วันพฤหัสบดีที่ 6 กันยายน พ.ศ. 2561

ปลูกอะไรดี (10) มะระจีน

การปลูกมะระจีน
มะระ เป็นพืชเถาว์เจริญเติบโตได้ดีในทุกภาคของประเทศไทย ใช้ประกอบอาหารได้หลายชนิด ผัด แกงจืด แกงเผ็ด รับประทานสดๆ คู่กับน้ำพริกแมงดาก็อร่อย มะระได้รับความนิยมค่อนข้างสูง
มีคุณค่าทางโภชนาการสูง และเป็นสมุนไพรช่วยป้องกันและบำบัดโรคได้หลายชนิด
          ใบ มีรสขม ต้มดื่มแก้ไช้หวัด ไช้ตัวร้อน บำรุงนำดี ดับพิษฝีที่ร้อน แก้ปากเปื่อย เป็นขุม
         ลูก รสขม แก้ตับม้ามพิการ บำรุงน้ำดี ขับพยาธิในท้อง แก้ลมเข้าข้อ แก้ปวดบวมตามเข่า ลดน้ำตาลในเลือด ต้มน้ำกินแก้ร้อนใน กระหายน้ำ ผลแห้งบดเป็นผงแก้คันได้
         ราก ใช้รากสดตำพอกแก้อาการปวดฟัน ใช้รากสดหนัก 4 บาท น้ำกรวดหนัก 4 บาท ต้มกินน้ำ แก้บิดปวดท้อง ถ่ายเป็นเมือกได้ดี (น้ำหนักที่เรียกว่า บาท นั้นเป็นหน่วยชั่งทางการแพทย์สมุนไพร หรือ น้ำหนัก ที่ใช้ชั่งตวงสมุนสมุนไพร
        การปลูกมะระ สร้างรายได้ให้กับเกษตรกรได้เป็นอย่างดี เป็นพืชที่ทำเงินได้เร็ว มะระได้มีการปรับปรุงให้มีขนาดที่ใหญ่ขึ้น มะระเป็นพืชที่ไม่ชอบน้ำท่วมขัง หากเป็นที่ลุ่มเกษตรกรต้องยกร่องให้พ้นน้ำ การเตรียมดิน เมื่อทำการไถให้เกษตรกรปรับสภาพดินด้วยปุ๋ยคอก ปุ๋ยหมัก และเสริมด้วยน้ำหมักชีวภาพ นำเมล็ดเพาะลงในแปลงเพาะประมาณ 15 วัน ก็ย้ายต้นกล้าลงแปลงปลูก ระยะห่างระหว่างต้น 1 เมตร ระหว่างแถว 2 เมตร พื้นที่ 1 ไร่ ปลูกได้ 800 ต้น
        การทำค้าง ใช้ไม้รวกขนาดความยาว 2 เมตร มัดเป็นระยะๆ ขึงด้วยเชือกไนล่อนทั้งในแนวยาว และ แนวขวาง ต้นมะระก็จะเลื้อยไปบนค้าง และผลก็จะห้อยลงด้านล่าง ใบก็จะช่วยพรางแสง ทำให้ผลมีผิวสวย เมื่อมะระโตขนาดความยาว 5-6 นิ้ว ให้ทำการห่อผลด้วยกระดาษ โดยห่อการะดาษให้กลมเหมือนท่อก่อน กะความยาวซักประมาณ 15 นิ้ว แล้วนำไปสวมผลลูกมะระ ปิดหัวท้ายกระดาษด้วยแม็ก หรือกลัดด้วยไม้กลัด ก็ได้ เพื่อป้องกันแมลงเจาะผล ระยะเวลาเพียง 45 วัน ก็เก็บเกี่ยวผลผลิตได้แล้ว มะระหากฉีดทางใบและรดราดทางดิน ประกอบกับการให้น้ำอย่างสม่ำเสมอ
         หากให้น้ำด้วยระบบน้ำหยดจะทำให้ต้นมะระสมบูรณ์ดียิ่งขึ้น ให้ผลผลิตถึง 6 ตันต่อไร่ ราคาขายส่งอยู่ที่ระหว่างกิโลกรัมละ 10-15 บาท 1 ไร่จะมีรายได้ 60,000-90,000 บาท/ไร่/ครั้งหนึ่งการเก็บเกี่ยว ในแต่ละรุ่นใช้เวลาการปลูกประมาณ 80-90 วัน เกษตรกรควรทยอยปลูก วางแผนให้มีการเก็บเกี่ยวได้ทุกวัน ให้พอเหมาะกับความต้องการของตลาด ป้อนตลาดได้ตลอดได้ทุกวันตลอดทั้งเดือนทั้งปี เมื่อทิ้งแปลงแล้วให้สลับด้วยพืชตระกูลถั่ว แล้วจึงค่อยปลูกมะระในรอบถัดไป
