะละกอจะให้ผลผลิตที่ดีมาก ปุ๋ยที่ใส่ให้ เริ่มต้นที่ปุ๋ยหมัก ปุ๋ยคอก สำหรับปุ๋ยวิทยาศาสตร์ใช้ สูตร 15-15-15 ระยะที่ติดผลอ่อน ก่อนการเก็บเกี่ยวใส่ สูตร 13-13-21 ใส่รอบๆ ต้น จำนวน 1 ช้อนโต๊ะ ต่อต้น เมื่อปลูกได้ 7-8 เดือน มะละกอฮอลแลนด์จะสุกแก่ เริ่มเก็บได้ ปริมาณผลผลิต หากดูแลปานกลาง จะได้ผลผลิตราว 5-8 ตัน ต่อไร่

วิธีการเก็บเกี่ยวมะละกอฮอลแลนด์ 
เลือกเก็บเฉพาะผลที่สุก 5-10 เปอร์เซ็นต์ คือ ผิวมีแต้มสีเหลืองเล็กน้อย

สูตรเด็ด เพิ่มความหวานมะละกอฮอนแลนด์

น้ำหมักสูตรพิเศษ เพิ่มความหวานให้มะละกอ
หาก เอ่ยชื่อมะละกอฮอนแลนด์ คิดว่าท่านผู้อ่านหลายคนคงรู้จักกันดีนะครับ มะละกอถือว่าเป็นพืชเศรษฐกิจที่น่าสนใจอีกชนิดหนึ่ง โดยเฉพาะมะละกอฮอนแลนด์ มีเกษตรกรท่านหนึ่งข้างบ้านผมนี่เองครับ ปลูกไว้ประมาณ 10 กว่าไร่ ผลกำไรก็ถือว่าค่อนข้างดีครับ โดยส่วนตัวผมเอง ปลูกไว้กินในครอบครัวแค่ไม่กี่ต้น ส่วนใหญ่จะปลูกมะละกอพันธุ์แขกดำ ตะโก้ ไว้ขายนิดๆ หน่อยๆครับ แต่ประเด็นสำคัญที่ผมจะมาแนะนำเกษตรกรที่ปลูกมะละกอ ในบทความนี้ ก็คือเทคนิคส่วนตัวที่ใช้เพิ่มความหวานให้มะละกอทุกชนิด ย้ำว่าทุกสายพันธุ์ครับ ไม่ว่าจะปลูกไว้กินเอง หรือขายก็ตามครับ ไม่ได้โม้ให้เชื่อ แต่อยากให้ลองดูครับ ไม่ต้องลงทุนอะไรมากมาย แถมยังเป็นวิธีที่ปลอดภัยต่อผู้บริโภคด้วย เทคนิคของผมจะเริ่มตั้งแต่มะละกอกำลังตั้งช่อดอกครับ คือผมจะใช้น้ำหมักชีวภาพ สูตรที่ผมเรียกว่า “น้ำหมักสูตรมะละกอหวาน” เริ่มพ่นตั้งแต่มะละกอตั้งช่อดอกจนถึงลูกโตประมาณเท่าขวดน้ำปลา พ่นทุก 15-30 วัน ได้ผลโต ผลดก ผิวสวย ได้รสชาติหวานเป็นที่น่าพอใจครับ
สูตรน้ำหมักเพิ่มความหวานมะละกอ..ดังนี้
1. ใช้มะละกอสุกงอมหนึ่งลูก หรือ 1 กก.
2. กล้วยน้ำว้าสุก 1 กก.
3. หน่อกล้วยน้ำว้าสูงประมาณ 1 เมตร (ต้นเดียว)
4. กากน้ำตาล หรือน้ำตาลทราย 1 กก.
5. สารเร่ง พด.2 จำนวน 1 ซอง
วิธีทำก็ง่ายๆ ครับ ให้เพื่อนๆละลายกากน้ำตาลกับน้ำจำนวน 1 ลิตร พร้อมด้วยสารเร่ง พด.2 คนให้เข้ากัน จากนั้นให้นำส่วนผสมในข้อ 1 – 3 (จะหั่น สับ หรือตำก็ได้) มาผสม คนให้เข้ากัน หมักไว้ในถังพลาสติกตั้งไว้ในที่ร่ม 10 – 15 วัน จะสังเกตเห็นราขาว ลอยอยู่เหนือผิวน้ำหมัก นั่นแสดงว่าทำถูกวิธีครับ เพียงเท่านี้ก็กรองเอาแต่น้ำใส่ขวดเก็บไว้ในที่ร่ม (ช่วงแรกๆ ต้องคอยเปิดฝาเพื่อระบายก๊าซออก) ส่วนกากก็ไม่ต้องทิ้งสามารถนำไปใส่โคนต้นไม้ แต่แนะนำให้ใส่ห่างจากโคนต้นด้วยนะครับ เพราะกากของน้ำหมัก หรือตัวน้ำหมักเองจะมีความเป็นกรดอยู่บ้าง เสร็จแล้วนำน้ำหมักสู่ตรมะละกอหวานไปพ่นได้ทันที อัตราการใช้ของผมจะอยู่ที่ 10 ซีซี ต่อน้ำ 20 ลิตรครับ พ่นในตอนเช้า ช่วงที่ไม่มีแสงแดด หรือตอนเย็นที่แสงแดดอ่อนๆ รับรองได้ผลเป็นที่น่าพอใจครับ

มะละกอพันธุ์ "ครั่ง"
”ครั่ง” มะละกอไทย เพื่อทำส้มตำโดยเฉพาะ
แต่เดิมคนไทยมัก จะคุ้นเคยกับมะละกอดิบพันธุ์แขกนวลหรือมะละกอแขกดำ ที่นำมาตำส้มตำซึ่งเป็น อาหารยอดฮิตของคนไทย แต่มะละกอไทยที่มีชื่อว่า พันธุ์ “ครั่ง”  เป็นสาย พันธุ์มะละกอที่ศูนย์และพัฒนาอาชีพการเกษตร จังหวัดมหาสารคาม (พันธุ์พืช เพาะเลี้ยง) สำนักส่งเสริมและพัฒนาการเกษตรเขตที่ 4  จังหวัดขอนแก่น กรมส่ง เสริมการเกษตร ได้พัฒนาสายพันธุ์เพื่อการผลิตเป็นมะละกอดิบใช้ทำส้มตำโดย เฉพาะ ด้วยลักษณะเด่นตรงที่เป็นมะละกอที่ให้ผลผลิตสูงหลังจากย้ายต้นกล้าลง ปลูกในแปลงใช้เวลาปลูกเพียง 5-6 เดือน เริ่มเก็บเกี่ยวผลดิบจำหน่ายเป็น มะละกอส้มตำได้ เน้อของมะละกอดิบพันธุ์ครั่งจะมีความกรอบและรสชาติหวานกว่า มะละกอดิบสายพันธุ์อื่น เมื่อเก็บผลดิบลงมาจากต้นจะคงสภาพในอุณหภูมิปกติโดย ไม่เหี่ยวและคุณภาพไม่เปลี่ยนแปลงนานถึง 1 สัปดาห์ ทำให้พ่อค้าที่มารับซื้อ จะชะลอการจำหน่ายได้


