วันพุธที่ 3 มกราคม พ.ศ. 2561

ตลาด (3) กรีนมาร์เก็ต เพชรบูรณ์

  กรีนมาร์เก็ต เพชรบูรณ์

PDFพิมพ์อีเมล
S__8847484
         จังหวัดเพชรบูรณ์ ดำเนินโครงการกรีนมาร์เก็ต จังหวัดเพชรบูรณ์ เพื่อต่อยอดนโยบายประชารัฐของรัฐบาล ที่ต้องการให้เกิดเครือข่ายความร่วมมือระหว่างภาครัฐ เอกชน และพี่น้องประชาชน ในการพัฒนาและแก้ไขปัญหาของจังหวัดเพชรบูรณ์ ทั้งในด้านเศรษฐกิจฐานราก ชุมชน สังคม สิ่งแวดล้อม เรื่องการมีส่วนร่วมและผลการดำเนินงานของกลุ่มสหกรณ์ แนวทางการยื่นขอรับรองมาตรฐานสินค้า และการสนับสนุนแนวทางการรับซื้อสินค้าของผู้ค้าปลีก โดยมีศูนย์ Tops Market และห้างค้าปลีกในเพชรบูรณ์
            มีกลุ่มที่เข้าร่วมโครงการแล้ว 4 กลุ่ม คือกลุ่มสหกรณ์บ้านน้ำดุกใต้/กลุ่มสหกรณ์ภูทับเบิก/กลุ่มเกษตรกรอำเภอน้ำหนาว และกลุ่มเกษตรกรอำเภอเขาค้อ
           นายบัณฑิตย์ เทวีทิวารักษ์ ผู้ว่าราชการจังหวัด ได้เน้นย้ำว่า จะทำให้โครงการกรีนมาร์เก็ต เพชรบูรณ์  มีชื่อเสียง เป็นที่รู้จักของคนไทยและผู้ที่บริโภคผักปลอดสารเคมีประทับใจในคุณภาพผักของจังหวัดเพชรบูรณ์ และได้เปิดโอกาสให้กลุ่มเกษตรกรอื่นๆ   ที่สนใจมาเข้าร่วมโครงการ ในการผลิตพืชผักปลอดภัยต่อผู้บริโภคและผู้ผลิต เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม ภายใต้แบรนด์ กรีนมาร์เก็ตเพชรบูรณ์ โดยติดต่อที่เกษตรอำเภอได้ทุกอำเภอ
สอบถามและติดตามข้อมูลเพิ่มเติมที่ https://www.facebook.com/profile.php?id=100011783230732&ref=ts&fref=ts

เครือข่ายกรีนมาร์เก็ต เพชรบูรณ์ ความภาคภูมิใจของชาวเพชรบูรณ์
หลายคนอาจจะยังไม่ทราบว่า มีเกษตรกรอยู่จังหวัดหนึ่ง ได้ริเริ่มรวมตัวขึ้นมาเพื่อปลูกพืชผลทางการเกษตรที่ปลอดภัยจากสารเคมี นำมาจัดจำหน่ายไปทั่วประเทศ ภายใต้แนวคิด “ผู้ผลิตปลอดโรค ผู้บริโภคปลอดภัย ไม่เป็นอันตรายต่อสิ่งแวดล้อม” ที่สำคัญคือ เกษตรกรเหล่านั้น สามารถผลักดันสินค้าไปจำหน่ายในโมเดิร์นเทรดได้อย่างองอาจ สามารถจัดจำหน่ายผลผลิตของตน ในราคาที่เหมาะสม ผักสามารถทำราคาได้สูงกว่าผักมีสารเคมีตามท้องตลาดถึง 1-3 เท่าตัว จึงสามารถสร้างชีวิตตัวเองและครอบครัวให้มีเกียรติ มีศักดิ์ศรีท่ามกลางวิถีธรรมชาติ เกษตรกรกลุ่มที่ว่านี้คือ กลุ่มเกษตรกรจากหลายอำเภอของจังหวัดเพชรบูรณ์ จังหวัดที่มีประชาชนกว่า 60% ทำการเกษตร ที่ลุกขึ้นมารวมตัวกันเป็นเครือข่าย “กรีนมาร์เก็ต เพชรบูรณ์”