         ในเวลา 1 ปลูกได้ 2 ครั้ง เท่ากับสร้างปีละ 120,000-180,000 บาท ต่อไร่ต่อปี คิดเพียงแค่การปลุกมะระเพียงอย่างเดียวเท่านั้น หนึ่งปีปลูกมะระ 2 ครั้ง ครั้งละ 3 เดือน สลับปลูกถั่ว 3 เดือน  2 ครั้ง ถ้าได้กำไรจากการปลูกถั่ว 20,000 บาท ต่อไร่ต่อหนึ่งรอบการปลูก ปลูก 2 รอบก็จะมีรายได้จาการปลูกถั่ว 40,000 บาทต่อไร่ ต่อปี รวมรายได้จากการปลูกถั่วและมะระแล้วจะมีรายได้ทั้งสิ้นประมาณ 40,000+180,000 ก็จะมีรายได้ในปีนั้น  220,000 บาท นี่ถือว่าเป็นรายได้ที่แสนจะคุ้มค่าต่อการลงทุนในพื้นที่ 1 ไร่ ถึงแม้ว่าจะมีรายได้ไมตรงตามนี่ อาจจะต่างกันซัก 60,000 บาท ก็ถือว่าไม่น้อยแล้วสำหรับพื้นที่ 1 ไร่ที่ทำการปลูก เมื่อปลูกมะระ 1 ไร่โดยเฉลี่ยว่า 1 ไร่มีรายได้ 1 แสนบาทต่อปี อยากมีรายได้ 500,000 บาทต่อปีก็ปลูกมะระ 5 ไร่ อยากมีรายได้ 1,000,000 บาทต่อปี ก็ปลูกมะระ 10 ไร่ โดยแนะว่าท่านต้องทยอยปลูกจะทำให้การดูแลง่ายขึ้น  
         ไม่ ว่าท่านจะปลูกอะไร กี่ไร่ กี่ครั้ง จำนวนเท่าใด ต้องเอาตลาดเป็นตัวนำ ดูความต้องการของตลาดเป็นหลัก ทางที่ดีการวางแผนท่านควรที่จะสืบค้นตลาดที่มีอยู่ในพื้นที่ที่ท่านอยู่ โดยศึกษาจากวงแคบๆ จนออกเป็นวงกว้างแล้วตรวจดูความต้องการของตลาดว่าตลาดต้องการผลผลิตประเภทใด มากที่สุด และผลผลิตที่ตลาดมีความต้องการรองลงมาเป็นลำดับ และตรวดดูราคา เช็คคำนวณเวลา ต้นทุน การหมุนเวียน การผสมพืชอย่างอื่นในการปลูก การคำนวณไม่เป็นการยากสำหรับเราที่จะใช้ในการวางแผนเพื่อให้เกิดผลผลิตที่ดี กว่า และ มีรายได้ที่ดีกว่า การทำงานที่มีรูปแบบแผนย่อมมีการทำที่ง่ายกว่า และมีระบบปรับปรุงที่ง่ายกว่าแน่นอนกว่า ตลาดไม่จำเป็นต้องเป็นตลาดส่งผู้ค้านายทุนอย่างเดียว อาจมีการหาตลาดในหมู่บ้าน ผู้บริโภค ร้านค้า ร้านอาหาร โรงงาน ความคิดเป็นสิ่งที่ไม่ต้องลงทุนด้วยเงิน และยังทำให้เกิดในสิ่งที่ดีกว่า เมื่อเราคิดอย่างมีระบบ หาความถูกต้องได้ และผลสำเร็จที่เป็นความจริงที่แน่นอนบนสิ่งนั้นๆ จะทำอะไรต้องมีการวานแผนในสิ่งที่ทำ คิดแบบนี้ ทำแบบนี้ หากยังจนอยู่อีกก็ให้มันรู้กันไปซิ