ลักษณะประจำพันธุ์ของมะละกอพันธุ์ครั่ง :
จากการคัดเลือกพันธุ์ยังพบว่าเมล็ดมะละกอพันธุ์ครั่ง ยังมี 3 เพศ ต้นกะเทย ต้นตวเมีย และต้นตัวผู้ ดังนั้น เกษตรกรที่ได้เมล็ดไปปลูกจะต้องมีการคัดเลือกต้นในแปลงอีกครั้งหนึ่ง ถ้าสังเกตให้ดีจะพบว่ามะละกอพันธุ์ครั่งจะมีลักษณะเหมือนมีมะละกอ 2สายพันธุ์อยู่ภายในต้นเดียวกัน คือระยะต้นเล็กจะมีสีแดงอมม่วง บริเวณก้านใบและมีจุดตามลำต้นคล้ายกับมะละกอพันธุ์โกโก้ เมื่อต้นเจริญเติบโตเต็มที่สีเหล่านั้นจะหายไป ในขณะที่พันธุ์โกโก้และจุดยังคงเดิม และเมื่อผลสุกเนื้อมะละกอพันธุ์ครั่งจะมีสีเหลืองอมส้มคล้ายกับมะละกอพันธุ์ สายน้ำผึ่ง มะละกอพันธุ์ครั่งที่คัดพันธุ์ขึ้นมาใหม่นี้จะเป็นมะละกอต้นเตี้ย มีลักษณะผลใหญ่และยาว(ต้นกะเทย)บริเวณผลจะมีร่องข้างผลยาวตลอดตั้งแต่หัวไป ยังท้ายผล เมื่อผ่าดูลักษณะภายในจะมีความหนาของเนื้อประมาณ 2 เซนติเมตร สีของเนื้อมีสีขาวขุ่นและไม่แข็งกระด้าง รสชาติหวานกว่าพันธุ์แขกนวล จากการศึกษาในแปลงปลูกของทางราชการหรือในแปลงปลูกของเกษตรกรหรือแม้แต่ใน แปลงปลูกของแผนกฟาร์มชมรมเผยแพร่ความรู้ทางการเกษตร จังหวัดพิจิตรพบว่ามะละกอพันธุ์ครั่งมีความต้านทานต่อโรค ไวรัส จุดวงแหวนได้ดีระดับหนึ่ง

การปลูกมะละกอพันธุ์ครั่งในเชิงพาณิชย์ :
เกษตรกรจะต้องเริ่มต้นด้วยการเพาะเมล็ดมะละกอพันธุ์ครั่งอย่างถูกวิธีเสียก่อน

การเพาะเมล็ดมะละกอพันธุ์ครั่ง
ด้วยการใช้วัสดุเพาะที่มีสัดส่วนของหน้าดิน 2 ส่วน ขี้เถ้าแกลบ 2 ส่วน แกลบดิบ 1 ส่วน ปุ๋ยคอก 1 ส่วน และขุยมะพร้าว 1 ส่วน ให้แช่เมล็ดมะละกอไว้ประมาณ 12 ชั่วโมง จากนั้นนำมาแช่ในน้ำอุ่น(ใช้มือจุ่มลงไปในน้ำรู้สึกว่าไม่ร้อน) นานประมาณ 1 ชั่วโมง เพื่อกระตุ้นการงอกของเมล็ด

การเตรียมแปลงและระยะปลูกมะละกพันธุ์ครั่ง
แปลงที่จะใช้ปลูกมะละกอพันธุ์ครั่งควนจะยกแปลงลูกแบบลูกฟูกหรือร่องลอย ให้มี ความกว้างของแปลง 6 เมตร ใน 1 แปลงปลูก จะปลูก 2 แถวคู่ ระยะปลูกระหว่างต้น 2.5 เมตร ระหว่างแถว 3 เมตร พื้นที่ปลูก 1 ไร่ จะปลูกมะละกอครั่งได้ ประมาณ 192 ต้น มีเกษตรกรบางรายจะยกแปลงเป็นลูกฟูกและจะปลูกมะละกอพันธุ์ครั่งเพียงแถวเดียว โดยใช้ระยะปลูก 3 x 3 เมตร หรือต้องการให้มีการถ่ายเทอากาศได้ดีอาจจะปรับระยะปลูกเป็น 3.5 x 3.5 เมตร ก็ได้ แต่ละหลุมปลูกควรปลูก 2-3 ต้น เพื่อคัดต้นตัวผู้ทิ้ง(ซึ่งพบน้อยมาก) แต่ถ้าจะปลูกเพื่อผลิตเมล็ดพันธุ์ ควรคัดต้นตัวเมียทิ้งด้วย แต่สำหรับเกษตรที่ปลูกเพื่อผลิตเป็นมะละกอดิบขายไม่จำเป็นต้องตัดต้นตัวเมีย ทิ้ง เนื่องจากทรงผลจะออกยาวไม่กลมเหมือนกับมะละกอพันธุ์แขกนวลหรือพันธุ์แขกดำ

สภาพดินและการปลูกมะละกอพันธุ์ครั่ง
ถ้าเป็นดินร่วนปนทราย เกษตรกรไม่ควรขุดหลุมปลูกให้มีความลึกเกิน 30 เซนติเมตร แต่ควรจะขุดหลุมให้กว้างๆ เพราะเมื่อมีการให้น้ำดินจะยุบตัวทำให้หลุมปลูกระบายน้ำไม่ได้ ผลที่ตามมาจะทำให้โคนโคนและรากมะละกอเน่าได้ เกษตรกรที่ไม่ต้องการให้ต้นมะละกอพันธุ์ครั่งสูงควรจะโน้มต้นลงเพื่อป้องกัน การหักล้มในช่วงที่มีการติดผลดก ในสภาพพื้นที่ปลูกที่อยู่ในพื้นที่สูงและมีสภาพลมแรงไม่มีไม้บังลม เกษตรกรจำเป็นจะต้องโน้มต้นลงเมื่อต้นมะละกอมีอายุได้ 1 เดือน เกษตรกรที่ปลูกมะละกอพันธุ์ครั่งควรจะคลุมโคนต้นด้วยฟางข้าวหรือเศษหญ้า
หลังจากต้นมะละกอมีอายุได้ 1 เดือนเริ่มใส่ปุ๋ยเคมีสูตรเสมอ เช่น สูตร 16-16-16 หรือ 19-19-19 ใส่ให้ต้นละ 50-100 กรัม ปัจจุบันราคาปุ๋ยเคมีมีราคาแพงมากขึ้น เกษตรกรอาจจะสลับมาใส่ปุ๋ยคอกสลับบ้าง เช่นปุ๋ยขี้ไก่ โดยใส่ปุ๋ยเคมีเหลือเพียงเดือนละ 1 ครั้งก็พอ และใส่ให้ต้นละประมาณ 1 กำมือ
อย่างไรก็ตาม น้ำจัดเป็นปัจจัยที่มีความสำคัญในการปลูกมะละกอพันธุ์ครั่ง ตั้งแต่เริ่มหลุมปลูกจนเก็บเกี่ยวผลดิบขาย อย่าปล่อยให้ต้นมะละกอขาดน้ำ จะมีการติดตั้งระบบการให้น้ำแบบมินิสปริงเกอร์ต้นละ 1 หัว ก็ได้หรืออาจจะให้น้ำแบบปล่อยตามร่องจะให้3-5วันต่อครั้งก็ได้ หลังจากที่ลงหลุมปลูกแล้วถ้าเป็นไปได้ใต้ต้นมะละกอทุกต้นควรจะคลุมด้วยฟาง ข้าวเพื่อลดปริมาณวัชพืชและช่วยรักษาความชื้นในดิน ในทางปฏิบัติการใช้สารป้องกันและกำจัดวัชพืชในแปลงปลูกมะละกอยังมีข้อจำกัด และเกษตรกรจะต้องมีความระมัดระวังเป็นพิเศษ แม้แต่สารในกลุ่มไกลโฟเสก็ตามอาจจะมีผลข้างเคียงกับต้นมะละกอพันธุ์ครั่งได้