เครือข่ายกลุ่มนี้สามารถรวมตัวกันได้ด้วยการใช้การตลาด มาเป็นแรงจูงใจ ในการสร้างเครือข่ายเกษตรกรผู้ผลิตพืชผักปลอดภัย โดยการตลาดที่ว่านี้คือ ภาครัฐ นำโดย ผู้ว่าราชการจังหวัดเพชรบูรณ์  และ นายไกรสร กองฉลาด รองผู้ว่าราชการจังหวัดเพชรบูรณ์ (ผู้จัดการโครงการกรีนมาร์เก็ต จังหวัดเพชรบูรณ์)  ที่นำทีมข้าราชการ ทีมผู้นำชุมชน ทีมเกษตรกรตัวอย่าง ทีมนักสร้างแบรนด์อย่าง ดร.ศิริกุล เลากัยกุล และ อ.กมล เลากัยกุล มาช่วยสร้างแบรนด์ ทำโลโก้ หาทุนสนับสนุนทำโรงเรือนสหกรณ์ หาเครือข่ายหาช่องทางจัดจำหน่ายให้พร้อมต่อการเพิ่มขึ้นของผลผลิตในเครือข่าย ทำให้เกิดแรงจูงใจที่จะชักชวนคนเลิกปลูกพืชผักที่ใช้สารเคมี ให้หันมาปลูกพืชผักปลอดภัยเป็นเครือข่ายกันการเข้าร่วมเครือข่าย “กรีนมาร์เก็ต เพชรบูรณ์”


ด้วยการเปิดตลาด เปิดตัวแบรนด์อย่างกว้างขวาง จนมีผู้ซื้อผักปลอดสารเพียงพอ ที่จะรองรับผลผลิตของเกษตรกรอย่างชัดเจน ทำให้เกษตรกรหลายรายมีโอกาสเลือกที่จะพลิกชีวิตตัวเองมาปลูกผักปลอดสาร จากการที่เดิมปลูกผักที่ต้องใช้สารเคมีในการปลูก ทำให้สุขภาพตนเองและครอบครัวก็ไม่ดี อีกทั้งการใช้สารเคมีอันตรายบนพื้นที่สูง ลมแรง และ เป็นแหล่งต้นน้ำ ทำให้สารเคมีแพร่กระจายไปในวงกว้าง   เกษตรกรตัวอย่างท่านหนึ่งที่ควรแก่การกล่าวถึง คือ อาเซ็ง แซ่ลี วัย 62 ปี เกษตรกรชาวไทยภูเขาเผ่าม้ง เกษตรกรบนพื้นที่สูง ณ ภูทับเบิก  1 ใน 2 เกษตรกรภูทับเบิกที่ได้ใบรับรองออร์แกนิกไทยแลนด์ ได้น้อมนำแนวพระราชดำริเกษตรทฤษฎีใหม่ ช่วยสร้างชีวิตใหม่ด้วยการปลูกผักปลอดสารขึ้นมา ทางเครือข่ายก็นำเกษตรกรท่านนี้ไปออกรายการในสถานีโทรทัศน์ระดับชาติทำให้เป็นการประชาสัมพันธ์ผลผลิตของกลุ่มเกษตรกรออกไปในวงการ สามารถเพิ่มสมาชิกในเครือข่ายได้ในอนาคต พอมีกลไกในการขายสินค้าผลผลิตที่ได้ราคาดี เกษตรกรเหล่านี้จึงสามารถรวมตัวกัน เพื่อผลิตและควบคุมกันเอง จนปัจจุบันรวมตัวกันเป็นสหกรณ์ย่อย ๆ ตามพื้นที่อย่าง สหกรณ์ผลิตผักน้ำดุกใต้  สหกรณ์ผักปลอดภัยภูทับเบิก สหกรณ์รวมกลุ่มการเกษตรน้ำหนาว สหกรณ์พืชผักปลอดภัยเขาค้อ และบ้านนางั่วเหนือผักปลอดภัย เพื่อส่งขายผักปลอดภัยไปยังพื้นที่ต่าง ๆ ทั่วประเทศ ภายใต้เครื่องหมายเครือข่ายเดียวกันอย่าง “กรีนมาร์เก็ต เพชรบูรณ์”
          