อ้างอิงที่มาจาก หนังสือ ชี้ช่องทางการทำกิน  โดยอาจารย์   สมพล    รักหวาน
นาย อนุสรณ์  ชลเกษม  ผู้พิมพ์เอกสารฉบับนี้

วันพุธที่ 3 มกราคม พ.ศ. 2561

ราคากลาง ผักและผลไม้

ราคากลาง ผักและผลไม้

จ.ราชบุรี
http://www.taladsrimuang.com/product/report.php?id=1

ตลาด (3) กรีนมาร์เก็ต เพชรบูรณ์

  กรีนมาร์เก็ต เพชรบูรณ์

PDFพิมพ์อีเมล
S__8847484
         จังหวัดเพชรบูรณ์ ดำเนินโครงการกรีนมาร์เก็ต จังหวัดเพชรบูรณ์ เพื่อต่อยอดนโยบายประชารัฐของรัฐบาล ที่ต้องการให้เกิดเครือข่ายความร่วมมือระหว่างภาครัฐ เอกชน และพี่น้องประชาชน ในการพัฒนาและแก้ไขปัญหาของจังหวัดเพชรบูรณ์ ทั้งในด้านเศรษฐกิจฐานราก ชุมชน สังคม สิ่งแวดล้อม เรื่องการมีส่วนร่วมและผลการดำเนินงานของกลุ่มสหกรณ์ แนวทางการยื่นขอรับรองมาตรฐานสินค้า และการสนับสนุนแนวทางการรับซื้อสินค้าของผู้ค้าปลีก โดยมีศูนย์ Tops Market และห้างค้าปลีกในเพชรบูรณ์
            มีกลุ่มที่เข้าร่วมโครงการแล้ว 4 กลุ่ม คือกลุ่มสหกรณ์บ้านน้ำดุกใต้/กลุ่มสหกรณ์ภูทับเบิก/กลุ่มเกษตรกรอำเภอน้ำหนาว และกลุ่มเกษตรกรอำเภอเขาค้อ
           นายบัณฑิตย์ เทวีทิวารักษ์ ผู้ว่าราชการจังหวัด ได้เน้นย้ำว่า จะทำให้โครงการกรีนมาร์เก็ต เพชรบูรณ์  มีชื่อเสียง เป็นที่รู้จักของคนไทยและผู้ที่บริโภคผักปลอดสารเคมีประทับใจในคุณภาพผักของจังหวัดเพชรบูรณ์ และได้เปิดโอกาสให้กลุ่มเกษตรกรอื่นๆ   ที่สนใจมาเข้าร่วมโครงการ ในการผลิตพืชผักปลอดภัยต่อผู้บริโภคและผู้ผลิต เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม ภายใต้แบรนด์ กรีนมาร์เก็ตเพชรบูรณ์ โดยติดต่อที่เกษตรอำเภอได้ทุกอำเภอ
สอบถามและติดตามข้อมูลเพิ่มเติมที่ https://www.facebook.com/profile.php?id=100011783230732&ref=ts&fref=ts

เครือข่ายกรีนมาร์เก็ต เพชรบูรณ์ ความภาคภูมิใจของชาวเพชรบูรณ์
หลายคนอาจจะยังไม่ทราบว่า มีเกษตรกรอยู่จังหวัดหนึ่ง ได้ริเริ่มรวมตัวขึ้นมาเพื่อปลูกพืชผลทางการเกษตรที่ปลอดภัยจากสารเคมี นำมาจัดจำหน่ายไปทั่วประเทศ ภายใต้แนวคิด “ผู้ผลิตปลอดโรค ผู้บริโภคปลอดภัย ไม่เป็นอันตรายต่อสิ่งแวดล้อม” ที่สำคัญคือ เกษตรกรเหล่านั้น สามารถผลักดันสินค้าไปจำหน่ายในโมเดิร์นเทรดได้อย่างองอาจ สามารถจัดจำหน่ายผลผลิตของตน ในราคาที่เหมาะสม ผักสามารถทำราคาได้สูงกว่าผักมีสารเคมีตามท้องตลาดถึง 1-3 เท่าตัว จึงสามารถสร้างชีวิตตัวเองและครอบครัวให้มีเกียรติ มีศักดิ์ศรีท่ามกลางวิถีธรรมชาติ เกษตรกรกลุ่มที่ว่านี้คือ กลุ่มเกษตรกรจากหลายอำเภอของจังหวัดเพชรบูรณ์ จังหวัดที่มีประชาชนกว่า 60% ทำการเกษตร ที่ลุกขึ้นมารวมตัวกันเป็นเครือข่าย “กรีนมาร์เก็ต เพชรบูรณ์”




เครือข่ายกลุ่มนี้สามารถรวมตัวกันได้ด้วยการใช้การตลาด มาเป็นแรงจูงใจ ในการสร้างเครือข่ายเกษตรกรผู้ผลิตพืชผักปลอดภัย โดยการตลาดที่ว่านี้คือ ภาครัฐ นำโดย ผู้ว่าราชการจังหวัดเพชรบูรณ์  และ นายไกรสร กองฉลาด รองผู้ว่าราชการจังหวัดเพชรบูรณ์ (ผู้จัดการโครงการกรีนมาร์เก็ต จังหวัดเพชรบูรณ์)  ที่นำทีมข้าราชการ ทีมผู้นำชุมชน ทีมเกษตรกรตัวอย่าง ทีมนักสร้างแบรนด์อย่าง ดร.ศิริกุล เลากัยกุล และ อ.กมล เลากัยกุล มาช่วยสร้างแบรนด์ ทำโลโก้ หาทุนสนับสนุนทำโรงเรือนสหกรณ์ หาเครือข่ายหาช่องทางจัดจำหน่ายให้พร้อมต่อการเพิ่มขึ้นของผลผลิตในเครือข่าย ทำให้เกิดแรงจูงใจที่จะชักชวนคนเลิกปลูกพืชผักที่ใช้สารเคมี ให้หันมาปลูกพืชผักปลอดภัยเป็นเครือข่ายกันการเข้าร่วมเครือข่าย “กรีนมาร์เก็ต เพชรบูรณ์”