ความแตกต่างระหว่างการปลูกมะละกอพันธุ์ครั่ง หลุมละ 1 ต้น และ 2 ต้น
ในการคัดเลือกต้นมะละกอพันธุ์เมื่อเริ่มมีการออกดอกและติดผลให้คัดต้นตัว ผู้ ทิ้งเท่านั้น ซึ่งมีน้อยมาก ต้นตัวเมียถึงแม้จะให้ลูกกลมแต่ก็กลมไม่มาก และมีความยาวของผลพอสมควรขายเป็นมะละกอดิบเพื่อทำส้มตำได้ การปลูกมะละกอพันธุ์ครั่งเพียงหลุมละ 1 ต้น จะได้ต้นมะละกอที่มีลำต้นที่อวบอ้วน ขนาดของผลจะใหญ่และสมบูรณ์มากในขณะที่ปลูกหลุมละ 2 ต้น ถึงแม้ต้นจะยังคงมีความสมบูรณ์ แต่ขนาดของลำต้นเล็กกว่าเนื่องจากแย่งอาหารกันมีผลทำให้มะละกอมีขนาดเล็ก เรียวยาวและน้ำหนักผลน้อยกว่า แต่เป็นข้อดีตรงที่ผลมะละกอดิบไม่ใหญ่จนเกินไป

เทคนิคการทำสาวมะละกอพันธุ์ครั่ง
มะละกอพันธุ์ครั่ง จะให้ผลผลิตและเก็บจำหน่ายผลดิบหลังจากที่ย้ายต้นกล้าลงปลูกในแปลง 5-6 เดือน จากการสังเกตลักษณะของการออกดอกและติดผลของมะละกอสายพันธุ์นี้คือ ในช่วงเดือนที่ 9 หลังการปลูกลงดินผลผลิตจะหมดในรุ่นแรกหรือที่ชาวบ้านเรียกว่าหมดคอแรก ในช่วงระยะเวลาดังกล่าวจะเหมาะที่จะตัดต้นมะละกอพันธุ์ครั่งแล้วเลี้ยงยอด ใหม่หรือเรียกว่าวิธีการทำสาวหลังจากตัดต้นทำสาวเพียง 3 เดือน เท่านั้น ขอดใหม่ของมะละกอพันธ์ครั่งจะเริ่มออกดอกและเก็บเกี่ยวผลผลิตขายได้ในเวลา ต่อมา ข้องดีของการทำสวนมะละกอพันธุ์ครั่งจะทำให้เก็บเกี่ยวผลผลิตง่าย เพราะมะละกอมีต้นเตี้ยเหมือนกับต้นที่ปลูกใหม่และส่งผลต่อการดูแลรักษาที่ ง่ายขึ้น การทำสาวมะละกอจะยังคงรักษาพันธุ์เดิมไม่มีการกลายพันธุ์ถ้าปลูกในครัวเรือน ไม่ต้องปลูกใหม่ทุกปี
สำหรับเกษตรกรที่ปลูกมะละกอพันธุ์ครั่งในเชิงพาณิชย์ สามารถกำหนดการให้ผลผลิตได้โดยวิธีการทำสาว สามารถกำหนดให้มะละกอมีจำหน่ายได้ในช่วงหน้าแล้ง(ในช่วงฤดูแล้งราคามะละกอ ดิบจะมีราคาแพงที่สุดคือตั้งแต่เดือนมกราคมเป็นต้นมาจนถึงเทศกาลสงกรานต์ใน ช่วงเวลาดังกล่าวบางปีราคามะละกอดิบขายจากสวนมีราคาสูงถึงกิโลกรัมละ 8-15 บาท โดยเกษตรกรนับถอยหลังไปราว 4-5เดือน และตัดต้นมะละกอทำสาวในช่วงเวลานั้น เช่น จะให้ต้นมะละกอพันธุ์ครั่งให้ผลผลิตขายได้ในเดือนมกราคม ให้ตัดต้นมะละกอเพื่อทำสาวในช่วงเดือนกรกฎาคม- สิงหาคม เป็นต้น

วิธีการทำสาวมะละกอพันธุ์ครั่ง
แนะนำให้เกษตรกรตัดต้นมะละกอพันธุ์ครั่งสูงจากพื้นดิน 50 เซนติเมตร เหตุผลที่จะต้องตัดที่ความสูงระดับนี้เผื่อเอาไว้ให้ลำต้นมะละกอต้องผุ เปื่อยเน่าลงมาอีกประมาณ 1 คืบมือ หลังจากตัดต้นมะละกอแล้วไม่จำเป็นจะต้องทายาเชื้อราหรือปูนแดง เนื่องจากลำต้นมะละกอจะผุเปื่อยลงไปจนถึงจุดทียอดตาใหม่จะแตกออกมาเกษตรกร อาจจะสงสัยว่าเมื่อตัดต้นมะละกอแล้วจำเป็นจะต้องเอาถุงพลาสติกมาคลุมต้น มะละกอเพื่อป้องน้ำหรือฝนที่จะทำให้ต้นเน่าได้หรือไม่ ความจริงแล้วถ้าเกษตรกรใช้ถุงพลาสติกมาคลุมรอยแผลจะทำให้ต้นเน่าได้ง่ายขึ้น เนื่องจากน้ำที่ระเหยจากลำต้นจะไปเกาะติดที่พลาสติกจนน้ำขังภายในลำต้น ไม่มีการระบายน้ำออก จะส่งผลให้ลำต้นเน่าแต่ถ้าตัดต้นแล้วปล่อยไว้ตามธรรมชาติไม่ต้องทำอะไร เมื่อมีฝนตกลงมาและมีน้ำขังอยู่ที่บริเวณรอยแผล น้ำจะแห้งหรือระเหยไปเองเพราะจะโดนแดด โดนลมแต่เกษตรกรจะต้องเจาะรูเพื่อให้น้ำมีทางระบายอกจากลำต้นด้วย
หลังจากที่ตัดต้นทำสาวมะละกอพันธุ์ครั่งแล้ว แนะนำให้ใส่ปุ๋ยเคมีสูตรเสมอ เช่น สูตร16-16-16 หรือสูตรที่ไนโตรเจนสูง เช่น สูตร 32-10-10 พร้อมทั้งใส่ปุ๋ยคอกเก่าบำรุงต้นไปพร้อมกัน และมีการให้น้ำอย่างสม่ำเสมอเพื่อเร่งให้ต้นมะละกอแตกยอดออกมาใหม่ เมื่อมีการแตกยอดออกมาจำนวนมากให้คัดเลือกยอดมะละกอพันธุ์ครั่งที่มีความ สมบูรณ์ไว้เพียงยอดเดียวเท่านั้นและจะต้องหมั่นเด็ดยอดที่ไม่ต้องการออกให้ หมด เพื่อไม่ให้เจริญเติบโตแข่งกัน หลังจากที่เลี้ยงยอดไปนานประมาณ 3 เดือน จะเริ่มออกดอกและติดผล

ปัจจุบันส้มตำเป็นอาหารหลักของคนอีสานและเป็นอาหารที่ได้เผยแพร่ไปทั่ว ทุก ภาคของประเทศ นอกจากนั้นยังแพร่หลายกลายเป็นอาหารที่คนต่างชาติรู้จักกันมากขึ้น คนไทยส่วนใหญ่ยังไม่รู้จักมะละกอพันธุ์ครั่ง วิธีสังเกตง่ายๆ คือ จะมีร่องที่ผลเมื่อซื้อไปทำส้มตำแล้วล้วนแต่ประทับใจในความอร่อยและกรอบกว่า มะละกอสายพันธุ์อื่นๆ สำหรับเกษตรกรที่คิดจะปลูกมะละกอพันธุ์ครั่งในเชิงพาณิชย์มีตัวอย่างเกษตรกร ที่ จ.เพชรบูรณ์ คือ คุณยุพิน บั้งทอง เริ่มปลูกมะละกอพันธุ์ครั่งในพื้นที่เพียง 2 ไร่ หลังจากปลูกต้นกล้าลงดินไปนานประมาณ 5 เดือนเท่านั้น เก็บมะละกอดิบขายได้มากถึง 5,000 กิโลกรัม(ทวีศักดิ์ ชัยเรืองยศ)