ล่าสุดเมื่อวันที่ 20 – 26 ธ.ค. 2559 ที่ผ่านมา เครือข่าย “กรีนมาร์เก็ต เพชรบูรณ์” ก็ได้ประสานกับกลุ่มพันธมิตร ศูนย์การค้าและซุปเปอร์มาร์เก็ตชั้นนำหลายแห่งจัดเป็นงานสินค้าปลอดภัย ในศูนย์การค้าต่าง ๆ เช่น จัดเป็นเทศกาลข้าวใหม่ปลามัน By “กรีนมาร์เก็ต เพชรบูรณ์ ณ เซ็นทรัลเวสต์เกท บางใหญ่ นนทบุรี อีเว้นท์นี้นำเสนอโดยในงานนี้มีการจัดจำหน่ายสินค้าเกษตรปลอดภัยทั้ง ข้าวใหม่หอมกรุ่นหลากสายพันธุ์จากชาวนาตัวจริง เมนูน้ำพริกนานาชนิดจากภูมิปัญญาคนเพชรบูรณ์ ผักสดปลอดภัย กินได้เลยไม่ต้องลอง ไข่ไก่จากแม่ไก่อารมณ์ดี ไก่นอกคอกเพราะเลี้ยงนอกกรง แบรนด์ฟาร์มโสต น้อง ๆ นักเรียนโรงเรียนโสตศึกษาเพชรบูรณ์ที่ผลิตได้ถึงเดือนละ 2,000 ฟอง 
สำหรับ “ฟาร์มโสต” เป็นไข่ไก่จากแม่ไก่อารมณ์สุนทรีย์ เป็นไข่ที่มาจากไก่เลี้ยงปล่อยลาน โดยที่มาของแบรนด์ฟาร์มโสต คือ ฟาร์มนี้ผู้ดูแลเป็นน้องๆนักเรียนโรงเรียนโสตศึกษาเพชรบูรณ์ ซึ่งเป็นเด็กพิเศษ บกพร่องทางการได้ยินและบางส่วนเป็นเด็กออทิสติกได้อาศัย “เสียงจากความเงียบ” ในการดูแลไก่ให้มีความสุข  ไข่ไก่  “ฟาร์มโสต” วางจำหน่ายที่ เซ็นทรัล ฟู้ด ฮอลล์ / ท็อปส์ มาร์เก็ต 10 สาขา คือ เซ็นทรัลชิดลม ลาดพร้าว ปิ่นเกล้า บางนา พระราม3 พระราม2 สุขาภิบาล3 คริสตัล สุขุมวิท19 และ แจ้งวัฒนะ


เรียกได้ว่าการสร้างแบรนด์ และ การสร้างเครือข่ายการจัดจำหน่าย ทำให้ตลาดมีรองรับชัดเจน มีผู้ซื้อสินค้าปลอดภัยจากสารพิษมากขึ้น  กลไกตลาดจึงเดินหน้า ทำให้การปลูกพืชผักออร์แกนิกยังเป็นเรื่องง่ายขึ้นสำหรับเกษตรกร เกษตรกรสามารถหลุดออกจากวังวนแบบเดิม ๆ ที่ต้องขายผัก ผลไม้ในราคาถูก และต้องพึ่งพานายทุน ตั้งแต่เงินทุนซื้อเมล็ดพันธุ์ สารเคมี ปุ๋ย ที่มาพร้อมดอกเบี้ยในอัตราสูง เมื่อขายได้มาเท่าไหร่ก็นำไปใช้หนี้  หลังจากเข้าสู่เส้นทางสายผักอินทรีย์-ผักปลอดภัย แล้วสามารถจำหน่ายผลผลิตได้ราคาดี เกษตรกรที่เข้าร่วมโครงการก็ค่อย ๆ ชวนเพื่อนเกษตรกรแบบเดิมมาเข้าร่วมมากขึ้น แล้วต่างก็ช่วยกันพัฒนาผลผลิต ให้ได้มาตรฐานยิ่งๆ ขึ้นไป  ทั้งนี้ผักที่เข้าโครงการกรีนมาร์เก็ตนั้น อย่างน้อยที่สุดต้องเป็นผักปลอดภัย หรือ GAP ซึ่งมีหน่วยกลางตรวจสอบสุ่มตัวอย่างอย่างเข้มงวดและตั้งเป้าจะขยับมาตรฐานให้เป็นผักอินทรีย์หรือออร์แกนิกภายใน 3 ปี
อ.กอบกิจ ประดิษฐผลพานิช คณบดีคณะนิเทศศาสตร์ ม.ธุรกิจบัณฑิตย์ : รายงาน