ด้วยการเปิดตลาด เปิดตัวแบรนด์อย่างกว้างขวาง จนมีผู้ซื้อผักปลอดสารเพียงพอ ที่จะรองรับผลผลิตของเกษตรกรอย่างชัดเจน ทำให้เกษตรกรหลายรายมีโอกาสเลือกที่จะพลิกชีวิตตัวเองมาปลูกผักปลอดสาร จากการที่เดิมปลูกผักที่ต้องใช้สารเคมีในการปลูก ทำให้สุขภาพตนเองและครอบครัวก็ไม่ดี อีกทั้งการใช้สารเคมีอันตรายบนพื้นที่สูง ลมแรง และ เป็นแหล่งต้นน้ำ ทำให้สารเคมีแพร่กระจายไปในวงกว้าง   เกษตรกรตัวอย่างท่านหนึ่งที่ควรแก่การกล่าวถึง คือ อาเซ็ง แซ่ลี วัย 62 ปี เกษตรกรชาวไทยภูเขาเผ่าม้ง เกษตรกรบนพื้นที่สูง ณ ภูทับเบิก  1 ใน 2 เกษตรกรภูทับเบิกที่ได้ใบรับรองออร์แกนิกไทยแลนด์ ได้น้อมนำแนวพระราชดำริเกษตรทฤษฎีใหม่ ช่วยสร้างชีวิตใหม่ด้วยการปลูกผักปลอดสารขึ้นมา ทางเครือข่ายก็นำเกษตรกรท่านนี้ไปออกรายการในสถานีโทรทัศน์ระดับชาติทำให้เป็นการประชาสัมพันธ์ผลผลิตของกลุ่มเกษตรกรออกไปในวงการ สามารถเพิ่มสมาชิกในเครือข่ายได้ในอนาคต พอมีกลไกในการขายสินค้าผลผลิตที่ได้ราคาดี เกษตรกรเหล่านี้จึงสามารถรวมตัวกัน เพื่อผลิตและควบคุมกันเอง จนปัจจุบันรวมตัวกันเป็นสหกรณ์ย่อย ๆ ตามพื้นที่อย่าง สหกรณ์ผลิตผักน้ำดุกใต้  สหกรณ์ผักปลอดภัยภูทับเบิก สหกรณ์รวมกลุ่มการเกษตรน้ำหนาว สหกรณ์พืชผักปลอดภัยเขาค้อ และบ้านนางั่วเหนือผักปลอดภัย เพื่อส่งขายผักปลอดภัยไปยังพื้นที่ต่าง ๆ ทั่วประเทศ ภายใต้เครื่องหมายเครือข่ายเดียวกันอย่าง “กรีนมาร์เก็ต เพชรบูรณ์”
          
ล่าสุดเมื่อวันที่ 20 – 26 ธ.ค. 2559 ที่ผ่านมา เครือข่าย “กรีนมาร์เก็ต เพชรบูรณ์” ก็ได้ประสานกับกลุ่มพันธมิตร ศูนย์การค้าและซุปเปอร์มาร์เก็ตชั้นนำหลายแห่งจัดเป็นงานสินค้าปลอดภัย ในศูนย์การค้าต่าง ๆ เช่น จัดเป็นเทศกาลข้าวใหม่ปลามัน By “กรีนมาร์เก็ต เพชรบูรณ์ ณ เซ็นทรัลเวสต์เกท บางใหญ่ นนทบุรี อีเว้นท์นี้นำเสนอโดยในงานนี้มีการจัดจำหน่ายสินค้าเกษตรปลอดภัยทั้ง ข้าวใหม่หอมกรุ่นหลากสายพันธุ์จากชาวนาตัวจริง เมนูน้ำพริกนานาชนิดจากภูมิปัญญาคนเพชรบูรณ์ ผักสดปลอดภัย กินได้เลยไม่ต้องลอง ไข่ไก่จากแม่ไก่อารมณ์ดี ไก่นอกคอกเพราะเลี้ยงนอกกรง แบรนด์ฟาร์มโสต น้อง ๆ นักเรียนโรงเรียนโสตศึกษาเพชรบูรณ์ที่ผลิตได้ถึงเดือนละ 2,000 ฟอง 
สำหรับ “ฟาร์มโสต” เป็นไข่ไก่จากแม่ไก่อารมณ์สุนทรีย์ เป็นไข่ที่มาจากไก่เลี้ยงปล่อยลาน โดยที่มาของแบรนด์ฟาร์มโสต คือ ฟาร์มนี้ผู้ดูแลเป็นน้องๆนักเรียนโรงเรียนโสตศึกษาเพชรบูรณ์ ซึ่งเป็นเด็กพิเศษ บกพร่องทางการได้ยินและบางส่วนเป็นเด็กออทิสติกได้อาศัย “เสียงจากความเงียบ” ในการดูแลไก่ให้มีความสุข  ไข่ไก่  “ฟาร์มโสต” วางจำหน่ายที่ เซ็นทรัล ฟู้ด ฮอลล์ / ท็อปส์ มาร์เก็ต 10 สาขา คือ เซ็นทรัลชิดลม ลาดพร้าว ปิ่นเกล้า บางนา พระราม3 พระราม2 สุขาภิบาล3 คริสตัล สุขุมวิท19 และ แจ้งวัฒนะ