รอบรู้เรื่อง”มะละกอ”
นอกจากจะใช้ มะละกอบริโภคเป็นอาหารในชีวิตประจำวันแล้ว   ผลมะละกอดิบ   ผลมะละกอ สุก   และส่วนของยางยังใช้เป็นประโยชน์ทางด้านอุตสาหกรรมได้อีกหลาย ๆ  ด้าน เช่น   เนื้อมะละกอดิบสามารถนำไปทำมะละกอเชื่อม   แช่อิ่ม   ดองเค็ม  หรือ ใช้ในโรงงานปลากระป๋อง   ผลมะละกอสุกสามารถใช้ทำน้ำผลไม้   ผลิตซ๊อส   ผล ไม้กระป๋อง   แยม   ลูกกวาด   และมะละกอผง   เปลือกมะละกอใช้ทำเป็นอาหาร สัตว์หรือสีผสมอาหาร   ยางมะละกอใช้ในโรงงานผลิตเบียร์   ผลิตน้ำ ปลา   อาหารกระป๋อง   อุตสาหกรรมเคมีและเครื่องสำอางค์   เป็นต้น
เนื้อบริเวณโคนลำต้นหั่นเป็นชิ้นเล็ก ๆ  ลวกกับเกลือตากแดดทำแบบหัวผักกาด เค็มเป็นอาหาร   ยามขาดแคลนอาหาร   ในหมู่เกาะอินเดียตะวันออกนั้นกินยอดต้น อ่อนและใบอ่อนเป็นอาหาร   นอกจากนี้ส่วนต่าง ๆ  ของมะละกอยังมีสรรพคุณเป็น ยาสมุนไพร   เช่น   เมล็ดขับพยาธิ  เป็นต้น
ส่วนที่เป็นประโยชน์ของมะละกอ คือ   ช่วยแก้กระหายน้ำ   เนื่องจากมีปริมาณ ความชื้นสูง   เหมือนผักผลไม่อื่นทั่วไป   มีบริเวณของคาร์โบไฮเดรตและเส้น ใยค่อนข้างสูงทำให้ช่วยในระบบขับถ่ายของเสียจากร่างกาย   นอกจากนี้ยังมีแร่ ธาตุและวิตามินต่าง ๆ  สูง  คือธาตุเหล็ก  (บำรุงเลือด)  แคลเซียม  (บำรุง กระดูก)  วิตามินเอ  (บำรุงสายตา)  วิตามินบี  (บำรุงประสาท)  และวิตามิน ซี  (รักษาเลือดออกตามไรฟันหรือโรคลักปิดลักเปิด)   อย่างไรก็ตามวิตามิน บางอย่างที่ทนต่อความร้อนสูงไม่ได้และจะสลายตัวไปในระหว่างการแปรรูปเป็น ผลิตภัณฑ์สำเร็จรูป

พันธุ์มะละกอที่ปลูกเป็นการค้า : ได้แก่
1. มะละกอพันธุ์พื้นเมือง เป็น มะละกอที่ปลูกกันมานานโดยมีการปล่อยให้มีการผสมข้ามกันเองตามธรรมชาติ ส่วนใหญ่จะมีผลขนาดกลางถึงขนาดเล็ก เนื้อบาง ช่องว่างในผลกว้าง ผลสุกเนื้อสีเหลืองค่อนข้างเละ จึงนิยมบริโภคดิบมากกว่า การออกดอกติดผลช้าเป็นมะละกอที่ปล่อยให้ขึ้นเองตามธรรมชาติ หรือปลูกตามหัวไร่ปลายนา จึงมีความทนทานต่อสภาพแวดล้อมต่าง ๆ ได้ดี จึงพบในท้องถิ่นและภาคต่าง ๆ ที่ไม่ได้มุ่งหวังทำเพื่อการค้า
2. มะละกอพันธุ์แขกดำ เป็นพันธุ์ที่ได้รับความนิยมปลูกกันมากและเป็นที่ต้องการของตลาด ลักษณะเป็นมะละกอต้นเตี้ย ก้านใบสีเขียว ก้านใบสั้น ในหนากว่ามะละกอพันธุ์อื่น ๆ ขนาดผลมีส่วนหัวและท้ายของผลเกือบเท่ากัน เปลือกหนาสีเขียวเข้มผิวขรุขระเล็กน้อย ขนาดผลประมาณ 1.2-1.5 กิโลกรัม ผลสุกมีรสหวาน เมล็ดน้อยช่องว่างภายในผลแคบ เนื้อแข็งสีแดง ขนาดเหมาะที่ทำส้มตำจะเก็บในขณะที่มีน้ำหนัก 500-750 กรัม
3. มะละกอพันธุ์โกโก้ เป็นมะละกอ พันธุ์ที่นำมาปลูกนานแล้ว ต้นเล็ก ๆ จะมีจุดประสีม่วง ก้านใบมีสีม่วง ลักษณะผล ส่วนปลายผลเล็กเรียว ส่วนหัวผลซึ่งใกล้ขั้วมีลักษณะเป็นทรงกระบอกใหญ่ ผิวสีเขียว ผลค่อนข้างเรียบ ช่องว่างระหว่างผลเป็นเหลี่ยมชัดเจน ช่องว่างภายในผลกว้าง สุกแล้วเนื้อสีแดงหรือส้มเหมาะสำหรับบริโภคสุก
4. มะละกอสายพันธุ์น้ำผึ้ง ลักษณะ ต้นเตี้ย ก้านใบสีเขียวอ่อนหรือเขียวปนขาว ก้านใบยาวกว่าแขกดำ ใบกว้างกว่าแขกดำแต่ใบบางกว่า จำนวนแฉกของใบมีน้อยกว่าแขกดำและโกโก้ ผลค่อนข้างโต ผลด้านขั้วจะเล็กแล้วขยายโตขึ้นบริเวณใกล้ปลายผล เปลือกผลสีเขียว เนื้อเมื่อสุกมีสีส้มปนเหลือง หรือสีส้ม เนื้อเละรสหวาน
5. มะละกอพันธุปากช่อง1 เป็นพันธุ์ใหม่ล่าสุดที่สถานีวิจัยปากช่อง อำเภอปากช่อง จังหวัดนครราชสีมา ได้ผสมพันธุ์นี้ขึ้นจากการนำเอามะละกอสายพันธุ์ซันไรส์ โซโล จากประเทศไต้หวันมาทำการปลูกและผสมพันธุ์ตัวเองอยู่ 5 ชั่วอายุ พันธุ์ปากช่อง1 มีลักษณะที่ดีเด่นคือเป็นมะละกอต้นค่อนข้างเตี้ยมาก ให้ผลผลิตครั้งแรกเมื่ออายุประมาณ 8 เดือน หลังจากปลูกผลในระยะแรกอยู่เหนือจากระดับพื้นดินประมาณ 70-80 เซนติเมตร ติดผลค่อนข้างดกคือ ให้ผลผลิตประมาณ 30-40 กิโลกรัมต่อต้นต่อปี ผลลักษณะกลมขนาดเล็กสามารถรับประทานคนเดียวหมดผล หรือถ้าผลขนาดกลางก็อาจรับประทานได้ 2 คน มีน้ำหนักประมาณ 350 กรัมต่อผล ซึ่งเป็นที่ต้องการของตลาดต่างประเทศ
เนื้อแข็งกรอบสีส้มหนาประมาณ 1.8 เซนติเมตร รสชาติหอมหวาน มีเปอร์เซ็นต์น้ำตาลอยู่ค่อนข้างสูง ผลสุกจนมีผิวสีเหลืองทั้งผล สามารถเก็บไว้ในอุณหภูมิปกติได้นาน โดยที่มีรสหวานเหมือนเดิมและเนื้อก็ไม่เละด้วย นอกจากนี้แล้วชาวสวนยังสามารถที่จะเก็บเมล็ดพันธุ์ไว้ปลูกได้เอง ทั้งยังสามารถเพิ่มขนาดของผลให้ใหญ่ขึ้นมีน้ำหนักถึง 600 กรัมต่อผล ถ้าหากตลาดต้องการโดยการเด็ดช่อดอกด้านข้างออกเหลือดอกกลางไว้ก็จะได้มะละกอ ผลใหญ่ตามต้องการและ คุณสมบัติที่เด่นกว่ามะละกอพันธุ์อื่น ๆ อีกอย่างหนึ่งก็คือ เป็นพันธุ์ที่ค่อนข้างมีความต้นทานต่อโรคใบด่าง ซึ่งถือเป็นโรคที่สำคัญที่สุดของมะละกอ