ข้อมูลทั่วไป
กรีนมาร์เกต เพชรบูรณ์ เป็นรูปแบบคณะกรรมการร่วมระหว่างภาครัฐ ภาคเอกชน และภาคประชาชน โดยมีผู้ว่าราชการจังหวัดเพชรบูรณ์เป็นประธาน วัตถุประสงค์ “ทำเรื่องปากท้อง สุขภาพและสิ่งแวดล้อมให้เป็นเรื่องเดียวกัน” โดยการน้อมนำหลักคิดตามแนวทางปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง และหลักปฏิบัติเกษตรทฤษฎีใหม่ของพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช รัชกาลที่ 9 มาเป็นกรอบในการดำเนินงาน
วิธีการดำเนินงานของคณะกรรมการฯ จะรับสมัครสมาชิกเป็นกลุ่ม (ไม่เน้นรายบุคคล) เพื่อพัฒนาไปสู่รูปแบบของสหกรณ์ โดยมีเงื่อนไขว่า สมาชิกของกรีนมาร์เกตเพชรบูรณ์ จะต้องชัดเจนในเรื่องของการลด ละ เลิก การใช้สารเคมี และการปลูกพืชเชิงเดี่ยว
กรีนมาร์เกตจะช่วยตั้งแต่ต้นน้ำ การบริหารจัดการแปลง การให้ความรู้ การตรวจรับรองคุณภาพเบื้องต้นคือ GAP โดยนับจากวันที่ได้รับการรับรองคุณภาพ 3 ปี  หรือในปีที่ 4 สมาชิกทุกคนในกลุ่มจะต้องยกระดับเข้าสู่กระบวนการผลิตแบบ Organic
สำหรับผลผลิตจากแปลง จะมีกระบวนการรวบรวมผลผลิต กรีนมาร์เกตจะส่งเสริมให้ทุกกลุ่มมีการรวบรวมผลผลิต โดยมีกระบวนการตรวจสอบรับรองความปลอดภัย โดยบุคลากรจากสำนักงานสาธารณสุขจังหวัด โดยทุกครั้งที่สมาชิกเอาผลผลิตมาส่งก็จะมีการตรวจสอบโดยชุดทดสอบการปนเปื้อนของสารเคมีของกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ โดยจะตรวจสอบแบบ “ทุกครั้ง ทุกราย”
ในกระบวนการขนส่งและกระจายสินค้า จะมีการติดต่อประสานไปยังตลาดที่ทางคณะกรรมการฯ ได้ติดต่อไว้ล่วงหน้า ซึ่งผลดีของการหาตลาดล่วงหน้าคือ สมาชิกจะทราบว่าตลาดต้องการอะไร ราคาเท่าไร ไม่ได้ปลูกตามยถากรรมเหมือนในอดีต
โลโก้ กรีนมาร์เกตเพชรบูรณ์ บนบรรจุภัณฑ์สินค้าพืชผลทางการเกษตร จึงสามารถบอกผู้บริโภคได้อย่างเต็มปากว่า “ขอให้มั่นใจได้ว่าผลผลิตของเรา  เราจะทำผลผลิตที่ ผู้ผลิตปลอดโรค ผู้บริโภคปลอดภัย ไม่เป็นอันตรายต่อสิ่งแวดล้อม”