เรียกได้ว่าการสร้างแบรนด์ และ การสร้างเครือข่ายการจัดจำหน่าย ทำให้ตลาดมีรองรับชัดเจน มีผู้ซื้อสินค้าปลอดภัยจากสารพิษมากขึ้น  กลไกตลาดจึงเดินหน้า ทำให้การปลูกพืชผักออร์แกนิกยังเป็นเรื่องง่ายขึ้นสำหรับเกษตรกร เกษตรกรสามารถหลุดออกจากวังวนแบบเดิม ๆ ที่ต้องขายผัก ผลไม้ในราคาถูก และต้องพึ่งพานายทุน ตั้งแต่เงินทุนซื้อเมล็ดพันธุ์ สารเคมี ปุ๋ย ที่มาพร้อมดอกเบี้ยในอัตราสูง เมื่อขายได้มาเท่าไหร่ก็นำไปใช้หนี้  หลังจากเข้าสู่เส้นทางสายผักอินทรีย์-ผักปลอดภัย แล้วสามารถจำหน่ายผลผลิตได้ราคาดี เกษตรกรที่เข้าร่วมโครงการก็ค่อย ๆ ชวนเพื่อนเกษตรกรแบบเดิมมาเข้าร่วมมากขึ้น แล้วต่างก็ช่วยกันพัฒนาผลผลิต ให้ได้มาตรฐานยิ่งๆ ขึ้นไป  ทั้งนี้ผักที่เข้าโครงการกรีนมาร์เก็ตนั้น อย่างน้อยที่สุดต้องเป็นผักปลอดภัย หรือ GAP ซึ่งมีหน่วยกลางตรวจสอบสุ่มตัวอย่างอย่างเข้มงวดและตั้งเป้าจะขยับมาตรฐานให้เป็นผักอินทรีย์หรือออร์แกนิกภายใน 3 ปี
อ.กอบกิจ ประดิษฐผลพานิช คณบดีคณะนิเทศศาสตร์ ม.ธุรกิจบัณฑิตย์ : รายงาน

ข้อมูลทั่วไป
กรีนมาร์เกต เพชรบูรณ์ เป็นรูปแบบคณะกรรมการร่วมระหว่างภาครัฐ ภาคเอกชน และภาคประชาชน โดยมีผู้ว่าราชการจังหวัดเพชรบูรณ์เป็นประธาน วัตถุประสงค์ “ทำเรื่องปากท้อง สุขภาพและสิ่งแวดล้อมให้เป็นเรื่องเดียวกัน” โดยการน้อมนำหลักคิดตามแนวทางปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง และหลักปฏิบัติเกษตรทฤษฎีใหม่ของพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช รัชกาลที่ 9 มาเป็นกรอบในการดำเนินงาน
วิธีการดำเนินงานของคณะกรรมการฯ จะรับสมัครสมาชิกเป็นกลุ่ม (ไม่เน้นรายบุคคล) เพื่อพัฒนาไปสู่รูปแบบของสหกรณ์ โดยมีเงื่อนไขว่า สมาชิกของกรีนมาร์เกตเพชรบูรณ์ จะต้องชัดเจนในเรื่องของการลด ละ เลิก การใช้สารเคมี และการปลูกพืชเชิงเดี่ยว
กรีนมาร์เกตจะช่วยตั้งแต่ต้นน้ำ การบริหารจัดการแปลง การให้ความรู้ การตรวจรับรองคุณภาพเบื้องต้นคือ GAP โดยนับจากวันที่ได้รับการรับรองคุณภาพ 3 ปี  หรือในปีที่ 4 สมาชิกทุกคนในกลุ่มจะต้องยกระดับเข้าสู่กระบวนการผลิตแบบ Organic
สำหรับผลผลิตจากแปลง จะมีกระบวนการรวบรวมผลผลิต กรีนมาร์เกตจะส่งเสริมให้ทุกกลุ่มมีการรวบรวมผลผลิต โดยมีกระบวนการตรวจสอบรับรองความปลอดภัย โดยบุคลากรจากสำนักงานสาธารณสุขจังหวัด โดยทุกครั้งที่สมาชิกเอาผลผลิตมาส่งก็จะมีการตรวจสอบโดยชุดทดสอบการปนเปื้อนของสารเคมีของกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ โดยจะตรวจสอบแบบ “ทุกครั้ง ทุกราย”
ในกระบวนการขนส่งและกระจายสินค้า จะมีการติดต่อประสานไปยังตลาดที่ทางคณะกรรมการฯ ได้ติดต่อไว้ล่วงหน้า ซึ่งผลดีของการหาตลาดล่วงหน้าคือ สมาชิกจะทราบว่าตลาดต้องการอะไร ราคาเท่าไร ไม่ได้ปลูกตามยถากรรมเหมือนในอดีต
โลโก้ กรีนมาร์เกตเพชรบูรณ์ บนบรรจุภัณฑ์สินค้าพืชผลทางการเกษตร จึงสามารถบอกผู้บริโภคได้อย่างเต็มปากว่า “ขอให้มั่นใจได้ว่าผลผลิตของเรา  เราจะทำผลผลิตที่ ผู้ผลิตปลอดโรค ผู้บริโภคปลอดภัย ไม่เป็นอันตรายต่อสิ่งแวดล้อม”







