วันอังคารที่ 21 มกราคม พ.ศ. 2557

มะละกอ (12) สารอินทรีย์สกัดต้านไวรัสมะละกอ

สารอินทรีย์สกัดต้านไวรัสมะละกอ - ทิศทางเกษตร
วันพฤหัสบดี 30 พฤษภาคม 2556 เวลา 00:00 น.
?สารอินทรีย์สกัดต้านไวรัสมะละกอ - ทิศทางเกษตร?
?สารอินทรีย์สกัดต้านไวรัสมะละกอ - ทิศทางเกษตร?

ประเทศไทย มะละกอเป็นพืชที่กำลังได้รับความสนใจจากเกษตรกร เนื่องจากมะละกอเป็นพืชที่ให้ผลตอบแทนเร็ว มีตลาดรองรับค่อนข้างกว้าง ตัวอย่าง เช่น เกษตรกรจังหวัดสุพรรณบุรีและกาญจนบุรีที่ปลูกมะละกอในพื้นที่ 8 ไร่จะมีรายได้ถึงประมาณ 1,000,000 บาทต่อปี ทั้งตลาดมะละกอดิบ มะละกอสุก มะละกอส่งโรงงาน และผลิตภัณฑ์มะละกอเพื่อตลาดส่งออก

ซึ่งในปี 2551-2553 ที่ผ่านมา    ประเทศไทยมีผลผลิตมะละกอถึง 201,099-211,594 เมตริกตัน และจัดเป็น 1 ใน 10 ประเทศในโลกที่มีการส่งออกมะละกอจำนวนมาก แต่ก็ยังมีส่วนแบ่งการตลาดเพียง 1.95%ของตลาด การปลูกมะละกอเพื่อการค้าในบ้านเราก็มีความหลากหลายของสายพันธุ์มากขึ้น อย่างไรก็ตามในปัจจุบันผลผลิตที่ได้ยังไม่เพียงพอ เนื่องจากโรคใบด่างจุดวงแหวน ที่เป็นอุปสรรคในการผลิตมะละกอ

โรคใบด่างจุดวงแหวน หรือไวรัสวงแหวน ถือได้ว่าเป็นโรคที่มีความสำคัญมากที่สุดเป็นมหันตภัยร้ายของการปลูกมะละกอ ทั่วโลก โดยโรคนี้เคยมีการระบาดรุนแรงครั้งแรกเมื่อปี 2492 ที่หมู่เกาะฮาวาย หลังจากนั้นก็ระบาดไปทั่วโลก สำหรับประเทศไทยได้พบการระบาดครั้งแรกในปี 2518 ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และขยายความรุนแรงขึ้นทุกปีจนทำลายล้างมะละกอในภาคตะวันออกเฉียงเหนืออย่าง สิ้นเชิงในปี 2524 ต่อมาการระบาดได้ลุกลามไปยังพื้นที่ต่าง ๆ โดยในปี 2545 โรคนี้ระบาดไปทั่วประเทศไทย สร้างความเสียหายให้กับพื้นที่ปลูกมะละกอกว่า 80% ของพื้นที่ปลูกทั้งหมด และในปัจจุบันก็ยังไม่มีหน่วยงานใดให้คำตอบในการแก้ปัญหานี้ได้ แม้จะมีความพยายามนำมะละกอจีเอ็มโอเข้ามาเพื่อแก้ปัญหานี้ แต่ก็ยังไม่เป็นที่วางใจจากสังคมว่าจะไม่ก่อผลกระทบต่อมนุษย์และสิ่งแวดล้อม ซึ่งถ้าเป็นเช่นนี้ต่อไป เกษตรกรจำนวนมากจะเสียโอกาสในการสร้างรายได้ และอุตสาหกรรมของประเทศที่ใช้มะละกอเป็นวัตถุดิบจะได้รับผลกระทบ