“อภิรดี” ปลื้มโครงการ “กรีนมาร์เก็ตเพชรบูรณ์” ช่วยเกษตรกรจำหน่ายพืชผักอินทรีย์ได้ราคาสูงขึ้น สั่งการพาณิชย์จังหวัดนำโมเดลไปขยายผลให้เกษตรกรในจังหวัดอื่นๆ รวมตัวกันเพาะปลูก และจำหน่าย มั่นใจช่วยเพิ่มรายได้ให้สูงขึ้น
นางอภิรดี ตันตราภรณ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ เปิดเผยว่า เมื่อวันที่ 2 พ.ย. 2560 ที่ผ่านมา กระทรวงพาณิชย์ได้ลงพื้นที่ติดตามการดำเนินโครงการกรีนมาร์เก็ตเพชรบูรณ์ ที่สหกรณ์ผลิตผักน้ำดุกใต้ อ.หล่มสัก จ.เพชรบูรณ์ ซึ่งพบว่ากลุ่มเกษตรกรได้มีการรวมตัวกันอย่างเข้มแข็งในการปลูกพืชผักอินทรีย์ เพราะเห็นว่ามีรายได้จากการจำหน่ายผลผลิตที่สูงขึ้นจริงจากความต้องการของตลาดที่ขยายตัวเพิ่มขึ้น และยังมีตลาดรองรับผลผลิตที่แน่นอน ทั้งการส่งเข้าไปจำหน่ายในสหกรณ์ และห้างสรรพสินค้าที่กระทรวงพาณิชย์ได้ช่วยประสานให้เข้ามาช่วยรับซื้อ เช่น ท็อปส์ซูเปอร์มาร์เก็ต บริษัทในเครือเซ็นทรัลกรุ๊ป และเครือเดอะมอลล์
ทั้งนี้ กระทรวงพาณิชย์ยังมีแผนที่จะผลักดันให้เกษตรกรในจังหวัดอื่นๆ ทั่วประเทศหันมาเพาะปลูกพืชผักอินทรีย์เพื่อป้อนความต้องการของตลาด และผลักดันเกษตรกรให้มีการรวมตัวกันเป็นสหกรณ์เพื่อสร้างความเข้มแข็ง ทั้งการรองรับผลผลิตจากสมาชิกก่อนนำไปจำหน่าย และยังช่วยสร้างอำนาจต่อรองในการจำหน่ายสินค้า ซึ่งจะทำให้เกษตรกรมีรายได้สูงขึ้น
“ได้มอบหมายให้พาณิชย์จังหวัดนำโมเดลกรีนมาร์เก็ตเพชรบูรณ์ไปผลักดันให้เกษตรกรในจังหวัดอื่นๆ ทั่วประเทศรวมตัวกันเพื่อเพาะปลูกพืชผักอินทรีย์ เพราะเกษตรอินทรีย์เป็นแนวโน้มใหม่ของโลกที่ให้ความสำคัญต่อการดูแลสุขภาพ ปกป้องสิ่งแวดล้อม และการปลูกเกษตรอินทรีย์ยังช่วยลดต้นทุนให้แก่เกษตรกรในระยะยาว และทำให้มีรายได้เพิ่มขึ้นกว่าการเพาะปลูกพืชผักแบบปกติด้วย” นางอภิรดีกล่าว

สำหรับโครงการกรีนมาร์เก็ตเพชรบูรณ์ เป็นการรวมตัวของกลุ่มเกษตรกรในจังหวัดเพชรบูรณ์ โดยปัจจุบันมีจำนวนกลุ่มมากกว่า 93 กลุ่ม มีสมาชิกมากกว่า 1,000 ราย ครอบคลุมพื้นที่ใน 11 อำเภอของ จ.เพชรบูรณ์ มีสินค้าเกษตรอินทรีย์ที่ผลิตได้ครอบคลุม ทั้งกลุ่มพืชผัก ผลไม้ เกษตรแปรรูป ปศุสัตว์ และประมง