การแสดงออกของเพศมะละกอ :
ต้นมะละกอแบ่งออกเป็น 3 เพศ คือ ต้นตัวผู้ ต้นตัวเมียและต้นสมบูรณ์เพศโดยทั่วไปจะสังเกตเพศได้เมื่อต้นมะละกอออกดอก แล้วเท่านั้น ขณะนี้ยังไม่มีวิธีการใดที่จะบอกเพศมะละกอในขณะที่ยังเป็นต้นกล้าเล็ก ๆ หรือก่อนที่มะละกอออกดอกได้

***เพศของดอกมะละกอมีตัวถ่ายทอดพันธุกรรม คือ ยีนเพียงคู่เดียวเป็นตัวควบคุม
1.มะละกอต้นตัวผู้ มีช่อดอกยาวแตก แขนงเป็นสาย 70-120 เซนติเมตร ดอกบนช่อเป็นดอกสมบูรณ์เพศที่มีอวัยวะเพศเมียปรากฏอยู่แต่ไม่ทำหน้าที่ มีกลีบเลี้ยง 5 กลีบ กลีบดอกสีขาวหรือครีมโคนกลีบเป็นหลอด ปลายกลีบแยกกัน 5 แฉก บริเวณโคนติดกัน กลีบที่แยกกันนั้นจะมีอับเกสรตัวผู้สีเหลือง 10 ชุด
ถ้าอุณหภูมิต่ำกว่า 15 องศาเซลเซียส และช่วงแสงต่อวันน้อย รังไข่ของดอกมะละกอต้นตัวผู้อาจเจริญพัฒนาติดเป็นผล หลังจากรับการถ่ายละอองเกสรตัวผู้ได้ มะละกอต้นตัวผู้นี้ปกติไม่ให้ผลคุ้มค่าการลงทุน ควรทำการตัดทิ้ง
2. มะละกอต้นตัวเมีย จะเป็นต้นตัวเมียที่แท้จริง โดยมีช่อดอกยาวปานกลาง 5-20 เซนติเมตร ดูจากภายนอกดอกยังตูมอยู่จะมีลักษณะดอกป้อม กลีบดอกทั้ง 5 กลีบ จะแยกจากกัน ภายในมีรังไข่ อ้วนสั้น สีขาว มีส่วนปลายรังไข่เป็นแฉก 5 แฉก สีเหลืองอมเขียว แต่ละแฉกก็มีปลายเป็นฝอย ผลจากดอกตัวเมียจะมีรูปร่างกลมหรือรูปทรงกระบอกสั้น ๆ หรือรูปไข่
3. มะละกอต้นสมบูรณ์เพศ(ต้นกะเทย) ช่อดอกแตกแขนงสั้น อาจจะประกอบด้วยดอกตัวผู้และดอกสมบูรณ์เพศในช่อดอกเดียวกันก็ได้ แต่ดอกสมบูรณ์เพศก่อนบานจะมีลักษณะเรียวยาว กลีบดอกส่วนที่เป็นหลอดจะหุ้มส่วนของรังไข่ ส่วนกลีบดอกที่แยกกันจะเปิดออกเมื่อดอกบาน ถ้าเด็ดกลีบดอกออกจะเห็นอับเกสรตัวผู้ 10 อัน เรียงรอบใต้ส่วนของยอดเกสรตัวเมีย เมื่อละอองเกสรตัวผู้ฟุ้งกระจาย ขณะดอกบานก็จะผสมตัวเองได้หรือแมลงพาเกสรตัวผู้ไปผสมกับดอกที่บานดอกอื่น หรือดอกตัวเมียบนต้นตัวเมีย ทำให้ติดเป็นผล ผลจากมะละกอต้นสมบูรณ์เพศจะเป็นรูปทรงกระบอกยาว ถ้าดอกสมบูรณ์เพศนั้นมีรังไข่ทรงกระบอกและอับเกสรตัวผู้เกิดบริเวณ โคนกลีบดอก เรียกดอกประเภทนี้ว่าอีลองกาต้า (Elongata)
ดอกสมบูรณ์เพศที่มีรังไข่เป็นพลูและมีก้านชูอับเกสรตัวผู้อยู่ที่โคนรัง ไข่ เป็นดอกแบบแพนเดรีย (Pentandria) ทำให้ได้ผลเป็นพลูแบบผลทุเรียน ตลาดไม่ต้องการ ควรเด็ดทิ้งขณะผลเล็กๆ
ดอกสมบูรณ์เพศแบบอินเทอร์มีเดียท (Intermediate)คือ ดอกสมบูรณ์เพศที่มีก้านชูอับเกสรตัวผู้อยู่บริเวณรังไข่ด้านใดด้านหนึ่ง ตรงกลางของรังไข่เมื่อผสมติดแล้วทำให้ผลมีแผลเป็น เบี้ยวด้านหนึ่ง ตลาดไม่ต้องการถ้าพบผลแบบนี้ขณะอ่อน ๆ อยู่ให้เด็ดทิ้ง

ยีนที่ควบคุมและกำหนดเพศมะละกอมีดังนี้ :
Mm คือมะละกอเพศเมีย
M1m คือมะละกอเพศผู้
M2m คือมะละกอสมบูรณ์เพศ (ต้นกระเทย)
M1M1, M2M2, M1M2 เกิดลีทอลยีน(Letthlgene) ไม่มีเมล็ด
แม่พันธุ์ x พ่อพันธุ์ อัตราส่วนของลูก
เพศเมีย :สมบูรณ์ : เพศผู้
ต้นเพศเมีย (mm) x ต้นเพศผู้ (M1m) 1 : – : 1
ต้นเพศเมีย (mm) x ต้นสมบูรณ์เพศ (M2M) 1 : 1 : -
ต้นสมบูรณ์เพศ (M2m) x เพศผู้ (M1m) 1 : 1 : 1
ต้นสมบูรณ์เพศ (M2m) x สมบูรณ์เพศ (M2m) 1 : 2 : -