จากประสบการณ์ในภาคสนามที่ผ่านมา ของคุณพิสุทธิ์ ศุภนาค นักวิชาการอิสระมีข้อสังเกตว่าโรคใบด่างจุดวงแหวนในมะละกอมีความเชื่อมโยง กับการผสมข้ามสายพันธุ์ ที่มุ่งเพิ่มผลผลิตและการสร้างการเติบโตอย่างรวดเร็ว การดำเนินการดังกล่าวได้ทำให้เกิดการกดทับภูมิต้านทานที่มีอยู่ในพันธุกรรม ดั่งเดิม ประกอบกับการที่มะละกอถูกเร่งผลผลิตอย่างมหาศาลในระยะเวลาอันสั้น ทำให้มะละกอดูดกินแร่ธาตุในดินต่อเนื่องจนดินในแปลงหมดความอุดมสมบูรณ์แต่ เกษตรกรเติมแร่ธาตุให้ไม่เพียงพอและไม่ทันความต้องการของพืช ความสมบูรณ์จึงถดถอยลงเรื่อย ๆ จนง่ายต่อการถูกโจมตีจากเชื้อโรคต่าง ๆ ที่มีอยู่ก่อนแล้วในธรรมชาติ โดยเฉพาะโรคไวรัสวงแหวน

แนวทางแก้ปัญหาคือ การส่งเสริมการเจริญเติบโตของพืชโดยเติมธาตุอาหารให้แก่มะละกอ ทั้งยังควรมีจุลินทรีย์ที่มาร่วมกันปรับโครงสร้างธาตุอาหารจากดินมาเพิ่ม เติม และสิ่งธาตุอาหารที่เหมาะสมกับมะละกอ ซึ่งในขณะนี้เปรียบเหมือนคนป่วยไข้ จะต้องเป็นธาตุอาหารที่มีโมเลกุลเล็กกว่าปกติที่ทำให้พืชสามารถดูดกินได้ ง่าย ได้มีการนำสารสกัดไปใช้แก้ปัญหาในสวนมะละกอที่ถูกไวรัสวงแหวนโจมตีใน 2 ระดับอาการคือ

สวนที่ถูกคุกคามขั้นเริ่มต้น คือ ยอดหรือใบอ่อนของมะละกอส่วนใหญ่แสดงอาการเหลืองซีด มีลักษณะเป็นรอยบุ๋มไม่เรียบ มีอาการด่าง มีขนาดใบเรียวเล็กลง ลูกและดอกใหม่ร่วง สวนนี้ใช้ สารอินทรีย์สกัดต้านไวรัสมะละกอ จำนวน 800 ซีซี ฉีดพ่นทุก 3 วัน ในอัตราส่วน 2 ฝา ต่อน้ำ 20 ลิตร ร่วมกับสารบำรุงดิน ในอัตราส่วนเดียวกัน ในการรักษา 24 วัน โดยในเวลา 10 วัน เริ่มเห็นการแตกยอดอ่อนขึ้นใหม่ ยอดที่แตกใหม่จะอวบใหญ่กว่าเดิม และในสัปดาห์ต่อมาก็เริ่มมีดอกเกิดขึ้น

สวนที่ถูกคุกคามขั้นรุนแรง คือ บนก้านใบ ก้านดอก และตรงส่วนครึ่งบนของลำต้นของมะละกอส่วนใหญ่ พบรอยช้ำเป็นขีด ๆ มีสีเขียวเข้มทั้งลำต้น ลูกและดอกใหม่ร่วง การติดผลไม่มีให้เห็น บางต้นมีอาการถึงขนาดที่ผลของมะละกอมีเนื้อแข็งกระด้าง เนื้อผลสุก มีลักษณะเป็นไต มีรสขม และมีรอยช้ำเป็นจุด ต้นเตี้ยแคระแกร็น ใบแคบหยิกงอไม่สมส่วน บางครั้งจะเล็กเรียวชะลูดแหลม และเมื่อเชื้อลามถึงยอด ยอดจะเหลือง มีขนาดเล็กลงและตายในที่สุด

สวนนี้ใช้ สารอินทรีย์สกัดต้านไวรัสมะละกอ จำนวน 1,400 ซีซี ฉีดพ่นทุก 3 วัน ในอัตราส่วน 5 ฝา ร่วมกับสารบำรุงดินในอัตราส่วน 2 ฝา ต่อน้ำ 20 ลิตร การรักษา ใช้เวลาประมาณ 35 วัน จากวันที่เริ่มจนถึงวันที่ 25 วัน ก็เริ่มเห็นการแตกยอดอ่อนขึ้นใหม่อย่างประปราย และในสัปดาห์ต่อมายอดที่แตกใหม่เริ่มมีขนาดใหญ่ขึ้น มีดอกเกิดขึ้น.

ที่มา: เดลินิวส์ คอลัมน์เกษตร วันพฤหัสบดี 30 พฤษภาคม 2556

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น