Posted by countrygirl , ผู้อ่าน : 772 , 17:13:15 น.  
หมวด : อาหาร

พิมพ์หน้านี้
โหวต 0 คน


เพชรบูรณ์เป็นจังหวัดที่มีแหล่งท่องเที่ยวที่น่าสนใจหลายแห่งแต่สิ่งหนึ่งที่เรียกว่าเป็นการสร้างสิ่งใหม่ ๆ ที่เป็นความภาคภูมิใจให้กับชาวจังหวัดและประทับใจกับผู้มาเยือนนั่นคือโครงการบใจผู้มาเยือนนั่นคือ"กรีนมาร์เก็ตเพชรบูรณ์" โดย"ไกรสร กองฉลาด" รองผู้ว่าราชการจังหวัดเพชรบูรณ์ ได้อธิบายถึงโครงการพัฒนาตลาด/ศูนย์กระจายสินค้าเกษตร เกษตรแปรรูปปลอดภัยประจำจังหวัดเพชรบูรณ์ เพื่อประชาสัมพันธ์ศักยภาพและจุดเด่นของจังหวัดเพชรบูรณ์ว่า จังหวัดเพชรบูรณ์ได้กำหนดประเด็นยุทธศาสตร์การพัฒนาจังหวัดด้านการเกษตร คือ การส่งเสริมเกษตรปลอดภัย การเพิ่มประสิทธิภาพการ ผลิตและสร้างมูลค่าเพิ่ม ภายใต้สัญลักษณ์ “กรีนมาร์เก็ตเพชรบูรณ์” เพื่อเป็นการสนองตอบยุทธศาสตร์และ วิสัยทัศน์ของจังหวัด ประกอบกับรัฐบาลมีนโยบายพัฒนาเศรษฐกิจฐานรากโดยเน้นเกษตรทฤษฎีใหม่ และหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงของพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช (รัชกาลที่ 9)
สำนักงานพาณิชย์จังหวัดเพชรบูรณ์ จึงได้จัดทำการประชาสัมพันธ์สินค้าเกษตร/เกษตรแปรรูปปลอดภัย ภายใต้สัญลักษณ์ “กรีนมาร์เก็ตเพชรบูรณ์” ขึ้น เพื่อให้นโยบายของจังหวัดบรรลุผลสำเร็จ



พืชผักที่บริโภคภายในประเทศกว่า 40 % ผลิตจากจังหวัดเพชรบูรณ์ ก่อนกระจายไปสู่ผู้บริโภคทั่วประเทศ นโยบายกรีนส์มาเก็ต 2 ปีที่ผ่านมา มุ่งเน้นให้เกษตรกรปลูกผักปลอดภัย นอกจากทำให้ราคาผลผลิตเพิ่มขึ้นจากเดิมถึง 3 เท่าแล้ว ยังเป็นการอนุรักษ์ป่าต้นน้ำ ล่าสุดมีเกษตรกรเข้าร่วมกว่า 3,000 ราย รวมกลุ่มเป็นสหกรณ์การเกษตร 7 แห่ง เพื่อเพิ่มอำนาจต่อรองราคาได้ ทั้งนี้จะเร่งดำเนินการต่อยอดด้วยการเพิ่มจุดจัดจำหน่ายผลผลิต ตามนโยบายกรีนส์มาเก็ต ตามหัวเมืองหลักของประเทศ ประสานแหล่งท่องเที่ยว และสถานที่ราชการ เช่น โรงพยาบาล นำผลผลิตเกษตรปลอดภัยไปจัดจำหน่าย รวมทั้งให้ผู้ประกอบการท่องเที่ยวเข้ามาเป็นสมาชิกสหกรณ์ โดยบูรณาการรวมกับสหกรณ์ รวมทั้งการรับไปจำหน่ายอีกด้วย




"สุพล ศรีทับทิม" พาณิชย์จังหวัดเพชรบูรณ์ บอกว่า  โครงการประชาสัมพันธ์สินค้าเกษตร/เกษตรแปรรูปปลอดภัยนี้ ได้มีการวางแผนการประชาสัมพันธ์ เพื่อให้เข้าถึงกลุ่มเป้าหมายทุกกลุ่มอย่างแพร่หลาย โดยใช้เครื่องมือประชาสัมพันธ์ในหลายรูปแบบ อาทิ สื่อโทรทัศน์ มีการผลิตสารคดี 1 นาทีพากย์เสียงภาษาอังกฤษ บรรยายภาษไทย และภาษาจีน เพื่อให้สามารถสื่อสารได้อย่างสากลและทั่วโลก โดยจะออกอากาศทางช่องทีวี 5 และ 177 ประเทศทั่วโลก (Globle Network) และออกอากาศทางสื่อ อีเล็กทรอนิกส์ www.YouTube.com รวมทั้งสื่อกลางแจ้ง โดยทำเป็น Cut out บริเวณสามแยกพุแค สื่อสิ่งพิมพ์ จัดทำโบว์ชัวร์ผลิต 3 ภาษา คือ ไทย จีน อังกฤษ และ นิตยสารสวัสดี ซึ่งเป็นนิตยสารรายเดือนบนเครื่องบินสายการบินไทยที่มีเส้นทางบิน เป้าหมาย 61 เส้นทางบิน 30 ประเทศทั่วโลก สื่อเหล่านี้มีเป้าหมายในการเผยแพร่คือกระจาย ไปทั่วโลก