การคัดเลือกมะละกอไปทำพันธุ์เพื่อการค้า :
การเลือกมะละกอไปทำพันธุ์ในการค้า เราต้องการมะละกอสมบูรณ์เพศมาก จึงต้องทำการผสมตัวเองหรือผสมข้ามต้นสมบูรณ์เพศเพื่อให้ได้ผลยาวมากในที่นี้ จะได้ผลยาว 2 ส่วน ประมาณ 66% ผลกลมต้นตัวเมีย 33% การรักษาสายพันธุ์หรือทำเมล็ดพันธุ์จึงควรเลือกต้นมะละกอสมบูรณ์เพศที่มี ความแข็งแรง ติดผลดกในแปลงของท่านเอง แล้วใช้ถุงกระดาษหรือถุงผ้าขาวบางคุลมดอกสมบูรณ์เพศของต้นสมบูรณ์เพศที่จะ บานในวันรุ่งขึ้นไว้ แขวนป้ายชื่อพันธุ์พร้อมวันที่ การคลุมถุงจะคลุมไว้ประมาณ 7 วัน แล้วถอดเอาถุงออก ถ้าเป็นมะละกอพันธุ์ปากช่อง หนึ่งผลจะได้เมล็ดพันธุ์ประมาณ 150-350 เมล็ด มะละกอพันธุ์แขกดำจะมีเมล็ด 438-1,044 เมล็ดต่อผล ดังนั้นเกษตรกรจึงต้องผสมไว้หลาย ๆ ผลเพื่อให้เพียงพอต่อการเพาะปลูกในพื้นที่
การผสมตัวเองของมะละกอ แม้ว่าทำเพียง 4 ชั่วอายุ ก็จะทำเป็นสายพันธุ์คัดได้ ถ้าปลูกในหมู่เดียวกัน ห่างจากพันธุ์อื่นประมาณ 1 กิโลเมตร ก็เป็นพันธุ์บริสุทธิ์ที่สามารถเก็บเมล็ดพันธุ์ได้ เมล็ดที่ได้เมื่อนำไปเพาะจะได้ต้นสมบูรณ์เพศ 2 ส่วน ต้นตัวเมีย 1 ส่วน การเก็บเมล็ดทำพันธุ์ต้องเลือกเก็บเมล็ดจากผลที่มีผิวสีเหลืองหรือส้มที่ผล ประมาณ 5-10 เปอร์เซ็นต์ ระวังอย่าให้ผลที่เก็บมาได้รับความกระทบกระเทือน หรือช้ำเสียหาย

การเตรียมเมล็ดมะละกอก่อนนำไปเพาะปลูก :
เมื่อผลแก่เมล็ดจะเปลี่ยนเป็นสีดำและจะหลบคมมีดได้ การเอาเมล็ดที่อยู่ในผลที่แก่ไปเพาะทันทีจะมีอัตราการงอกของเมล็ดต่ำ เพราะเยื่อหุ้มเมล็ดชั้นนอกมีสารยับยั้งการงอกอยู่ การที่จะทำให้มีการงอกสูงขึ้นทำได้โดยเอามือขยี้เปลือกหุ้มเมล็ดออกให้หมด หรือเอาเมล็ดที่รวบรวมจากผลใส่ในถ้วยหรือกะละมังใส่น้ำให้ท่วมเมล็ดทิ้งไว้ 48 ชั่วโมง เยื่อเมล็ดจะเน่าหลุดง่าย เอามือขยี้เยื่อหุ้มเมล็ดออกแล้วล้างด้วยน้ำสะอาดหลาย ๆ ครั้ง แล้วนำเมล็ดคลุกยาป้องกันเชื้อราให้ทั่ว นำไปเพาะได้ทันทีหรือถ้าจะเก็บรักษาเมล็ดไว้ให้นานก็เอาเมล็ดคลุกยาป้องกัน ราให้ทั่วแล้วใส่ในถุงพลาสติกผูกปากถุงให้แน่น นำไปเก็บไว้ในที่เย็น เช่น ช่องผักของตู้เย็น เป็นต้น

การเตรียมกล้ามะละกอก่อนปลูก :
มะละกอไม่เหมาะที่จะหยอดเมล็ดลงแปลงปลูกโดยตรง เนื่องจากเสียค่าใช้จ่ายในการดูแลในชั้นแรกมากในพื้นที่ๆ กว้างขวาง เพราะต้นกล้าที่งอกใหม่ ๆ ต้องการเอาใจใส่ดูแลอย่างใกล้ชิด ดังนั้นการเตรียมต้นกล้ามะละกอให้แข็งแรงก่อน แล้วจึงย้ายปลูกลงแปลงปลูก จึงเป็นวิธีที่เหมาะสมกว่าการหยอดเมล็ดลงแปลงปลูกโดยตรง การเตรียมต้นกล้ามะละกอ มี 2 แบบ คือ
1. เพาะเมล็ดลงถุง
2. เพาะเมล็ดลงแปลงเพาะแล้วย้ายลงถุง

การเพาะเมล็ดลงถุง
การเพาะเมล็ดลงถุงโดยตรงนั้น เป็นวิธีที่สะดวก สามารถทำได้โดยการเตรียมดินผสมที่จะใช้เพาะเมล็ดให้ร่วนโปร่ง(อัตราส่วนดิน ผสม : ดิน 3 ส่วน+อินทรีย์วัตถุ 1 ส่วน คลุกเคล้าให้เข้ากันปุ๋ยคอก) ปุ๋ยคอกควรเป็นปุ๋ยคอกเก่าที่สลายตัวแล้วและไม่ร้อน ส่วนอินทรียวัตถุอาจใช้เป็นเศษหญ้าสับ แกลบหรือเปลือกถั่วก็ได้ แล้วแต่จะหาอะไรได้ในท้องถิ่น
นำดินที่ผสมแล้วใส่ถุงขนาด 2 x 6 นิ้ว ที่เจาะรูระบายน้ำเรียบร้อยแล้วประมาณ 4 รู ตั้งเรียงไว้กลางแจ้งในบริเวณที่สามารถให้น้ำได้อย่างสม่ำเสมอทุกวัน หลังจากนั้นฝังเมล็ดลงไปใต้ดินให้ลึกประมาณครึ่งเซนติเมตรถุงละ 3 เมล็ด รดน้ำให้ชุ่มทุกวันเช้าเย็น เมล็ดจะเริ่มงอกภายใน 10-14 วัน หลังปลูกเมื่อต้นมะละกอมีใบจริง 2-3 ใบ ให้เลือกกล้าที่แข็งแรงเอาไว้ ถอนต้นที่อ่อนแอออก
***ในการเพาะเมล็ดนี้ ควรฉีดพ่นยาป้องกันกำจัดราพวกแมนโคเซบ ผสมยาป้องกันแมลงประเภทคาร์บาริลและยาจับใบฉีดพ่นครั้งแรกเมื่อต้นกล้าเริ่ม งอกและหลังจากนั้นฉีดพ่นทุก ๆ 10 วัน จนกว่าจะย้ายกล้าลงแปลงปลูก ซึ่งจะสามารถย้ายกล้าปลูกเมื่อเพาะเมล็ดได้ 45-60 วัน
***หลังจากถอนแยกต้นกล้าเหลือต้นเดียวหรือสองต้นแล้ว อาจสามารถเร่งให้ต้นกล้าเจริญเติบโตได้เร็วขึ้น โดยให้ปุ๋ยสูตร 21-21-21 ที่มีธาตุอาหารรองผสมอยู่ด้วยโดยใช้ปุ๋ยอัตรา 2 ช้อนแกงต่อน้ำ 20 ลิตร และผสมยาจับใบฉีดพ่นทุกๆ 7 วัน