“อภิรดี” ปลื้มโครงการ “กรีนมาร์เก็ตเพชรบูรณ์” ช่วยเกษตรกรจำหน่ายพืชผักอินทรีย์ได้ราคาสูงขึ้น สั่งการพาณิชย์จังหวัดนำโมเดลไปขยายผลให้เกษตรกรในจังหวัดอื่นๆ รวมตัวกันเพาะปลูก และจำหน่าย มั่นใจช่วยเพิ่มรายได้ให้สูงขึ้น
นางอภิรดี ตันตราภรณ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ เปิดเผยว่า เมื่อวันที่ 2 พ.ย. 2560 ที่ผ่านมา กระทรวงพาณิชย์ได้ลงพื้นที่ติดตามการดำเนินโครงการกรีนมาร์เก็ตเพชรบูรณ์ ที่สหกรณ์ผลิตผักน้ำดุกใต้ อ.หล่มสัก จ.เพชรบูรณ์ ซึ่งพบว่ากลุ่มเกษตรกรได้มีการรวมตัวกันอย่างเข้มแข็งในการปลูกพืชผักอินทรีย์ เพราะเห็นว่ามีรายได้จากการจำหน่ายผลผลิตที่สูงขึ้นจริงจากความต้องการของตลาดที่ขยายตัวเพิ่มขึ้น และยังมีตลาดรองรับผลผลิตที่แน่นอน ทั้งการส่งเข้าไปจำหน่ายในสหกรณ์ และห้างสรรพสินค้าที่กระทรวงพาณิชย์ได้ช่วยประสานให้เข้ามาช่วยรับซื้อ เช่น ท็อปส์ซูเปอร์มาร์เก็ต บริษัทในเครือเซ็นทรัลกรุ๊ป และเครือเดอะมอลล์
ทั้งนี้ กระทรวงพาณิชย์ยังมีแผนที่จะผลักดันให้เกษตรกรในจังหวัดอื่นๆ ทั่วประเทศหันมาเพาะปลูกพืชผักอินทรีย์เพื่อป้อนความต้องการของตลาด และผลักดันเกษตรกรให้มีการรวมตัวกันเป็นสหกรณ์เพื่อสร้างความเข้มแข็ง ทั้งการรองรับผลผลิตจากสมาชิกก่อนนำไปจำหน่าย และยังช่วยสร้างอำนาจต่อรองในการจำหน่ายสินค้า ซึ่งจะทำให้เกษตรกรมีรายได้สูงขึ้น
“ได้มอบหมายให้พาณิชย์จังหวัดนำโมเดลกรีนมาร์เก็ตเพชรบูรณ์ไปผลักดันให้เกษตรกรในจังหวัดอื่นๆ ทั่วประเทศรวมตัวกันเพื่อเพาะปลูกพืชผักอินทรีย์ เพราะเกษตรอินทรีย์เป็นแนวโน้มใหม่ของโลกที่ให้ความสำคัญต่อการดูแลสุขภาพ ปกป้องสิ่งแวดล้อม และการปลูกเกษตรอินทรีย์ยังช่วยลดต้นทุนให้แก่เกษตรกรในระยะยาว และทำให้มีรายได้เพิ่มขึ้นกว่าการเพาะปลูกพืชผักแบบปกติด้วย” นางอภิรดีกล่าว

สำหรับโครงการกรีนมาร์เก็ตเพชรบูรณ์ เป็นการรวมตัวของกลุ่มเกษตรกรในจังหวัดเพชรบูรณ์ โดยปัจจุบันมีจำนวนกลุ่มมากกว่า 93 กลุ่ม มีสมาชิกมากกว่า 1,000 ราย ครอบคลุมพื้นที่ใน 11 อำเภอของ จ.เพชรบูรณ์ มีสินค้าเกษตรอินทรีย์ที่ผลิตได้ครอบคลุม ทั้งกลุ่มพืชผัก ผลไม้ เกษตรแปรรูป ปศุสัตว์ และประมง