นอกจากนี้ ยังประชาสัมพันธ์ผ่านสื่อ Social ได้แก่ สติ๊กเกอร์ไลน์ โดยมี การสร้างตัวการ์ตูนในหลากรูปแบบเพื่อใช้เป็นสื่อนำสายตา กระตุ้นให้เกิดความสนใจในการประชาสัมพันธ์ สินค้าเกษตรปลอดภัย ภายใต้สัญลักษณ์ “กรีนมาร์เก็ตเพชรบูรณ์” เพื่อให้เข้าถึงกลุ่มเป้าหมายตั้งแต่เด็กเล็กไปจนกระทั่งผู้ใหญ่ มีลักษณะเป็นตัวแทนของพืชผักผลไม้เกษตรปลอดภัยที่บริโภคกันอยู่เป็นประจำ อาทิ หัวหอม พริกหวาน สตรอเบอร์รี่ แครรอท มะขาม โดยเฉพาะกะหล่ำปลี ซึ่งเป็นพืชผักปลอดภัยที่จังหวัดเพชรบูรณ์ผลิตได้เป็นจำนวนมากกว่าครึ่งหนึ่งของประเทศไทยที่วางขายในตลาด   อย่างไรก็ตาม แผนการประชาสัมพันธ์ทั้งหมดนี้เป็นส่วนหนึ่งที่จะสนับสนุนช่วยผลักดันให้ผลิตภัณฑ์การเกษตรปลอดภัย ภายใต้สัญลักษณ์ “กรีนมาร์เก็ตเพชรบูรณ์”ได้รับการรับรองมาตรฐานเกษตรอินทรีย์ (Organic) ภายในปี 2563

เรามาฟังอีกด้านของผู้ปลูกผักในจังหวัดเพชรบูรณ์กันค่ะ โดย"สมบัติ  ทรงธรรม"ประธานสหกรณ์น้ำดุกใต้  อ.หล่มสัก จว.เพชรบูรณ์ กล่าวว่า  กลุ่มวิสาหกิจชุมชนของตนปลูกผักเพื่อส่งยังห้างสรรพสินค้าเซ็นทรัลสัปดาห์ละสองครั้งประมาณ 7,800 กิโลกรัม ผักที่ปลูกจะเน้นการปลูกแบบจีเอพีซึ่งดำนินการมาเป็นปีที่สามแล้วมีสมาชิกทั้งหมด 167 คน โดยผู้ซื้อจะสั่งออเดอร์มายังผู้ปลูกตกลงราคาตามที่เราตั้งไว้และเป็นที่รับได้ทั้งสองฝ่ายวางแผนการตลาดร่วมกันเพื่อกระจายสินค้าให้เหมาะสม การส่งผักปริมาณจะไม่นิ่งขึ้นอยู่กับชนิดของผักอาจมากน้อยตามฤดูกาลนั้น  ๆ  แต่ไม่มีปัญหาอะไรเกี่ยวกับการรับซื้อส่วนสินค้าที่ตกเกรดจะจำหน่ายให้กับผู้ค้าในพื้นที่และจากที่การปลูกส่งผลให้มีรายได้ดีเราจะขยายพื้นที่การปลูกไปยังเกษตรกรในพื้นที่น้ำหนาว ภูทับเบิก วิเชียรบุรี ด้วย






การตรวจสารเคมีในผักค่ะ






 ภาพ พุทธชาติ แซ่เฮ้ง

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น