การเพาะเมล็ดลงแปลงเพาะหรือกระบะเพาะก่อนย้ายลงถุง
เตรียมแปลงเพราะกว้างประมาณ 1 เมตร ยาวประมาณ 3-5 เมตร ให้ความยาวแปลงอยู่ในแนวดินเหนือใต้ย่อยดินให้ละเอียดและผสมปุ๋ยคอก ประมาณตารางเมตรละ 2 กิโลกรัม คลุกเคล้าปุ๋ยคอกกับดินแล้วย่อยให้เข้ากัน ยกเป็นรูปแปลงสูงจากระดับดินเดิม 15 เซนติเมตร แล้วใช้ไม้ขีดทำร่องแถว ตามความกว้างของแปลงลึกประมาณ 1 เซนติเมตร ให้แถวห่างกัน 25 เซนติเมตร จากนั้นโรยเมล็ดมะละกอในร่องแถวให้ห่างกันพอประมาณตลอดแปลง แล้วรดน้ำให้ชุ่ม ผสมด้วยยาฆ่าแมลงเพื่อป้องกันมดคาบเมล็ด อาจใช้เซฟวิน 85 หรือ S-85 ก็ได้และรดน้ำให้ชุ่มทุกวันเช้า-เย็น เมื่อต้นกล้ามีใบจริงได้ 2-3 ใบ หรือประมาณ 21-25 วัน หลังจากเพาะให้ย้ายกล้าลงถุงพลาสติกขนาด 2×6 นิ้ว ถุงละ 1 ต้น ตั้งเรียงไว้ในที่มีแสง 50% ฉีดพ่นยาป้องกันโรคแมลงและให้ปุ๋ยเช่นเดียวกับการเพาะเมล็ดลงถุงโดยตรง
การเพาะเมล็ดลงกระบะพลาสติก ก็ปฏิบัติคล้าย ๆ กัน โดยเอากระดาษหนังสือพิมพ์รองก้นตะกร้าพลาสติก แล้วใส่ดินผสมเช่นเดียวกับที่เตรียมสำหรับเพาะในถุงลงไปเกลี่ยหน้าดินให้ เรียบ ทำร่องแถวเพราะห่างกันประมาณ 10 เซนติเมตร แล้วนำเมล็ดมะละกอหยอดลงไป รดน้ำซึ่งผสมน้ำยากันมดให้ชุ่ม รดน้ำให้ชุ่มทุกวันเช้า-เย็น เมื่อกล้ามีใบจริงแล้วจึงย้ายลงถุงต่อไป และเมื่อต้นกล้าในถุงแข็งแรงดีแล้ว จึงนำไปปลูกได้ ระยะเวลานับตั้งแต่เพาะเมล็ดจนถึงย้ายกล้าลงปลูกในแปลงใช้เวลาประมาณ 45-60 วัน ระยะเวลาที่เหมาะสมที่สุดสำหรับการเพาะกล้ามะละกออยู่ในช่วงกลางเดือนมกราคม สามารถย้ายกล้าปลูกได้ในราวกลางเดือนมีนาคม และจะเริ่มเก็บผลได้ตั้งแต่เดือนตุลาคมเป็นต้นไป ซึ่งจะมีผลไม้ชนิดอื่น ๆ ในท้องตลาดออกน้อยทำให้จำหน่ายได้ราคาสูง

การเลือกพื้นที่ปลูกมะละกอ :
มะละกอ เป็นไม้ผลที่ชอบดินร่วนปนทราย ดินเหนียวปนดินร่วนหรือดินร่วนที่มีการระบายน้ำที่ดี มีอินทรียวัตถุมาก ไม่ชอบน้ำขังและควรมีหน้าดินลึกไม่น้อยกว่า 1 เมตร ช่วงระดับความเป็นกรด-ด่าง (PH) ที่เหมาะสมคือ 5.5-7 มะละกอไม่ทนดินเกลือและไม่ทนลม แหล่งปลูกจึงควรหลีกเลี่ยงบริเวณที่มีลมแรง ถ้าหลีกเลี่ยงพื้นที่มีลมแรงไม่ได้ควรทำแนวไม้กันลมไว้โดยรอบ ก็จะช่วยได้ในระดับหนึ่ง
มะละกอจะเจริญเติบโตได้ดี ถ้าได้รับแสงแดดเต็มที่ มะละกอมีก้านใบยาว ฃและกลุ่มใบจะมีมากที่บริเวณยอด จึงไม่ควรปลูกมะละกอให้ชิดกันเกินไป จะทำให้ไม่สะดวกในการป้องกันกำจัดศัตรูของมะละกอ
ระยะปลูกที่เหมาะสมคือ 4 x 3 เมตร หรือ 3 x 3 เมตร หรือ 2.5 x 3 เมตร แหล่งปลูกมะละกอควรอยู่ใกล้เมืองหรือมีทางคมนาคมสะดวก เนื่องจากผิวมะละกอบางทำให้เกิดการบอบช้ำในการขนส่งได้ง่ายกว่าผลไม้ชนิด อื่น ๆ

การเตรียมแปลงปลูกมะละกอ :
1.ไถพื้นที่ปราบวัชพืช 2 ครั้ง ครั้งแรกไถด้วยผาน 3 หรือผาน 4 ครั้งที่ 2 ให้ย่อยดินให้เล็กด้วยผาน 7
2.วัดระยะแปลงปลูกตามความต้องการ ควรปักหลักเล็ก ๆ ห่างจากหลักหลุมปลูกอีก 2 หลัก โดยปักให้ห่างข้างละ 50 เซนติเมตร
3.ขุดหลุมปลูกเป็นรูปสี่เหลี่ยมให้ขอบหลุมห่างจากหลักกลางประมาณ 25 เซนติเมตร และขุดลึก 50 เซนติเมตร เอาดินขึ้นไว้บนปากหลุมอย่าให้โดนหลักเล็กทั้ง 2 ซึ่งจะเป็นหลักบังคับระยะปลูก
4.ใส่ปุ๋ยคอกเก่า ๆ ประมาณ 1 พลั่ว หรือครึ่งบุ้งกี๋ลงบนดินที่ขุดขึ้นมาและใส่ร๊อกฟอสเฟตลงไปอีก 100 กรัม ถ้าไม่มีร๊อกฟอสเฟตให้ใช้ปุ๋ยสูตร 15-15-15 ใส่แทนจำนวน 20 กรัม หรือประมาณ 2 ช้อนแกงต่อหลุม คลุกเคล้าดินกับปุ๋ยให้เข้ากันดี แล้วใช้จอบกลบดินลงหลุมให้เสมอปากหลุม
5. ก่อนปลูกหาไม้ไผ่ยาวประมาณ 1 เมตร ทำเครื่องหมายที่ตำแหน่ง 0.00, 0.50 และ 1 เมตร เป็นเครื่องหมายต้นปลูก เพื่อให้แถวปลูกตรงกันทุกต้น

ฤดูปลูกมะละกอ :
ปกติแนะนำให้เกษตรกรเพาะกล้าในช่วงกลางหรือปลายเดือนมกราคม ซึ่งจะสามารถย้ายต้นกล้าลงปลูกได้ประมาณกลางเดือนมีนาคม และจะเก็บเกี่ยวผลได้ตั้งแต่เดือนตุลาคมเป็นต้นไป ซึ่งจะเป็นช่วงที่มีผลไม้ประเภทอื่น ๆ ในท้องตลาดออกน้อยทำให้มะละกอมีราคาสูง ถึงแม้ว่าเกษตรกรชาวสวนที่ปลูกโดยอาศัยน้ำฝน ก็จะมีผลผลิตออกขายได้ยาวนาน แต่ถ้าเพาะเมล็ดช้าหรือย้ายปลูกช้าทำให้ช่วงที่มะละกอออกดอกติดผลตรงกับช่วง แล้งต้องใช้น้ำชลประทานมาก จะเสียค่าใช้จ่ายเพิ่มขึ้นมาก การเก็บเกี่ยวผลผลิตในช่วงที่ได้ราคาสูงจะได้น้อยกว่า

วิธีการปลูกมะละกอ :
ให้นำต้นกล้าเรียงกระจายไว้ตามหลุมต่าง ๆ หลุมละหนึ่งถุง หลังจากนั้นกรีดถุงพลาสติกออก เอาต้นกล้าวางให้ตรงตำแหน่งระยะปลูกกลางหลุม กลบดินให้แน่นโดยเฉพาะรอบ ๆ ติดกับโคนต้นเพื่อให้รากจับดินใหม่ได้เร็ว ต้นจะตรงกันทุกแถวแล้วรดน้ำให้ชุ่มการปลูกมะละกอเป็นการค้า แม้วjาจะใช้เมล็ดจากผลมะละกอสมบูรณ์เพศ แต่เมล็ดที่ปลูกจะได้ต้นมะละกอสมบูรณ์เพศเพียง 66 เปอร์เซ็นต์ อีก 33 เปอร์เซ็นต์ เป็นต้นเพศเมียซึ่งผลกลมตลาดให้ราคาถูก ถ้าอยากได้มะละกอผลยาวมากขึ้น ให้ปลูกต้นมะละกอให้มากต้นต่อหลุม และตัดต้นเพศเมียออกเมื่อออกดอกแล้ว จะได้ต้นสมบูรณ์เพศมากขึ้น