Posted by countrygirl , ผู้อ่าน : 772 , 17:13:15 น.  
หมวด : อาหาร

พิมพ์หน้านี้
โหวต 0 คน


เพชรบูรณ์เป็นจังหวัดที่มีแหล่งท่องเที่ยวที่น่าสนใจหลายแห่งแต่สิ่งหนึ่งที่เรียกว่าเป็นการสร้างสิ่งใหม่ ๆ ที่เป็นความภาคภูมิใจให้กับชาวจังหวัดและประทับใจกับผู้มาเยือนนั่นคือโครงการบใจผู้มาเยือนนั่นคือ"กรีนมาร์เก็ตเพชรบูรณ์" โดย"ไกรสร กองฉลาด" รองผู้ว่าราชการจังหวัดเพชรบูรณ์ ได้อธิบายถึงโครงการพัฒนาตลาด/ศูนย์กระจายสินค้าเกษตร เกษตรแปรรูปปลอดภัยประจำจังหวัดเพชรบูรณ์ เพื่อประชาสัมพันธ์ศักยภาพและจุดเด่นของจังหวัดเพชรบูรณ์ว่า จังหวัดเพชรบูรณ์ได้กำหนดประเด็นยุทธศาสตร์การพัฒนาจังหวัดด้านการเกษตร คือ การส่งเสริมเกษตรปลอดภัย การเพิ่มประสิทธิภาพการ ผลิตและสร้างมูลค่าเพิ่ม ภายใต้สัญลักษณ์ “กรีนมาร์เก็ตเพชรบูรณ์” เพื่อเป็นการสนองตอบยุทธศาสตร์และ วิสัยทัศน์ของจังหวัด ประกอบกับรัฐบาลมีนโยบายพัฒนาเศรษฐกิจฐานรากโดยเน้นเกษตรทฤษฎีใหม่ และหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงของพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช (รัชกาลที่ 9)
สำนักงานพาณิชย์จังหวัดเพชรบูรณ์ จึงได้จัดทำการประชาสัมพันธ์สินค้าเกษตร/เกษตรแปรรูปปลอดภัย ภายใต้สัญลักษณ์ “กรีนมาร์เก็ตเพชรบูรณ์” ขึ้น เพื่อให้นโยบายของจังหวัดบรรลุผลสำเร็จ



พืชผักที่บริโภคภายในประเทศกว่า 40 % ผลิตจากจังหวัดเพชรบูรณ์ ก่อนกระจายไปสู่ผู้บริโภคทั่วประเทศ นโยบายกรีนส์มาเก็ต 2 ปีที่ผ่านมา มุ่งเน้นให้เกษตรกรปลูกผักปลอดภัย นอกจากทำให้ราคาผลผลิตเพิ่มขึ้นจากเดิมถึง 3 เท่าแล้ว ยังเป็นการอนุรักษ์ป่าต้นน้ำ ล่าสุดมีเกษตรกรเข้าร่วมกว่า 3,000 ราย รวมกลุ่มเป็นสหกรณ์การเกษตร 7 แห่ง เพื่อเพิ่มอำนาจต่อรองราคาได้ ทั้งนี้จะเร่งดำเนินการต่อยอดด้วยการเพิ่มจุดจัดจำหน่ายผลผลิต ตามนโยบายกรีนส์มาเก็ต ตามหัวเมืองหลักของประเทศ ประสานแหล่งท่องเที่ยว และสถานที่ราชการ เช่น โรงพยาบาล นำผลผลิตเกษตรปลอดภัยไปจัดจำหน่าย รวมทั้งให้ผู้ประกอบการท่องเที่ยวเข้ามาเป็นสมาชิกสหกรณ์ โดยบูรณาการรวมกับสหกรณ์ รวมทั้งการรับไปจำหน่ายอีกด้วย




"สุพล ศรีทับทิม" พาณิชย์จังหวัดเพชรบูรณ์ บอกว่า  โครงการประชาสัมพันธ์สินค้าเกษตร/เกษตรแปรรูปปลอดภัยนี้ ได้มีการวางแผนการประชาสัมพันธ์ เพื่อให้เข้าถึงกลุ่มเป้าหมายทุกกลุ่มอย่างแพร่หลาย โดยใช้เครื่องมือประชาสัมพันธ์ในหลายรูปแบบ อาทิ สื่อโทรทัศน์ มีการผลิตสารคดี 1 นาทีพากย์เสียงภาษาอังกฤษ บรรยายภาษไทย และภาษาจีน เพื่อให้สามารถสื่อสารได้อย่างสากลและทั่วโลก โดยจะออกอากาศทางช่องทีวี 5 และ 177 ประเทศทั่วโลก (Globle Network) และออกอากาศทางสื่อ อีเล็กทรอนิกส์ www.YouTube.com รวมทั้งสื่อกลางแจ้ง โดยทำเป็น Cut out บริเวณสามแยกพุแค สื่อสิ่งพิมพ์ จัดทำโบว์ชัวร์ผลิต 3 ภาษา คือ ไทย จีน อังกฤษ และ นิตยสารสวัสดี ซึ่งเป็นนิตยสารรายเดือนบนเครื่องบินสายการบินไทยที่มีเส้นทางบิน เป้าหมาย 61 เส้นทางบิน 30 ประเทศทั่วโลก สื่อเหล่านี้มีเป้าหมายในการเผยแพร่คือกระจาย ไปทั่วโลก