แสดงจำนวนต้นต่อหลุมกับอัตราส่วนต้นเพศเมียและต้นสมบูรณ์เพศ:
- จำนวน 1 ต้นต่อหลุม จะได้ต้นเพศเมีย 33.33 % ต้นสมบูรณ์เพศ 66.67 %
- จำนวน 2 ต้นต่อหลุม จะได้ต้นเพศเมีย 11.11 % ต้นสมบูรณ์เพศ 88.89 %
- จำนวน 3 ต้นต่อหลุม จะได้ต้นเพศเมีย 3.70 % ต้นสมบูรณ์เพศ 69.30 %
- จำนวน 4 ต้นต่อหลุม จะได้ต้นเพศเมีย 1.23 % ต้นสมบูรณ์เพศ 98.77 %
***ในทางปฏิบัติใช้ต้นปลูก 2 ต้นต่อหลุมก็พอ ในหนึ่งร้อยหลุมหลังจากตัดต้นตัวเมียออกจะเหลือต้นสมบูรณ์เพศเท่ากับ 88.89 x 2 = 176 ต้น ทำให้ได้ผลผลิตขายมากขึ้นด้วย

การให้น้ำในระบบชลประทาน :
ถ้าเกษตรกรปลูกมะละกอช่วงต้นฤดูฝนจะช่วงประหยัดทุนและแรงงานในการให้น้ำ โดยเฉพาะในช่วงปลูกใหม่ ๆ จะต้องให้น้ำกับต้นกล้ามะละกอจนกว่าจะตั้งตัวได้ โดยรดน้ำ 2-3 วันต่อครั้ง และที่สำคัญคือช่วงที่มะละกอออกดอกติดผลเป็นช่วงที่ต้องการน้ำมาก การขาดน้ำจะทำให้ดอกร่วง ผลร่วง ผลไม่สมบูรณ์ การให้น้ำกับต้นมะละอกอย่างสม่ำเสมอจึงทำให้มะละกอมีผลผลิตสูง โดยเฉพาะมะละกอที่ปลูกในที่ดอนหรือในเขตจังหวัดในแถบภาคตะวันออกเฉียง เหนือ(พื้นที่ดินร่วนปนทราย)

การให้ปุ๋ยมะละกอ :
ปุ๋ยมะละกอที่เตรียมไว้สำหรับรองก้นหลุมนั้นยังไม่เพียงพอสำหรับการเจริญ เติบโตและให้ผลผลิตของมะละกอ จำต้องมีการใช้ปุ๋ยเสริมเพิ่มขึ้น เพื่อให้มะละกอมีการเจริญเติบโตเต็มที่มีลำต้นที่สมบูรณ์แข็งแรง การใส่ปุ๋ยอินทรีย์จะใส่หลังจากปลูกแล้ว 2-3 เดือนโดยแบ่งใส่ 3-4 ครั้ง ในระยะ 1 ปี ตลอดช่วงฤดูฝน แบ่งใส่ครั้งละประมาณ 5 กิโลกรัมต่อต้น
ปุ๋ยวิทยาศาสตร์อาจใช้ปุ๋ยทางใบสูตร 21-21-21 ชนิดที่มีอาหารธาตุรองฉีดพ่นทุก 14 วันต่อครั้ง หลังย้ายปลูกเพื่อให้ต้นกล้าแข็งแรง โดยใช้ในอัตรา 2-3 ช้อนแกงต่อน้ำ 20 ลิตร ขณะเดียวกันก็อาจใช้ปุ๋ยทางดินสูตร 15-15-15 อัตราต้นละ 50 กรัม หลังจากย้ายปลูก 1 เดือน และใส่ปุ๋ยทุกเดือนจนถึงเดือนที่ 3 หลังย้ายปลูกจะใส่เพิ่มเป็นต้นละ 100 กรัมทุกเดือน เมื่อมะละกอติดผลแล้วจะใส่ปุ๋ยสูตร 15-15-15 ในอัตรา 100 กรัม ผสมกับยูเรีย อัตรา 50 กรัมต่อต้น

*** วิธีการให้ปุ๋ยวิทยาศาสตร์ทางดิน ให้ใช้การหว่านลงบนดินบริเวณทรงพุ่ม(รัศมีทรงพุ่มของมะละกอ)แล้วพรวนดินกลบ รดน้ำตามอย่าใส่ปุ๋ยชิดโคนต้น เพราะจะทำให้มะละกอเสียหายได้

การกำจัดวัชพืชในสวนมะละกอ :
ในระยะที่ปลูกมะละกอใหม่ ๆ เกษตรกรสามารถปลูกพืชแซมร่วมกับมะละกอในช่องว่างระหว่างแถว ระหว่างต้นได้ เมื่อมีวัชพืชขึ้นควรใช้วิธีการดายหญ้า แต่การดายหญ้าด้วยจอบควรระวังคมจอบสับต้นหรือรากมะละกอจะทำให้ต้นมะละกอ ชะงักการเจริญเติบโต หรือทำให้เกิดโรครากเน่าได้ ทางที่ดีควรใช้เศษหญ้าแห้งคลุมโคนต้นและแปลงให้หนา ๆ จะทำให้ไม่มีเมล็ดหญ้างอกขึ้นบริเวณนั้น
ขณะมะละกอยังต้นเล็ก ห้ามใช้ยาป้องกันกำจัดวัชพืชใดๆ เพราะจะทำให้มะละกอเสียหายได้ ถ้ามะละกอต้นโตแล้วและมีหญ้าฤดูเดียวงอก อาจใช้พาราควอท ฉีดฆ่าหญ้าได้ แต่ระวังอย่าให้โดนใบและผล พาราควอทใช้อัตราประมาณ 60-80 ซีซีต่อน้ำ 20 ลิตร

การออกดอกติดผลของมะละกอ :
ต้นมะละกอเมื่อย้ายปลูกลงแปลงได้ 8-10 สัปดาห์จะเริ่มออกดอก โดยดอกจะอยู่เหนือก้านใบ และจะเห็นชัดว่าเป็นดอกเพศใด ถ้าเป็นต้นเพศเมียก็ตัดฟันออกในระยะนี้ ถ้าเป็นดอกสมบูรณ์เพศก็เอาไว้บำรุงต้นให้สมบูรณ์แข็งแรงและติดผล เกษตรกรต้องตรวจดูผลที่ติดว่าเป็นดอกสมบูรณ์เพศที่ติดผลเป็นพลูหรือให้ผลบิด เบี้ยวหรือไม่ ถ้ามีก็ให้ปลิดออกตั้งแต่ผลยังเล็ก ๆ หรือแม้ว่าผลที่ปกติในช่อเดียวกันอาจติดผลมาก ผลที่เบียดกันจะไม่โตทำให้ไม่ได้ขนาดมาตรฐาน ควรปลิดออกเช่นกัน ผลที่ได้มาตรฐานขนาดใกล้เคียงกันจำหน่ายง่าย ในระยะติดผลต้องคอยกลบดินโคนต้นหรือพูนโคนป้องกันการโค่นล้ม เพราะน้ำหนักผลไม่สม่ำเสมอกัน หรือใช้การปลิดผลไม่ให้ต้นรับน้ำหนักมากด้านใดด้านหนึ่งก็ป้องกันต้นโค่นล้ม ได้

ที่มา บล็อกความรู้ทางการเกษตร
http://blog.taradkaset.com/%E0%B8%A1%E0%B8%B0%E0%B8%A5%E0%B8%B0%E0%B8%81%E0%B8%AD/

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น