นอกจากนี้ ยังประชาสัมพันธ์ผ่านสื่อ Social ได้แก่ สติ๊กเกอร์ไลน์ โดยมี การสร้างตัวการ์ตูนในหลากรูปแบบเพื่อใช้เป็นสื่อนำสายตา กระตุ้นให้เกิดความสนใจในการประชาสัมพันธ์ สินค้าเกษตรปลอดภัย ภายใต้สัญลักษณ์ “กรีนมาร์เก็ตเพชรบูรณ์” เพื่อให้เข้าถึงกลุ่มเป้าหมายตั้งแต่เด็กเล็กไปจนกระทั่งผู้ใหญ่ มีลักษณะเป็นตัวแทนของพืชผักผลไม้เกษตรปลอดภัยที่บริโภคกันอยู่เป็นประจำ อาทิ หัวหอม พริกหวาน สตรอเบอร์รี่ แครรอท มะขาม โดยเฉพาะกะหล่ำปลี ซึ่งเป็นพืชผักปลอดภัยที่จังหวัดเพชรบูรณ์ผลิตได้เป็นจำนวนมากกว่าครึ่งหนึ่งของประเทศไทยที่วางขายในตลาด   อย่างไรก็ตาม แผนการประชาสัมพันธ์ทั้งหมดนี้เป็นส่วนหนึ่งที่จะสนับสนุนช่วยผลักดันให้ผลิตภัณฑ์การเกษตรปลอดภัย ภายใต้สัญลักษณ์ “กรีนมาร์เก็ตเพชรบูรณ์”ได้รับการรับรองมาตรฐานเกษตรอินทรีย์ (Organic) ภายในปี 2563

เรามาฟังอีกด้านของผู้ปลูกผักในจังหวัดเพชรบูรณ์กันค่ะ โดย"สมบัติ  ทรงธรรม"ประธานสหกรณ์น้ำดุกใต้  อ.หล่มสัก จว.เพชรบูรณ์ กล่าวว่า  กลุ่มวิสาหกิจชุมชนของตนปลูกผักเพื่อส่งยังห้างสรรพสินค้าเซ็นทรัลสัปดาห์ละสองครั้งประมาณ 7,800 กิโลกรัม ผักที่ปลูกจะเน้นการปลูกแบบจีเอพีซึ่งดำนินการมาเป็นปีที่สามแล้วมีสมาชิกทั้งหมด 167 คน โดยผู้ซื้อจะสั่งออเดอร์มายังผู้ปลูกตกลงราคาตามที่เราตั้งไว้และเป็นที่รับได้ทั้งสองฝ่ายวางแผนการตลาดร่วมกันเพื่อกระจายสินค้าให้เหมาะสม การส่งผักปริมาณจะไม่นิ่งขึ้นอยู่กับชนิดของผักอาจมากน้อยตามฤดูกาลนั้น  ๆ  แต่ไม่มีปัญหาอะไรเกี่ยวกับการรับซื้อส่วนสินค้าที่ตกเกรดจะจำหน่ายให้กับผู้ค้าในพื้นที่และจากที่การปลูกส่งผลให้มีรายได้ดีเราจะขยายพื้นที่การปลูกไปยังเกษตรกรในพื้นที่น้ำหนาว ภูทับเบิก วิเชียรบุรี ด้วย






การตรวจสารเคมีในผักค่ะ






 ภาพ พุทธชาติ แซ่เฮ้ง

ตลาด (2) ตลาดไทยเจริญ พิษณุโลก

    

ตลาดไทยเจริญ

ประวัติความเป็นมา

ก่อนก่อตั้งตลาดไทยเจริญ บริเวณฝังข้ามพื้นที่ตลาดเป็นปั้มน้ำมันบางจาก และเป็นจุดสำคัญในการซื้อ-ขาย พักรถ และเปลี่ยนถ่ายสินค้าทางการเกษตร โดยเฉพาะลำใย ในสมัยนั้นเก็บค่าบริการรถสินค้าคันละ  10 บาท แต่เนื่องจากสถานที่ไม่เอื้ออำนวย จึงได้ย้ายพื้นที่ตลาดมาฝั่งตรงข้ามพื้นที่เก่า และก่อตั้งตลาดไทยเจริญอย่างเป็นทางการในวันที่ 26 ธันวาคม 2547 บนเนื้อที่ประมาณ 182 ไร่ และได้มีการพัฒนาอย่างต่อเนื่องเป็นลำดับ


ชื่อสำนักงาน (ไทย) : บริษัท ตลาดไทยเจริญ จำกัด
ประเภท : สำนักงานใหญ่
ประเภทกรรมสิทธิ์ : กรรมสิทธิ์
ที่ตั้ง : 153 หมู่ 6 ตำบล บ้านป่า อำเภอ เมืองพิษณุโลก จังหวัด พิษณุโลก 65000
โทรศัพท์ : 055-906133
โทรสาร : 055-906126
อีเมล์ : Talaad.Thai.charoen@gmail.com

Facebook : www.facebook.com/บริษัท-ตลาดไทยเจริญ-ค้าส่งผลไม้-พิษณุโลก-186103755149556/
เข้าชม 1,102 ครั้ง